แตงกวา

แตงกวา

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 5,959

[16.4258401, 99.2157273, แตงกวา]

แตงกวา ชื่อสามัญ Cucumber
แตงกวา ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis sativus L. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
แตงกวา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตกช้าง แตงปี แตงร้าน (ภาคเป็น) เป็นต้น

ลักษณะของแตงกวา
         ต้นแตงกวา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในบ้านเราก็นิยมปลูกแตงกวาเป็นอาชีพ เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว การเก็บรักษาง่ายกว่าผักชนิดอื่น ๆ โดยแตงกวานั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีรากแก้วและรากแขนงจำนวนมาก สามารถแผ่กว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาว 2-3 เมตร (ด้วยเหตุนี้จึงนิยมปลูกขึ้นค้างเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการปลูกและง่ายต่อการเก็บเกี่ยว) มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร และหนวดบริเวณข้อช่วยเกาะยึดลำต้น
          ใบแตงกวา ก้านใบยาว 5 –15เซนติเมตร มีมุมใบ 3 ถึง 5 มุม ปลายใบแหลม ทั้งลำต้นและใบมีขนหยาบ
           ดอกแตงกวา ลักษณะดอกแตงกวามีกลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกตัวเมียมีลูกแตงกวาเล็ก ๆ ติดมาด้วย ส่วนดอกตัวผู้สังเกตที่ด้านหน้าดอกมีเกสรยื่นออกเล็กน้อยและไม่มีลูกเล็ก ๆ ติดที่โคนดอก ผลแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวตั้งแต่ 5-40 เซนติเมตร ไส้ภายในผลประกอบด้วยเมล็ดมากมาย

สรรพคุณของแตงกวา
1. แตงกวามีสรรพคุณช่วยแก้กระหาย ลดความร้อนในร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
2. ช่วยกำจัดของเสียที่ตกค้างในร่างกาย
3. แตงกวามีสารฟีนอลที่ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ
4. ผลและเมล็ดอ่อนมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านมะเร็ง
5. ช่วยลดความดันโลหิต (เถาแตงกวา)
6. ช่วยรักษาสมดุลต่าง ๆ ในร่างกาย รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ระดับภูมิคุ้มกันให้อยู่ในสุขภาพดี
7. ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดและความสมดุลของสารอาหารในร่างกาย (โพแทสเซียม, แมงกานีส)
8. ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบการหมุนเวียนเลือด (แมกนีเซียม)
9. ช่วยเสริมสร้างการทำความของระบบประสาท เพิ่มความจำ (ผล, เมล็ดอ่อน)ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (ผล, เมล็ด)
10. เส้นใยอาหารจากแตงกวาช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ให้พลังงานต่ำ เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
11. ช่วยแก้ไข้ (น้ำแตงกวา) ช่วยแก้อาการเจ็บคอ โดยใช้นำคั้นจากผลแตงกวานำมากลั้วคออย่างน้อยวันละ 3 ครั้งจะช่วยทำให้อาการดีขึ้น
12. ช่วยลดอาการนอนไม่หลับ (น้ำแตงกวา)
13. ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร (น้ำแตงกวา)
14. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก
15. ช่วยแก้อาการท้องเสีย บิด (ใบแตงกวา)
16. น้ำคั้นจากแตงกวามีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
17. ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารในร่างกาย
18. น้ำแตงกวามีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ
19. ช่วยลดอาการบวมน้ำ
20. จากผลงานวิจัยพบว่าแตงกวามีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อน ๆ ในการช่วยยับยั้งแบคทีเรีย กระตุ้นลำไส้เล็กและมดลูกให้หดตัว กระตุ้นการสร้างแบคทีเรีย ยับยั้งไทรอยด์เป็นพิษ ต่อ
      ต้านการกลายพันธุ์ ต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอก ช่วยฆ่าพยาธิ กระตุ้นการสร้าง interferon ช่วยไล่แมลง ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ลบรอยแผลเป็น เป็นต้น
21. แตงกวาอุดมไปด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพผิวที่ดี และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ที่ให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติหรือ Natural
      Moisturizing Factors (NMFs) และยังมีกรดอะมิโนซีสทีน (Cystine) และเมไธโอนีน (Methionine) ที่ช่วยทำให้เกิดความยืดหยุ่นแก่ผิวด้วย
22. แตงกวามีสารแอนโทแซนทิน (Anthoxanthins) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ ลดอาการปวดข้อเข่าและช่วยต้านเชื้อวัณโรคได้ การดื่มนำคั้นจากแตงกวาเป็นประจำก็จะ
      ช่วยบำรุงเส้นผม เล็บและผิวหนังได้เป็นอย่างดี และยังช่วยชะลอวัยให้เส้นผม แก้ปัญหาผมบางได้อีกด้วยแตงกวานิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับน้ำพริก อาหารจาน
      เดียว ฯลฯ ช่วยผ่อนคลายความเผ็ด และช่วยแก้เลี่ยนในอาหารจานเดียว

