มะพร้าวน้ำหอม
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 874
[16.4260046, 99.5565774, มะพร้าวน้ำหอม]
วิธีการปลูก
- ควรปลูกในฤดูฝน
- ขุดดินบนหลุมปลูกที่เตรียมไว้ให้เป็นหลุมเล็ก ๆ ขนาดเท่าผลมะพร้าว
- เอาหน่อที่คัดเลือกแล้วมาตัดรากที่หักช้ำออก ใช้ปูนขาวหรือยากันเชื้อราทาตรงรอยตัด วางหน่อลงในหลุม ให้หน่อตั้งตรง หันหน่อไปในทิศทางเดียวกัน
- กลบดินอย่างน้อย ๒/๓ ของผล หรือให้มิดผลมะพร้าวพอดีแต่ระวังอย่า ให้ดินทับโคนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อถูกรัด ต้นจะโตช้าแต่เมื่อมะพร้าวโตขึ้นแล้วก็ควรจะกลบ ดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันโคนลอย
- เอาไม้ปักเป็นหลักผูกยึดกับต้นให้แน่น เพื่อป้องกันลมโยกเหยียบดินรอบโคนหน่อให้แน่น
- ควรทำร่มให้ในระยะแรก เพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากถูกแดดจัดเกินไป
- ในบริเวณที่ปลูกถ้ามีสัตว์เลี้ยงให้ทำรั้วป้องกันสัตว์มาทำลาย
วิธีการให้น้ำ :
ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมในปีแรก ควรใช้น้ำทุกสัปดาห์เมื่อมะพร้าวโตขึ้นอาจให้น้ำทุก ๒ สัปดาห์
วิธีการใส่ปุ๋ยมะพร้าวน้ำหอม :
แม้ว่ามะพร้าวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในสภาพดินแทบทุกชนิด แต่ปริมาณผลผลิตนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหาร และสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะแก่การ ปลูกมะพร้าวควรอยู่ในช่วงระหว่าง pH ๖-๗ การใส่ปุ๋ยให้พอเหมาะแก่ความต้องการ ของมะพร้าวนั้น ควรนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการด้วย ซึ่งพบว่าในปีหนึ่ง ๆ มะพร้าวจะดูดธาตุอาหารไปใช้ดังนี้
ไนโตรเจน ๙.๔๔- ๑๕.๖๘ กิโลกรัมต่อไร่
ฟอสฟอรัส ๔.๓๒ – ๗.๓๖ กิโลกรัมต่อไร่
โพแทสเซียม ๑๓.๖๐ – ๒๐.๒๐ กิโลกรัมต่อไร่
แคลเซี่ยม ๑๓.๖๐ กิโลกรัมต่อไร่
แมกนีเซี่ยม ๕.๖ กิโลกรัมต่อไร่
ในบรรดาธาตุดังกล่าว มะพร้าวจะดูดธาตุโพแทสเซียมไปใช้มากที่สุด โดยประมาณ ๖๒ เปอร์เซ็นต์ของโพแตสเซียมจะถูก นำไปใช้ในการเพิ่มจำนวนผลผลิตของมะพร้าว
ชนิดปุ๋ยที่ใช้ได้ผลและเพิ่มผลผลิตมะพร้าวได้สูงสุด คือ ปุ๋ยเกรด ๑๓- ๑๓ – ๒๑ ปุ๋ยเกรด ๑๒ – ๑๒ – ๑๗ – ๒, แมกนีเซียมซัลเฟต และปุ๋ยหินปูนโดโลไมท์ตามลำดับ ในการใช้ปุ๋ยนั้น ให้พิจารณาถึงสภาพความเป็นกรดเป็น ด่างของดินด้วย กล่าวคือ ในสภาพดินที่มีความเป็นด่างให้ใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต และสภาพดินที่มีความเป็นกรดให้ใช้ปุ๋ยโดโลไมท์ โดยให้ก่อนหรือหลังใส่ปุ๋ยเคมีประมาณ ๑ เดือน เพื่อป้องกันการดูดตรึงธาตุอาหารไว้ในดินทำให้มะพร้าว ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ฤดูที่เหมาะสมที่สุดที่จะใส่ปุ๋ยให้เหมาะแก่มะพร้าว คือ ในช่วงต้นและปลายฤดูฝน เพราะในช่วงนี้มีความ ชื้นเพียงพอที่จะ ช่วยละลายปุ๋ยและรากของมะพร้าวกำลังเจริญอย่างเต็มที่สามารถ ดูดปุ๋ยไปใช้ได้ดี
