ตดหมูตดหมา

ตดหมูตดหมา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 7,805

[16.5055083, 99.509574, ตดหมูตดหมา]

ตดหมูตดหมา ชื่อสามัญ Fever vine
ตดหมูตดหมา ชื่อวิทยาศาสตร์ Paederia linearis Hook.f. จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)
สมุนไพรตดหมูตดหมา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตำยานตัวผู้ เครือตดหมา (นครราชสีมา), หญ้าตดหมา (ภาคเหนือ), พังโหม (ภาคกลาง), ย่านพาโหม (ภาคใต้), ตดหมูตดหมาหญ้าตดหมูตดหมา เป็นต้น
หมายเหตุ : ตดหมูตดหมาที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นพรรณไม้คนละชนิดกับหญ้าตดหมา (Paederia pilifera Hook.f.) และเถาตดหมา (Merremia tridentata (L.) Hallier f.)

ลักษณะของตดหมูตดหมา
        ต้นตดหมูตดหมา จัดเป็นไม้เถาขนาดเล็ก มีกลิ่นเหม็นเขียวเฉพาะและมียาวสีขาวทั้งต้น เจริญเติบโตแบบไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้นเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.8-5 เซนติเมตร ก้านใบ กิ่งอ่อน ก้านช่อดอก และผลมีขนสั้น ๆ ปกคลุมอยู่หนาแน่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย แสงแดดจัด ทนแล้งได้ดี พบขึ้นทั่วไปในที่รกร้าง ในป่าธรรมชาติ โดยเฉพาะตามป่าผสมผลัดใบ ป่าเต็งรัง และป่าที่กำลังคืนสภาพที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 400-800 เมตร ในต่างประเทศพบได้ที่ประเทศอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนวิธีการป้องกันและจำจัด สามารถทำได้โดนการใช้วิธีการเขตกรรม (ถาก ตัดให้สั้นเพื่อไม่ให้ออกดอก หรือขุดทิ้ง) และใช้สารเคมีต่าง ๆ
        ใบตดหมูตดหมา ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลมหรือเรียวยาว โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7.1-12 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวถึงเขียวค่อนข้างเข้ม หน้าใบและหลังใบไม่มีขน แต่จะมีขนสั้น ๆ ละเอียดที่มุมเส้นใบตัดกับเส้นกลางใบ เส้นแขนงใบออกตรงข้ามกันและเยื้องกันบ้าง ปลายเส้นวิ่งไปจนเส้นถัดไป ไม่ถึงขอบใบ เส้นแขนงเล็ก ๆ สานกันเป็นร่างแห มีเส้นแขนงใบข้างละ 4-7 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 1.2-2.3 เซนติเมตร
         ดอกตดหมูตดหมา ออกดอกเป็นช่อบริเวณยอดและตามซอกใบ ยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมากอยู่ชิดติดกันเป็นกระจุก กลีบดอกด้านนอกเป็นสีเขียว ส่วนด้านในเป็นสีม่วงเข้ม ดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวยปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉกและหยักตื้น โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
         ผลตดหมูตดหมา ลักษณะของผลเป็นรูปไข่หรือกลมแบน ผลมีขนาดกว้างประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร ผลจะแก่ในช่วงเมษายนถึงพฤษภาคม