ประโยชน์ของแตงกวา
         1. ในปัจจุบันมีการใช้น้ำแตงกวานำไปผสมในเครื่องสำอางต่าง ๆ อย่างเช่น ครีมล้างหน้า เจลล้างหน้า สบู่ล้างหน้า ครีมแตงกวา ครีมบำรุงผิว ครีมลดริ้วรอย ครีมกันแดด โลชั่น เพื่อช่วยป้องกันผิวแห้งกร้าน ช่วยในการสมานผิว ทำให้ผิวดูมีน้ำมีนวล เป็นต้น
         2. เมนูแตงกวา เช่น ยำแตงกวาไข่ต้ม ต้มจืดแตงกวายัดไส้ ตำแตง ยำแตงกวาปลาทูน่า พล่าแตงกวาหมูย่าง แตงกวาผัดไข่ แตงกวาดอง ฯลฯ
         3. ทรีตเมนต์จากแตงกวาช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ลดสิว ลดจุดด่างดำ ช่วยบำรุงทำให้ผิวหน้าอ่อนเยาว์ เพิ่มความชุ่มชื้น ไม่ทำให้หน้ามัน ทำให้ผิวขาวใส ช่วยบำรุงดวงตา แก้ปัญหาขอบตาคล้ำ ตาบวม บำรุงเส้นผม ป้องกันผมเสีย ฯลฯ
         แตงกวาเป็นผักที่ได้รับความนิยมมาก นิยมนำมารับประทานเคียงกับน้ำพริกต่าง ๆ ลาบ อาหารจานเดียว อย่างข้าวผัด ข้าวมันไก่ หมูแดง หมูกรอบ สลัดผัก ก็จะมีแตงกวาประกอบอยู่ด้วยเสมอ เพราะเป็นผักที่มีน้ำมาก จึงช่วยในการผ่อนคลายความเผ็ดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยแก้เลี่ยนในอาหารได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

คำสำคัญ : แตงกวา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แตงกวา. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1632&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1632&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ก้นจ้ำขาว

ก้นจ้ำขาว

ต้นก้นจ้ำขาวเป็นพืชล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นสัน ใบก้นจ้ำขาวใบเป็นใบประกอบขนนกชั้นเดียว มี 3 ใบย่อย แผ่นในรูปไข่ ปลายใบแหลม ของใบหยัก ฐานใยมน เนื้อใบบาง ดอกก้นจ้ำขาวดอก เป็นดอกช่อกระจุกแน่น ออกที่ปลายยอดและซอกใบ ก้านช่อดอกยาว วงใบประดับมี 2 ชั้น แยกกัน ดอกวงนอกมีกลีบดอกรูปลิ้น สีขาว ไม่สมบูรณ์เพศ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีเหลือง เกสรเพศผู้สีน้ำตาล เกสรเพศเมียสีเหลืองปลายแยกเป็น 2 แฉก ผลก้นจ้ำขาวผลเป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน มีแพปพัสเป็นหนามสั้น 2 อัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,303

มะลิลา

มะลิลา

มะลิลาเป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 3,102

น้ำเต้า

น้ำเต้า

น้ำเต้า มีถิ่นกำเนิดทางทวีปแอฟริกาตอนใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาล้มลุกอายุปีเดียวหรืออาจข้ามปี เลื้อยตามพื้นดินหรือไต่พันกับต้นไม้อื่น ลำต้นแข็งแรง ลำต้นมีมือสำหรับใช้ยึดเกาะต้นไม้อื่น ๆ ตามเถามีขนยาวสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย น้ำเต้านั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น น้ำเต้าที่ลักษณะเป็นน้ำเต้าทรงเซียน ชนิดนี้นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เราจะเรียกว่า "น้ำเต้า

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,686

เต็งหนาม

เต็งหนาม

ต้นเต็งหนาม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดไม่แน่นอน เปลือกต้นอ่อนเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา ผิวเรียบ ส่วนต้นแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นร่องยาวและมีหนามแข็งขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลำต้น พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,440

