ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 15,614

[16.4258401, 99.2157273, ผักเสี้ยนผี]

ผักเสี้ยนผี ชื่อสามัญ Asian spider flower, Tickweed, Polanisia vicosa, Wild spider flower, Stining cleome, Wild caia tickweed

ผักเสี้ยนผี ชื่อวิทยาศาสตร์ Cleome viscosa L. (ชื่อพ้อง Arivela viscosa (L.) Raf.) จัดอยู่ในวงศ์ CLEOMACEAE

สมุนไพรผักเสี้ยนผี มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผักส้มผี, ส้มเสี้ยนผี (ภาคเหนือ), ผักเสี้ยนตัวเมีย, ไปนิพพานไม่รู้กลับ เป็นต้น

วงศ์ผักเสี้ยน มีอยู่ด้วยกันประมาณ 20 สกุล และมีมากกว่า 300 ชนิด ส่วนในประเทศไทยจะพบขึ้นเป็นวัชพืชหรือปลูกไว้เป็นไม้ประดับเป็นหลัก ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด ได้แก่ ผักเสี้ยน (Cleome gynandra L.), ผักเสี้ยนผี (Cleome viscosa L.), ผักเสี้ยนขน (Cleome rutidosperma DC.), ผักเสี้ยนป่า (Cleome chelidonii L. f.), และผักเสี้ยนฝรั่ง (Cleome houtteana Schltdl. ชื่อพ้อง Cleome hassleriana Chodat)

ลักษณะผักเสี้ยนผี

  • ต้นผักเสี้ยนผี จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 1 เมตร ที่ส่วนต่าง ๆ ของต้นจะมีต่อมขนเหนียวสีเหลืองปกคลุมอยู่หนาแน่น มีกลิ่นเหม็นเขียว มีเขตกระจายพันธุ์กว้างขวาง พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยมักจะพบขึ้นได้ตามข้างถนนหรือที่รกร้าง ตามริมน้ำลำธาร บางครั้งก็อาจพบได้บนเขาหินปูนที่แห้งแล้งหรือตามชายป่าทั่วๆ ไป 
  • ใบผักเสี้ยนผี ใบเป็นใบประกอบ มี 3-5 ใบย่อย ก้านใบยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร โดยมากเป็นสีน้ำตาลแดง ส่วนใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่หัวกลับ มีความประมาณ 1.5-4.5 เซนติเมตร มีปลายแหลมหรือมน ส่วนโคนใบเรียวสอบ ขอบใบเรียบ มักเป็นสีเดียวกันกับก้านใบและมีขน ใบประดับคล้ายใบ มี 3 ใบย่อย ยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร มีก้านสั้นๆ ร่วงได้ง่าย 
  • ดอกผักเสี้ยนผี ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ดอกยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ขยายอีกในช่องผล ดอกจำนวนมาก ก้านดอกยาวประมาณ 1-1.4 เซนติเมตร ในผลสามารถยาวได้ถึง 3 เซนติเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ลักษณะของกลีบเลี้ยงเป็นรูปใบหอก มีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ติดทน กลีบดอกสีเหลืองมี 4 กลีบ โคนเรียวแคบเป็นก้านกลีบ มักมีสีเข้มที่โคน แผ่นกลีบมีลักษณะเป็นรูปรี ยาวประมาณ 0.7-1.2 เซนติเมตร ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก และมีขนาดไม่เท่ากัน ก้านเกสรมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ยาวประมาณ 4-9 มิลลิเมตร ส่วนอับเรณูเป็นสีเทาอมเขียว เป็นรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีรังไข่เป็นลักษณะรูปทรงกระบอกสั้น ๆ โค้งงอเล็กน้อย ไม่มีก้าน มีต่อมขนขึ้นหนาแน่น ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร และก้านเกสรตัวเมียจะสั้น ยอดเกสรเป็นตุ่ม 
  • ผลผักเสี้ยนผี ผลมีลักษณะเป็นฝักคล้ายถั่วเขียวแต่มีขนาดเล็กมาก ผลกว้างประมาณ 2-4.5 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1-4 นิ้ว ตรงปลายผลมีจะงอยแหลม เห็นเส้นเป็นริ้วได้ชัดเจน ในผลมีเมล็ดจำนวนมาก 
  • เมล็ดผักเสี้ยนผี มีลักษณะผิวขรุขระย่นเป็นแนว เมล็ดมีสีน้ำตาลแดง มีขนาดประมาณ 1.5 x 1 มิลลิเมตร

