ขนมสอดไส้

ขนมสอดไส้

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้ชม 6,011

[16.4705612, 99.5283865, ขนมสอดไส้]

         ขนมใส่ไส้ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ขนมสอดไส้" เป็นขนมไทยที่ใช้ในพิธีขันหมากในสมัยโบราณ ขนมใส่ไส้นี้ห่อด้วยใบตองแล้วมีเตี่ยวคาด (เตี่ยวก็คือทางมะพร้าว) ห่อเป็นทรงสูง ขนมใส่ไส้มีกลิ่นหอมและหวานจากตัวไส้ รสเค็มมันด้วยหน้ากะทิที่สดใหม่ หน้าข้นพอดี ไม่เละ เป็นขนมไทยโบราณพื้นบ้านชนิดหนึ่งหารับประทานได้ง่ายราคาถูกมีรสหวานหอม รับประทานได้ทุกเพศทุกวัยทำจากแป้งกะทิและน้ำตาลส่วนประกอบของขนมมีสามส่วนคือไส้กระฉีก แป้งสำหรับห่อไส้ และหน้าขนม

ส่วนผสม ขนมใส่ไส้
         1. มะพร้าวขูดขาว 2 1/2 ถ้วย
         2. น้ำตาลมะพร้าว 1 1/2 ถ้วย
         3. น้ำต้มสุก
         4. เทียนอบ (สำหรับอบควันเทียน) ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ตามความสะดวก
         5. แป้งข้าวเหนียว 2 ถ้วย
         6. น้ำเย็น 1/3 ถ้วย (หรือน้ำใบเตย, น้ำอัญชันแช่เย็น หากต้องการเพิ่มสีสัน)
         7. แป้งข้าวเจ้า 1/3 ถ้วย
         8. เกลือป่น 2 ช้อนชา
         9. หัวกะทิ 3 1/3 ถ้วย
         เตรียมใบตองตัดเป็น 2 ขนาด แผ่นใหญ่ขนาดประมาณ 5X9 เซนติเมตร และแผ่นเล็กขนาดประมาณ 4X6 เซนติเมตร แล้วตัดหัว-ท้ายเป็นสามเหลี่ยม เช็ดให้สะอาดทั้ง 2 ด้าน นำไปตากแดดทิ้งไว้สักครู่ (เพื่อไม่ให้ใบตองแตกขณะห่อขนม)

วิธีทำหน้ากระฉีก (ส่วนผสมไส้)
         1. กวนมะพร้าวขูดกับน้ำตาลมะพร้าว และน้ำต้มสุกในกระทะด้วยไฟอ่อน ๆ จนส่วนผสมเหนียวและแห้ง ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็นสนิท
         2. พอส่วนผสมเย็นสนิทแล้วปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ประมาณ 1 นิ้วใส่ในภาชนะที่มีฝาปิด
         3. นำส่วนผสมไส้ไปอบด้วยควันเทียน เตรียมไว้

วิธีทำแป้ง
         นวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำเย็นจนพอปั้นได้ จากนั้นปั้นเป็นก้อนกลมขนาดเดียวกับหน้ากระฉีก เตรียมไว้

วิธีทำส่วนผสมหน้าขนม

        ผสมแป้งข้าวเจ้า เกลือป่น และกะทิคนให้ละลายเข้าด้วยกัน เทใส่ในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเทฟลอน) ใช้ไฟปานกลางกวนจนข้นและเดือดทั่ว ยกลงจากเตา เตรียมไว้

วิธีทำขนมใส่ไส้แบบห่อใบตอง
        1. แผ่แป้งข้าวเหนียวที่ปั้นไว้เป็นแผ่นบาง ๆ (กะให้พอหุ้มไส้ได้มิด) จากนั้นหยิบไส้กระฉีกวางลงไปตรงกลางแล้วหุ้มแป้งให้มิด วางขนมลงบนใบตองที่ซ้อนกัน
        2. หงายใบตองแผ่นใหญ่ขึ้น (ด้านนวล) แล้ววางทับด้วยใบตองแผ่นเล็ก วางไส้ขนมลงไป จากนั้นตักหน้าขนมประมาณ 1/2 ช้อนชา ใส่ด้านบนไส้
        3. ห่อใบตองเป็นทรงสูง ใช้ใบมะพร้าวที่เตรียมไว้คาดและกลัดด้วยไม้กลัดให้เรียบร้อย ตัดปลายเตี่ยวให้เฉียงและยาวพองาม วางเรียงห่อขนมลงในชุดนึ่ง
        4. นำขนมไปนึ่งในชุดนึ่งที่มีน้ำเดือดพล่านประมาณ 10 นาที ยกลงจากเตา

