มะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้ชม 6,056

[16.4258401, 99.2157273, มะม่วงหาวมะนาวโห่]

        มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรไทยชื่อแปลกอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่หลากหลาย โดยที่มะม่วงหาวมะนาวโห่จัดเป็นผลไม้ประเภทรับประทานผลสุก มีรสชาติเปรี้ยวเฉพาะตัว แต่อร่อย ผลสุกสีแดงขนาดเล็ก คล้ายกับมะเขือเทศราชินีหรือองุ่นแดง ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ไม่ได้มีเพียงแค่การรับประทานผลสุกเท่านั้น แต่เราสามารถทำแทบทุกส่วนของลำต้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้นในรูปแบบของสมุนไพรรักษาโรค มะม่วงหาวมะนาวโห่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงราว 5-10 เมตร มีชื่อเรียกหลายชื่อตามแต่ภูมิภาค เช่น ต้นหนามแดง มะนาวไม่รู้โห่ มะนาวโห่ และหนามขี้แฮด เป็นต้น

ข้อมูลทางพฤษศาสตร์
อาณาจักร : Plantae
หมวด : Angiosperms
ชั้น : Eudicots
อันดับ : Gentianales
วงศ์ : Apocynaceae
สกุล : Carissa
สปีชีส์ : C. carandas
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carissa carandas L.
ชื่อสามัญ : Karanda

ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่
        อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่ามะม่วงหาวมะนาวโห่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วนของต้น ทั้งการรับประทานผลสด การนำผลไปประกอบอาหาร การใช้ประโยชน์จากใบและยอดอ่อน รวมถึงราก ลำต้นและยาง โดยสามารถแยกแยะได้ดังนี้
        1. ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ – ผล
           – ผลสุกสามารถนำมารับประทานเป็นผลไม้
           – สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด
           – มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านมะเร็งและชะลอความแก่
           – มีประโยชน์ช่วยให้ร่างกายสดชื่นและกระชุ่มกระชวย
           – ผลของมะม่วงหาวมะนาวโห่มีธาตุเหล็กสูง ช่วยบำรุงเลือด
           – ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคถุงลมโป่งพอง
           – ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคตับ
           – ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์และไทรอยด์
           – ช่วยบรรเทาอาการมือเท้าชา
           – ช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
           – ผลของมะม่วงหาวมะนาวโห่มีประโยชน์ช่วยลดอาการไอ
           – มีส่วนช่วยลดอาการภูมิแพ้
           – ผลสุกมีวิตามินซีสูง ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน
           – ผลมีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
           – สามารถช่วยฆ่าเชื้อและสมานแผล
           – ช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายและข้อ
       2. ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ – ใบและยอดอ่อน
          – แก้อาการเจ็บคอ รักษาแผลในปากเจ็บในปาก
          – ช่วยลดอาการไข้
          – มีสรรพคุณแก้อาการท้องเสีย
          – มะม่วงหาวมะนาวโห่มีประโยชน์ช่วยรักษาโรคลมชัก
          – มีประโยชน์ช่วยรักษาโรคบิด
          – สามารถช่วยไข้มาลาเลีย
          – แก้อาการปวดในช่องหู
          – มีสรรพคุณช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
       3. ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ – ราก
          – ช่วยบรรเทาอาการไข้ ช่วยถอนพิษไข้
          – มีประโยชน์ช่วยดับพิษร้อน
          – มีสรรพคุณช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร
          – ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ช่วยขับพยาธิได้หลายชนิด
          – ช่วยรักษาอาการคันตามผิวหนัง
          – รากมะม่วงหาวมะนาวโห่มีประโยชน์ช่วยรักษาแผลเบาหวาน
       4. ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ – ลำต้นและเนื้อไม้
          – มีสรรพคุณช่วยให้ร่างกายแข็งแรง กระปรีกระเปร่า
          – มีประโยชน์แก้อาการอ่อนเพลียและเมื่อยล้า
          – ช่วยบำรุงกำลังและร่างกาย ทำให้มีกำลังวังชาดี
          – ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ช่วยบำรุงธาตุ ทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานได้อย่างสมดุล
          – สามารถใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื่นขึ้น
       5. ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ – ยาง
          – สามารถใช้เป็นยาช่วยรักษาโรคเท้าช้าง
          – มีสรรพคุณช่วยสมานแผลและรักษาแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
          – ยางมะม่วงหาวมะนาวโห่มีประโยชน์ช่วยรักษากลากเกลื้อน
          – สามารถช่วยรักษาหูดได้
          – มีประโยชน์ช่วยรักษาตาปลา
        จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่นั้นมีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน แต่มะม่วงหาวมะนาวโห่นั้นปัจจุบันหารับประทานยากซักหน่อย เพราะไม่ค่อยมีคนนิยมปลูกกันมากนัก

