กระโดนดิน

กระโดนดิน

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้ชม 2,608

[16.4258401, 99.2157273, กระโดนดิน]

ชื่ออื่น ๆ : กระโดนดิน(ภาคกลาง), กระโดนเบี้ย(นครพนม), กระโดนทุ่ง(นครสวรรค์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Careya herbacea Roxb.
ชื่อวงศ์ : LECYTHIDACEAE (BARRINGTONIACEAE)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
        ต้นกระโดนดินไม้พุ่มเตี้ย สูง 10-20 ซม. รากอวบ
        ใบกระโดนดินใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนสอบแคบจนถึงก้านใบดูคล้ายครีบ ขอบจักเล็กๆ และถี่ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบยาวประมาณ 2 ซม.
        ดอกกระโดนดินดอกใหญ่ ออกที่ยอด 1-2 ดอก ก้านดอกยาว 3-3.5 ซม. มีขนละเอียดสีเทา มีใบประดับรูปใบหอก 2 ใบ ยาวประมาณ 2 ซม. และใบประดับย่อย 2 ใบติดอยู่ที่โคนดอก ยาว 1.5-2 ซม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1.5 ซม. โคนติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็นกลีบรูปไข่ 4 กลีบ ยาว 7-8 มม. ปลายกลีบมน กลีบดอก 4 กลีบ สีม่วงอมเขียว รูปรี ยาว 2.5-4 ซม. เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เรียงกันเป็นชั้นๆ ก้านชูอับเรณูเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายเส้นด้าย ชั้นในสุดและชั้นนอกสุดมีแต่ก้าน ไม่มีอับเรณู รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มีเนื้อนูนๆ คล้ายวงแหวนล้อมรอบ มี 4-5 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมากติดเรียงเป็น 2 แถว ก้านเกสรเพศเมียยาว มีอันเดียว
        ผลกระโดนดินผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-3.5 ซม. มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ปลายผล เมล็ดรูปรี มีจำนวนมาก ฝังอยู่ในเนื้อผล

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น
สรรพคุณ กระโดนดิน : เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณ ขับปัสสาวะ  แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ไตพิการ แก้เบาหวาน

คำสำคัญ : กระโดนดิน

ที่มา : https://www.samunpri.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กระโดนดิน. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1551&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1551&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กะเม็งตัวเมีย

กะเม็งตัวเมีย

ต้นกะเม็งตัวเมียจัดเป็นพืชสมุนไพรล้มลุกที่เต็มไปด้วยสรรพคุณในการรักษาโรค ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษหรือแอลกอฮอล์ ยับยั้งการกระจายตัวของเชื้อ HIV และยังเชื่อกันว่าสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้ดีอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมนำพืชชนิดนี้มาทำเป็นยาเพื่อรักษาโรค ซึ่งหากต้องการให้ได้ผลดี ควรใช้ต้นกะเม็งตัวเมียที่อยู่ในช่วงเจริญเต็มที่และกำลังออกดอกจะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ดีที่สุด ซึ่งนอกจากสรรพคุณในการรักษาโรคแล้วยังสามารถใช้สีดำจากลำต้นมาย้อมผ้าหรือย้อมผมได้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,136

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,986

เครือพูเงิน

เครือพูเงิน

ต้นเครือพูเงิน จัดเป็นพรรณไม้เถาวัลย์เนื้อแข็ง ไม่มีมือเกาะ มีความยาวได้ประมาณ 10 เมตร ส่วนของลำต้นยังอ่อนอยู่จะมีขนยาวและราบขึ้นหนาแน่น โดยขนจะเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อนๆ หรือบางทีจะมีคราบสีขาวๆ ติดอยู่ด้วย ส่วนเปลือกลำต้นจะเป็นสีเทาแกมขาว พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มักพบขึ้นตามป่ารุ่น ป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ และตามสองข้างทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 1,601

