มะกอกเกลื้อน

มะกอกเกลื้อน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 5,810

[16.4258401, 99.2157273, มะกอกเกลื้อน]

มะกอกเกลื้อน ชื่อสามัญ Kenari, Upi
มะกอกเกลื้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Canarium subulatum Guillaumin จัดอยู่ในวงศ์มะแฟน (BURSERACEAE)
สมุนไพรมะกอกเกลื้อน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะเลื่อม (พิษณุโลก, จันทบุรี), มักเหลี่ยม (จันทบุรี), โมกเลื่อม (ปราจีนบุรี), มะกอกเกลื้อน (ราชบุรี), มะเหลี่ยมหิน (มหาสารคาม), มะเกิ้ม (ภาคเหนือ), กอกกัน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะกอกเลื่อม (ภาคกลาง), มะกอกเลือด (ภาคใต้), มะกอกกั๋น (คนเมือง), มะเกิ้ม (ไทลื้อ), เกิ้มดง เพะมาง สะบาง ไม้เกิ้ม (ขมุ), ซาลัก (เขมร) เป็นต้น

ลักษณะของมะกอกเกลื้อน
         ต้นมะกอกเกลื้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ที่มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร เรือนยอดกลม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตามกิ่งมีแผลใบเห็นชัดเจน กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมส้มขึ้นหนาแน่น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทาถึงเทาแก่ เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดหรือแตกเป็นร่องตามยาว ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีน้ำตาลอ่อนมีขีดเส้นขาว ๆ เมื่อสับจะมีน้ำยางสีขาวขุ่นหรือน้ำยางใส น้ำยางเมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีดำ มีกลิ่นคล้ายน้ำมันสน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ดี ชอบขึ้นในที่แล้ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค มักพบขึ้นตามบริเวณป่าไม้ผสมผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ป่าดิบแล้ง และตามบริเวณป่าหญ้าหรือทุ่งหญ้าทั่วไป ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,200 เมตร
         ใบมะกอกเกลื้อน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงเวียน มีใบย่อยประมาณ 2-5 คู่ ออกเรียงตรงข้าม ใบประกอบยาวประมาณ 12-14 เซนติเมตร แกนกลางยาวประมาณ 8.5-12 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่แกมวงรี รูปรีแกมรูปไข่ รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปหอก ปลายใบมนเป็นติ่งแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบหยักเป็นซี่เลื่อยตื้น ๆ ตามรอยหยักมีขนเป็นกระจุก มีหูใบแต่หลุดร่วงได้ง่าย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร แผ่นใบกึ่งหนา คล้ายแผ่นหนัง หลังใบด้านบนมีขนขึ้นประปรายที่เส้นกลางใบและขอบใบ ส่วนท้องใบด้านล่างมีขนสั้น ๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป ท้องใบมองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน เส้นแขนงใบมีข้างละ 8-15 เส้น ก้านใบย่อยยาวประมาณ 0.5-1.2 เซนติเมตร ก้านใบรวมมีหูใบแคบ 1 คู่ ขนาดประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ส่วนใบแก่เป็นสีแดงเข้ม
         ดอกมะกอกเกลื้อน ออกดอกเป็นช่อเชิงลดตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียแยกกัน แต่อยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้จะยาวกว่าช่อดอกเพศเมีย โดยช่อดอกเพศผู้มักออกเป็นแบบช่อกระจุกแยกแขนงยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ส่วนช่อดอกเพศเมียมักออกเป็นช่อกระจะยาวเพียง 8-10 เซนติเมตร ดอกเพศเมียมีขนทั่วไป กลีบดอกเป็นสีขาวแกมเหลือง มี 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีขนาดกว้างประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ส่วนกลีบรองกลีบดอกที่โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยหรือรูปถ้วย ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉก 3 แฉก ยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร มีขนนุ่มทั้งสองด้าน ขอบหยัก ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน เชื่อมกันที่ฐานเป็นท่อสั้น ๆ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปรีมี 3 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุล 2 เม็ด ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
          ผลมะกอกเกลื้อน ออกผลเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีผลประมาณ 1-4 ผล ช่อยาวประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ รูปกลม หรือรูปกระสวย ผลอ่อนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนสีเขียวอมเหลือง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.7-3.5 เซนติเมตร บริเวณขั้วผลมีกลีบรองกลีบดอกเป็นรูปถ้วยเชื่อมติดอยู่กับก้านช่อดอก ขนาดกว้างประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปกระสวย 3 เมล็ด เรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ชั้นหุ้มเมล็ดแข็งมาก ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม

สรรพคุณของมะกอกเกลื้อน

  1. ชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้มะกอกเกลื้อนทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำอาบ ช่วยบำรุงร่างกายให้มีกำลังแข็งแรง (ทั้งต้น)
  2. ตำรายาไทยจะใช้ผลนำมารับประทานเป็นยาแก้ไอ หรือใช้ผลสดหรือผลแห้งนำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกวิธีให้ใช้ผลแห้งนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาชงกับน้ำกินเป็นยาแก้ไอ (ผล)
  3. ผลใช้รับประทานเป็นยาช่วยขับเสมหะ น้ำลายเหนียว หรือใช้ผลสดหรือผลแห้งนำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกวิธีให้ใช้ผลแห้งนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาชงกับน้ำกิน (ผล)
  4. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้เปลือกต้นมะกอกเกลื้อนเป็นยารักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน (เปลือกต้น)
  5. แก่นมีรสเฝื่อนใช้เป็นยาแก้โลหิตระดูพิการ (แก่น)
  6. ยางสดใช้เป็นยาทาภายนอกแก้อาการคัน ตุ่มคันหรือเม็ดผื่นคัน (ยาง)
  7. แก่นใช้เป็นยาแก้ประดง (อาการของโรคผิวหนังที่เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด มีอาการคันมากและมักมีไข้ร่วมด้วย) (แก่น)

ประโยชน์ของมะกอกเกลื้อน

  1. ผลสดมีรสฝาดเปรี้ยวใช้รับประทานได้ มะกอกเกลื้อนจัดเป็นพืชป่าเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ประชาชนสามารถเก็บผลมาขายได้ โดยการนำผลมาดองและแช่อิ่มแทนลูกหนำเลี้ยบรับประทาน หรือจะใช้ผลแก่รับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริกก็ได้
  2. เนื้อในเมล็ดสีขาวมีรสมัน ใช้รับประทานได้
  3. ยางสดใช้เป็นเครื่องหอม

คำสำคัญ : มะกอกเกลื้อน

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะกอกเกลื้อน. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1678

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1678&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระทิง

กระทิง

ต้นกระทิงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลมหรือรูปไข่ ทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งในระยะต่ำ ลำต้นมักจะบิดงอไม่ตั้งตรง โคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย เปลือกสีเทาเข้มเกือบดำค่อนข้างเรียบ แตกเป็นสะเก็ดหรือร่องเล็กๆ ทั่วไป มียางสีเหลืองอมเขียวซึมออกมาจากร่องของเปลือกที่แตก ใบกระทิงใบเดี่ยวออกเรียงตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 8-16 เซนติเมตร ปลายใบกว้างกลมเว้าเข้าเล็กน้อย แล้วค่อยสอบเรียวจากกลางใบไปสู่โคนใบและก้านใบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันเกลี้ยงและหนา 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,955

น้ำนมราชสีห์

น้ำนมราชสีห์

น้ำนมราชสีห์ ทั้งต้น เก็บในฤดูร้อน ล้างสะอาด ตากแห้ง เก็บเอาไว้ใช้หรือใช้สด มีรสฉุน เปรี้ยว เย็นจัด ใช้แก้พิษ ขับน้ำนม แก้ผดผื่นคัน ลำไส้อักเสบอย่างเฉียบพลัน บิดจากแบคทีเรีย หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด ฝีในปอด มีพิษบวมแดง ฝีที่เต้านม ขาเน่าเบื่อย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,243

ผักหนาม

ผักหนาม

ผักหนาม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเหง้าแข็งอยู่ใต้ดินทอดเลื้อย ทอดขนานกับพื้นดิน ตั้งตรงและโค้งลงเล็กน้อย ชูยอดขึ้น ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 75 เซนติเมตร ตามลำต้นมีหนามแหลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ทางตอนใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงอินโดนีเซีย ในประเทศพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วทุกภาค ชอบดินร่วน ความชื้นมาก และแสงแดดแบบเต็มวัน มักขึ้นในที่ชื้นแฉะมีน้ำขัง เช่น ตามริมน้ำ ริมคู คลอง หนอง บึง ตามร่องน้ำในสวน หรือบริเวณดินโคลนที่มีน้ำขัง

