วัดไตรภูมิ

วัดไตรภูมิ

เผยแพร่เมื่อ 06-09-2019 ผู้ชม 971

[16.669106, 99.5915677, วัดไตรภูมิ]

ชื่อวัด : 
       
วัดไตรภูมิ

สถานที่ตั้ง :
   
    ตั้งอยู่เลขที่ 1หมู่ที่ 12 ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย แยกจากถนนกำแพงเพชร-สุโขทัย 1 กิโลเมตร 

ประวัติความเป็นมา : 
     
        วัดไตรภูมิสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย จากหลักฐานภายในวัดมีพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ประดิษฐานบนฐานชุกชี ภายในวิหาร (ปัจจุบันได้บูรณะใหม่ทั้งวิหารและหลวงพ่อสัมฤทธิ์) มีวัดโพธาราม (ปัจจุบันเป็นวัดร้าง) ซึ่งสร้างในสมัยเดียวกัน อยู่ด้านทิศเหนือ โดยมีลำคลองกั้นระหว่างกลางวัดไตรภูมิ ชาวบ้านสมัยก่อน เรียกว่า "วัดใต้" ส่วนวัดโพธาราม เรียกว่า "วัดเหนือ" เมื่อชุมชนพรานกระต่ายเสื่อมลงราวปลายกรุงสุโขทัย วัดไตรภูมิจึงได้กลายเป็นวัดร้างไปด้วย เป็นระยะเวลาประมาณ 300-400 ปี เมื่อชุมชนพรานกระต่ายเกิดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์ประมาณ พ.ศ.2380 ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันบูรณะวัดไตรภูมิให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน
         ประวัติความเป็นมาของวัดไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ ที่พอจะให้สืบค้นได้ จึงไม่อาจทราบได้ว่าใครเป็นผู้สร้าง, สร้างขึ้นในสมัยใด ข้อมูลได้จากการสันนิษฐานประกอบกับคำบอกเล่าที่บอกสืบต่อกันมาเท่านั้น ดังนั้นจึงสันนิษฐานกันว่าวัดไตรภูมิน่าจะสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี แต่จะเป็นปีใดนั้นไม่อาจจะประมาณได้ ที่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยนั้น ก็เพราะมี หลักฐานปรากฏอยู่ คือวิหารที่อยู่ภายในวัดซึ่งตั้งคู่กับอุโบสถ อาคารวิหารนั้นสร้างขึ้นใหม่แน่นอน เพราะที่หลังคามีปี พ.ศ. ที่สร้างปรากฏเป็นหลักฐาน อยู่ว่าสร้างในปี พ.ศ.2498
         ส่วนภายในวิหารนั้นมีพระพุทธรูปโลหะประเภทเนื้อสัมฤทธิ์อยู่องค์หนึ่ง หน้าตักประมาณวาเศษ ประทับอยู่บนฐานชุกชี ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง ลักษณะเช่นเดียวกับแท่นพระพุทธรูปที่พบเห็นได้ทั่วไปในเมืองเก่ายุคสุโขทัย ทั้งที่เมืองสุโขทัยและที่เมืองกำแพงเพชรเอง ลักษณะของพระพุทธรูปและฐานชุกชีล้วนเป็นของเก่า เพราะฉะนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่า วัดไตรภูมินี้เป็นวัดเก่าสมัยสุโขทัย เป็นวัดร้างมาในสมัยหนึ่ง อาจจะตั้งแต่ปลายสมัยกรุงสุโขทัยลงมาจนถึงต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รวมระยะเวลาไม่น้อยกว่า  300-400 ปี ที่สันนิษฐานดังกล่าว มีเหตุผลหลายประการ คือ สมัยกรุงสุโขทัยนั้นนิยมสร้างวัดกันมาก เมื่อสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง วัดต่างๆ ก็ค่อยๆ ร้างไปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นวัดในตัวเมืองหลวง หรือตามหัวเมืองต่างๆ และยังมีวัดร้างอีกแห่งหนึ่งทางทิศตะวันออกของวัดไตรภูมิ ห่างออกไปประมาณ 800 เมตร บริเวณวัดร้างแห่งนี้เดิมที มีหอน้ำ ซึ่งกรุด้วยศิลาแลง มีซากเจดีย์ศิลาแลง และมีต้นมะม่วงใหญ่ๆ ปกคลุมอยู่ ทั้งเป็นเนินดินที่น้ำท่วมไม่ถึง แต่ปัจจุบันกลายเป็นท้องนาไปหมดแล้ว หลักฐานต่างๆ ถูกกลบถูกทำลายไปหมด วัดร้างแห่งนี้ ไม่มีชื่อเรียก แต่ชาวบ้านเรียกว่า "ทุ่งสะปรก" (คงเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "ปรก" ซึ่งเป็นคำเรียกการนั่งสมาธิของพระที่ว่า "นั่งปรก" เพราะสมัยก่อนบริเวณนี้เป็นที่อยู่กรรมฐานของพระ เพิ่งมาหยุดกันเมื่อป่าละเมาะแถวนั้นถูกบุกรุกทำนากัน สาเหตุที่ร้างนั้นคงเป็นเพราะชาวบ้านหนีภัยสงคราม หรือถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยที่กรุงศรีอยุธยาสมัยสร้างเมืองใหม่ๆ   
