ประเพณีงานบวช
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 23,661
[16.2235358, 99.9206735, ประเพณีงานบวช]
งานบวช เป็นประเพณีไทยสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ชายไทยเมื่ออายุครบบวช จะต้องบวชให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสืบทอดอายุพระพุทธสาสนาสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ให้ตนเองและบิดามารดารวมทั้งหมู่ญาติการมีโอกาสได้เป็นนักบวช ดำรงเพศสมณะผุ้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก็สามารถค้นหาแหล่งความสุขที่แท้จริงศึกษาเรื่องราวความจริงของชีวิตเป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ว่าเกิดมาทำไมตายแล้วไปไหนบาปบุญคุณโทษนรกสวรรค์ภพนี้ภพหน้าและสังสารวัฏ ซึ่งเป็นความรู้ที่มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาที่ทนทานต่อการพิสูจน์ ช่างภาพงานบวช ถ่ายรูปงานบวช งานบวช
ผู้ที่มาบวชถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีบุญมาก เพราะเพศสมณะใช่ว่าใครจะมาอยู่ได้ง่ายๆ ต้องสั่มสมบุญกันมาข้ามภพข้ามชาติ เมื่อบารมีมากขึ้นก็มีโอกาสมาบวชในบวรพุทธศาสนาดูอย่างในสมัยพุทธกาลเป็นต้นแบบผู้ที่จะมาบวชไม่ได้ผู้ด้อยโอกาสแต่เป็นผู้ที่มาจากหลากหลายตระกูล ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตเพราะเห็นโทษภัยในการครองเรือนในวัฏฏสงสารจึงมาออกบวชหลายท่านมาจากตระกูลขัตติยะก็มีแพศย์ก็มีศูทรก็มีการที่ตระกูลกษัตริย์พราหมณ์และมหาเศรษฐีต่างเข้ามาบวชก็แสดงว่าการบวชไม่ใช่เรื่องธรรมดาไม่ใช่เรื่องของผู้ด้อยโอกาส แต่เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวด
ประโยชน์ของการบรรพชาและอุปสมบท
1. เป็นการทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน หมายความว่า พุทธศาสนิกชนจะช่วยรักษาพระพุทธศาสนาโดยรักษาพระธรรมวินัยให้เจริญ มั่นคง เพราะว่าพระพุทธศาสนาก็คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ายังดำรงอยู่ ก็จะเป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลาย ช่วยให้เขามีชีวิตที่ดีงาม และสังคมที่ร่มเย็นเป็นสุข วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาพระพุทธศาสนา ก็คือ การบวชเข้าไปเรียนรู้พระธรรมวินัย และรักษาถ่ายทอดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าต่อกันไป เรียกว่า สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
2. เป็นการทำหน้าที่ของคนไทย หมาย ความว่า พระพุทธศาสนาเข้ามาอยู่ในสังคมไทย และได้กลายเป็นมรดกของชนชาติไทย คนไทยได้เห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นทรัพย์สมบัติที่มีค่าสูงสุดของประเทศชาติ และสังคมของเราเพราะว่าเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาแล้ว ก็ให้หลักธรรมคำสอน ทำให้คนประพฤติดีงามเป็นหลักให้แก่สังคม ทำให้สังคมอยู่กันได้ด้วยสันติสุข มีการเบียดเบียนกันน้อยลง ถ้ามีคนดีมากกว่าคนชั่วสังคมนี้ก็อยู่ได้ พระพุทธศาสนาได้ช่วยให้คนมากมายกลายเป็นคนดีขึ้นมา นอกจากนั้นพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม ตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี การศึกษา ดนตรีและศิลปะต่าง ๆ ก็มาจากวัดวาอาราม เป็นต้น
3. เป็นการสนองพระคุณบิดามารดา ดัง ที่ถือกันเป็นประเพณีว่า ถ้าใครได้บวชลูกแล้ว ก็ได้บุญกุศลมาก ช่วยให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองไปสวรรค์ ตลอดจนได้เป็นญาติของพระศาสนา แต่ถ้ามองความหมายให้ลึกซึ้งลงไปก็เป็นเรื่องความเป็นจริงของชีวิตจิตใจ กล่าวคือ การบวชเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้จิตใจของพ่อแม่มีความสุข มีความปลาบปลื้มใจ ด้วยความหวังว่าเมื่อลูกได้เข้าไปอยู่ในวัด ได้ศึกษาอบรมในพระธรรมวินัยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นคนดี จะรับผิดชอบชีวิตของตนเองได้ จะรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคมได้ แล้วเกิดความมั่นใจ พ่อแม่ก็จะมีความสุขเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อลูกบวช ก็เท่ากับจูงพ่อแม่เข้ามาสู่พระศาสนาด้วย มีโอกาสได้ฟังธรรม ได้เรียนรู้ธรรมะ ทำให้ได้ใกล้ชิดพระศาสนา เรียกว่าเป็นญาติของพระศาสนาอย่างแท้จริง
4. เป็นการฝึกอบรมพัฒนาตนเอง คือการพัฒนาชีวิตทั้งในด้านความประพฤติ คือพฤติกรรมทางกาย วาจา และด้านจิตใจที่มีความดีงาม เข้มแข็ง มั่นคง เป็นสุข และในด้านปัญญาคือความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามความเป็นจริง
คำสำคัญ : งานบวช
ที่มา : http://hisophoto.com/blog/blog02/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ประเพณีงานบวช. สืบค้น 7 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=178&code_db=DB0002&code_type=W002
Google search
ระบำร้องแก้ มีมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นิยมเล่นกันเมื่อเสร็จงานบ้านและทำไร่นา งานเทศกาลต่างๆ หนุ่มสาวจะมาจับกลุ่มร้องเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องนิยมใช้คำเปรียบเปรยเรื่องความรัก ความงาม วิธีการเล่น หนุ่มสาวล้อมลงหนุ่มสาวคู่แรกเดินออกมากลางวง ร้องโต้ตอบเป็นบทกลอน โดยมีท่ารำประกอบบทร้อง เพื่อนหญิงชายที่ล้อมวงจะรับเป็นลูกคู่ สลับคู่กันจนครบทุกคู่
