เสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 6,524

[16.4258401, 99.2157273, เสน่ห์จันทน์แดง]

เสน่ห์จันทน์แดง ชื่อสามัญ King of Heart

เสน่ห์จันทน์แดง (เสน่ห์จันทร์แดง) ชื่อวิทยาศาสตร์ Homalomena rubescens (Roxb.) Kunth (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Calla rubescens Roxb., Chamaecladon rubescens (Roxb.) Schott, Zantedeschia rubens K.Koch) จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)

ลักษณะของเสน่ห์จันทน์แดง

  • ต้นเสน่ห์จันทน์แดง หรือ ว่านเสน่ห์จันทน์แดง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของเอเชียและอเมริกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ประกอบด้วยก้านใบหลาย ๆ ก้าน ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีความสูงได้ประมาณ 45-60 เซนติเมตร นอกนั้นจะเป็นก้านใบและตัวใบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกหัว เป็นพรรณไม้ในที่ร่มหรือแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง
  • ใบเสน่ห์จันทน์แดง ใบเป็นใบเดี่ยว แตกใบออกตรงส่วนยอดของลำต้น ก้านใบเป็นสีแดงและยาวกว่าแผ่นใบ โคนก้านใบเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าลึก ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-8 นิ้ว และยาวประมาณ 6-12 นิ้ว แผ่นใบเป็นสีเขียวสด เส้นใบเป็นสีแดง (หากโดนแสงแดดมากเกินไปจะทำให้ใบเปลี่ยนสี) ส่วนก้านใบมีลักษณะกลมยาวเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมแดง หากเลี้ยงได้อย่างสมบูรณ์ก้านใบอาจเป็นสีแดงปนดำหรือเป็นสีแดงเลือดหมูตลอดทั้งก้านใบ
  • ดอกเสน่ห์จันทน์แดง ออกดอกเป็นช่อบริเวณกลางต้น ลักษณะของดอกเป็นแท่งกลมยาว ช่อดอกยาวได้ประมาณ 3-4 นิ้ว มีลักษณะอวบและจะมีกาบสีแดงห่อหุ้มเอาไว้
  • ผลเสน่ห์จันทน์แดง ผลเป็นผลสดขนาดเล็ก จับดูจะนุ่ม ๆ

สรรพคุณของเสน่ห์จันทน์แดง

  • ทั้งต้นมีสารพิษชนิดหนึ่งอยู่ ฉะนั้นจึงใช้เป็นยาพิษ (ทั้งต้น)
  • ใบใช้ภายนอกเป็นยารักษาแผล (ใบ)
  • หัวหรือเหง้าใช้เป็นยาทาเฉพาะภายนอก โดยจะช่วยแก้โรคไขข้ออักเสบได้ (หัว)

ข้อควรระวัง : เสน่ห์จันทน์แดงทั้งต้นรวมทั้งใบจะมีสารพิษชนิดหนึ่ง ฉะนั้นการนำมาใช้เป็นยาควรใช้เฉพาะภายนอกเท่านั้น ห้ามนำมารับประทาน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเสน่ห์จันทน์แดง

  • เมื่อใช้ไอน้ำกลั่นจะได้น้ำมันหอมระเหยและมีสารประกอบจำพวก linalyl acetate, -terpineol-l-linalool 60%