         วัดไตรภูมิเป็นวัดเก่าแก่ แต่คงร้างมานาน เมื่อมีชุมชนมาตั้งหลักแหล่งมากขึ้น จึงได้ช่วยกันบูรณะวัดให้เจริญขึ้นมา โดยมีเจ้าอาวาสปกครองวัดไตรภูมิมาแล้ว 10 รูปทั้งรูปปัจจุบัน ส่วนวัดโพธาราม และวัดทุ่งสะปรกนั้น ก็คงบูรณะบ้าง แต่คงเกินกำลังมากไป จึงปล่อยให้ร้างอยู่อย่างนั้น โดยชุมชนใช้พื้นที่ดินทางทิศตะวันตก สำหรับสร้างบ้านเมืองมากกว่าทางทิศตะวันออก จึงทำให้ทางทิศตะวันออกเป็นวัดร้างและที่ทำเกษตรกรรมอย่างเดียว เพราะเป็นที่ลุ่ม           
         ส่วนชื่อวัดนั้น คงตั้งขึ้นในภายหลังจากสร้างวัดเสร็จ หากว่าเรื่องสร้างวัดข้างต้นเป็นความจริง เพราะคำว่า "ไตรภูมิ" นั้น ในยุคสุโขทัยตอนต้นยังไม่ปรากฏเรียกกัน มารู้จักกันแพร่หลายก็ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย เพราะพระองค์ได้พระราชนิพนธ์หนังสือทางพระพุทธศาสนาไว้เรื่องหนึ่งชื่อเรื่อง "ไตรภูมิพระร่วง" ซึ่งแพร่หลายมา ตราบเท่าทุกวันนี้ ส่วนชื่อเดิมของวัดเมื่อแรกสร้างเสร็จใหม่ๆ ไม่อาจสันนิษฐานได้โดยประการทั้งปวง แต่ถ้าหากว่าวัดนี้ได้สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ชื่อว่า "วัดไตรภูมิ" คงเป็นชื่อเดิมมาตั้งแต่แรก เรื่องชื่อวัดนี้มีการสันนิษฐานได้อีกทางหนึ่งว่า เมื่อวัดนี้ได้ร้างไปนาน ใน ภายหลังได้มีผู้คนมาตั้งรกรากทำมาหากินกันมาก กลายเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น จึงได้ช่วยกันบูรณะวัดร้าง ขึ้นมาใหม่ เมื่อบูรณะเสร็จ จึงคิดตั้งชื่อวัดใหม่กัน เมื่อมีหลักฐานแน่นอนว่าวัดที่บูรณะกัน ขึ้นมานี้เป็นวัดเก่าสมัยสุโขทัย ประกอบกับมีความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ ที่มีปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง จึงได้นำคำว่า "ไตรภูมิ" มาเป็นชื่อวัด เพื่อให้ทราบว่าเป็นคำเก่าครั้งสุโขทัยเป็นเมืองหลวง ทั้งความหมายก็บ่งบอกถึงเรื่องนรกสรรค์ที่ตนเชื่อถือด้วย (ไตรภูมิ แปลว่าสามภพ หรือสามภูมิ ได้แก่ ภูมิมนุษย์ ภูมิสรรค์ และภูมินรก)
         ส่วนวัดร้างอีกวัดหนึ่ง ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของวัดไตรภูมินั้น ชาวบ้านก็คงจะบูรณะให้เป็นวัดมีพระสงฆ์เหมือนกัน มีหลักฐานที่เห็นชัดคือ ได้สร้างศาลาเสาไม้มะค่าขนาด ใหญ่ไว้ทำบุญกุศลกันหนึ่งหลัง สร้างกุฏิให้พระอยู่อาศัยตั้งชื่อวัดว่า "วัดโพธาราม" ที่ตั้งชื่อนี้คง เป็นเพราะว่าบริเวณวัดร้างแห่งนี้ มีต้นโพธิ์ใหญ่ขึ้นงอกงามหลายต้น ทั้งตรงกลางวัดและด้านเหนือวัด (ปัจจุบันตายเกือบหมดแล้ว) เพราะเป็นวัดมีพระสงฆ์ ทางกรมศาสนา (ยุคนั้นเรียก กระทรวงธรรมการ) จึงได้ขึ้นทะเบียนไว้ ต่อมาเมื่อวัดไตรภูมิเจริญมากขึ้น พระสงฆ์วัดโพธาราม คงขาดผู้นำที่สามารถ จึงย้ายตัวเองมาอยู่เสียที่วัดไตรภูมิ ปล่อยให้วัดโพธารามร้างไปอีกครั้งหนึ่ง ส่วนศาลาใหญ่วัดนั้นยังคงอยู่ที่เดิม ทางราชการได้ขอใช้เป็นสถานที่เรียนหนังสือของเด็กๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2448 เรียกว่า“โรงเรียนวัดโพธาราม” แต่ถึงกระนั้นก็ตาม วัดไตรภูมิก็ได้ข้ามไปใช้ศาลาหลังใหญ่นี้ในการทำบุญงานใหญ่ๆ ทุกครั้ง เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานประจำปี งานตักบาตรเทโว ในภายหลังงานประจำปีได้ย้ายมาจัดที่ วัดไตรภูมิ ในปี พ.ศ. 2518 ได้ย้ายศาลาวัด โพธารามมาปลูกที่บริเวณกุฏิวัดไตรภูมิ เพื่อใช้เป็นศาลาหอฉัน และศาลาการเปรียญ เป็นอันว่า วัดโพธาราม ได้กลายเป็นวัดร้างโดยสมบูรณ์แบบอีกวาระหนึ่ง ประกอบกับเนื้อที่บริเวณรอบๆ วัดถูกบุกรุกเรื่อยมา จนเหลือบริเวณไม่กว้างขวางอย่างเก่าก่อน