หญ้าแพรก

หญ้าแพรก

หญ้าแพรก มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียและยุโรป เจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและอากาศอบอุ่น โดยจัดเป็นพรรณไม้จำพวกหญ้า ต้นมีขนาดเล็ก มีอายุได้หลายปี ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาปกคลุมดิน เจริญเติบโตแบบแผ่ราบไปตามพื้นดินหรือเลื้อยปกคลุมดินไปได้ยาวประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อและมีรากงอกออกมา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด กิ่ง ราก และแตกลำต้นไปตามพื้นดิน เจริญเติบเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ต้องการความชื้นในปริมาณค่อนข้างมาก หญ้าชนิดนี้มักพบขึ้นเองตามพื้นที่แห้งแล้ง ที่ว่างริมถนน หรือในบริเวณสนามหญ้า ทนน้ำท่วมทังและสามารถขึ้นได้ในดินเค็ม 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 53,778

ต้นหมีเหม็น

ต้นหมีเหม็น

มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Litsea glutinosa C.B. Robinson ในวงศ์ Lauraceae บางถิ่นเรียก ดอกจุ๋ม(ลำปาง) ตังสีไพร(พิษณุโลก) ทังบวน(ปัตตานี) มะเย้อ ยุบเหยา(พายัพ) มัน(ตรัง) หมี(อุดรธานี) หมูทะลวง(จันทบุรี) หมูเหม็น(แพร่) อีเหม็น(กาญจนบุรี ราชบุรี) กำปรนบาย(ชอง-จันทบุรี) มือเบาะ(มาเลย์-ยะลา)

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 2,999

เข็มป่า

เข็มป่า

ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ลำต้นใหญ่ สูงประมาณ 3-4 เมตร  ใบมีสีเขียวสด เป็นรูปไข่ยาว ๆ ขอบใบเรียบ ใบยาว  ดอกออกตลอดปี ออกดอกเล็กเป็นพวง เหมือนดอกเข็มธรรมดาแต่สีขาว   ผลมีลักษณะเป็นผลกลม มีสีเขียว  เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าทั่ว ๆ ไป  ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและตอนกิ่ง  ประโยชน์สมุนไพร ดอกใช้รักษาโรคตาเปือก ตาแฉะ ตาแดง ใบใช้ยาฆ่าพยาธิ ผลใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร  เปลือกใช้ตำแล้วคั้นหยอดหูเมื่อแมลงเข้าหู รากใช้เป็นยารักษาเสมหะในท้อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,904

อังกาบหนู

อังกาบหนู

อังกาบหนู หรือ ต้นอังกาบเหลือง เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีลำต้นเกลี้ยง มีหนามยาวอยู่รอบข้อ หนามมีความประมาณ 1-2 เซนติเมตร มักพบขึ้นหนาแน่นเป็นวัชพืชอยู่ตามเขาหินปูนในที่แห้งแล้งทางภาคใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย รวมไปถึงภูมิภาคอินโดจีน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,949

พุทธรักษา

พุทธรักษา

พุทธรักษา เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แอฟริกา และอเมริกา และภายหลังได้กระจายพันธุ์ออกไปยังเอเชียเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ขึ้นรวมกันเป็นกอและเป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา จะมีข้อแต่ค่อนข้างห่างกัน มีความสูงของลำต้นประมาณ 1.5-2.5 เมตร ลำต้นมีความเหนียวและอุ้มน้ำ มีเหง้าหัวสีขาวแตกแขนงอยู่ใต้ดิน (รากมีความเฉลี่ย 11.8 เซนติเมตร มีความยาวรอบรากเฉลี่ย 0.2 เซนติเมตร โดยความยาวของรากจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของรากด้วย) ส่วนของลำต้นเทียมบนดินจะเกิดจากใบเรียงซ้อนเป็นลำตรงกลม ทั้งต้นไม่มีขนปกคลุม แต่บางครั้งอาจพบผงเทียนไขปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อและวิธีการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 28,846

กระดูกไก่

กระดูกไก่

ต้นกระดูกไก่เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5-2.5 เมตร ลำต้นมีข้อบวมพอง ใบกระดูกไก่เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปหอก ปลายและโคนเป็นใบเรียวแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 5-4 นิ้ว ยาวประมาณ 3-8 นิ้ว ริมขอบใบหยัก ผิวใบบาง ก้านใบยาวประมาณ 0.2-1.5 ซม. ดอกกระดูกไก่ออกเป็นช่อ ติดก้านช่อดอก ดอกไม่มีกลีบดอกหรือกลีบรองดอก แต่จะไม่มีใบประดับและเกสรตัวผู้เป็นสีขาว ซึ่งจะออกเรียงกันอยู่ข้างใน และมีอับเรณู 4 พู รังไข่ 1 ช่อง เชื่อมติดกันอยู่โคนใบประดับ

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,817