ประโยชน์ของเสน่ห์จันทน์แดง

  • ใช้ปลูกเป็นไม้กระถางประดับทั่วไปในบริเวณบ้าน หรือปลูกตามแนวต้นไม้ใหญ่ เสน่ห์จันทน์แดงเป็นไม้ประดับที่มีรูปทรงสวยงาม เพราะความโดดเด่นของแผ่นใบที่เป็นรูปหัวใจที่มีสีเขียวเข้มตัดกับสีแดงเข้มของก้านใบ ว่านชนิดนี้เป็นว่านชนิดที่เจริญเติบโตได้ทั้งในที่ร่มและในที่มีแสงแดดจัด แต่เป็นพืชที่ไม่ค่อยทนทาน จึงต้องการการดูแลรักษาอยู่พอสมควร โดยควรปลูกในดินร่วนหรือดินทราย และควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอทั้งเช้าและเย็น
  • เสน่ห์จันทน์แดงเป็นไม้ประดับที่มีความสามารถในการดูดสารพิษในอากาศได้ปานกลาง โดยเฉพาะสารพิษจำพวกแอมโมเนีย
  • ในด้านของความเป็นมงคล ว่านเสน่ห์จันทน์แดงจัดเป็นไม้มงคลในเรื่องมหานิยม หากปลูกไว้ในบริเวณบ้าน จะเป็นศรีมีเสน่ห์แก่ครอบครัว และหากผู้ใดจะคิดเข้ามาทำร้ายใดๆ ก็จะไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะจะทำให้คนร้ายผู้นั้นกลับมีจิตใจที่มีเมตตาขึ้นมาแทน นอกจากนี้ยังเชื่อว่าหากปลูกไว้แล้วจะโชคดี ถ้านำมาตั้งไว้ในร้านค้าจะช่วยให้ค้าขายดีมีกำไร เป็นเมตตามหานิยมแก่คนทั่วไป และหัวยังใช้แกะเป็นรูปนางกวักได้เช่นเดียวกับว่านเสน่ห์จันทน์เขียว ส่วนวิธีการปลูกนั้นให้นำอิฐหักทุบให้แหลกละเอียดตากน้ำค้างไว้ 1 คืน แล้วเอามาปนดินที่ปลูกด้วยหัวว่าน โดยให้ปลูกในวันจันทร์ และเวลารดน้ำให้เสกด้วยคาถานะโม พุทธายะ 3 จบ (ว่านเสน่ห์จันทน์แดงนี้เป็นว่านคู่กันกับว่านเสน่ห์จันทน์เขียว หากนำมาปลูกไว้คู่กันจะทำให้ขลังดีนักแล)

คำสำคัญ : เสน่ห์จันทน์แดง

ที่มา : https://www.xn--42cg8cuanoj5b9czdzg.com/16964476/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เสน่ห์จันทน์แดง. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1793

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1793&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

รุ่งอรุณ

รุ่งอรุณ

รุ่งอรุณ จัดเป็นไม้เลื้อย สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 6 เมตร มีรากพิเศษที่ออกเป็นกระจุกอยู่รอบข้อ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำกิ่ง เป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด ดินร่วนและระบายน้ำได้ดี จึงควรปลูกในบริเวณที่มีแสงแดดจัด เพราะจะช่วยทำให้ดอกดกและออกดอกได้ตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,295

ว่านไพลดำ

ว่านไพลดำ

ว่านไพลดำ มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ความสูงของต้นประมาณ 1.5-3 เมตร และอาจสูงได้ถึง 5 เมตร เหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อภายในเหง้าเป็นสีม่วง สีม่วงจางๆ หรือสีม่วงอมน้ำตาล มีกลิ่นฉุนร้อนคล้ายไพล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ต้องใช้ดินที่มีสีดำในการปลูก (ถ้าเป็นสีอื่นปลูกจะทำให้ต้นตาย เพราะว่านชนิดนี้เจริญงอกงามได้ในดินสีดำเท่านั้น) พบขึ้นได้ตามป่าเขตร้อนชื้น 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 9,599

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพืชล้มลุกลำต้นตรงสูงประมาณ 60 ซม.  ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วยใบอ่อน 5 ใบ มีขนาดไม่เท่ากัน เกิดจากจุด  ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด ตรงกลางช่อจะบานก่อน ก้านดอกย่อยเรียวเล็ก กลีบดอกมีสีขาวอมม่วงอ่อน 4 กลีบ ก้านชูเกสรยาวเรียว  ผลมีลักษณะเป็นฝักเรียวยาว แก่แล้วจะแตกออก  พบภายในนาข้าวริมทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,326

