ภาษาถิ่นลานกระบือ

ภาษาถิ่นลานกระบือ

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้ชม 1,177

[16.6170053, 99.809035, ภาษาถิ่นลานกระบือ]

       ภาษาถิ่น หมายถึง ภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นหนึ่งของประเทศไทย ในประเทศไทยมีภาษาถิ่นอีสาน ภาษาถิ่นใต้ และภาษาถิ่นเหนือ ที่เรียกกันว่าภาษาล้านนา ภาษาถิ่นเป็นภาษาเดียวกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างแตกต่างผิดเพี้ยนไปจากภาษากลาง และความแตกต่างนั้น มักเป็นระบบ เช่น คำที่ใช้ภาษากรุงเทพฯใช้ ร ภาษาเหนือจะเป็น ฮ เช่นคำว่า รัก เป็นฮัก คำว่า เรือน เป็นเฮือน คำว่า ร้อง เป็น ฮ้อง เป็นต้น ในแต่ละภาษาถิ่น จะมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในภาษาไทย เพราะเป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราวประสบการณ์ และวัฒนธรรม ทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้องเพื่อเป็นมรดกของชาติสืบไป
       ลานกระบือเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ที่มี น้ำมันอันเป็นทรัพยากรธรรมชาติใต้พื้นดิน วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน มีหัตถกรรมพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และภาษาถิ่นที่มีความเหมือนและคล้ายกับภาษาถิ่นทั้งของพรานกระต่ายและสุโขทัย จากหนังสือที่ระลึกวันเปิดอาคารเทศบาลตำบลพรานกระต่าย ได้กล่าวถึงภาษาถิ่นว่า ภาษาไทยบนถนนพระร่วง หมายถึงภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างสองข้างทางบนถนนนี้ และมีวิวัฒนาการทางภาษาจนเป็นเอกลักษณ์ มีสำเนียงแตกต่างกันบ้างตามสภาพของท้องถิ่นนั้น จากการสำรวจพบว่าพื้นที่ที่ใช้ภาษา พรานกระต่ายจะมีอยู่ทั่วไปบริเวณอำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอพรานกระต่าย อำเภอ ลานกระบือ อำเภอเมืองตาก อำเภอกงไกรลาศ อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอคีรีมาศ และอำเภอ บ้านด่านลานหอย
       ดังนั้นภาษาถิ่นลานกระบือ จึงมีลักษณะคล้ายและเหมือนกับภาษาถิ่นของอำเภอต่างๆ ตามที่คณะสำรวจกล่าวถึง แต่ภาษาถิ่นลานกระบือจะมีพยัญชนะบางคำที่ออกเสียงเพี้ยนไป เช่น พยัญชนะ ซ จะออกเสียง เป็น ช เช่น
                          ช่วย ออกเสียงเป็น ซ่วย
                          โซ่              “                  โช่
                          ผู้ชาย        “                   ผู้ซาย
                          ซ้าย           “                   ช้าย
       ลักษณะของภาษาถิ่นลานกระบือ จะเป็นลักษณะคล้ายกับภาษาถิ่นของสุโขทัยมากกว่าภาษาถิ่นพรานกระต่าย แต่ก็ไม่แตกต่างจากภาษาถิ่นพรานกระต่ายมากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความใกล้ชิดกันทางด้านภูมิประเทศ และเครือญาติใกล้ชิดกัน

 

คำสำคัญ : ภาษาถิ่นลานกระบือ

ที่มา : http://sunti-apairach.com/06N/06NU.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ภาษาถิ่นลานกระบือ. สืบค้น 28 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=163&code_db=DB0008&code_type=A002

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=163&code_db=610004&code_type=11

