ผาสามเงา
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้ชม 1,009
[17.2140541, 99.0391016, ผาสามเงา]
ชื่อวัด :
ผาสามเงา
สถานที่ตั้ง :
ตำบลย่านรี อำเภอสามเงา จังหวัดตาก 63130
ประวัติความเป็นมา :
ผาสามเงา อยู่ในตำบลย่านรี จากอำเภอเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 1107 (เจดีย์ยุทธหัตถี-เขื่อนภูมิพล) ผ่านทางแยกไปเจดีย์ยุทธหัตถีประมาณ 25 กิโลเมตร หรือถ้าใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงกิโลเมตรที่ 463 จะมีทางแยกซ้ายเข้าเขื่อนภูมิพลไปประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงอำเภอสามเงา ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำปิง จะมองเห็นขุนเขาใหญ่ลูกหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ผาสามเงา" เพราะเป็นที่เชิงเขาริมหน้าผานั้นเจาะเป็นช่องลึกเข้าไปในเนื้อภูเขาเรียงกัน 3 ช่อง ประดิษฐานพระพุทธรูปปิดทองช่องละองค์ มีบันไดไม้ให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปได้
มีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา ว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.1206 มีพระฤาษีสององค์สร้างเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) และให้คนมาทูลเชิญราชวงศ์กษัตริย์จากเมืองละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน ไปครองเมืองหริภุญชัย พระนางจามเทวี ได้รับมอบหมายให้ไปครองเมืองตามคำเชิญ พระนางจึงเสด็จมาทางชลมารค ขึ้นมาตามลำน้ำปิงปรากฏว่าเมื่อมาถึงบริเวณหน้าผาแห่งนี้เกิดเหตุมหัสจรรย์มีฝนและพายุใหญ่พัดกระหน่ำจนเรีอไม่สามารถแล่นทวนน้ำขึ้นไปได้และปรากฏเงาพระพุทธรูปสามองค์ที่หน้าผาริมน้ำปิงแห่งนี้ พระนางจึงสั่งให้เจาะหน้าผาและสร้างพระพุทธรูปบรรจุไว้ในช่อง ช่องละองค์ ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า "ผาสามเงา" สืบมา
คำสำคัญ : ผาสามเงา
ที่มา : https://www.touronthai.com/article/756
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผาสามเงา. สืบค้น 25 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1838&code_db=610009&code_type=TK001
Google search
เป็นเจดีย์คู่กัน 2 องค์นั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เดิมเห็นจะมีเจดีย์คู่สร้างไว้แต่ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อคราวตีได้เมืองเชียงใหม่กลับคืนมาเป็นของไทย ชะรอยของเดิมคงจะชํารุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงโปรดให้บูรณะขึ้นใหม่ แล้วทําช่องตามประทีปไว้ที่ฐานเจดีย์ตามแบบอย่างที่พระองค์โปรด
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,288
วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นวัดที่ตั้งอยู่ ใจกลางเมือง ติดกับศาลหลักเมือง เรียกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า “วัดกลาง” หรือ”วัดกลางนคร” โดยถือเอาสถานที่ตั้งเป็นสำคัญ วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร หรือ วัดกลาง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นผู้ทรงสร้างตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จัดเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ ในสมัยก่อนมีพิธีอย่างหนึ่งคือ พิธีที่ข้าราชการทุกแผนก จะต้องสาบานตนว่าตนจะต้องรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดี ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต พิธีนี้เรียกว่า พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ทางราชการได้ใช้วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี รวมทั้งให้เป็นสถานที่ทำพิธีสวดเสกน้ำพระพุทธมนต์ถวายในงานพระราชพิธีเสวยราชสมบัติ
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,014
วัดดงปู ตั้งอยู่ที่บ้านดงปู หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 6 ไร่ 70 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 52 วา ติดต่อกับถนนสายตาก – แม่สอด ทิศใต้ยาว 60 วา ติดต่อกับที่ดินของผู้ใหญ่เทียม จันทรรอด ทิศตะวันออกยาว 66 วา ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศตะวันตกยาว 56 วา ติดต่อกับที่นาของผู้ใหญ่เทียม จันทรรอด โดยมี น.ส. 3 ก. เลขที่ 136 เป็นหลักฐาน
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,034
วัดท่านา ตั้งอยู่เลขที่ 3 บ้านหนองบัวใต้ หมู่ที่ 2 ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 28 ไร่ 2 งาน 4 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 60 วา ติดต่อกับที่ธรณีสงฆ์ ทิศใต้ยาว 60 วา ติดต่อกับทางหลวงจังหวัดสายตาก – บ้านตาก ทิศตะวันออกยาว 240วา ติดต่อกับทางหลวงจังหวัด ทิศตะวันตกยาว 240 วา ติดต่อกับทางหลวงจังหวัด โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ 5639,2443
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,163