คำสำคัญ : มะม่วงหาวมะนาวโห่

ที่มา : https://www.samunpri.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะม่วงหาวมะนาวโห่. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1518&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1518&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ลำดวน

ลำดวน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางแตกกิ่งก้านสาขาตามข้อต้นลำต้น  เรียบเกลี้ยงไม่มีขน สูงประมาณ 3 – 8 เมตร  ใบเป็นไม้ใบเดียว ออกเรียงสลับกันไปตามลำดับต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี หรือรูปแหลม โคนใบมนหรือแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเกลี้ยง ด้านบนเป็นมันสีเขียวข้น ส่วนด้านล่างนั่นมีสีอ่อนกว่า ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว ยาว 2-5 นิ้ว ดอกเป็นไม้ดอกเดี่ยว ออกตามส่วนยอดและตามง่ามใบ ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม ดอกหนึ่งจะมีอยู่ 6 กลีบ แต่กลีบชั้นในจะมีขนาดเล็กกว่าและโค้งกว่า ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกกว้างก้านดอกยาว 1 นิ้ว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,723

ผักแพว

ผักแพว

ผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,380

ข้าวเย็นใต้

ข้าวเย็นใต้

ต้นข้าวเย็นใต้ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อย เถาและลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน เหง้ามีลักษณะกลมหรือแบนหรือเป็นก้อน มีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ผิวไม่เรียบ พบก้อนแข็งนูนขึ้น เสมือนแยกเป็นแขนงสั้น ๆ เหง้ามีความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-22 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเหลืองหรือเป็นสีเทาน้ำตาล ตามผิวพบส่วนที่เป็นหลุมลึกและนูนขึ้น มีร่องที่เคยเป็นจุดงอกของรากฝอย อาจพบปมของรากฝอยที่พร้อมจะงอกในลักษณะกลมยื่นนูนมาจากบริเวณผิวเหง้า 

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,381

ผักกระเฉด

ผักกระเฉด

ผักกระเฉด จัดเป็นพืชที่เกิดตามผิวน้ำ ลำต้นเป็นเถากลม เนื้อนิ่ม ลักษณะของใบจะคล้ายกับใบกระถิน โดยใบจะหุบในยามกลางคืน จึงเป็นที่มาของชื่อ "ผักรู้นอน" ระหว่างข้อจะมีปอดเป็นฟองสีขาวหุ้มลำต้นที่เรียกว่า "นมผักกระเฉด" ซึ่งทำหน้าที่ช่วยพยุงให้ผักกระเฉดลอยน้ำได้นั่นเอง และยังมีรากงอกออกมาตามข้อซึ่งจะเรียกว่า "หนวด" ลักษณะของดอกจะเป็นช่อเล็ก ๆ สีเหลือง และผลจะมีลักษณะเป็นฝักโค้งงอเล็กน้อย แบน มีเมล็ดประมาณ 4-10 เมล็ด คุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด 100 กรัมจะมี ธาตุแคลเซียม 123 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าสูงมาก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย เส้นใย ธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส วิตามินเอ เบตาแคโรทีน วิตามินบี 3 วิตามินซี อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 5,849