สรรพคุณของตดหมูตดหมา
1. ทั้งต้นมีรสขม สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ (ทั้งต้น)
2. ใบมีรสขม ใช้ทำเป็นอาหารบำรุงกำลังคนฟื้นไข้หรือคนชราได้ (ใบ)
3. ใบนำมาตำพอกเวลาปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะจะดีขึ้น (ใบ)
4. ช่วยแก้ตัวร้อน (ทั้งต้น)
5. ใช้เป็นยาถอนพิษเหล้า ยาสูบ และพิษจากอาหาร (ทั้งต้น)
6. รากมีรสขมเย็น ใช้ฝนหยอดตา แก้ตาฟาง ตาแฉะ (ราก) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ตาฟาง ตาแฉะ ตามัว (ราก)
7. ผลและใบใช้เป็นยาแก้อาการปวดฟัน (ใบ,ผล)
8. ใช้แก้อาการอักเสบที่คอและปาก (ยอดอ่อน)
9. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มจะช่วยทำให้อาเจียน (ราก)
10. ช่วยขับลม (ทั้งต้น)ยอดและเถาใช้ผสมในตำรับยาแก้ท้องอืด ยาขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ แก้เจ็บท้อง จุกเสียด แน่นท้อง แก้นิ่ว (ยอดและเถา)
11. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ทั้งต้น)
12. ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ยอดอ่อน)
13. ช่วยขับพยาธิไส้เดือน (ทั้งต้น)
14. รากใช้ฝาทาแก้ริดสีดวงทวาร (ราก)
15. ใบใช้เป็นยาแก้เริม แก้ปวดแสบปวดร้อน (ใบ)
16. ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)
17. ช่วยแก้พิษงู (ใบ)
18. ใช้เป็นยาขับน้ำนมของสตรี (ยอดอ่อน)
          นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วว่ารากมีสรรพคุณแก้โรคตานขโมย รักษาดีซ่าน แก้ท้องเสีย ลำไส้พิการ แก้อาการจุกเสียด ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (ราก), เถามีสรรพคุณแก้ธาตุพิการ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ซาง ตานขโมย แก้ไข้ ตัวร้อน รักษารำมะนาด ท้องเสีย ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับพยาธิ แก้ดีรั่ว ใช้ทาแผลที่ถูกงูกัด ช่วยถอนพิษงู (เถา), ใบมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ แก้ธาตุพิการ แก้ตานซาง แก้ตัวร้อน ไข้จับสั่น แก้รำมะนาด เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับพยาธิไส้เดือน แก้ดีรั่ว แก้อาการคัน (ใบ), ดอกมีสรรพคุณแก้ไข้จับสั่น ช่วยขับน้ำนม (ดอก), ผลมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้จับสั่น หืดไอ แก้มองคร่อ แก้ท้องมาน แก้ริดสีดวง (ผล), นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้สัมประชวร แก้เสมหะ แก้ฟกบวมในท้อง และช่วยบำรุงธาตุไฟ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) (ข้อมูลจากเว็บไซต์ทองไทยแลนด์)

ประโยชน์ของตดหมูตดหมา
1. ใช้เป็นพืชอาหารและสมุนไพร โดยใช้ยอดอ่อนและใบอ่อนนำมากินเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก แกล้มกับลาบ และตำมะม่วง หรือนำมาต้มหรือลวกรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำ
    พริก
2. ใช้เป็นอาหารของสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ เป็นต้น ต้นมีกลิ่นเหม็นเขียวเพราะมีสาร Methyl mercaptan เมื่อนำมาต้มกลิ่นระเหยไป สามารถนำมาทำอาหารได้
3. ผลใช้ทาฟันทำให้ฟันมีสีดำ
4. รากนำมาปอกเปลือกแช่น้ำ นำไปตำกับข้าวเหนียวนึ่งเพื่อทำข้าวพอง (ข้าวโป่ง) หรือที่คนภาคกลางเรียกว่า "ข้าวเกรียบว่าว"
5. ใช้ปลูกเป็นไม้ดับ ด้วยการปลูกเป็นค้างให้เลื้อย ดอกมีขนาดเล็กแต่ออกดกมีสีสันสวยงาม

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ตดหมูตดหมา. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=86

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=86&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

พริกไทย

พริกไทย

พริกไทยเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน จัดอยู่ในประเภทไม้เลื้อย สูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นจะเป็นข้อๆ ลักษณะของใบพริกไทยจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ส่วนลักษณะของดอกพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตรงข้อของลำต้น มีลักษณะเป็นพวง ซึ่งจะมีเมล็ดกลมๆ ติดกันอยู่เป็นพวง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย บริเวณเทือกเขาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับบ้านเราพริกไทยถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยนิยมปลูกพริกไทยกันมากในจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 4,074

ผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่ง เป็นพืชล้มลุก จัดอยู่ในวงศ์ผักชี โดยมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้และประเทศเม็กซิโก แต่ปัจจุบันมีการเพาะปลูกทั่วโลก เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีใบสีเขียวอ่อน ขอบใบมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย และสำหรับวิธีการเลือกซื้อผักชีฝรั่งนั้นให้เลือกซื้อเอาใบที่เขียวสด ไม่เหลืองและเหี่ยว เมื่อซื้อมาแล้วก็เก็บใส่ถุงพลาสติกผูกให้มิดชิดแล้วนำไปแช่ตู้เย็นในช่องผักได้เลย

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 6,748

พันงูเขียว

พันงูเขียว

พันงูเขียว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้พบได้ในแถบเขตร้อนทั่วไป โดยมักขึ้นตามเนินเขา ตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่เปิด หรือตามริมถนน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 14,388