พุดตาน

พุดตาน

พุดตาน มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน ชาวจีนเชื่อว่าต้นพุดตานเป็นไม้มงคล เพราะดอกพุดตานสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง 3 สีภายในวันเดียว เปรียบเสมือนของชีวิตคนที่เริ่มต้นเหมือนเด็กที่เป็นผ้าขาว แล้วค่อย ๆ เจริญเติบโตพร้อมกับสีสันที่แต่งแต้มขึ้นมา เมื่ออายุมากขึ้นก็พร้อมที่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเข้มจนกระทั่งได้ร่วงโรยลงไป เชื่อว่าต้นพุดตานนี้ได้มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นช่วงค้าขายกับชาวจีน โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5 เมตร ต้นและกิ่งมีขนสีเทา ต้นพุดตานชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ๆ ไม่ชอบที่มีน้ำขังหรือที่แฉะ เจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน มีดินร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 6,740

เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน (Cryptolepis buchanani Roem. & Schult.) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ตีนเป็ดเครือ ส่วนเชียงใหม่เรียก เครือเขาเอ็น หรือเครือเจน สุราษฎร์ธานีเรียก หม่อนตีนเป็ด หรือเมื่อย และปัตตานีเรียก หญ้าลิเล เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเถาเอ็นอ่อนนั้นมักมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใหญ่ชอบขึ้นอยู่ตามป่าราบหรือในพื้นที่รกร้าง โดยเฉพาะในจังหวัดหวัดสระบุรี สำหรับปัจจุบันนอกจากการนำต้นเถาเอ็นอ่อนมาใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังมีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 9,201

ตะแบก

ตะแบก

ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 1,857

เก๋ากี้

เก๋ากี้

เก๋ากี้ (Goji berry) หรือ Lycium Barbarum นั้นเป็นเม็ดเล็กๆ สีแดง อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเบอร์รี โดยชาวจีนนิยมรับประทานตุ๋นร่วมกับยาจีนถือเป็นยาบำรุงชั้นเยี่ยมที่มีค่า ORAC ที่สามารถดูดซับอนุมูลอิสระในออกซิเจนได้ถึง 25,300 unite ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาในร่างกายเราเองหรืออาจเกิดจากปัจจัยภายนอกอย่างควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือควันจากบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมในร่างกาย ทั้งความชราก่อนวัยอันควร หรือโรคมะเร็งต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,628

มะอ้า

มะอ้า

มะอ้า ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ประมาณ 12-25 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมแผ่กว้างทึบชั้นในสีชมพูแดงเรื่อ ๆใบเป็นช่อยาว ออกเรียงสลับกันใบอ่อนรูปขอบขนาน โคนเบี้ยว เนื้อค่อนข้างหนาเกลี้ยง ดอกสีขาวอมเขียวอ่อน ๆ ออกเป็นช่อผลสีน้ำตาล รูปไข่กลับ เอบกลม เปลือกหนา ผลแก่แตกอ้า เผยให้เห็นเนื้อเยื่อสีแดงภายใน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,771

จอก

จอก

ลักษณะทั่วไป วัชพืชน้ำขนาดเล็ก ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ มีระบบรากแก้วและมีรากฝอยจำนวนมาก อายุยืนหลายปี เจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีไหล ต้นใหม่เกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล ใบเป็นใบเดี่ยวเกิดบริเวณส่วนโคน ของลำต้นเรียงซ้อนกันหลายชั้น ไม่มีก้านใบรูปร่างใบไม่แน่นอน บางครั้งรูปรี แต่วนมากเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายกลีบหยักลอนเป็นคลื่น ฐานใบมนสอบแคบ ขอบใบเรียบสีแดงมีขนขึ้นปกคลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน บริเวณบานใบพองออกมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายฟองน้ำ ทำให้ลอยน้ำได้ ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงกลางต้นหรือต้นโคนใบระหว่างกลาง ซึ่งดอกนั้นจะมีกาบหุ้มดอกอยู่ 2-3 อันมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,513

กัดลิ้น

กัดลิ้น

ต้นกัดลิ้น หรือ ต้นลำไยป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างถึงค่อนข้างกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนต่างประเทศนั้นจะพบได้มากในประเทศพม่าและกัมพูชา มีใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยจำนวน 3 ใบ โดยใบย่อยใบกลางจะมีขนาดใหญ่สุด ใบย่อยคู่ข้างจะอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนที่เชื่อมกับก้านใบย่อยจะป่องเป็นข้อ ลักษณะใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหม ส่วนโคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียว ส่วนท้องใบสีอ่อนกว่า

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,573