สรรพคุณของผักเสี้ยนผี

  1. ช่วยเจริญธาตุไฟในร่างกาย (ทั้งต้น)
  2. ใช้เป็นยากระตุ้นหัวใจ (ราก, เมล็ด)
  3. ทั้งต้นมีรสขมร้อน ช่วยแก้ลม (ทั้งต้น)
  4. รากช่วยแก้วัณโรค (ราก)
  5. ช่วยแก้ลมบ้าหมู (ทั้งต้น)
  6. ช่วยเสริมฤทธิ์การนอนหลับได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  7. ถ้ามีอาการปวดศีรษะให้ใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอก (ใบ) หรือใช้แก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว ด้วยการใช้ทั้งต้นของผักเสี้ยนผี ใบขี้เหล็กอ่อน ดอกขี้เหล็กอ่อน และราก ต้น ผล ใบ ดอกของแมงลัก นำมาต้มเป็นยากิน (ข้อมูลจาก : ครูณรงค์ มาคง) (ทั้งต้น)
  8. รากใช้ผสมกับเมล็ด ใช้เป็นยาแก้เลือดออกตามไรฟันได้ (ราก, เมล็ด)
  9. ช่วยแก้อาการลมขึ้นหูหรืออาการหูอื้อ ด้วยการใช้ใบผักเสี้ยนผีประมาณ 3-4 ใบนำมาขยี้พอช้ำ แล้วใช้อุดที่หู สักพักอาการก็จะดีขึ้น (ใบ)
  10. ช่วยแก้อาการหูคัน ด้วยการใช้ใบผักเสี้ยนผีนำมาขยี้แล้วอุดไว้ที่หู แต่มีข้อแม้ว่าห้ามใช้กับเด็กเพราะจะร้อนเกินไป (ใบ)
  11. ช่วยแก้อาการหูอักเสบ (ทั้งต้น)
  12. ช่วยแก้ไข้ แก้ไข้ตรีโทษ (ทั้งต้น)
  13. เมล็ดนำมาต้มหรือชงเป็นชาใช้ดื่มช่วยขับเสมหะได้ (เมล็ด)
  14. ผักเสี้ยนผีใช้ต้มเอาน้ำกระสาย เป็นยาแก้ทรางขึ้นทรวงอกได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  15. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ลงท้อง ท้องเสีย (ทั้งต้น)
  16. ผลผักเสี้ยนผีช่วยฆ่าพยาธิ (ผล) ทั้งต้นช่วยขับพยาธิในลำไส้ (ทั้งต้น) รากและเมล็ดช่วยขับพยาธิตัวกลม (ราก, เมล็ด)[หรือใช้เมล็ดนำมาต้มหรือชงเป็นชา ใช้ดื่มช่วยขับพยาธิไส้เดือน (เมล็ด)
  17. ใบช่วยแก้ปัสสาวะพิการหรืออาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรืออาการปวดเวลาปัสสาวะ ช่วยแก้ทุราวสา 12 ประการ (ใบ) ส่วนเมล็ดนำมาต้มหรือชง ใช้ดื่มช่วยขับปัสสาวะได้ (เมล็ด)
  18. ช่วยรักษาโรคริดสีดวง บานทะโรค ด้วยการใช้ผักเสี้ยนผี 1 ส่วน / กะเพราทั้งสองอย่างละ 1 ส่วน / ต้นแมงลักทั้งห้า 1 ส่วน / ขอบชะนางแดงทั้งห้า 1 ส่วน โดยตัวยาทั้ง 4 นี้ ให้ใช้อย่างละ 2 บาท และใช้ใบมะกา 1 กำมือ แก่นขี้เหล็ก 1 กำมือ นำมาต้มน้ำเป็นยากินเช้า เย็น และก่อนนอน อย่างละ 1 แก้ว (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  19. ดอกช่วยฆ่าพยาธิผิวหนังและพยาธิต่าง ๆ (ดอก)
  20. ดอกใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค (ดอก)
  21. มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อเอดส์ หรือ HIV (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  22. ช่วยแก้พิษงูทุกชนิด (ทั้งต้น)
  23. ช่วยแก้พิษฝีหรือปรุงเป็นยาแก้ฝีในปอด ในลำไส้ และในตับ (อาการของเนื้องอกหรือมะเร็งที่เกิดภายในอวัยวะต่าง ๆ) (ทั้งต้น)
  24. ช่วยแก้โรคน้ำเหลืองเสีย (ต้น)
  25. ช่วยขับหนองในร่างกาย ช่วยทำให้หนองแห้ง (ทั้งต้น)
  26. ทั้งต้นใช้เป็นยาทาภายนอกช่วยแก้โรคผิวหนัง (ทั้งต้น)
  27. ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบ (ทั้งต้น)