กล้วยหอม

กล้วยหอม

สำหรับกล้วยหอมนับได้ว่าพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าครบถ้วนจริงๆ โดยมีลำต้นสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร ก้านใบเป็นร่องกว้างและมีปีก บริเวณกลางใบมีเส้นสีเขียวและมีขนตรงก้านเครือ มีผลเป็นเครือๆ 1 เครือจะมีประมาณ 4-5 หวี หวีละประมาณ 12-16 ผล ตรงปลายผลมีจุกสีเขียวแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีดำเห็นเด่นชัด เปลือกบาง ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองทอง เนื้อในสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานหอมและอร่อย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,630

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว (White Leadwort, Ceylon Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ปิดปิวขาว ภาคอีสานเรียก ปี่ปีขาว ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตอชุวา ชาวจีนแต้จิ๋วเรียก แปะฮวยตัง และชาวจีนกลางเรียก ป๋ายฮัวตาน เป็นต้น มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อน โดยในประเทศไทยส่วนใหญ่มักพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,328

สำรอง

สำรอง

สำรอง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 30-40 เมตร และอาจสูงได้ถึง 45 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงชะลูด แตกกิ่งก้านออกรอบต้น เรียงกันเป็นชั้นๆ ลำต้นเป็นสีเทาดำ เปลือกต้นหยาบ มีเส้นเป็นร่องตามแนวดิ่ง สามารถพบได้ตามป่าดิบเขาที่มีฝนตกชุกและมีแสงแดดส่องถึง พบได้มากในจังหวัดจันทบุรี แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าอาจจะสูญพันธุ์ได้

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,673

ยางนา

ยางนา

ยางนาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีออกเทาอ่อน เกลี้ยง หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลมๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 6-14 เซนติเมตร ยาว 12.5-25 เซนติเมตร ใบมีขนปกคลุม ใบด้านท้องใบมีขนรูปดาวสั้นๆ เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน โคนใบมนกว้าง ปลายใบสอบทู่ๆ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร มีขนประปราย ใบมีหูใบขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,562

ส้มกบ

ส้มกบ

ลักษณะทั่วไป  เป็นวัชพืชพุ่มเตี้ย อายุยืนหลายฤดูลำต้นทอดเลื้อย ตามพื้นดิน มีมีไหลไต้ยาว  ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ  ดอกออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว มีสีเหลืองส่วนโคนกลีบดอกจะก้านยาว ออกดอกตลอดปี  ติดผลเป็นฝักตั้งตรง เป็นเหลี่ยมห้าเหลี่ยม ฝักยาว 4-6 ซม. เมื่อผลแก่จะแห้งและแตกดีดเมล็ดออกมา เมล็ดเป็นรูปไข่แบน ผิวเมล็ดย่นสีน้ำตาล   พบขึ้นเป็นวัชพืชในสวนผักและไม้ดอก และในพื้นที่ทำการเกษตรโดยทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกตลอดปี  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,662

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,819

หญ้ายาง

หญ้ายาง

หญ้ายาง เป็นพืชล้มลุก อายุปีเดียว (annual) ลำต้นตั้งตรง กลวงและอ่อน สูง 30-80 ซม. มีขนปกคลุมโดยตลอด มียางขาว ต้นสีม่วงแดง แตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกัน แต่คู่ล่างสุด และบนสึดมักออกตรงข้ามกัน เป็นคู่ ก้านใบมีสีม่วงแดง ยาว 0.5-2 ซม. และมีขน ใบมีหลายรูปร่าง ตั้งแต่ยาวรี ไปจนถึงกลม ปลายแหลม ขอบใบเรียบ จักละเอียด หรืออาจหยักเป็นฟันไม่สม่ำเสมอ มีขนปกคลุมประปรายจนถึงไม่มีขนเลย
ดอก ออกที่ยอดเป็นกระจุก มีทั้งดอกผู้และดอกตัวเมียปนกัน ซึ่งถูกรองรับด้วยแผ่นสีเขียวคล้ายใบ (bract) หลายใบ ดอกย่อยตั้งอยู่บนก้านสั้นๆ ดอกสีขาวอมเขียว

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,434