วิธีทำขนมใส่ไส้สูตรประยุกต์

        1. ตักส่วนผสมหน้ากะทิใส่ลงในถ้วยขนาดเล็ก (หรือพิมพ์พลาสติก) ประมาณ 1/2 ของพิมพ์ เตรียมไว้
        2. แผ่แป้งข้าวเหนียวที่ปั้นไว้เป็นแผ่นบาง ๆ (กะให้พอหุ้มไส้ได้มิด) จากนั้นหยิบไส้กระฉีกวางลงไปตรงกลางแล้วหุ้มแป้งให้มิด จากนั้นนำไปต้มในน้ำเดือดจนลอยขึ้นมา ตักขึ้นใส่จาน เตรียมไว้
        3. ค่อย ๆ นำส่วนผสมไส้วางลงในพิมพ์อย่างเบามือให้สวยงาม พร้อมเสิร์ฟ

ภาพโดย : http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_dessert_kanom_sod_sai_th.html

คำสำคัญ : ขนมสอดไส้

ที่มา : http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_dessert_kanom_sod_sai_th.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ขนมสอดไส้. สืบค้น 30 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=596&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=596&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมถั่วแปบ

ขนมถั่วแปบ

ขนมถั่วแปบ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวห่อไส้ที่เป็นถั่วเหลืองมะพร้าวขูด แล้วนำไปนึ่ง ขนมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับขนมถั่วแปบคือขนมเขียว มีไส้เป็นแบบเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 5,485

ขนมเปี๊ยะ

ขนมเปี๊ยะ

ขนมเปี๊ยะเป็นขนมที่มักใช้ประกอบในเทศกาลขนมไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ซึ่งความหมายของขนมเปี๊ยะในเทศกาลนี้คือ เป็นขนมแห่งความศิริมงคล สื่อถึงความปรารถนาดีระหว่างผู้รับกับผู้ให้ พร้อมทั้งยังเป็นขนมที่แสดงถึงความสามัคคีกัน เพราะเทศกาลไหว้พระจันทร์ ชาวจีนส่วนใหญ่มักอยู่พร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว เพื่อชมพระจันทร์พร้อมทั้งกินขนมเปี๊ยะไปด้วย ปัจจุบันขนมเปี๊ยะในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายขนาดละหลากหลายรสชาติตามแต่สูตรเฉพาะของแต่ละพื้นที่บ้างก็เป็นขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมที่มีขนาดใหญ่ไส้ถั่ว ไส้เค็มและไส้ฟักหวาน แต่ก็มีขนมเปี๊ยะอีกชนิดหนึ่งนั้นคือขนมเปี๊ยะลูกเล็กที่ได้รับความนิยิมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเนื่องจากมีขนาดที่เหมาะพอดีคำและยังสามารถบริโภคได้หลากหลายไส้ในครั้งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2017 ผู้เช้าชม 2,813

แกงบอน

แกงบอน

อาหารพื้นบ้าน ที่นับวันจะหารับประทานได้ยากขึ้นทุกวัน เพราะมีผู้ทำได้น้อยคน ประกอบกับกลวิธีในการทำอาหารค่อนข้างยาก มีเคล็ดลับมากมาย และมีอาหารประเภทถุงพลาสติกขายเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง จึงทำให้หาคนทำอาหารและปรุงรสได้ยากยิ่งมากขึ้น อาหารที่กล่าวถึงและหารับประทานได้ยาก คือ แกงบอน บอนเป็นพืชที่มีพิษ ใครถูกเข้าจะคัน ถ้าแพ้จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนมาก แต่ด้วยภูมิปัญญาไทยได้นำมารับประทานได้อย่างน่าพิศวง และเป็นอาหารจานโปรดของคนไทยเกือบทุกภาค

