ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 2,582

[16.4897551, 99.5140643, ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร]

       ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรให้ความนับถือ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดใกล้เคียงมาหลายชั่วอายุคน ผู้ใดที่ประสบปัญหาอุปสรรค์ในการดำเนินชีวิต ก็มักไปบนบานศาลกล่าว ขอให้เจ้าพ่อหลักเมืองช่วยเหลือคุ้มครอง ซึ่งก็มักจะได้สมใจดังปรารถนาจนเป็นที่เลื่องลือ เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงมีผู้มาบนและขอแก้บนเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน จากความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว ที่มีความเชื่อว่าการสร้างศาลหลักเมืองว่า ก่อนสร้างหลักเมืองได้ขุดหลุมกลางใจเมือง โดยทางการจะมีการป่าวประกาศหาคนชื่อ อิน จัน มั่น คง เมื่อได้บุคคลที่มีชื่อดังกล่าว จะนำบุคคลทั้งสี่คนมาไว้ที่ก้นหลุมและฝังเสาหลักเมืองลงทับร่างทั้งสี่ เพื่อให้เป็น ผีเฝ้าหลักเมืองเป็นเทพารักษ์ประจำเมือง เป็นปีศาลคุ้มครองเมือง เป็นประเพณีในการก่อสร้างเมืองทุกเมืองโดยตลอด นับว่าทั้งสี่ท่านคือ อิน จัน มั่น และคง เป็นผู้เสียสละชีวิต เพื่อมาพิทักษ์บ้านเมืองของเรา กลายมาเป็นเจ้าพ่อหลักเมืองในที่สุด เชื่อกันว่า เมืองกำแพงเพชรน่าจะสร้างพร้อมๆ กับเมืองสุโขทัยและมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง ทางทิศใต้ของสุโขทัย สังเกตได้จากแนวกำแพงสามชั้น ซึ่งเรียกว่าตรีบูรเหมือนสุโขทัยหรือร่วมสมัยกันกับสุโขทัย เจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย เดิมทำด้วยศิลาแลง รูปกลมยาวประมาณ 2 เมตรฝังโผล่ขึ้นดินมาประมาณหนึ่งเมตรเศษ มีรูปเศียรเทพารักษ์ อยู่บนยอดศิลาแลง เชื่อกันว่าคือเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองน่าจะร้าง เหมือนโบราณสถานทั่วไป พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร ทรงบันทึกไว้ว่าออกจากวัด ไปที่หลักเมือง ซึ่งอยู่มุมท้ายวัดอยู่ระหว่างวัดกับวัง ทรงบันทึกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2449 ไว้เพียงเท่านี้เอง
       ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรเป็นสถานที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชรที่ประชาชนให้ความเคารพสักการะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ในเมืองโบราณกำแพงเพชรทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดพระแก้ว ริมถนนหมายเลข 101 (สุโขทัย – กำแพงเพชร) ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรปรากฏในพระราชนิพนธ์ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือในปี พ.ศ. 2449 และ พ.ศ. 2450 ตามลำดับ ดังนี้
       เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ได้พระราชนิพนธ์ถึงศาลหลักเมืองในเสด็จประพาสต้น ความว่า “...ชื่อวัดนี้ไม่ปรากฏ ถ้าเรียกตามลพบุรีก็เป็นวัดหน้าพระธาตุ ถ้าจะเรียกตามกรุงเก่าก็เป็นวัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งยอมรับว่าจะเรียกวัดพระแก้วก็ได้นั้น เพราเหตุที่มีตำนานว่า พระแก้วได้เคยมาอยู่เมืองนี้ ถ้าหากว่าได้มาอยู่คงจะไม่ได้อยู่วัดอื่น คงอยู่วัดนี้เป็นแน่ ออกจากวัดไปที่หลักเมือง ซึ่งอยู่มุมท้ายวัดอยู่ในระหว่างวัดกับวัง...” เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ได้พระราชนิพนธ์ถึงศาลหลักเมืองในเที่ยวเมืองพระร่วง ความว่า “...ในกำแพงเพชรเมืองนี้ ที่ซึ่งจำเป็นต้องไปก่อนคือ หลักเมือง ซึ่งได้ไปบวงสรวงตามธรรมเนียม แต่ผู้ที่ไปดูอย่าได้คิดหาหลักเลย เพราะไม่มีหลักศิลา และรูปยักษ์ที่ตั้งไว้เป็นเครื่องหมายเดี๋ยวนี้ เชื่อว่าไม่ใช่ของที่ตั้งอยู่เดิม...” 
       จากการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณพื้นที่ทางทิศใต้ของศาลหลักเมืองในปีงบประมาณ 2549 พบหลักฐานทางโบราณคดี ดังนี้
            - ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผามุงหลังคาประเภทดินขอ
            - ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย แหล่งเตาบ้านบางปูน แหล่งเตาบ้านเกาะน้อย/ป่ายาง เมืองศรีสัชนาลัย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง กำหนดอายุอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
       ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นศาลเจ้าตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ. 2463 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
       ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรมีการบูรณะปรับปรุงอาคารหลายครั้งเท่าที่ปรากฏหลักฐานมี ดังนี้
            - พ.ศ. 2472 หลวงมนตรีราช ได้สร้างอาคารศาลหลักเมืองขึ้นเป็นศาลาทรงไทยทำด้วยไม้
            - พ.ศ. 2484 หลวงปริวรรต วรวิจิตร (จันทร์ เจริญชัย) ข้าหลวงประจำจังหวัดกำแพงเพชร มอบหมายให้นายฉกาจ กุลสุ ปั้นเศียรเทพารักษ์ขึ้นใหม่
            - พ.ศ. 2526 นายเชาว์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้ปรับปรุงอาคารบริเวณสถานที่ตามรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบัน 
            - วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง ทรงเจิมเสาหลักเมืองเสาใหม่
            - วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ทำพิธีเชิญเสาหลักเมือง และเศียรเทพารักษ์ขึ้นศาล
            - วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้สำรวจความเสียหาย และทำการบูรณะอนุรักษ์เสาหลักเมืองเดิม พร้อมจัดทำเสาหลักเมืองจำลองใหม่จากไม้สักทองขนาดความสูง 2.29 เมตร ความกว้างฐาน 64 เซนติเมตร โดยอัญเชิญเสาหลักเมืองจำลองมาวางไว้ ณ ศาลารายชื่อผู้จัดสร้างศาลหลักเมือง 

