สงกรานต์กับเมืองโบราณกำแพงเพชร

สงกรานต์กับเมืองโบราณกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้ชม 1,511

[16.4800561, 99.5106324, สงกรานต์กับเมืองโบราณกำแพงเพชร]

         สงกรานต์แต่ละเมืองต่างมีเอกลักษณ์ แตกต่างกันไป กำแพงเพชรเป็นอีกเมืองหนึ่งที่มี เอกลักษณ์งานสงกรานต์เฉพาะตัว เพราะเป็นเมืองโบราณที่สืบทอดประเพณีสงกรานต์กันมาหลายร้อยปี โดยเริ่มจากวันที่ 12 เมษายน ประชาชนจะทำบุญตักบาตรกันในตอนเช้า ในตอนเย็นจะมีประเพณีการขนทรายเข้าวัด และร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ที่ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ธงทิว พวงมะโหด ปักเท่าอายุตนเอง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เมื่อก่อพระทรายแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ที่กำแพงเพชร นิยมก่อที่วัดบาง นำทรายจากหาดทรายแม่น้ำปิงหน้าวัดบางมาก่อพระเจดีย์ แต่ ในปัจจุบัน หาดทรายอยู่ห่างจากวัดมาก จึงใช้รถขนมา หรือซื้อมาแล้วมาก่อที่วัด อาจไม่ได้ความรู้สึกที่ดีๆ เหมือนในอดีต ที่หนุ่มสาว หาบ ขน ทราย จากหาดทราย กระเซ้าเย้าแหย่ กันมาตลอดทางจนถึงวัด บรรยากาศจะเป็นธรรมชาติและสนุกมากซึ่งในปัจจุบันไม่เห็นมาหลายสิบปีแล้ว
         ประชาชนจะเริ่ม รดน้ำสาดน้ำกัน ในวันที่ 12 นี้ บรรยากาศสงกรานต์ ในทุ่งมหาราช ที่บรรยายภาพ ที่สนุกสนาน หนุ่มสาวจะมีโอกาสได้ใกล้ชิด และถูกเนื้อต้องตัวกันในประเพณีสงกรานต์ โดยที่ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายตะลุมบอน และจับฝ่ายชาย มอมด้วยดินหม้อ ฝ่ายหญิงจะจับฝ่ายชายเพื่อเรียกค่าไถ่ แล้วนำมาดื่มกินอย่างสนุกสนานและเป็นกันเอง ไม่เลือกชั้นวรรณะเล่นกันอย่างสนุกสุดตัว ฝ่ายชายก็จะมอมหน้าฝ่ายหญิง ด้วย ดินหม้อเหมือนกัน ตอนกลางคืนจะเป็นการเข้าทรงแม่ศรี ซึ่งเหมือนกับเป็นการ คัดเลือกสาวงามประจำหมู่บ้าน ในสมัยโบราณในวันที่ 13 เมษายน ซึ่งถือกันว่าเป็นวันมหาสงกรานต์ ตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตรที่วัด ถือกันว่าเป็นการฉลองพระเจดีย์ทรายที่ก่อเมื่อวันวาน ที่วัดพระบรมธาตุนครชุม หลังจากทำบุญตักบาตรในตอนเช้า แล้วจะทำบุญเลี้ยงพระในตอนเพล ประชาชนมาสรงน้ำพระสงฆ์
         ในระหว่างวันสงกรานต์ ชาวกำแพงเพชรไม่เรียกว่ารดน้ำดำหัว แต่เรียกว่าอาบน้ำผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เคารพนับถือ จะมีการจัดขบวนไปอาบน้ำผู้ใหญ่ที่บ้าน เพื่อเป็นการขอศีลขอพรจากผู้ใหญ่ และในการนี้จะจัดเสื้อผ้า น้ำอบ น้ำหอมเพื่อไปผลัดเปลี่ยนให้ ในแต่ละบ้านจะนำพระพุทธรูปประจำบ้านหรือพระเครื่องมาสรงน้ำด้วย
         ในวันที่ 14 เมษายน ประชาชนจะมารวมกันที่วัด เพื่อนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีสรงน้ำ เมื่อสรงน้ำแล้วจะถวายภัตตาหารเพล จากนั้นนัดกันแห่ผ้าไปห่มพระบรมธาตุ ที่เมืองนครชุม ประชาชนจะร้องรำเล่นกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งถือกันว่าในพระบรมธาตุมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ ตั้งแต่พุทธศักราช 1900 สมัยมหาธรรมราชาลิไท เชื่อกันว่า ถ้าหากไหว้พระบรมธาตุนครชุมแล้ว เหมือนได้นบพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง
         ในวันที่ 15 เมษายน ซึ่งถือกันว่าเป็นวันพญาวัน ผู้เฒ่าผู้แก่ จะใช้ด้ายแดงและด้ายสีขาว ผูกข้อมือ หรือมัดมือบุตรหลาน ตลอดจนภาชนะสิ่งของสัตว์พาหนะต่างๆ พร้อมกับกล่าวคำกวยชัยให้พร เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ทุกคน และทุกสิ่งในครอบครัว และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันที่ไหว้เจ้าพ่อหลักเมือง เพื่อกราบไหว้และขอพร ถ้าท่านใดยังค้างบนอยู่ให้แก้บน หรือใช้บน ให้เสร็จสิ้นในวันนี้ด้วย เมื่อสมัยก่อนการเดินทางไปเจ้าพ่อหลักเมืองถือว่าไกล และลำบากนัก ประชาชนจะแห่แหนไปด้วยความสนุกสนาน เป็นวันที่มีประชาชนมารวมกันมากที่สุด เพราะเจ้าพ่อหลักเมืองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองกำแพงเพชร ในปีหนึ่งขอให้ทุกคนได้มีโอกาสอาบน้ำเจ้าพ่อครั้งหนึ่ง จากนั้นได้ไปสรงน้ำพระอิศวร เทวรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีบรรยากาศที่สนุกสนานและประทับใจมาก ในอดีต จะมีความสุขมาก เพราะทุกคนไปด้วยความศรัทธาอย่างจริงใจ
         จากนั้นประชาชนหลายหมื่นคน มารวมตัวกันก่อพระทรายน้ำไหล ในบริเวณหน้าเมืองที่มีหาดทราย และน้ำตื้นเหมาะในการก่อพระทรายน้ำไหลมาก วันนี้เป็นวันที่สนุกที่สุดของหนุ่มสาว ในอดีต เป็นวันที่ รวมตัวของหนุ่มสาวในทุกหมู่บ้านตำบล และในวันนี้จะมีการแสดงพลังอำนาจ ของวัยรุ่นในหมู่บ้าน ว่าใครจะเป็นนักเลงจริง ในปัจจุบัน ประเพณีนี้หายไปจากหมู่บ้านแล้ว ชาวกำแพงเพชร ก่อพระทรายน้ำไหลกันด้วยความสามัคคี
         การเล่นรดน้ำ สาดน้ำ ในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแต่การสาดน้ำในสมัยโบราณมีการสาดน้ำเล่นน้ำกันอย่างไม่ถือตัวฝ่ายชายหญิงที่ออกมาเล่นน้ำแสดงว่าพร้อมที่จะสนุกสนานด้วย การถูกเนื้อต้องตัว กันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ต้องเป็นไปตามการเล่น หรือกติกา ของสังคม ฝ่ายชายจะไม่ฉวยโอกาสลวนลาม ฝ่ายหญิง แต่ทุกอย่างเป็นไปตามครรลอง แห่งประเพณีอันดีงามประเพณีสงกรานต์ เป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของสังคมที่ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง เป็นการรวมตัวของผู้คนที่มีโอกาสได้พบกันในปีหนึ่งๆพ่อแม่พี่น้องที่ไปทำมาหากินไกลๆ ได้มีโอกาสมาพบกันโดยเป็นสิ่งที่งดงามมากในปีหนึ่ง ทุกคนในตระกูลจะได้มีโอกาสมาพบกัน นานถึงสามวันและเดือนเมษายน เป็นฤดูร้อน ได้ใช้น้ำมาดับร้อนกัน นอกจากจะเป็นความสามัคคี ในครอบครัว ยังเป็นความสามัคคี ในกลุ่มสังคม และในประเทศชาติอีกด้วย นอกจากนั้นสงกรานต์ เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่นำเงินเข้าประเทศปีละไม่ใช่น้อย และเชื่อมั่นว่าสงกรานต์จะพัฒนาไปสู่กระบวนการที่ยั่งยืน และถาวรอย่างแน่นอน