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,408

ปลาเห็ด

ปลาเห็ด

ปลาเห็ดหรือทอดมัน เป็นอาหารพื้นบ้าน คำว่า ปลาเห็ด” เป็นคำที่สันนิษฐานว่ามีที่มาจาก ภาษาเขมรซึ่งเขียนว่า ปฺรหิต” เวลาอ่านออกเสียงว่า ปฺรอเฮด” ในพจนานุกรมภาษาเขมรอธิบายไว้ว่า เป็นเครื่องประสมหลายอย่าง เป็นเครื่องช่วยทำให้อาหารมีรสอร่อย เป็นเครื่องช่วยกับข้าว ทำด้วยปลาหรือเนื้อสับให้ละเอียดแล้วคลุกให้ เข้ากันกับเครื่องผสมหลายอย่าง เช่น แป้งข้าวเจ้า แล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วทอดน้ำมัน หรือเอาไปแกง” เครื่องปรุง ประกอบด้วย ปลาทั้งเนื้อทั้งกระดูก กุ้งฝอย สับให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงปรุงรสด้วยพริกแกงเผ็ด ปรุงรสเค็มนิดๆ เวลาจะทอด ให้ปั้นเป็นชิ้นแบนๆ ขนาดประมาณสามนิ้วมือเรียงชิดกัน ทอดด้วยน้ำมันใหม่ๆ จนเหลืองกรอบนอก ด้านในเหนียวนุ่ม

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,072

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องแก่จัด ไม่ช้ำ แผงตากกล้วย น้ำผึ้งแท้ ตู้อบ วิธีปรุง เริ่มจากการนำกล้วยที่แก่จัดมาตัดออกจากเครือ แบ่งออกเป็นหวีๆ เพื่อนำไปบ่ม โดยใช้กระสอบป่านรองพื้น เรียงกล้วยทับกันสูงประมาณ 3-5 ชั้น คลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง (1 วัน 1 คืน) เปิดผ้าพลาสติกออกทิ้งไว้ 4-5 วัน ปอกเปลือกกล้วย แล้วล้างด้วยน้ำเกลือให้สะอาด ใช้มีดผ่าซีกครึ่งกดกล้วยด้วยเครื่องทับกล้วย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 13 เซ็นติเมตร เพื่อให้กล้วยแบน แล้วจึงนำไปตากแดดให้แห้ง 1 แดด นำกล้วยไปอบในตู้อบด้วยลมร้อน เพื่อฆ่าเชื้อและถนอนอาหารให้อยู่นาน ด้วยอุณหภูมิประมาณ 120 องศา นาน 30 นาที นำกล้วยที่อบได้ไปบ่มให้น้ำหวานออก 1 คืน แล้วนำกล้วยออกจากตู้ไปอบน้ำผึ้ง แล้วจึงม้วนใส่กล่องเก็บไว้รับประทาน

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,749

ห่อหมกหัวปลี

ห่อหมกหัวปลี

ห่อหมกหัวปลี ส่วนผสมประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า หัวกะทิ น้ำปลาดีเพื่อปรุงรส พริกแกงเผ็ด ไข่ไก่ เนื้อปลาช่อนหรือเนื้อกบ ใบมะกรูดซอยฝอย ใบยอ และหัวปลี โดยหัวปลีควรล้างน้ำเกลือสัก 2-3 น้ำเพื่อให้รสขื่นๆ หายไป สำหรับวิธีทำเริ่มจาก การคลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน สำหรับการห่อ ใช้ใบตองสด การห่อเหมือนกับการห่อหมกทั่วไป รองด้วยผัก อาทิ ใบยอ ผักกาดขาว ใบโหระพา ตามด้วยส่วนผสมที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือด นานประมาณ 5-10 นาที

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,494

ขนมเข่ง

ขนมเข่ง

ขนมเข่ง (ขนมตรุษจีน) ขนมเข่งเป็นขนมที่จะขาดไม้ได้ในเทศกาลตรุษจีน หรืองานมงคลต่างๆ มีความหมายเหมือนกับขนมเทียนคือ หวานชื่น ราบรื่น และอุดมสมบูรณ์ มีรสชาติหวานหอมเนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม สามารถดัดแปลงได้หลากหลาย อาจเติมเนื้อมะพร้าวอ่อน หรือลูกชิดลงไปได้ สามารถเป็นไว้ได้นานในตู้เย็นมีวิธีการทำที่ง่ายมาก

เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 3,797

มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเป็นของคู่กับวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งนี้มาช้านาน หลังจากได้ใช้ประโยชน์จากน้ำมะพร้าวในการดื่มกินเป็นน้ำผลไม้เรียบร้อยแล้ว เนื้อของมะพร้าวจะเสียง่าย เพียงแค่เก็บไว้ไม่นานช่วงข้ามคืนก็จะเสียไม่สามารถรับประทานได้อีก อีกทั้งภูมิประเทศและอากาศที่ร้อนจึงทำให้เนื้อมะพร้าวนั้นเสียง่าย ภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งนี้จึงคิดวิธีการนำเนื้อมาพร้าวนี้มาสู่กระบวนการแปรรูป เพื่อเป็นการยืดอายุของอาหาร พร้อมทั้งรสชาติที่แปลกใหม่น่ารับประทาน โดยการนำมากวนเป็นมะพร้าวกวนหรือเรียกอีกอย่างว่า “มะพร้าวเสวย"

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,539

กระยาสารทกล้วยไข่จากรากเหง้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

กระยาสารทกล้วยไข่จากรากเหง้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

กระยาสารท ขนมไทยโบราณที่มีมาแต่ครั้นสมัยสุโขทัย เช่นเดียวกับข้าวมธุปายาสหรือข้าวทิพย์ที่คนไทยมักจะนิยมทำขึ้นในเทศกาลสารทไทย เพื่อถวายเป็นอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ กระยาสารทจึงกลายเป็นเครื่องบ่งชี้หรือแสดงออกถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม ความเชื่อที่คนไทยมีต่อพระพุทธศาสนา ในปัจจุบันกระยาสารทกลายเป็นขนมไทยหายาก เนื่องจากมีขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยาก รวมกับความร้อนที่เกิดจากท่อนฟืน ทำให้คนในปัจจุบันหันมาซื้อรับประทานแทนที่จะทำกินเองภายในครอบครัว ดังเช่นครั้งในอดีต

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 787

แกงหยวกกล้วยไข่กับเมี่ยงนครชุม

แกงหยวกกล้วยไข่กับเมี่ยงนครชุม

จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่อยู่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนทำให้ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตได้รับการผสมผสานจากทั้งภาคเหนือ (ล้านนา) และภาคกลาง (อยุธยาและสุโขทัย) ซึ่งแสดงออกในหลาย ๆ อย่าง อาทิ ประเพณี วัฒนธรรม โดยเฉพาะอาหาร อย่างเมี่ยงคำหรือเมี่ยงลาว เป็นต้น เมี่ยงเป็นอาหารที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยการย้ายถิ่นฐานของผู้คนที่มาจากภาคเหนือและภาคอีสาน แต่เมื่อย้ายถิ่นมาอยู่กำแพงเพชรเป็นเวลานานก็เริ่มผสมผสานความเป็นภาคกลางเข้าไปในอาหารหรือแม้แต่วิธีการกิน รวมถึงส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการทำเมี่ยง นอกจากเมี่ยงแล้วเมื่อมาจังหวัดกำแพงเพชร คนส่วนใหญ่จะนึกถึงกล้วยไข่กำแพงเพชร เนื่องจากกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น มีลักษณะเด่นที่ลูกเล็กกำลังดี มีกลิ่นหอมและรสชาติหวาน แขกบ้านแขกเมืองจึงนิยมนำกล้วยไข่ไปเป็นของฝาก สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรมีการปลูกกล้วยไข่อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อมีกล้วยสุกเป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงคิดหาวิธีที่จะนำกล้วยมาทำเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เพื่อให้คนในครอบครัวไม่เกิดความเบื่อหน่ายจากการรับประทานอาหารชนิดเดิมซ้ำ ๆ ก่อเกิดเป็นแกงหยวกกล้วยไข่ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 07-06-2022 ผู้เช้าชม 704