ส้มแผ่น
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้ชม 1,458
[16.411628, 99.360965, ส้มแผ่น]
ในฤดูกาลที่ต้นมะม่วงออกผลมาจำนวนมากเกินกว่าที่จะบริโภคผลสดได้หมด เริ่มจะมีมะม่วงสุกร่วงหล่นจากต้นมาก ไม่น่ามาใช้รับประทานผลไม้สดได้ วิธีดั้งเดิมของชาวบ้านก็มักจะนำมะม่วงสุกเหล่านี้มาทำ "ส้มแผ่น” ที่รสชาติอร่อย ออกหวานอมเปรี้ยว เพื่อเก็บไว้กินได้อีกนาน หากปีไหนทำส้มแผ่นกันมากเกินเก็บ ก็จะเอามาขายบ้าง เริ่มเกิดความคิดที่จะนำส้มแผ่นซึ่งเป็นผลผลิตของชาวบ้านมาเป็นสินค้าและมีเป้าหมายที่จะทำให้ชื่อ "ส้มแผ่น” เป็นสินค้าของฝากและได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ได้เลือกซื้อเป็นของฝากเสมอ
ส่วนประกอบ
1. มะม่วงสุก
2. น้ำตาลทราย หรือน้ำตาลกรวด
3. เกลือ
4. สารส้ม
5. น้ำ
วิธีการทำ
1. นำมะม่วงสุกที่ปอกเปลือกแล้วแช่ลงในสารส้มพอประมาณ โดยแช่ทิ้งไว้นาน 5 นาที นำมาสับแล้วบดหรือปั่นให้ละเอียดตามต้องการ
2. ใส่ลงไปในกระทะพร้อมกับเติมน้ำตาลทราย หรือน้ำตาลกรวด กวนไปเรื่อยๆ อย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง หมั่นเติมน้ำและค่อยๆ กวนให้เข้ากัน ในระหว่างที่กวนให้ใส่สารส้มลงไปด้วยเล็กน้อย เมื่อกวนเสร็จแล้วให้เปลี่ยนภาชนะบรรจุที่สามารถทนความร้อนได้ดี ทิ้งไว้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง ก่อนจะนำไปตาก
3. ตากบนแผงพลาสติกที่เตรียมไว้ให้โดนแสงแดดเต็มที่ทั้งสองด้านของแผ่นมะม่วงกวน หลังจากตากแดดแรกเสร็จแล้วให้นำมะม่วงกวนออกมาตากแดดอีกครั้งในวันถัดไป จากนั้นจึงค่อยทำความสะอาดมะม่วงกวนก่อนที่จะนำไปบรรจุหีบห่อในขั้นตอนสุดท้าย
คำสำคัญ : มะม่วงกวน, มะม่วงแปรรูป
ที่มา : https://www.vsportkamphaeng.com/post/7424
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ส้มแผ่น. สืบค้น 3 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2153&code_db=DB0022&code_type=004
Google search
ขนมครก เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งน้ำตาลและกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะรับประทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน เป็นขนมของไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณมีหลักฐานว่าขนมครกเป็นที่นิยมแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีการทำเตาขนมครกขายตั้งแต่ยุคนั้น ขนมครกแต่เดิมใช้ข้าวเจ้าแช่น้ำ โม่รวมกับหางกะทิ ข้าวสวย และมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย ผสมเกลือเล็กน้อยใช้เป็นตัวขนม ส่วนหน้าของขนมครกเป็นหัวกะทิ ขนมครกชาววังจะมีการดัดแปลงหน้าขนมครกให้แปลกไปอีก เช่น หน้าเผือก หน้าข้าวโพด หน้าต้นหอม
เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 4,800
ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ คือขนมที่ใช้ไข่ แป้ง และกะทิเป็นส่วนประกอบสำคัญ นำผสมกันในถาดตามสัดส่วน แล้วจึงนำไปอบจนหน้าของขนมหม้อแกงมีสีน้ำตาลทอง น่ารับประทาน ปัจจุบันมีการทำเผือก เม็ดบัว ถั่ว และหอมเจียว มาผสม และแต่งหน้าขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 5,851