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

ต้นทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร โคนของลำต้นเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง มีกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบทองพันชั่ง ใบเป็นเป็นเดี่ยว ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ออกดอกเป็นช่อตรงซอกมุมใบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน กลีบดอกติดกัน โคนเป็นหลอด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 10,789

แค

แค

ต้นแค หรือ ต้นดอกแค เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียหรือในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่เป็นระเบียบ มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร เนื้อไม้อ่อน ที่เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาและมีรอยขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด สามารถเจริญเติบโตได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น เป็นต้นไม้ที่โตเร็ว สามารถปลูกได้ทุกที่ และมักขึ้นตามป่าละเมาะ หัวไร่ปลายนา มีอายุราว ๆ 20 ปี แต่ถ้าเก็บกินใบบ่อย ๆ จะทำให้ต้นมีอายุสั้นลง

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 10,699

ต้นหมีเหม็น

ต้นหมีเหม็น

มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Litsea glutinosa C.B. Robinson ในวงศ์ Lauraceae บางถิ่นเรียก ดอกจุ๋ม(ลำปาง) ตังสีไพร(พิษณุโลก) ทังบวน(ปัตตานี) มะเย้อ ยุบเหยา(พายัพ) มัน(ตรัง) หมี(อุดรธานี) หมูทะลวง(จันทบุรี) หมูเหม็น(แพร่) อีเหม็น(กาญจนบุรี ราชบุรี) กำปรนบาย(ชอง-จันทบุรี) มือเบาะ(มาเลย์-ยะลา)

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 3,127

กระเช้าถุงทอง

กระเช้าถุงทอง

ต้นกระเช้าถุงทองเป็นไม้เถาล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นและเกี่ยวต้นไม้อื่น ลำต้น มีขนละเอียด ใบกระเช้าถุงทองใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กว้างหรือแยกเป็น 3 แฉกแฉกยาวไม่ถึงกึ่งหนึ่งของความยาวใบใบยาว 11-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม หรือมน ปลายแฉกด้านข้างมน โคนใบรูปหัวใจตื้นๆแผ่นใบมีขนและต่อมทั้งสองด้าน เส้นโคนใบ 3 เส้นก้านใบยาว 5-5.2 เซนติเมตร มีขนละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,388

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นต้นขนาดย่อม กิ่งเล็กเรียวงอไปมาเล็กน้อยตามข้อ  ใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายแหลม ขอบเรียบ ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามกิ่งดูคล้ายใบประกอบ เหมือนใบมะยมดอกเล็ก  กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองแดง ออกเป็นช่อตามง่ามใบ  ผลกลมฉ่ำน้ำ ผิวเป็นพูเล็กน้อย สีเขียวถึงขาว ขั้วสีแดงห้อยลงใต้ใบ  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด หรือกิ่งปักชำ   ประโยชน์ด้านสมุนไพรใบและต้น รสหวานเย็น ใช้น้ำยาหยอดตาแก้อักเสบ รักษาแผลในจมูก ราก รสเย็นระงับความร้อน ถอนพิษไข้กลับไข้ซ้ำ แก้โรคคางทูม

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,981

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง, มะกล่ำต้น, มะแค้ก, หมากแค้ก, มะแดง, มะหัวแดง หรือ มะโหกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenanthera pavonina) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminasae วงศ์ย่อย Mimosoideae โคนต้นมีพูพอน ผิวเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปไข่ ดอกช่อแบบแตกแขนง เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เห็นเป็นพู่ ผลเดี่ยว เป็นฝักแบน ยาวขดเป็นวง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกแล้วสีน้ำตาล เป็นผลแห้ง แตกตามตะเข็บ เมล็ดแบนสีแดง

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,207

กระทิง

กระทิง

ต้นกระทิงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลมหรือรูปไข่ ทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งในระยะต่ำ ลำต้นมักจะบิดงอไม่ตั้งตรง โคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย เปลือกสีเทาเข้มเกือบดำค่อนข้างเรียบ แตกเป็นสะเก็ดหรือร่องเล็กๆ ทั่วไป มียางสีเหลืองอมเขียวซึมออกมาจากร่องของเปลือกที่แตก ใบกระทิงใบเดี่ยวออกเรียงตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 8-16 เซนติเมตร ปลายใบกว้างกลมเว้าเข้าเล็กน้อย แล้วค่อยสอบเรียวจากกลางใบไปสู่โคนใบและก้านใบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันเกลี้ยงและหนา 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,956