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 4,230

ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี

ลักษณะทั่วไป  เป็นพืชล้มลุก มีระบบรากแก้ว ลักษณะลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 40 – 80 ซม.  ใบเป็นใบประกอบ  ออกจากลำต้นบริเวณข้อแบบสลับ  ประกอบด้วยใบย่อย    3 - 5 ใบ ออกจากจุดเดียวกันใบย่อยเป็นรูปไข่ใบตรงกลางค่อนข้างจะใหญ่กว่าใบทางด้านข้างทั้งสองข้าง  ดอกออกตามซอกใบและที่ปลายยอดมีกลีบดอก  4  กลีบ  สีเหลือง มีเกสร ตัวผู้ 8-30 อัน อับละอองเกสรเป็นเส้นยาวที่ปลายมีสีน้ำเงิน มีกลิ่นเหม็นเขียว  ผลเป็นชนิดแคปซูล มีลักษณะเป็นฝัก ยาว 4-10 ซม. มีเมล็ดอยู่ภายใน เมล็ดมีลักษณะกลม สีน้ำตาล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,678

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง 

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 12,394

มะดูก

มะดูก

มะดูก ชื่อวิทยาศาสตร์: Siphonodon celastrineus เป็นพืชในวงศ์ Celastraceae มีหูใบแต่ร่วงง่าย ใบเดี่ยว มักจักเป็นซี่ฟันตื้นๆ ดอกช่อออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกสีขาวครีม มีจุดสีน้ำตาลแดง มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูแบน ผลรูปรีหรือกลม สีเขียวหรือเขียวอมเหลืองผลสุกรับประทานได้ รากใช้แก้พิษฝี หรือผสมกับสมุนไพรอื่นเพื่อทำเป็นยาบำรุงกระดูก ดับพิษ

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,134

มะลิลา

มะลิลา

มะลิลาเป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 3,265

ย่านาง

ย่านาง

ย่านางนับว่าเป็นผักที่มีประโยชน์อีกชนิดหนึ่ง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้ในการประกอบอาหารพื้นบ้านไทยหลายๆ ตำรับ ในใบย่านางมีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน และไนอะซีน

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,700

กะสัง

กะสัง

ต้นกระสังเป็นไม้ล้มลุก สูง 15-30 ซม. ลำต้น และใบอวบน้ำ ใบกระสังเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายแหลม โคนเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ มีต่อมโปร่งแสง ช่อดอกออกที่ข้อตรงข้ามกับใบ เรียงโค้งขึ้น ประกอบด้วยดอกเล็กๆ ที่ไม่มีก้านดอกจำนวนมากเวียนรอบแกน ดอกกระสังเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ไม่มีทั้งกลีบเลี้ยง และกลีบดอก มีใบประดับดอกละ 1 ใบ มีเกสรเพศผู้ 2 อัน อยู่ข้างๆ รังไข่ อับเรณูสีขาว ก้านชูอับเรณูสั้น เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่รูปกลม อยู่เหนือฐานดอก ผลกระสังลักษณะกลม มี 1 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 7,999

กะเม็งตัวเมีย

กะเม็งตัวเมีย

ต้นกะเม็งตัวเมียจัดเป็นพืชสมุนไพรล้มลุกที่เต็มไปด้วยสรรพคุณในการรักษาโรค ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษหรือแอลกอฮอล์ ยับยั้งการกระจายตัวของเชื้อ HIV และยังเชื่อกันว่าสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้ดีอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมนำพืชชนิดนี้มาทำเป็นยาเพื่อรักษาโรค ซึ่งหากต้องการให้ได้ผลดี ควรใช้ต้นกะเม็งตัวเมียที่อยู่ในช่วงเจริญเต็มที่และกำลังออกดอกจะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ดีที่สุด ซึ่งนอกจากสรรพคุณในการรักษาโรคแล้วยังสามารถใช้สีดำจากลำต้นมาย้อมผ้าหรือย้อมผมได้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,312