  28. ผักเสี้ยนผีมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ช่วยแก้อาการปวดได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  29. ในประเทศจีนและอินเดีย ใช้ผักเสี้ยนผีเป็นสมุนไพร ทำเป็นยาพอกแก้อาการปวดศีรษะและปวดตามข้อ[1]หรือบดเกลือทาแก้อาการปวดหลัง (ใบ)
  30. ใบใช้เป็นยาถูนวดเพื่อช่วยให้เลือดไปเลี้ยงได้ดี ทำให้เลือดลมเดินสะดวกยิ่งขึ้น (ใบ, เมล็ด)
  31. ช่วยแก้อาการเหน็บชาตามแข้งขา ด้วยการนำผักเสี้ยนผีมาต้มกับตัวยาอื่น ๆ ได้แก่ มะขวิด ใบบัวบก แล้วใช้กินเป็นประจำ (ข้อมูลจาก : นายสมศรี หินเพชร ต.แคน อ.สนม จ.สุรินทร์) (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  32. ช่วยแก้อาการปวดขา เส้นเลือดขอด โรคเหน็บชา ลุกนั่งเดินลำบาก โดยใช้สมุนไพรดังต่อไปนี้หนักอย่างละ 1 บาท ได้แก่ ผักเสี้ยนผี, แก่นขนุน, แก่นมะหาด, แก่นปรุ, แก่นประดู่, แก่นไม้รัง, แก่นไม้เต็ง, แก่นสักขี, แก่นไม้สัก, เกสรบัว, ขิง, ขิงชี้, ดอกสารภี, ดอกพิกุล, ดอกบุนนาค, คนทา, โคคลาน, โคกกระออม, จันทน์ทั้งสอง, ชะพลู, ใบมะคำไก่, ใบพิมเสน, ใบเล็บครุฑ, บัวขม, บัวเผื่อน, เท้ายายม่อม, มะเดื่อ, รางแดง, หัวคล้า, หัวแห้วหมู, ย่านาง, และยาข้าวเย็น นำทั้งหมดมาใส่หม้อต้ม แล้วใส่น้ำพอท่วมยา ใช้กินก่อนอาหารวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน และก่อนนอน ครั้งละค่อนแก้ว ถ้ายาหมดแล้วแต่ยังไม่หายให้ต้มกินอีกสัก 1-2 หม้อ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  33. ใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการปวดหัวเข่า ด้วยการใช้ทั้งต้นและรากของผักเสี้ยนผี 1 ส่วน, ไพล 1 ส่วน และการบูร 1 ส่วน (ใช้พอประมาณ ทำเป็นยาเพียงครั้งเดียว วันถัดไปให้ทำใหม่) นำทั้งหมดมาตำให้ละเอียดกับสุราดีกรีสูง ๆ แล้วคั้นเอาเฉพาะน้ำมาเก็บใส่ขวดไว้ใช้ทาและนวดหัวเข่าบ่อย ๆ (ราก, ทั้งต้น)
  34. ใช้ปรุงเป็นยาแก้ขัด ยกไหล่ยกแขนไม่ขึ้น ด้วยการใช้ต้น ใบ และกิ่งผักเสี้ยน (ปริมาณพอสมควร), ใบพลับพลึง 3 ใบ, และใบยอ 17 ใบ นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำ และให้ใช้พิมเสน และการบูร (ปริมาณพอสมควร) นำทั้งหมดมาใส่ในหม้อแล้วต้มไฟอ่อน ๆ เคี่ยวให้ละลายจนเข้ากัน และยกลงรอให้เย็นแล้วเทยาใส่ขวดเป็นอันเสร็จ นำยาที่ได้มานวดบริเวณหัวไหล่ที่ยกไม่ขึ้น เช้า, เย็น ไม่เกิน 3 วันอาการก็จะหายเป็นปกติ (ต้น, ใบ, กิ่ง)
  35. ใช้ปรุงเป็นยากินแก้อาการอัมพาต มือตายเท้าตาย โดยใช้รากผักเสี้ยนผี, กาฝากที่ต้นโพธิ์, แกแล, แก่นขี้เหล็ก, แก่นขนุน, แก่นสน, แก่นปรุ, แก่นประดู่, แก่นไม้สัก, แก่นมะหาด, กำลังวัวเถลิง, ฝางเขน, เถาวัลย์เปรียง, ลูกฝ้ายหีบ, รกขาว, รกแดง, รากจง, รากกำจัด, รากกำจาย, รากคุยขาว, รากพลูแก่, รากหิบลม, รากกระพงราย, รากมะดูกต้น, สุรามะริด, สักขี, สมิงคำราม, สมอหนัง, สมอเทศลูกใหญ่, แสมทะเล, แสมสาร, โพกะพาย, โพประสาท, เพ็ดชะนุนกัน, พระขรรค์ไชยศรี, พริกไทย, มะม่วงคัน, เปล้าน้ำเงิน, เปล้าเลือด, เปล้าใหญ่, เปลือกเพกา, เปลือกราชพฤกษ์, เปลือกขี้เหล็ก, เปลือกสมุลแว้ง, ยาดำ, ยาข้าวเย็นใต้, ยาข้าวเย็นเหนือ (ทั้งหมดนี้เอาหนักละ 1 บาท) และให้เพิ่มสมอไทยเข้าไปด้วยเท่าอายุของผู้ป่วย ใช้ต้มกินประมาณ 4-5 หม้อใหญ่ ใช้ดื่มก่อนอาหาร 30 นาที ครั้งละครึ่งแก้วถึงหนึ่งแก้ว วันละ 3 เวลา (ราก)