Google search

Mic

หนังตะลุง

หนังตะลุง

กำแพงเพชร จะมีวงหนังตะลุงระดับมืออาชีพ ….เหลือเชื่อเหลือเกิน ที่หมู่บ้านช่องลม..ตำบลช่องลม อำเภอลานกระบือจังหวัดกำแพงเพชร มีสุดยอดฝีมือในการจัดการ เรื่องหนังตะลุง ตั้งแต่ ผลิต เล่น เชิด ร้อง อยู่ในคนๆเดียวกัน น่าชื่นชมยิ่งนัก ในการรักษาวัฒนธรรมไว้แม้มิใช่วัฒนธรรมกำแพงเพชรก็ตาม 

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 6,233

ภาษาถิ่นลานกระบือ

ภาษาถิ่นลานกระบือ

ลานกระบือเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ที่มี น้ำมันอันเป็นทรัพยากรธรรมชาติใต้พื้นดิน วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน มีหัตถกรรมพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และภาษาถิ่นที่มีความเหมือนและคล้ายกับภาษาถิ่นทั้งของพรานกระต่ายและสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,177

การแห่พระด้วยเกวียนในงานประเพณีวันสงกรานต์

การแห่พระด้วยเกวียนในงานประเพณีวันสงกรานต์

ประเพณีการแห่พระลานกระบือ ที่เรียกว่า “แห่พระ” เนื่องมาจากการประชาชนได้อัญเชิญพระพุทธรูปและนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นล้อเกวียนแห่ไปตามหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำในวันสงกรานต์ ประเพณีการแห่พระลานกระบือเป็นประเพณีที่ชาวบ้านตำบลลานกระบือดั่งเดิมได้ปฏิบัติสืบทอดกันมานาน และมีอยู่ช่วงหนึ่งได้หายไปจนกระทั่งมีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟัง สำนักงานเทศบาลตำบลลานกระบือจึงได้ฟื้นฟูประเพณีการแห่พระขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2545 การจัดงานจะจัดในช่วงวันสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13 - 16 เมษายน โดยจัดในพิธีแห่พระในวันที่ 16 เมษายน เป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณ ช่วงวันสงกรานต์ จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรักความผูกพันที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และ ศาสนา ดังนี้ คุณค่าต่อครอบครัวทำให้สมาชิกของครอบครัวได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกัน เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตา

เผยแพร่เมื่อ 06-06-2022 ผู้เช้าชม 794

ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน

ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน

ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน เป็นภูมิปัญญาของชาวอำเภอลานกระบือ ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน เนื่องจากในอดีตถนนหนทางในเขตอำเภอลานกระบือ ซึ่งเป็นชนบท การเดินทางไม่สะดวกเหมือนเช่นในปัจจุบัน ชาวบ้านต้องอาศัยเกวียนในการเดินทางติดต่อกันระหว่างอำเภอ และหมู่บ้าน และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จึงมีการแห่พระด้วยเกวียน ดังนั้นจึงจัดการแห่พระด้วยเกวียนขึ้นในช่วงสงกรานต์ขึ้น ซึ่งแสดงออกถึงความรัก ความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจของประชาชนโดยใช้ประเพณีเป็นตัวประสาน ให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขรักษาความเป็นไทย และประเพณีท้องถิ่นไว้สืบชั่วลูกชั่วหลาน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 1,020

ประเพณีทอดเทียนโฮม

ประเพณีทอดเทียนโฮม

ประเพณีทอดเทียนโฮม โฮม หมายถึง การรวมกัน การทอดเทียนเหมือนกับการแห่เทียนจํานําพรรษาของคนภาคกลาง จะแตกต่างบ้างเล็กน้อย ท่านกํานันสุดใจ เล่าให้ฟังว่า “ การทอดเทียนโฮม ชาวบ้านจะมาแต่งต้นเทียนช่วยกัน โดยเฉพาะแม่บ้านจะมาช่วยกันพับแมงดา ทําบายศรี เพื่อตกแต่งต้นเทียนให้สวยงามจะทําประมาณ 1–2 วัน นอกจากต้นเทียนแล้วจะมีต้นเงิน คล้ายกับการตั้งกองผ้าป่า จะมีต้นกล้วยและให้ชาวบ้านช่วยกันบริจาคนําเงินไปติดที่ต้นกล้วย จํานวน 1 ต้น 

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 3,545