ใบต่อก้าน

ใบต่อก้าน

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้ชม 2,383

[16.4258401, 99.2157273, ใบต่อก้าน]

ใบต่อก้าน ชื่อวิทยาศาสตร์ Evolvulus alsinoides (L.) L. จัดอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)

ลักษณะของใบต่อก้าน
        ต้นใบต่อก้าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นทอดยาวไปตามพื้นดิน หรือโค้งแล้วตั้งตรง สูงได้ประมาณ 0.5-1 เมตร มีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมทั่วไปตามลำต้นและตามกิ่งก้านที่โคน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออก ปากีสถาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา จีน กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะแปซิฟิก และมาดากัสการ์ ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระจายแบบห่าง ๆ แทบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ โดยมักขึ้นตามพื้นที่เป็นหิน เขาหินปูน หรือพื้นที่ปนทรายที่แห้งแล้ง ตามที่โล่ง ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง จนถึงระดับความสูง 900 เมตร
        ใบใบต่อก้าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก รูปแถบ รูปขอบขนาน หรือรูปช้อน ปลายใบมนหรือมีหยักเว้าตื้น ๆ โคนใบกลมหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-20 มิลลิเมตร แผ่นใบมีขนยาวค่อนข้างทึบทั้งสองด้าน หรือด้านบนเกลี้ยง ก้านใบสั้นมากหรือไม่มีก้านใบ ถ้ามีจะมีขนาดยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร
         ดอกใบต่อก้าน ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ จะมีประมาณ 1 ดอก หรือ 2-3 ดอก ก้านดอกย่อยมีขนาดเล็กเรียว ยาวได้ประมาณ 3-10 มิลลิเมตร ส่วนก้านช่อดอกจะยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร มีใบประดับ 2 ใบ ออกตรงข้าม ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 0.3-0.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ผิวด้านนอกมีขน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นถ้วยที่ฐาน กว้างประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1-2.4 มิลลิเมตร ปลายแหลม ผิวด้านนอกมีขนขึ้นอยู่ห่าง ๆ ส่วนกลีบดอกเป็นสีม่วง สีขาว หรือสีเหลืองอ่อน เป็นรูประฆังยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร ปลายแยกจากกันเล็กน้อย ผิวด้านนอกมีขน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ติดอยู่ที่ฐานของหลอดกลีบดอก อับเรณูเป็นรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 0.5-0.8 มิลลิเมตร ติดกับก้านชูเกสรที่ฐาน ก้านชูเกสรมีลักษณะเป็นแท่งยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร เกสรเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลมยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร มีฐานดอกรองรับ ก้านชูเกสรเพศเมียจะมี 2 ก้าน แต่ละก้านมีความยาวประมาณ 0.3-0.5 มิลลิเมตร และแต่ละก้านจะมียอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 ก้าน แต่ละก้านยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ส่วนปลายสุดเป็นก้อนกลม ออกดอกในช่วงประมาณเดือนเมษายน สิงหาคม และธันวาคม
          ผลใบต่อก้าน ผลเป็นผลแห้ง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยงหุ้มทั้งผล เมื่อผลแก่จัดจะแตกออกเป็น 4 เสี่ยง ภายในผลมีเมล็ดสีดำ 2 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต ยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ผิวเมล็ดเรียบ ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม สิงหาคม และกันยายน

สรรพคุณของใบต่อก้าน
1. ทั้งต้นใช้เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร เป็นยาบำรุง (ทั้งต้น)
2. ช่วยรักษาอาการเงื่องหงอยเฉื่อยชา (ทั้งต้น)
3. ใช้เป็นยารักษาอาการไข้ (ทั้งต้น)
4. ใบนำมาใช้มวนเป็นบุหรี่สูบรักษาโรคหลอดลมอักเสบ และโรคหืด (ใบ)
5. ช่วยรักษาโรคบิด (ทั้งต้น)
6. ทั้งต้นใช้เป็นยาขับพยาธิ (ทั้งต้น)
7. ใช้เป็นยาขับน้ำเหลืองเสีย (ทั้งต้น)
8. ช่วยรักษาอาการอักเสบบวมร้อน (ทั้งต้น)

ประโยชน์ของใบต่อก้าน
ทั้งต้นใช้ผสมกับน้ำมันใช้ปลูกผมได้

คำสำคัญ : ใบต่อก้าน

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ใบต่อก้าน. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1658