  36. ใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพรรักษาแผล ไม่ว่าจะเป็นแผลสดหรือแห้ง แผลถลอก แผลฟกช้ำบวม แผลติดเชื้อ แผลเรื้อรัง แผลพุพองไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลกดทับ แผลเบาหวาน แผลในระบบทางเดินอาหาร แผลเริม แผลมีหนองมีกลิ่น ใช้ห้ามเลือด ช่วยเร่งการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อ และยังรวมไปถึงการใช้แก้อาการเคล็ดขัดยอก กล้ามเนื้ออักเสบ หรือเส้นเอ็นให้บรรเทาอาการลงได้ ด้วยการใช้ ผักเสี้ยนผี 1 กิโลกรัม (ใบ, ดอก, กิ่งอ่อน), ไพล 1 กิโลกรัม, ขมิ้นอ้อย 1 กิโลกรัม, พิมเสน 15 กรัม และน้ำมันมะพร้าว 2 ลิตร วิธีการปรุงยาขั้นตอนแรก ให้เคี่ยวน้ำมันมะพร้าวด้วยไฟอ่อนจนร้อน แล้วนำผักเสี้ยนผีลงทอดในน้ำมันมะพร้าวจนผักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจึงช้อนตักขึ้นมา ต่อมาให้นำไพลมาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ ใช้ทอดในน้ำมันที่ได้จากขั้นตอนแรก จนไพลเป็นสีน้ำตาลแล้วจึงช้อนตักขึ้นมา แล้วนำขมิ้นอ้อยที่หั่นเป็นแว่นบาง ๆ แล้วลงทอดในน้ำมันที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 จนขมิ้นเป็นสีน้ำตาล แล้วค่อยช้อนตักขึ้นมา หลังจากนั้นก็ให้หยุดการเคี่ยวแล้วรอจนยาสมุนไพรเย็นตัวลง ก็จะได้ยาที่มีสีเขียวอมเหลือง ขั้นตอนสุดท้ายให้ใส่พิมเสนและคนให้ละลายเป็นอันเสร็จ ส่วนวิธีการใช้ให้นำสำลีบาง ๆ มาชุบยาแล้วทาบริเวณที่มีอาการ หรือใช้รับประทานเพื่อรักษาแผลในระบบทางเดินอาหาร (ใบ, ดอก, กิ่งอ่อน) (ข้อมูลจาก : นายสมหมาย สอดสี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต, แพทย์แผนไทยบัณฑิต)
  37. รากผักเสี้ยนผีช่วยแก้โรคผอมแห้งของสตรี เนื่องจากคลอดบุตรและอยู่ไฟไม่ได้ (ราก)
  38. ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ ผักเสี้ยนผี, แก่นขี้เหล็ก, แก่นไม้ตำเสา, กระแตไต่ไม้, กำมะถันเหลือง, ขลู่, ขมิ้นอ้อย, คุระเปรียะ, งวงตาล, ซังข้าวโพด, ต้นตายปลายเป็น, เถาแกลบกล้อง, เถาวัลย์เปรียง, เถาโพกออม, ถั่วแระ, ผักโขมหนาม, ฝนแสนห่า, ฝักราชพฤกษ์, พยับเมฆพยับหมอก, ใบมะกา, ใบกอกิว, บอระเพ็ดดอกขาว, เปลือกสำโรง, รกชุมเห็ดไทย, รากระย่อม, รากคนที, รากกระดูกไก่ขาว, รากกระดูกไก่แดง, รากมะละกอ, รากหมากหมก, รากตะขบป่า, รากเจตมูลดอกแดง, รากปลาไหลเผือก, รากขอบนางขาว, รากขอบนางแดง, สำมะงา, ไส้สับปะรด, หัวเล็กข่า, หัวขาใหญ่, หัวหญ้าคา, หัวแห้วหมู, หัวบุกเล็ก, หัวหญ้าครุน, และยาหนูต้น (ทั้งหมดใช้อย่างละเท่า ๆ กัน หากไม่มีตัวไหนก็ไม่ต้องใช้ก็ได้) ให้นำทั้งหมดใส่ในปี๊บต้มไปเรื่อย ๆ ต่อไปให้หาถั่วเขียวมาต้มไว้จนพองอีก 1 หม้อ เวลาจะกินยาก็ให้ตักยาจากปี๊บมาผสมกับถั่วเขียว แล้วเติมน้ำตาลแดงลงไปให้พอรู้สึกหวาน ใช้กินครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2 ครั้ง ให้กินติดต่อกันไม่เกิน 2 เดือน โรคเบาหวานจะหายขาด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)

