บายศรีเทพโบราณ
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้ชม 4
[16.3858304, 99.5097984, บายศรีเทพโบราณ]
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะ
บายศรีทำจากใบตองสด ประกอบด้วยช่อบายศรี 16 ลูก และ 9 ลูก อย่างละ 4 ช่อ ม้วนลูกและพับกลีบตามแบบโบราณ ยอดประดับดอกบัว/ดาวเรือง กรวยใบตองยอดจับจีบ รองกรวยด้วยกลีบใบตอง ตกแต่งด้วยดอกดาวเรืองเพื่อความสวยงาม
การใช้งาน
ใช้ในพระราชพิธีต่างๆ สำหรับบวงสรวง เทพ พรหม เทวาอารักษ์
คำสำคัญ : บายศรี
ที่มา : 253/1 หมู่ 1
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : นักศึกาษา รหัส 5912206
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1083&code_db=DB0019&code_type=002
บายศรีพรหม
ประดับตกแต่งให้สวยงามด้วยดอกไม้มงคล ภายในกรวยที่อยู่ตรงกลางจะบรรจุด้วย หญ้าแพรก ใบโพธิ์ ใบขนุน ดอกเข็ม ประดับ ใช้ใน พิธีการ บวงสรวงพระพรหม
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 3
ขันหมากเบ็ง
นิยมนำดอกหมากเบ็งมาสักการบูชาพระพุทธรูปตามถ้ำ หมากเบ็งนิยมทำชั้นในภาคอิสาน
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 3
บายศรี 2 ชั้น
บายศรีเป็นงานประดิษฐ์ศิลป์โบราณของไทยที่รวมเอางานฝีมือและความเชื่อเข้าด้วยกัน ช่างไทยโบราณประดิดประดอยรูปแบบของบายศรีแต่ละแบบแต่ละชนิดเพื่อการใช้งานในพิธีมงคลต่างๆ บายศรีโบราณใช้ใบตองเป็นหลักออกแบบเป็นรูปร่างรูปทรงต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมและถูกต้องกับพิธีการที่จะกระทำ นอกจากการใช้ในงานพิธีต่างๆแล้วบายศรีของไทยยังมีการประดับประดาตกแต่งไว้อย่างงดงาม จนถือเป็นเอกลักษณ์งานศิลป์รูปแบบไทยโดยเฉพาะ
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 6
บายศรีเทพ
บายศรีเทพ ใช้ในพระราชพิธีต่างๆ สำหรับบวงสรวง เทพ พรหม เทวาอารักษ์ ประกอบด้วยบายศรี เก้าชั้น ทั้งหมด แปดตัว ประดับพานด้วยดอกดาวเรือง กุหลาบและดอกรัก ยอดตัวบายศรีปักด้วยเม็ดโฟม และเข็มหมุด ห้อยอุบะดอกรักประดับยอด ด้วยดอกดาวเรือง และดอกบัว
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2018 ผู้เช้าชม 2
บายศรีพรนพัค
ตัวบายศรีพับด้วยกลีบหน้านาคประกอบด้วยตัวบายศรี 8 ชั้นเมื่อนำดอกจำปีศาลจัดลงชามแล้วนอกจากความสง่างามของบายศรีแล้วยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆของดอกจำปี
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 7
บายศรีพรหมสี่หน้า
บายศรีพรหมมีหลายแบบ เช่น บายศรีพรหม บายศรีพรหมสี่หน้า บายศรีพรหมประกาศิต ฯลฯ อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ตามแต่ละท้องถิ่น แต่ก็จะมีลักษณะที่เหมือนกันคือ ต้องมีแม่ ๑๖ นิ้ว จำนวน ๔ ทิศ และลูก ๙ นิ้ว จำนวน ๔ ทิศเหมือนกัน ถึงจะเป็นพรหมสี่หน้า ถ้านับด้านใดด้านหนึ่งก็จะมีจำนวน ๑๖ นิ้ว เหมือนกัน