"ข้าวต้มลูกโยน” หรือ "ข้าวต้มหาง” เป็นเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการห่อข้าวต้มที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำมาจากข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ถั่วดำ ผสมน้ำตาลทรายและเกลือ แล้วนำมาห่อด้วยใบเตย หรือใบมะพร้าวอ่อน (คล้ายกับข้ามต้มมัด) โดยจะทำเป็นกรวยห่อหุ้มข้าวเหนียว และเหลือใบไว้เป็นหางยาว ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการใส่บาตร
เผยแพร่เมื่อ 04-08-2022 ผู้เช้าชม 5,010
ขนมถ้วยตะไล คนสมัยนี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “ขนมถ้วย”เฉย ๆ ขนมถ้วยตะไล นี้เป็นขนมไทยโบราณอีกชนิดหนึ่งที่หารับประทานได้ไม่ยากนัก เพราะมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบก็หาได้ง่าย คือ แป้งข้าวจ้าว น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลโตนด กะทิ เกลือโดยมีวิธีการขั้นตอน ๒ ข้อนตอน คือขั้นตอนแรกการทำตัวขนม โดยใช้แป้งข้าวจ้าว ผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนด ใส่ถ้วยตะไล ประมาณครึ่งถ้วยนำไปนึ่งให้สุก ยกลงพักไว้ขั้นตอนที่สองขั้นตอนการทำหน้าขนมถ้วย ใช้แป้งข้าวจ้าวผสมกะทิ และเกลือ ชิมรสมันเค็มนำไปหยอดหน้าขนมถ้วยที่นึ่งส่วนตัวไว้แล้ว นำไปนึ่งให้สุก
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 11,167
หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 5,039
แกงก้านคูน หรือแกงคูน เป็นอาหารพื้นบ้าน ที่คนในชุมชนรู้จักกันเป็นอย่างดี วัสดุที่ใช้และเครื่องปรุงส่วนใหญ่ เป็นของที่หาได้ง่าย ราคาถูก ในชุมชน ส่วนผสมสำคัญประกอบด้วย คูนก้านอ่อน ๑๐๐ กรัม เนื้อปลาช่อนสด หรือปลาช่อนย่าง หรือกุ้งฝอย ๑๐๐ กรัม มะเขือเทศลูกเล็ก ๔ ลูก มะนาว ๑ ผล ใบแมงลัก ๓ ต้นใช้แต่ใบ เครื่องแกงประกอบด้วย พริกหนุ่ม ๓ เม็ด หอมแดง ๓ หัว กระเทียม ๒๐ กลีบ ขมิ้นซอย ๑ ช้อนโต๊ะ คะไคร้ซอย ๒ ช้อนโต๊ะ เกลือ ๑ ช้อนชา กะปิ ๑ ช้อนโต๊ะ วิธีปรุง ให้เริ่มจากการแกะเปลือกก้านคูนออก หั่นเป็นท่อน คลุกกับเกลือและน้ำ แล้วจึงบีบน้ำออกเพื่อให้ก้านคูนนิ่ม โขลกเครื่องแกงรวมกันจนละเอียด ต้มน้ำสะอาดจนเดือด ละลายเครื่องแกงลงในน้ำเดือด ใส่ก้านคูนที่เตรียมไว้ลงในหม้อ หลังจากนั้น จึงใส่น้ำมะนาว มะเขือเทศ พอน้ำเดือดใส่เนื้อปลาช่อน พอปลาสุก ใส่ใบแมงลัก คนจนเข้ากัน ปิดไฟ เป็นอันเสร็จ
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,806
ขนมใส่ไส้ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ขนมสอดไส้" เป็นขนมไทยที่ใช้ในพิธีขันหมากในสมัยโบราณ ขนมใส่ไส้นี้ห่อด้วยใบตองแล้วมีเตี่ยวคาด (เตี่ยวก็คือทางมะพร้าว) ห่อเป็นทรงสูง ขนมใส่ไส้มีกลิ่นหอมและหวานจากตัวไส้ รสเค็มมันด้วยหน้ากะทิที่สดใหม่ หน้าข้นพอดี ไม่เละ เป็นขนมไทยโบราณพื้นบ้านชนิดหนึ่งหารับประทานได้ง่ายราคาถูกมีรสหวานหอม รับประทานได้ทุกเพศทุกวัยทำจากแป้งกะทิและน้ำตาลส่วนประกอบของขนมมีสามส่วนคือไส้กระฉีก แป้งสำหรับห่อไส้ และหน้าขนม
เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 5,560