คำสำคัญ : วัดไตรภูมิ

ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/guidepong/2010/05/23/entry-10

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). วัดไตรภูมิ. สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1255&code_db=610009&code_type=07

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1255&code_db=610009&code_type=07

Google search

Mic

วัดโพธาราม

วัดโพธาราม

เป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑๒ บ้านวังลอ ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร สร้างในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี บริเวณที่เป็นหมู่บ้าน พรานกระต่าย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของวัดไตรภูมิ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,068

วัดไตรภูมิ

วัดไตรภูมิ

วัดไตรภูมิสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย จากหลักฐานภายในวัดมีพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ประดิษฐานบนฐานชุกชี ภายในวิหาร (ปัจจุบันได้บูรณะใหม่ทั้งวิหารและหลวงพ่อสัมฤทธิ์) มีวัดโพธาราม (ปัจจุบันเป็นวัดร้าง) ซึ่งสร้างในสมัยเดียวกัน อยู่ด้านทิศเหนือ โดยมีลำคลองกั้นระหว่างกลาง วัดไตรภูมิชาวบ้านสมัยก่อน เรียกว่า "วัดใต้" ส่วนวัดโพธาราม เรียกว่า "วัดเหนือ" เมื่อชุมชนพรานกระต่ายเสื่อมลงราวปลายกรุงสุโขทัย วัดไตรภูมิจึงได้กลายเป็นวัดร้างไปด้วย เป็นระยะเวลาประมาณ 300-400 ปี เมื่อชุมชนพรานกระต่ายเกิดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์ประมาณ พ.ศ.2380 ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันบูรณะวัดไตรภูมิให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 06-09-2019 ผู้เช้าชม 971

เขานางทอง

เขานางทอง

เขานางทอง มีคำกล่าวว่าในอดีตเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีประวัติความเป็นมาจากศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ศิลาจารึกหลักนี้ยังกล่าวถึงการประดิษฐานพระพุทธบาทในเมืองพานบนยอดเขานางทอง ตำนานเขานางทองกล่าวว่า นางทองเป็นผู้หญิงชาวบ้านเมืองพานที่สวยงามมาก ต่อมาถูกพญานาคกลืนเข้าท้อง พระร่วงเห็นจึงใช้อิทธิฤทธิ์ของตนช่วยนางทองออกมา นางทองเป็นหญิงที่โฉมงามและเป็นที่สบพระทัย นางทองจึงได้อภิเษกเป็นพระมเหสี อยู่มาวันหนึ่งนางทองได้ออกไปซักผ้าที่สระน้ำ จระเข้ที่พระร่วงทรงเลี้ยงหิวจึงได้คาบนางทองไปกิน พระร่วงไปช่วยไม่ทันจึงกลับตำหนักอย่างเศร้าใจและทำใจไม่ได้ จึงพาชาวบ้านอพยพราษฎรลงไปทางใต้เมืองพานจึงกลายเป็นเมืองล้างในยุคหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,064