คำสำคัญ : ศาลหลักเมือง กำแพงเพชร

ที่มา : http://info.dla.go.th/public/travel.do?cmd=goDetail&id=510652&random=1488095195836

รวบรวมและจัดทำข้อมูล :


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=249&code_db=610002&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=249&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic

วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง)

วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง)

เป็นวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านความเชื่อและศรัทราของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียง โดยมีเจ้าอาวาสชื่อ พระครูสังฆรักษ์ ปัญญาสีลโชโต (ธ) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "หลวงพ่อถัง" ชาวบ้านมีความเชื่อว่าท่านเจ้าอาวาสมีความสามารถพิเศษในการลงยันต์ และเสกคาถาอาคมลงบนถังตวงข้าวสาร หากใครนำไปบูชาแล้วจะทำมาค้าขายดี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,338

ตลาดย้อนยุคนครชุม

ตลาดย้อนยุคนครชุม

บรรยากาศตลาดแบบย้อนยุคภายในตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้าแต่งกายด้วย ชุดไทยนำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครชุมหรือ ร่วมสมัยวางจำหน่ายรวมถึงศิลปหัตถกรรม อาทิ การจักสานไม้ไผ่ งานผีมือใบตองหรือการวาดรูป ระบายสี มุ่งเน้นการ แต่งกายพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยสร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนรุ่นลูกๆ หลานๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,283

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพชรชมพู

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพชรชมพู

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนมะม่วงนพรัตน์ ตำบลเพชรชมภู ที่ริมถนนพหลโยธิน ตำบลเพชรชมพู อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร มีแผงขายมะม่วงตลอดทางทั้งขาขึ้นและขาล่อง มีมะม่วงหลายชนิด เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ เขียวเสวย เพชรบ้านลาด โชคอนันต์ เป็นต้น เนื่องจากตำบลเพชรชมภูแห่งนี้เป็นแหล่งปลูกมะม่วงแหล่งใหญ่ของจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งขายเองในพื้นที่ ทั้งส่งขายให้แม่ค้าคนกลางส่งขายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศด้วย จึงเป็นที่รู้จักของนักบริโภคและนักท่องเที่ยวที่ขับรถผ่านเส้นทางนี้ ซึ่งถ้าเป็นช่วงเทศกาลจะมีรถจอดตลอดเส้นทางเพื่อซื้อมะม่วงกลับบ้าน 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,295

มอกล้วยไข่

มอกล้วยไข่

มอกล้วยไข่ เป็นชื่อเรียกตลาดกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งจำหน่ายกล้วยไข่ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ครับ มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกล้วยไข่ หลากหลาย ทั้ง เป็นหวี เป็นเครือ กล้วยฉาบ กล้วยแปรรูปต่างๆ หรือจะเลือกซื้อ แบบที่เป็นต้นไปปลุกก็มีจำหน่ายกันด้วย ถือว่าเป็นแหล่งกล้วยไข่และ ของฝากที่น่าสนใจไม่น้อย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,576

โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง

โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง

วัดหนองปลิง จัดพื้นที่วัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชน โดยท่านเจ้าอาวาส พระครูวิเชียรธรรมนาท หรือหลวงพ่อสีหนาท เน้นจัดพื้นที่เพื่อการจัดกิจกรรมปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน เพื่อให้มนุษย์เข้าใจในการมีสติ ภายในวัดประกอบด้วยอาคารขนาดใหญ่ สามชั้นที่ประกอบด้วย ห้องพักชั้นดีสำหรับผู้มาอาศัยปฏิบัติธรรม ชั้นที่ 2 เป็นห้องสำหรับประกอบพิธีบุญ และชั้นที่ 3 เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ที่ใช้อบรมสัมมนา และยังมีโบสถ์ที่สร้างด้วยศิลาแลงจากหินธรรมชาติ แห่งเดียวในโลก

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 1,995

พระบรมสารีริกธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุ

เมื่อมาเยือนถิ่นตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล วัดแรกที่นักท่องเที่ยวต้องมาเพื่อกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา และหุ่นขึ้ผึ้งจำลองหลวงพ่อหนู เป็นทีี่พึ่งทางใจประชาชนชาวตำบลนิคทุ่งโพธิ์ทะเล ตำบล จังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพและสักการะยิ่ง วัดพัฒนานิคม (บ่อทอง) นี้ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สำหรับเส้นทางการมากราบสักการะ พระบรมสารีริกธาตุนั้นไม่ยาก เนื่องจากติดริมทางสายหลักสายกำแพงเพชร-พิจิตร

เผยแพร่เมื่อ 06-01-2020 ผู้เช้าชม 838

วัดสุนทรีกาวาส

วัดสุนทรีกาวาส

วัดสุนทริกาวาส ตั้งอยู่เลขที่ 92 บ้านป่าใหม่ ถนนชิดวะนา ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตากเป็นวัดของชาวไทใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2447 เมื่อนายหม่งเสง แซ่กวา (ต้นตระกูลกวาตระกูล) ได้สร้างหอสวดมนต์ ศาลาอเนกประสงค์และกุฏิสงฆ์อย่างละ 1 หลังพร้อมทั้งถวายที่เกือบ 7 ไร่ให้ก่อตั้งเป็นวัดขึ้น เดิมมี ชื่อว่า “วัดตอยะใหม่” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดสุนทริกาวาส”

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 735

อ่างเก็บน้ำคลองไพร

อ่างเก็บน้ำคลองไพร

โครงการอ่างเก็บน้ำคลองไพรเป็นโครงการหนึ่งในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำคลองสวนหมาก ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของราษฎร สำนักแผนงานและโครงการ โดยกลุ่มงานวางโครงการ 4 จึงได้ทำการศึกษารายละเอียดของโครงการพร้อมทั้งจัดทำรายงานการศึกษาเบื้องต้น แล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2545

 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,488

ศาลเจ้าพ่อปึงเถ่ากง-ม่า

ศาลเจ้าพ่อปึงเถ่ากง-ม่า

ผู้ศรัทธาต่อองค์ปึงเถ่ากง-ปึงเถ่าม่า เจ้าพ่อเจ้าแม่กำแพงเพชร องค์เจ้าพ่อเสือ เจ้าแม่ทับทิมและองค์เทพภายในศาลทุกองค์ ผู้ที่ได้มากราบไหว้อธิษฐานจิตต่อศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ปึงเถ่าม่า หากปรารถนาสิ่งใดจะสมหวังตั้งใจ สำเร็จรุ่งเรืองถึงลูกหลาน ร่ำรวยด้วยเงินทอง สมบูรณ์สุขด้วยลาภยศและวาสนา สุขกายใจไร้โรคาเบียดเบียนด้วยผลจากความเพียรที่ผู้กราบไหว้ได้สร้างความดีมาอย่างต่อเนื่อง ตามกำลังแห่งศรัทธาและความมีคุณธรรมอย่างเต็มเปี่ยมในจิตใจ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,579

สวนสาธารณะบึงวังดำน้ำ

สวนสาธารณะบึงวังดำน้ำ

ปัจจุบันบึงวังดำน้ำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและทางกฎหมายที่สมควรได้รับการอนุรักษ์ สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและทางกฎหมายที่สมควรได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอีกแหล่งหนึ่ง เพราะมีประวัติศาสตร์และมีที่มาที่ชัดเจน อันแสดงถึงเมืองกำแพงเพชรมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ท่านที่สนใจจะไปท่องเที่ยวบึงวังดำน้ำ ติดต่อที่นางสินบดีรัฐผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ท่านจะประทับใจอย่างยิ่ง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,200