ปลาเห็ดหรือทอดมัน เป็นอาหารพื้นบ้าน คำว่า “ปลาเห็ด” เป็นคำที่สันนิษฐานว่ามีที่มาจาก ภาษาเขมรซึ่งเขียนว่า “ปฺรหิต” เวลาอ่านออกเสียงว่า “ปฺรอเฮด” ในพจนานุกรมภาษาเขมรอธิบายไว้ว่า “เป็นเครื่องประสมหลายอย่าง เป็นเครื่องช่วยทำให้อาหารมีรสอร่อย เป็นเครื่องช่วยกับข้าว ทำด้วยปลาหรือเนื้อสับให้ละเอียดแล้วคลุกให้ เข้ากันกับเครื่องผสมหลายอย่าง เช่น แป้งข้าวเจ้า แล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วทอดน้ำมัน หรือเอาไปแกง” เครื่องปรุง ประกอบด้วย ปลาทั้งเนื้อทั้งกระดูก กุ้งฝอย สับให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงปรุงรสด้วยพริกแกงเผ็ด ปรุงรสเค็มนิดๆ เวลาจะทอด ให้ปั้นเป็นชิ้นแบนๆ ขนาดประมาณสามนิ้วมือเรียงชิดกัน ทอดด้วยน้ำมันใหม่ๆ จนเหลืองกรอบนอก ด้านในเหนียวนุ่ม
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,860
มันรังนก เป็นขนมท้องถิ่นอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ส่วนผสมประกอบด้วย มันเทศ ๒ หัว น้ำมันสำหรับทอด ๓ ถ้วยตวง น้ำตาลปี๊บ ½ ถ้วยตวง แบะแซ ๑ ช้อนโต๊ะ งาคั่ว ๓ ช้อนโต๊ะ เกลือป่น ½ ช้อนชา สำหรับวิธีการทำ เริ่มจากการปอกเปลือกมันเทศแล้วรีบแช่ลง ในน้ำผสมน้ำมะนาว (น้ำ ๑ ถ้วย : น้ำมะนาว ๑ ช้อนโต๊ะ เพื่อป้องกันไม่ให้ดำ) แล้วจึงหั่นมันเป็นเส้นสี่เหลี่ยมขนาดก้านไม้ขีด ให้ได้ ๕–๖ ถ้วยตวง ล้างน้ำผสมน้ำมะนาวแล้วสงขึ้นให้สะเด็ดน้ำ ใส่กระด้งผึ่งจนหมาด ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันลงไป พอน้ำมันร้อนแบ่งมันลงทอดทีละน้อย จนกรอบเหลืองแล้วช้อนขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน ตั้งกระทะทองใส่น้ำ ๒/๓ ถ้วยตวง ใส่น้ำตาลแบะแซและเกลือเคี่ยวไปจนเหนียวเหมือน “ยางมะตูม” จึงใส่มันทอดลงไปเคล้าให้ทั่วโดยเร็ว โรยงาคั่ว ให้ติดประปรายทั่วไป แล้วจึงยกกระทะลง ใช้ช้อนตักให้เป็นก้อนกลมๆ บางบ้านหยอดลงในถ้วยกระดาษเล็กๆ หรือบางบ้านเพียงแต่ตะล่อมเป็นก้อนกลมๆ โดยไม่ใส่ถ้วยก็ได้ ผึ่งไว้ให้เย็นจึงเก็บเข้าขวดแก้ว
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,602
เป็นขนมพื้นบ้านชนิดหนึ่งพบทำขายในตลาดสดและเพิงอาหารริมทาง ส่วนผสมประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า ๑๐๐ กรัม แป้งมัน ๑๐๐ กรัม แป้งสาลี ๕๐ กรัม ไข่ไก่ ๑ ฟอง งาดำ งาขาว น้ำตาลทราย ¼ ถ้วย เกลือป่น ๑ ช้อนชา น้ำมันพืช ๑ ช้อนโต๊ะ น้ำปูนใส ½ ถ้วย น้ำมันพืชสำหรับทอด อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ พิมพ์ขนมดอกจอก กระทะ และเตา สำหรับวิธีการปรุง เริ่มจากผสมแป้งทั้งหมดเข้าด้วยกัน ค่อยๆ ใส่น้ำปูนใส และน้ำ ทีละนิด นวดแป้งจนเข้ากัน จากนั้น ใส่ไข่ไก่ น้ำตาลทราย เกลือป่น น้ำมัน คนให้เข้ากัน เติมน้ำที่เหลือจนหมด แล้วจึงใส่น้ำมันลงในภาชนะ แช่พิมพ์สำหรับทำขนมในน้ำมัน ตั้งไฟให้ร้อน ใช้ไฟปานกลาง ยกพิมพ์ขึ้นซับกับกระดาษซับน้ำมัน แล้วจุ่มลงในแป้งที่เตรียมไว้ ให้แป้งติดพิมพ์ แล้วนำลงไปจุ่มในน้ำมันทอด พอแป้งอยู่ตัวแล้วสะบัดให้แป้งหลุดจากพิมพ์ หากแป้งไม่หลุดให้หาไม้หรือมีดปลายแหลมค่อยๆ เขี่ยออก อย่าให้แป้งแตกออกจะไม่สวย ทอดจนเหลือง แล้วจึงตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น แล้วจึงเก็บขนมใส่ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 3,762