*** จากการศึกษาพบว่า รากมะพร้าวที่สามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ดีจะอยู่บริเวณติดกับลำต้นและอยู่ ห่างจากลำต้นภายในรัศมี ๒ เมตร ดังนั้นการใส่ปุ๋ยตั้งแต่โคนต้นไปจนถึง ๒ เมตรโดยรอบ แต่ถ้าเป็นมะพร้าวที่ยังเล็กอยู่ควรหว่านปุ๋ยใกล้โคน มะพร้าวเพราะ รากยังน้อย หลังจากหว่านปุ๋ยแล้วควรพิจารณาดินตื้น ๆ ลึกประมาณ ๑๐ – ๑๕ เซนติเมตร เพื่อให้ปุ๋ยได้คลุกเคล้ากับดินและป้องกัน การชะล้าง
การเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ ประเทศที่อยู่ในเขต ร้อน มักมีอินทรีย์วัตถุในดินน้อย และมีการสลายตัวเร็ว เพราะมีฝนตกชุกและอุณหภูมิสูงจุลินทรีย์ในดินจะเจริญเติบโต ได้ดีคอยย่อยสลายทำลายพวกอินทรีย์วัตถุอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินขาดความร่วนซุย การระบายน้ำ ระบายอากาศไม่ดี ดังนั้น จึงต้องมีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน เช่น การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดที่ใช้ผลดี เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า แล้วไถกลบหรือใช้วิธีเลี้ยงสัตว์ในสวนมะพร้าวก็ได้
การกำจัดวัชพืช :
- ใช้แรงงานคน โดยการถางด้วยจอบ หรือดายด้วยมีด
- ใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถตัดหญ้า รถไถขนาดเล็ก
- ปลูกพืชคลุมจำพวกหรือตระกูลถั่ว เช่น คาโลโปโกเนียมเพอร์ราเรีย หรือเซ็นโตรซีมา โดยปลูกห่างจากโคนต้นประมาณ ๒ เมตร
การเก็บเกี่ยวมะพร้าว :
มะพร้าวน้ำหอมเป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตตลอดปี โดยสามารถเก็บผลมะพร้าวได้ประมาณ ๒๐ วันต่อครั้ง ใน ๑ ปีหากมะพร้าวแทงจั่นทุกครั้งที่ออกทาง ใหม่จะเก็บมะพร้าวได้ทั้งสิ้น ๑๖ ทะลายต่อต้น ซึ่งทะลายใหญ่ ๆ มีผลประมาณ ๑๐-๑๕ ผล ผลผลิตเฉลี่ยปีละ ๗๐-๑๐๐ ผลต่อต้น หรือประมาณ ๓๐๐๐-๔๐๐๐ ผลต่อไร่
คำสำคัญ : มะพร้าวน้ำหอม
ที่มา :
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : นางสาวอาทิมา ชายยินดี
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=368&code_db=DB0014&code_type=F002
กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง (Roselle) เป็นพืชล้มลุกอายุปีเดียว นิยมปลูกสำหรับนำดอกมาใช้ประโยชน์หลัก ได้แก่ นำดอกมาต้มเป็นน้ำกระเจี๊ยบ ส่วนอื่นๆรองลงมา ได้แก่ ใบ และยอดอ่อนนำมาปรุงอาหาร สีของดอกใช้เป็นสีผสมอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 667
ขนุน
ขนุน (Jeckfruit) จัดเป็นผลไม้ที่มีผลขนาดใหญ่ที่สุด นิยมปลูกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจาก ผลสุกมียวงที่ให้รสหวานกรอบ มีกลิ่นหอม ส่วนผลดิบนิยมใช้ประกอบอาหารคาวที่ให้รสอร่อย นอกจากนั้น ยังมีความเชื่อในเรื่องการปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลแก่คนในบ้าน
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 819
มะพร้าวน้ำหอม
มะพร้าวน้ำ หอม เป็นพืชที่มีอนาคตในด้านการส่งออก และแปรรูปใน อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม มากขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษคือเนื้อมะพร้าวมีรสชาติหวาน กลมกล่อมและมี กลิ่นหอมชื่นใจ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 874