 

ภาพโดย : https://www.kppnews.net/wp-content/uploads/2017/04/DSC_0409-512x341.jpg

คำสำคัญ : ประเพณีสงกรานต์

ที่มา : http://sunti-apairach.com/06/06I.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). สงกรานต์กับเมืองโบราณกำแพงเพชร. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=147&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=147&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

การยกยอดฉัตรองค์พระบรมธาตุนครชุม

การยกยอดฉัตรองค์พระบรมธาตุนครชุม

พระมหาธรรมราชาลิไท นำพระบรมพระสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานตั้งแต่พุทธศักราช 1900 กาลเวลาล่วงมาพระบรมธาตุกลายเป็นวัดร้าง พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างเจดีย์ทรงมอญครอบไว้ แต่มิทันเสร็จพญาตะก่าถึงแก่กรรม พะโป้น้องชายบูรณะต่อ โดยนำฉัตรทองจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนหน้าพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน คือเมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา เจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัย ในพระพุทธศาสนาเมืองกำแพงเพชรมาตลอดเกือบศตวรรษ

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,099

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,422

ประเพณีวันออกพรรษา

ประเพณีวันออกพรรษา

การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,721

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว หมายถึง การที่เจ้าของนาจะบอกเพื่อนบ้านให่รู้ว่าจะเกี่ยวข้าวเมื่อใด และเมื่อถึงวันที่กำหนดเจ้าของนาก็จะต้องปักธงที่ที่นาของตนเพื่อให้เพื่อนบ้านหรือแขกที่รู้จะได้มาช่วยเกี่ยวได้ถูกต้องทั้งนี้เจ้าของนาจะต้องจัดเตรียมอาหาร คาวหวาน สุรา บุหรี่ น้ำดื่ม ไว้รองรับด้วย และในการขณะเกี่ยวข้าวก็จะมีการละเล่นร้องเพลงเกี่ยวข้องระหว่างหนุ่มสาวเป็นที่สนุกสนานและเพลิดเพลินเพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อยได้ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 7,782

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,291

ตลาดชาวบ้าน

ตลาดชาวบ้าน

ในงานเฉลิมฉลองครบรอบร้อยปี การเสด็จประพาสต้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18-27 สิงหาคม พ.ศ. 2449 จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการสนับสนุน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดตลาดชาวบ้านและตลาดชาววังขึ้น ในส่วนของตลาดชาวบ้านนั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลนครชุม ซึ่งชาวบ้านได้รักษาวิถีชีวิตของชุมชนไว้ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2549 จึงเกิดตลาดชาวบ้านขึ้นผู้แสดงล้วนมาจากตำบลนครชุมทั้งสิ้น

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,921

ประเพณีงานบวช

ประเพณีงานบวช

งานบวช เป็นประเพณีไทยสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ชายไทยเมื่ออายุครบบวช จะต้องบวชให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสืบทอดอายุพระพุทธสาสนาสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ให้ตนเองและบิดามารดารวมทั้งหมู่ญาติการมีโอกาสได้เป็นนักบวช ดำรงเพศสมณะผุ้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 25,690

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลาก “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัต มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือจะจัดขึ้นในเดือน 11 เหนือ (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ตานก๋วยสลากในกำแพงเพชรนั้นจะจัดขึ้น ณ สถานที่วัดน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตานก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก๋วยน้อย และ ก๋วยใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 22,037

เพลงพวงมาลัย

เพลงพวงมาลัย

เพลงพวงมาลัย เป็นเพลงเก่าแก่เพลงหนึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพราะเคยเป็นเพลงที่นิยมเล่นในภาคกลาง หลายท้องถิ่นมักนำไปประกอบการละเล่นพื้นบ้าน หรือใช้ปรับเป็นเพลงในการเล่นกีฬาพื้นบ้านหลายชนิด และบางพื้นที่ใช้เป็นเพลงร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกันในกลุ่มหนุ่มสาว เพลงพวงมาลัย ไม่มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่า มีกำเนิดเมื่อใด แต่รู้กันว่าเป็นเพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ทุกเวลา มักเล่นในงานเทศกาล เช่น สงกรานต์ งานลอยกระทง งานขึ้นบ้านใหม่ งานนบพระเล่นเพลง เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 20,217

เพลงฉ่อยตำบลลานดอกไม้

เพลงฉ่อยตำบลลานดอกไม้

บ้านร้านดอกไม้ ในอดีต กลายมาเป็นบ้านลานดอกไม้ในปัจจุบัน ริมฝั่งน้ำปิงเหนือเมืองกำแพงเพชรไปเล็กน้อย มีชุมชนโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ ชุมชนโบราณบ้านลานดอกไม้ ในชุมชนแห่งนี้ เป็นชุมชนดั้งเดิม ประชาชนอาศัยอยู่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ดังนั้นศิลปวัฒนธรรมจึงฝังรากลึก ในบ้านลานดอกไม้ เพลงพื้นบ้านที่เล่นกันมากว่าร้อยปี จึงอยู่ในสายเลือดของชาวบ้าน การตามหาเพลงพื้นบ้าน โดยการไปพบแม่เปรื่อง ผิวพรรณ วัย 70 ปี ลูกศิษย์เอกของแม่ต่อ นุ่มน่วม แม่เพลงในอดีต ที่เสียชีวิตไปแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,051