ประโยชน์ของผักเสี้ยนผี

  • ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อน สามารถนำมาบริโภคเป็นอาหารได้ ด้วยการนำมาใช้ดองเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ขนมจีน หรือนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ต้มส้ม แกงส้ม เป็นต้น
  • เมล็ดมีน้ำมันและวิตามินเอฟหรือกรดไลโนเลอิก (Linoleic) ในปริมาณมาก และสามารถใช้รับประทานได้

คำสำคัญ : ผักเสี้ยนผี

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักเสี้ยนผี. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1719

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1719&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

จิกนม

จิกนม

ต้นจิกนม จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 4-20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าดงดิบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น ช่อดอกมีลักษณะห้อยลง ช่อยาวประมาณ 9-18 นิ้ว ในแต่ละช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 4,743

พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 4-7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ดูคล้ายกับปะการัง เปลือกลำต้นแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีหนาม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นรูปทรงกระบอกเป็นสีเขียวเรียบเกลี้ยง อวบน้ำ เมื่อหักหรือกรีดดูจะมีน้ำยางสีขาวข้นออกมาจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตัดชำ ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และมีแสงแดดตลอดวัน มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ โดยจะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 26,635

ปรู๋

ปรู๋

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร ผลัดใบต้นมักบิด   คอดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดงแตกล่อน เปลือกในสีเหลืองอ่อน  ใบรูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ ดอกสีขาวนวล กลิ่นหอม ออกเป็นกระจุก ผลป้อม มีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดแข็ง มีเมล็ดเดียว  เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,660