คะน้า
ผักคะน้า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียและปลูกกันมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย คะน้าเป็นผักที่นิยมปลูกและบริโภคกันมา โดยปลูกเพื่อบริโภคส่วนของใบและลำต้น อายุตั้งแต่หว่านหรือหยอดเมล็ดจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วัน ผักคะน้าเป็นผักสวนครัวที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่ปลูกได้ผลดี ที่สุดอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเมษายน
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 784
เห็ดนางฟ้า
เห็ดนางฟ้า จัดเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญที่นิยมรับประทานมากไม่แพ้กว่าเห็ดนางรม และเห็ดฟาง เนื่องจาก เห็ดชนิดนี้สามารถเพาะได้ง่าย มีเวลาในการเพาะสั้น ดอกเห็ดออกจำนวนมาก ดอกเห็ดให้เนื้อนุ่ม สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด อาทิ แกงเลียง และต้มยำ เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 142
ฝรั่งแป้นสีทอง
พันธุ์แป้นสีทอง มีลักษณะผลค่อนข้างกลม ผลดิบมีสีเขียวสดออกอ่อนเล็กน้อย ผลห่ามหรือระยะเก็บผลจะมีลักษณะสีเขียวอ่อนออกเหลืองทอง ขนาดกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร เนื้อหนา 1-2 เซนติเมตร มีรสหวาน กรอบ เมล็ดน้อย
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 540
กระถิน
ต้นกระถินที่ขึ้นเองตามธรรมชาติกลับลดน้อยลงไปเป็นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่ต่างๆ กลับกลายมาเป็นตึกรามบ้านช่องและนำไปทำประโยชน์อย่างอื่นซะเป็นส่วนใหญ่ อีกประการหนึ่งก็อาจจะเป็นเพราะ กระถิน เป็นต้นไม้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 258
ฟักทอง
ฟักทองเป็นพืชตระกูลเดียวกับแตง เป็นผักที่ปลูกได้ง่าย ขึ้นได้ในดินทุกชนิด แทบทุกส่วนของฟักทองสามารถนำมาใช้บริโภคเป็นอาหารได้ นอกจากนั้นยังนำมาทำของหวานได้ด้วย ฟักทองมีลำต้นเลื้อย จึงต้องการพื้นที่ในการเพาะปลูกมาก มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ใช้แมลงเป็นตัวช่วยผสมละอองเกสร
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 771
มะเขือเปราะ
มะเขือเป็นพืชผักเมืองร้อนที่ใช้ส่วนผลบริโภคเป็นอาหารตามประวัติกล่าวไว้ว่ามะเขือเป็นพืชพื้นเมืองของอินเดีย ซึ่งต่อมาได้แพร่หลายเข้าไปในทวีปยุโรป และอเมริกาด้วย มะเขือต่าง ๆ ที่เรารู้จักและนิยมบริโภคกันแพร่หลายมีอยู่มากชนิดด้วยกันเช่น มะเขือยาว มะเขือเปราะ มะเขือม่วง มะเขือเสวย เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 899
แตงกวา
แตงกวาเป็นพืชที่นำผลมาใช้เป็นอาหาร มนุษย์เริ่มบริโภคแตกวามานากว่า 3,000 ปีเลยทีเดียว ชาวจีนเป็นผู้เผยแพร่พันธุ์แตงกวาไปสู่ประเทศต่างๆ ผลของแตงกวานำมาประกอบอาหารได้ในลักษณะดิบและสุก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในอุตสาหกรรมทำอาหารดอง แตงกวาเป็นพืชที่ปลูกง่าย อายุสั้น การเจริญเติบโตเป็นพุ่มและมีเถาเลื้อย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 489