วัดมะเขือแจ้ ตั้งอยู่เลขที่ 451 บ้านเสาสูง ถนนมหาดไทยบำรุง ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 21 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับถนนมหาดไทยบำรุง ทิศใต้ติดต่อกับถนนท่าเรือ ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนเทศบาลไปเกาะลอย ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนมหาดไทยบำรุง โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ 1865 เป็นหลักฐาน
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,196
วัดคลองสัก ตั้งอยู่ที่บ้านคลองสัก หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำรึม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 2 เส้น 17 วา 2 ศอก ติดต่อกับที่ดินของดาบตำรวจประสาท ทิศใต้ยาว 2 เส้น 10 วา ติดต่อกับทางสาธารณะและลำคลอง ทิศตะวันออกยาว 2 เส้น 10 วา ติดต่อกับลำคลองและป่าไม้ ทิศตะวันตกยาว 3 เส้น 17 วา 2 ศอก ติดต่อกับที่ดินกำนันอยู่ ด้วงนา โยมี น.ส. 3 เลขที่ 4534 เป็นหลักฐาน
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,883
ผาสามเงา อยู่ในตำบลย่านรี จากอำเภอเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 1107 (เจดีย์ยุทธหัตถี-เขื่อนภูมิพล) ผ่านทางแยกไปเจดีย์ยุทธหัตถีประมาณ 25 กิโลเมตร หรือถ้าใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงกิโลเมตรที่ 463 จะมีทางแยกซ้ายเข้าเขื่อนภูมิพลไปประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงอำเภอสามเงา ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำปิง จะมองเห็นขุนเขาใหญ่ลูกหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ผาสามเงา" เพราะเป็นที่เชิงเขาริมหน้าผานั้นเจาะเป็นช่องลึกเข้าไปในเนื้อภูเขาเรียงกัน 3 ช่อง ประดิษฐานพระพุทธรูปปิดทองช่องละองค์ มีบันไดไม้ให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปได้
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,009
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองตากเก่า ดินแดนล้านนาตะวันตก อายุกว่า 2,000 ปี ที่ตั้งของเมืองซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเป็นที่หมายปองของ 2 อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในอดีด คือ ล้านนา และสุโขทัยตั้งอยู่บริเวณตำบลเกาะตะเภา ลักษณะเดิมของเมืองตากเก่าตั้งอยู่บนเนินดินสูงราว 20 เมตร มีกำแพงเมืองและคูน้ำล้อมรอบด้านละ 2-3 ชั้น ร่องรอยของแนวกำแพงเมืองซึ่งสร้างเป็นดินเหลือให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก มีพื้นที่ภายในกำแพงเมืองประมาณ 172 ไร่ ปัจจุบันเป็นป่าไผ่ และเนินเขาสภาพทั่วไป ตัวเมืองเป็นรูปวงรีไปตามลักษณะของเนินเขาที่ตั้งตัวเองอยู่ห่างจากแม่น้ำ ปิงประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในกำแพงเมืองมีโบราณสถานสำคัญ เช่น เจดีย์ยุทธหัตถี วัดสันย่าผ้าขาว วัดโขงพระโหมด วัดโองโมงค์ วันหนองช้างเผือก ด้านทิศใต้มีห้วยล้องลี่ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยการดัดแปลงของมนุษย์ ด้านทิศเหนือมีหนองน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า หนองเล่ม ด้านทิศตะวันออกมีแนวแม่น้ำปิง
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 2,800
วัดดอยข่อยเขาแก้ว หรือวัดพระเจ้าตาก นับว่าเป็นมงคลธรรมแก่สถานที่อย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว ในปีพุทธศักราช 2534 - 2547 มูลนิธิสมเด็จพระเจ้าตากฯ และจังหวัดตาก พร้อมด้วยกรมศิลปากร ได้ร่วมกันขุดค้นและบูรณะโบราณสถานภายในบริเวณวัดแห่งนี้ จากการศึกษาพบว่าบริเวณดังกล่าว มีการตั้งรกรากถิ่นฐาน และสร้างอาคารศาสนสถาน สมัยที่ 1 ในระหว่าง 1,500-2,000 ปีมาแล้ว สมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยที่ 2 กลุ่มชนสมัยอยุธยา เข้ามาตั้งถิ่นฐาน จากหลักฐานในพระราชพงศวดาร กล่าวว่าในสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พุทธศักราช 2091-2111) พระเจ้าหงสาวดีได้ให้พระเจ้าเชียงใหม่ต่อเรือรบไว้ที่ตำบลระแหง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดตาก) จึงเป็นชุมชนตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเข้าตีหัวเมืองเชียงใหม่
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,588
วัดดอยคีรี ตั้งอยู่เลขที่ 721 บ้านหัวเดียด ตำบลหัวเดียด อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 5.20 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือ ยาว 55 วา ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศใต้ยาว 32 วา ติดต่อกับที่ดินเอกชน ทิศตะวันออกยาว 35 วา ติดต่อกับที่ดินเอกชน ทิศตะวันตกยาว 53 วา 2 ศอก ติดต่อกับถนนรามคำแหง โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ 32 เป็นหลักฐาน และมีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 30 , 31
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,654