มะเดื่อหอม

มะเดื่อหอม

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 3,316

[16.4258401, 99.2157273, มะเดื่อหอม]

มะเดื่อหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus hirta Vahl จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)

สมุนไพรมะเดื่อหอม มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หาด (เชียงใหม่), นอดน้ำ (ลำปาง), นมหมา (นครพนม), เดื่อหอมเล็ก เดื่อหอมใหญ่ (ตราด), นอดหอม มะเดื่อเตี้ย (จันทบุรี), มะเดื่อขน (นครราชสีมา), พุงหมู (อุบลราชธานี), เดื่อขน (ภาคเหนือ), เยื่อทง (เย้า-เชียงราย), ส้าลควอย (ขมุ), แผละโอชัวะ เพี๊ยะตะโละสัวะ เพี๊ยะดู้ก (ลั้วะ) เป็นต้น

ลักษณะของมะเดื่อหอม

  • ต้นมะเดื่อหอม จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีน้ำยางสีขาว ลำต้นมีความสูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่ง ลำต้นและกิ่งก้านมีขนแข็งและสากคาย มีสีน้ำตาลแกมสีเหลืองอ่อน เมื่อแก่ลำต้นจะกลวง ที่ตาดอกและใบอ่อนมีขนขึ้นหนาแน่น มีรากเก็บสะสมอาหารเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ ป่าโปร่ง และที่โล่งแจ้ง มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ใบมะเดื่อหอม ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก แผ่นใบมักเป็นพูลึก 3-5 พู ที่ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะในต้นอ่อน หรือเป็นขอบเรียบ ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบจักเป็นเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตรและยาวประมาณ 12-25 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนขึ้นทั้งสองด้าน ด้านบนเป็นขนหยาบสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นอยู่ประปราย ขนมีลักษณะยาวและหยาบบนเส้นใบ ส่วนด้านล่างขนจะมีลักษณะอ่อนนุ่มกว่า ใบแก่มีลักษณะบาง เส้นใบที่ฐานยาวน้อยกว่า 1/2 ของใบ มีเส้นข้างใบประมาณ 7-9 เส้น ส่วนก้านใบยาวประมาณ 11 เซนติเมตร และมีหูใบแหลม ขนาดประมาณ 0.8-2 เซนติเมตรที่กิ่งก้านมักกลวง และที่ข้อพองออกในต้นอ่อน
  • ดอกมะเดื่อหอม ดอกช่อเกิดภายในโครงสร้างกลวงออกตามซอกใบ ประกอบไปด้วยดอกขนาดเล็กจำนวนมากเบียดกันแน่นบนฐานรองดอก ซึ่งเจริญหุ้มดอก มีช่องเปิดด้านบน ซึ่งมีใบประดับซ้อนทับกันหลายชั้นปิดอยู่ทำให้ดูคล้ายผล รูปไข่ค่อนข้างกลมอยู่บริเวณกิ่งที่มีใบติดอยู่ ดอกจะเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกเพศผู้จะมีจำนวนน้อย โดยจะอยู่ในบริเวณรูเปิดของช่อดอก มีกลีบดอก 3-4 กลีบ มีเกสรเพศเมียประมาณ 1-2 ก้าน ส่วนดอกเพศเมียจะมีรังไข่เหนือวงกลีบ ออกดอกได้ตลอดปี
  • ผลมะเดื่อหอม ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลกลมรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.1-2.5 เซนติเมตร ออกเดี่ยว ๆ หรือออกคู่ ผลเป็นสีเหลือง เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมส้ม ผลมีขนหยาบสีทองหนาแน่น มียางสีขาว ไม่มีก้านผล

สรรพคุณของมะเดื่อหอม

  1. ลำต้นหรือรากนำมาต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาบำรุงหัวใจ (ลำต้น, ราก)
  2. รากมีรสฝาดเย็นหอม ช่วยบำรุงกำลัง ชูกำลัง ทำให้ชื่นบาน (ราก)
  3. ช่วยแก้หัวใจพิการ (ราก)
  4. รากใช้ฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้ผิดสำแดง (ราก)
  5. รากใช้ฝนกับน้ำกินเป็นยาขับลมในลำไส้และเป็นยาระบาย (ราก)
  6. รากใช้ฝนกับน้ำดื่มช่วยบำรุงน้ำนมของสตรี (ราก)
  7. ช่วยแก้ตับพิการ (ราก)
  8. ผลมีรสฝาดเย็น เป็นยาแก้พิษฝี (ผล)
  9. รากเป็นยาแก้พิษอักเสบ แก้พิษฝี แก้พิษงู (ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะเดื่อหอม

  • สารสกัดจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นมะเดื่อหอมด้วยแอลกอฮอล์ 50% มีพิษเฉียบพลันปานกลาง เมื่อทำการฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรจะมีค่า LD50 เท่ากับ 681 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

ประโยชน์ของมะเดื่อหอม

  • ผลมะเดื่อหอมสุกใช้กินได้ (ขมุ, ลั้วะ)