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 4
บายศรีปากชาม แบบที่ 3
บายศรีปากชามค่อนข้างจะเป็นบายศรีที่มีความสำคัญมากเลยล่ะ เพราะส่วนใหญ่แล้วบายศรีประเภทอื่น ๆ ก็มักจะมีแม่แบบมาจากตัวบายศรีปากชามเลย หรือจะให้เข้าใจกันง่าย ๆ คือ ตัวบายศรีปากชามนั้นเป็นแม่แบบให้แก่บายศรีอื่น ๆ นั่นเอง โดยตัวบายศรีปากชามมักจะถูกล้อมรอบไปด้วยใบตองจับจีบเป็นรูปร่างต่าง ๆ ตกแต่งอยู่รอบ ๆ มีกรวยใบตองม้วนตั้งอยู่บนกลางองค์บายศรี บนยอดกรวยเองก็มีไข่ต้มและดอกไม้ประดับประดาอยู่เต็ม ภายในกรวยม้วนเองนั้นก็มีการบรรจุข้าวตอกและดอกไม้อยู่ภายใน และมีการตั้งตัวบายศรีไว้บานปากชามงาม ๆ จึงเป็นที่มีของชื่อว่าบายศรีปากชาม แต่ถ้าไม่สามารถที่จะหาชามรูปงามมาเพื่อใส่ตัวบายศรีได้เลย
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 3
บายศรีเล็ก
บายศรีขนาดเล็กนำใบตองมาม้วนเป็นรูปกรวยใส่ข้าวสุกข้างใน ตั้งกรวยคว่ำไว้กลางชามขนาดใหญ่ ให้ยอดแหลมของกรวยอยู่ข้างบนและบนยอดให้ใช้ไม้เสียบไข่ต้มสุกปอกเปลือกที่เรียกว่า “ไข่ขวัญ” ปักไว้โดยมีดอกไม้เสียบต่อขึ้นไปอีกที การจัดทำบายศรีเพื่อประกอบพิธีกรรมตอนเช้ามักจะมีเครื่องประกอบบายศรีเป็นอาหารง่ายๆ
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 7
บายศรีตองรองทองขาว
บายศรีตองรองทองขาว เป็นบายศรีทำด้วยใบตองอย่างบายศรีของราษฎรที่เรียกว่า บายศรีใหญ่ หรือบายศรีต้น มี ๕ ชั้น หรือ ๗ ชั้น ตัวบายศรีม้วนเป็นกรวยมุมแหลมซ้อน ๓ ชั้น เจิมรอบแป้นไม้ รัดเอวบายศรีด้วยหยวกกล้วย ตรงกลางทำเป็นดอกประจำยามซึ่งทำจากมะละกอและฟักทองแกะสลัก บายศรีประเภทนี้เมื่อทำเสร็จแล้วจะนำไปตั้งบนพานทองขาวขนาดใหญ่ จึงเรียกว่า บายศรีตองรองทองขาว ส่วนใหญ่จะตั้งคู่กับบายศรีแก้ว ทอง เงิน สำรับใหญ่ ใช้ในการพระราชพิธีอย่างใหญ่ เช่น พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ เป็นต้น เดิมบายศรีประเภทนี้ใช้ในการพระราชพิธีโสกันต์ และการพระราชพิธีอุปสมบทนาคหลวงที่เป็นพระราชวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ต่อมาได้เลิกธรรมเนียมดังกล่าวไปตามกาลสมัย
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2018 ผู้เช้าชม 4
บายศรีปากชาม
บายศรีรองด้วยชามประดับไปด้วย ดอกไม้มงคลต่างๆ บายศรีปากชาม เป็นบายศรี ที่ใช้ในการ สักการบูชา เทพยดา ครูบาอาจารย์ ในการบวงสรวง เทพยดาในทุกๆ พิธีกรรม จะขาดบายศรีปากชามไม่ได้
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2018 ผู้เช้าชม 4