ผักกาดขาว

ผักกาดขาว

ผักกาดขาวเป็นผักที่มีเส้นใยสูงมาก โดยเส้นใยที่ว่านี้เป็นเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำ แต่จะพองตัวเมื่อมีน้ำ จึงมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งการอุ้มน้ำได้ดีนี้จะช่วยเพิ่มปริมาตรของกากอาหาร ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้กากอาหารอ่อนนุ่ม ขับถ่ายสะดวก และยังช่วยแก้อาการท้องผูกอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความหนืด ทำให้ไม่ถูกย่อยได้ง่าย ช่วยดูดซับและแลกเปลี่ยนประจุ จึงช่วยป้องกันและกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยดึงเอาสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทาน ช่วยลดความหมักหมมของลำไส้ จึงมีผลทำให้ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 13,820

มะกอก

มะกอก

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดซึ่งมีลักษณะกลมและโปร่ง เปลือกเรียบสีเทา ตามกิ่งอ่อนจะมีที่ระบายอากาศด้วยเป็นต่อมลำต้นสูงประมาณ 15 – 25 เมตร  ใบจะออกเป็นคู่ ๆ รวมกันเป็นช่อใบคู่ ๆ หนึ่งตรงโคนก้านช่อจะมีขนาดเล็กกว่าใบตรงส่วนปลาย ลักษณะของใบโคลนใบจะเบี้ยว ปลายใบจัดคอดเป็นติ่งยาว ๆ  เนื้อใบหนาและเกลี้ยงมีสีเขียว ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 3 – 5 นิ้ว  ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบหรือเหนือต่อมไปตามปลายกิ่ง และดอกมีสีขาวอยู่ 5 กลีบ เกสรมี 10 อันขึ้นอยู่ตรงกลางสวยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ  ผลเป็นรูปไข่ ตามผลจะมีเนื้อเยื่อหุ้มสีเขียวอ่อนหุ้นอยู่ ผลมีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่และแข็งแรง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,022

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว (White Leadwort, Ceylon Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ปิดปิวขาว ภาคอีสานเรียก ปี่ปีขาว ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตอชุวา ชาวจีนแต้จิ๋วเรียก แปะฮวยตัง และชาวจีนกลางเรียก ป๋ายฮัวตาน เป็นต้น มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อน โดยในประเทศไทยส่วนใหญ่มักพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,327

บอน

บอน

บอนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตที่ราบลุ่มของเอเชียอาคเนย์ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มีเหง้าลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หลายต้นเรียงรายตามพื้นที่ลุ่มริมน้ำ มีความสูงของต้นประมาณ 0.7-1.2 เมตร ลำต้นประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยอยู่รอบ ๆ หัวใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ไหล และวิธีการปักชำหัว เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี เพาะปลูกได้ง่าย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค มักขึ้นเองตามที่ลุ่ม บนดินโคลน บริเวณริมน้ำลำธาร หรือบริเวณที่มีน้ำขังตื้น ๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 15,180

กระจับนก

กระจับนก

ต้นกระจับนกเป็นไม้ต้น สูง 6-10 เมตร ใบกระจับนกเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาว 1.6-4.5 เซนติเมตร รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกกระจับนกสีเหลืองถึงชมพูแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ แกนช่อยาว 3-10.5 เซนติเมตร ดอกกว้าง 1-2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ ขอบจักเป็นฝอย ส่วนฐานแผ่เป็นจานกลมนูน ขนาด 3 มิลลิเมตร ก้านเกสรผู้ยาว 2 มิลลิเมตร จำนวน 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,342

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 6,892

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง (Henna Tree, Mignonette Tree, Sinnamomo, Egyptian Privet) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เทียนป้อม, เทียนต้น, เทียนย้อม หรือเทียนย้อมมือ เป็นต้น ซึ่งต้นเทียนกิ่งนั้นเป็นพืชพรรณไม้ของต่างประเทศ โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแอฟริกา, ออสเตรเลีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่สามารถเพาะปลูกต้นเทียนกิ่งนี้ได้ดีคือ อียิปต์, อินเดีย และซูดาน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,797