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,162
เทศบาลตำบลนครชุมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำพิธีพลียาและชวน“กินแกงขี้เหล็กวันเพ็ญเดือนสิบสอง” ในวันเพ็ญเดือนสิบสองตัวยาจากต้นขี้เหล็กจะหนีขึ้นสู่ยอด จะเป็นยารักษาสารพัดโรค คนนครชุมโบราญจึงมีพิธีพลียาคือ การบวงสรวงขอดอก ใบ ผล ฯลฯ จากต้นขี้เหล็กเพื่อไปใช้เป็นเครื่องยารักษาโรค โดยจะทำการเก็บในตอนเช้ามืด และแกงในวันเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 1,594
ระบำพุทธบูชา-มาฆ-ปรุณมี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงในงานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง วันเพ็ญเดือนสามหรือวันมาฆบูชา ระบำชุดนี้เป็นการแสดงความเคารพและบูชาพระรัตนตรัย นบไหว้พระซึ่งในการประกอบพิธีทางศาสนา ได้นำเพลงสาธุการมาบรรเลงในการไหว้และเคารพบูชาใช้ได้กับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ผู้ประพันธ์ได้นำช่วงเพลงสาธุการเปิดโลกมาประพันธ์เป็นโครงสร้างของเพลง
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 642
แม่ศรีเป็นการละเล่นพื้นบ้านตามความเชื่อของชาวบ้านในเรื่องการเข้าทรง จากวรรณกรรมเรื่องทุ่งมหาราชของครูมาลัย ชูพินิจ ได้กล่าวถึงการรำแม่ศรี เพื่อคัดเลือกสาวงามประจำหมู่บ้าน นิยมเล่นกันในงานสงกรานต์ ผู้สืบค้นคือ แม่เฟี้ยม กิตติขจร แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น แม่ศรีจะเลือกจากหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงาม รำสวยที่สุดในหมู่บ้าน ผู้รำแม่ศรีจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน นั่งอยู่กลางวง ผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงเชิญแม่ศรีร้องซ้ำไปมาจนแม่ศรีเข้าร่างทรงจะวางดอกไม้และเริ่มลุกรำ
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 21,074
ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร โดยตำนานการเผาข้าวหลามของชาวนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ของทุกปี ช่วงนี้เกษตรกรชาวนาชาวไร่ เสร็จจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและถั่ว ชาวบ้านจึงนิยมนำข้าวใหม่และถั่วที่ได้จากการเพาะปลูกมาทำบุญ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับแม่โพสพ และพิธีเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตซึ่งเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร และชาวบ้านในชนบท กระบวนการผลิตข้าวหลามเริ่มตั้งแต่การเตรียมข้าวเหนียว ถ้าเป็นข้าวใหม่จะอร่อย สำหรับการทำข้าวหลามของชาวนครชุม เป็นการเผาข้าวหลามแบบท้องถิ่นในสมัยดั้งเดิมทำกันมาโดยการตั้งเผากับดิน
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 1,797
พระมหาธรรมราชาลิไท นำพระบรมพระสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานตั้งแต่พุทธศักราช 1900 กาลเวลาล่วงมาพระบรมธาตุกลายเป็นวัดร้าง พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างเจดีย์ทรงมอญครอบไว้ แต่มิทันเสร็จพญาตะก่าถึงแก่กรรม พะโป้น้องชายบูรณะต่อ โดยนำฉัตรทองจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนหน้าพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน คือเมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา เจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัย ในพระพุทธศาสนาเมืองกำแพงเพชรมาตลอดเกือบศตวรรษ
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 992
งานบวช เป็นประเพณีไทยสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ชายไทยเมื่ออายุครบบวช จะต้องบวชให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสืบทอดอายุพระพุทธสาสนาสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ให้ตนเองและบิดามารดารวมทั้งหมู่ญาติการมีโอกาสได้เป็นนักบวช ดำรงเพศสมณะผุ้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 23,661
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,480
ประเพณีตักบาตรข้าวต้ม หรือ ตักบาตรข้าวต้มลูกโยน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันมานานแล้ว ข้าวต้มลูกโยน เป็นอาหารหวาน ทำจากข้าวเหนียวที่นำมาผัดกับกะทิ คล้ายกับการทำข้าวต้มมัด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ใส่ไส้กล้วย ถั่วดำ แล้วห่อด้วยใบเตย ใบมะพร้าว หรือใบกล้วย แต่ปลายด้านหนึ่งทำเป็นกรวยม้วนพับจนหุ้มข้าวเหนียว ปล่อยชายอีกด้านหนึ่งไว้ แล้วจึงมัดด้วยตอก ก่อนนำไปนึ่งให้สุก
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,061
“การสืบชะตาป่า” มีฐานคิดมาจากความต้องการอนุรักษ์ป่าชุมชนของคนในชุมชนร่วมกับเครือข่ายป่าชุมชนรอบผืนป่าตะวันตก 6 จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาแห่งประเทศเดนมาร์ก (DANIDA) ด้วยความเชื่อว่าการคงอยู่ของ ป่าชุมชน จะเป็นการสร้างความมั่นคงของแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่คนในชุมชน โดยกิจกรรมได้เริ่มจัดขึ้นโดยเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแนวคิดดังกล่าวถูกขยายมายังพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้ความร่วมมือของคนในชุมชน
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,294