คำสำคัญ : มะเดื่อหอม

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะเดื่อหอม. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1720

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1720&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เลียบ

เลียบ

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร  ใบลักษณะของใบยาวเรียว ผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดงปนสีเขียวอ่อน  เป็นพรรณไม้ที่ทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดีต้องการน้ำและความชื้น  ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง  ประโยชน์สมุนไพร ใบขับพยาธิตัวกลม ขับฤดู ขับปัสสาวะ ไล่แมลง ดอกฆ่าเหา แก้โรคผิวหนัง ผล ทาแผลพุพองจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก  เปลือกใช้เป็นยาทำให้อาเจียน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 11,733

เถาพันซ้าย

เถาพันซ้าย

ต้นเถาพันซ้าย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลม มักขดเป็นวง มีขนสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยที่อยู่ด้านข้างเป็นรูปไข่แกมสี่เหลี่ยม รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูปวงรี ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,874

คันทรง

คันทรง

ต้นคันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ถี่ ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือ บ้างว่าพบได้มากตามชายทะเลหรือชายหาดหินปูน

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 1,643

กุหลาบมอญ

กุหลาบมอญ

กุหลาบมอญเป็นไม้พุ่ม เป็นดอกไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีเมื่อปลูกกลางแจ้งในดินที่มีอาหารเพียงพอและระบายน้ำได้ดี โดยมีลำต้นตั้งตรง ความสูงของลำต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกของลำต้นเรียบ มีการแตกกิ่งก้านตั้งแต่บริเวณโคน มีหนามแหลมขึ้นมามากตามลำต้นและกิ่ง และความยาวของหนามนี้จะไม่เท่ากัน หนามอ่อนสีน้ำตาลแกมแดง เมื่อหนามแก่จะกลายเป็นสีเทา สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักชำ ส่วนใบนั้นจะเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปทรงไข่ โคนมน ปลายแหลม และขอบใบเป็นจักแบบฟันเลื่อย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 5,969

รางจืด

รางจืด

ลักษณะทั่วไป ต้นรางจืด เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนและไม่มีมือจับเหมือนกับตำลึง และมะระ แต่อาศัยลำต้นในการพันรัดขึ้นไป รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,638

ก้ามปู

ก้ามปู

ต้นจามจุรีมีชื่อวิทยาศาสตร์ Samanca Saman (Jacq) Merr. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีอายุได้นานเป็นร้อยปี มีลำต้นสูงได้มากกว่า 25 เมตร และมีขนาดทรงพุ่มกว้่างได้มากกว่า 25 เมตร มักพบทั่วไปตามข้างถนน หัวไร่ ปลายนา และตามสถานที่ราชการต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,321

กระแจะ

กระแจะ

ต้นกระแจะเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เนื้อไม้สีขาว เปลือกต้นสีน้ำตาล ขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม มีหนามแข็ง และยาว หนามออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตรง ยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร ไม่ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเกลี้ยง ใบกระแจะเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่กลับ กว้าง 5-3 เซนติเมตร ยาว 2-7 เซนติเมตร ก้านใบแผ่เป็นปีก ลักษณะเป็นครีบออกสองข้าง เป็นช่วงๆ ระหว่างคู่ใบย่อย โคนและปลายใบสอบแคบ 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,429

ถั่วพู

ถั่วพู

ถั่วพู (Winged Bean, Manila Pea, Goa Bean, Four-angled Bean) เป็นพืชจำพวกเถาที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ถั่วพูตะขาบ, ถั่วพูจีน, หรือถั่วพูใหญ่ เป็นต้น ซึ่งถั่วพูนั้นนับเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยนิยมนำฝักอ่อนมาบริโภคกันมากเลยทีเดียว เป็นพืชในเขตร้อน มีแหล่งกำเนิดอยู่ในไทย, พม่า, ลาว, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, และปาปัวนิวกินี และขณะนี้ในรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาก็ได้นำถั่วพูนี้ไปปลูกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,858

กระชายดำ

กระชายดำ

ต้นกระชายดำเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สีม่วงดำ ใบกระชายดำ ใบเดี่ยว รูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 5-10 เซนติเมตร 10-15 เซนติเมตร ดอกกระชายดำออกเป็นช่อแทรกที่โคนกาบใบ ก้านช่อยาว 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-3.2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก เกสรเพศผู้เป็นหมัน สีขาว รูปขอบขนาน กว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 10-13 มิลลิเมตร กลีบปากสีม่วง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,788

ยอเถื่อน

ยอเถื่อน

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้น สูง 15 เมตร  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกเป็นก้อนทรงกลมที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลรวม รูปกลม  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดประโยชน์    สมุนไพร ตำรายาไทยใช้ ราก แก้เบาหวาน แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด ผลอ่อน แก้อาเจียน ผลสุก ขับระดู ขับลม ใบ อังไฟพอ ตายนึ่งปิดหน้าอก หน้าท้อง แก้ไอ แก้จุกเสียด หรือตำพอกศีรษะฆ่าเหา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,307