ผักเบี้ยหิน

ผักเบี้ยหิน

ลักษณะทั่วไป เป็นพืชล้มลุกลำต้นอวบน้ำ สีเขียวอมม่วง แตกกิ่งก้านโปร่งแผ่ราบไปตามพื้นดิน ตามลำต้นมีขนละเอียด  ใบเป็นใบเดียวออกจากลำต้นแบบตรงข้ามเป็นคู่ รูปร่างใบค่อนข้างกลม รูปไข่กลับปลายใบมนหรือหยักเว้าอีกใบหนึ่ง    ก้านใบยาว โคนก้าน ใบแผ่ออกเป็นกาบ  ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ไม่มีก้านดอก ดอกมีสีขาว อมชมพูมี กลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบ ปลายกลีบดอกโค้งมนออกดอกตลอดปี ผลมีลักษณะเป็นฝักติดอยู่ตามซอกใบ ส่วนล่างของผักจะฝังจม อยู่ในง่ามใบภายในฝักมีเมล็ดสีดำรูปไตขนาดเล็กอยู่ภายใน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,282

กัดลิ้น

กัดลิ้น

ต้นกัดลิ้น หรือ ต้นลำไยป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างถึงค่อนข้างกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนต่างประเทศนั้นจะพบได้มากในประเทศพม่าและกัมพูชา มีใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยจำนวน 3 ใบ โดยใบย่อยใบกลางจะมีขนาดใหญ่สุด ใบย่อยคู่ข้างจะอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนที่เชื่อมกับก้านใบย่อยจะป่องเป็นข้อ ลักษณะใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหม ส่วนโคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียว ส่วนท้องใบสีอ่อนกว่า

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,570

หูเสือ

หูเสือ

หูเสือเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำยอดหรือต้น ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ที่มีอินทรีวัตถุสูง ชอบความชื้นมาก และแสงแดดปานกลาง พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วทุกภาคของประเทศ แต่พบได้มากทางภาคเหนือ ถือเป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,187

งาขาว

งาขาว

งาขาว (White Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น งาขาว, งาดำ ซึ่งงานั้นเป็นพืชสมุนไพรที่เรารู้จักกันดี และงานั้นมักจะโรยอยู่ในขนมต่างๆ มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แถมยังมีคุณค่าทางด้านโภชนาการสูงอีกด้วย จนแทบไม่น่าเชื่อว่างาเม็ดเล็กๆ อย่างนี้จะสามารถอัดแน่นไปด้วยคุณค่ามากมายถึงเพียงนี้ได้อย่างไร และมีการใช้เมล็ดงาเพื่อประกอบอาหารกันมากโดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง และเอเชีย

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,199

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม (Prickly Leaved Elephant’s Foot) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก หนาดผา, หญ้าสามสิบสองหาบ หรือหญ้าไก่นกคุ้ม ส่วนภาคใต้เรียก หญ้าปราบ ชัยภูมิเรียก คิงไฟนกคุ้ม สุราษฎร์ธานีเรียก หนาดมีแคลน ชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตะชีโกวะ ชาวกะเหรี่ยงเรียก นกคุ้มหนาดผา หรือหญ้าไฟ ส่วนชาวจีนแต้จิ๋วเรียก โช่วตี่ต้า และชาวจีนกลางเรียก ขู่ตี่ต่าน เป็นต้น โดยลักษณะพิเศษตามชื่อของต้นโด่ไม่รู้ล้มนี้คือ เมื่อถูกเหยียบหรือถูกทับแล้วจะสามารถดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้ตลอด เรียกว่าสมชื่อโด่ไม่รู้ล้มจริงๆ ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ชอบขึ้นตามป่าโปร่ง, ป่าดิบ, ป่าเต็งรัง, ป่าสนเขา หรือดินทราย เรียกได้ว่าแทบทุกภาคในประเทศไทยเลยทีเดียว รวมทั้งประเทศในเขตร้อนด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,562

หนามโค้ง

หนามโค้ง

หนามโค้ง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยนั้นมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักแหลม โคนฝักแหลม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,577