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1658&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กรวยป่า

กรวยป่า

ต้นกรวยป่าเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ใบกรวยป่าใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายแหลม โคนมนกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ ขอบจักถี่ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ดอกกรวยป่ามีจำนวนมาก ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกสมบูรณ์เพศ สีขาวหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเล็ก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ผลกรวยป่ามีเนื้อ รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังหนา สุกสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีแสด

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,731

ชิงชัน

ชิงชัน

ชิงชัน (Tamalin, Rosewood, Black-wood) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก ประดู่ชิงชัน ส่วนภาคเหนือเรียก เกิดแดง เป็นต้น และที่สำคัญคือต้นชิงชันนี้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคายอีกด้วย ซึ่งต้นชิงชันนี้จะทำการขยายพันธุ์โดยเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ส่วนใหญ่อยู่ในป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณทั่วไป โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีกับดินทุกชนิดในทุกภาคของประเทศไทย, ลาว และพม่า ยกเว้นในภาคใต้ของไทยเท่านั้นที่ไม่สามารถกระจายพันธุ์ของชิงชันได้ นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าต้นชิงชันมักจะเจริญอยู่ร่วมกับไม้ไผ่และไม้สักหรือในป่าเต็งรังด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 24,367

พริกขี้หนู

พริกขี้หนู

พริกขี้หนูเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม. ใบพริกขี้หนูเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม ดอกพริกขี้หนูจะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง ผลพริกขี้หนูผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 12,262

บวบขม

บวบขม

บวบขม จัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนาดยาวประมาณ 2-5 เมตร มีมือเกาะจับต้นไม้อื่น ตลอดเถา กิ่งก้าน และใบมีขนขึ้นประปราย ขึ้นเองตามริมน้ำ ตามที่รกร้างทั่วไป ไม่นิยมปลูกไว้เพื่อกินผลเป็นอาหาร เนื่องจากเนื้อในผลมีรสขม ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกตามสวนสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาเท่านั้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม หรือรูปโล่แกมรูปไตถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบเว้าเข้าหากลางใบหรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันและมีรอยเว้าลึกทำให้เป็น 5 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,278

ว่านมหาเมฆ

ว่านมหาเมฆ

ต้นว่านมหาเมฆ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 80-150 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อน หรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน จึงมีคนเรียกว่า "ขิงดำ" หรือ "ขิงสีน้ำเงิน" ความยาวของเหง้ามีขนาดประมาณ 12 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หัวหรือเหง้าเมื่อเก็บไว้นานหลายปีจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี มักขึ้นตามดินทราย ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และในป่าราบทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 6,920

มะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรไทยชื่อแปลกอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่หลากหลาย โดยที่มะม่วงหาวมะนาวโห่จัดเป็นผลไม้ประเภทรับประทานผลสุก มีรสชาติเปรี้ยวเฉพาะตัว แต่อร่อย ผลสุกสีแดงขนาดเล็ก คล้ายกับมะเขือเทศราชินีหรือองุ่นแดง ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ไม่ได้มีเพียงแค่การรับประทานผลสุกเท่านั้น แต่เราสามารถทำแทบทุกส่วนของลำต้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้นในรูปแบบของสมุนไพรรักษาโรค 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 6,530

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ

ต้นมะเขือเปราะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 ฟุต มีอายุได้หลายฤดูกาล ใบมีขนาดใหญ่ ออกเรียงตัวแบบสลับ ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีม่วงหรือสีขาว ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียว และอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลเมื่อแก่แล้วจะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลเป็นสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,841

พญาท้าวเอว

พญาท้าวเอว

พญาท้าวเอว จัดเป็นไม้พุ่มพาดพันไปบนต้นไม้อื่น ตามลำต้นมีหนามแหลมโค้ง พอแก่แล้วหนามจะโค้งหาลำต้นในลักษณะที่หนามไปล็อกลำต้นไว้ เป็นไม้ป่าของไทยที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีเส้นแขนงใบประมาณ 6-9 คู่ มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีขาว 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลสด ออกเป็นพวงๆ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 6,547

ถั่วเขียว

ถั่วเขียว

ถั่วเขียว (Green Bean) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นล้มลุก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ถั่วมุม ส่วนภาคกลางเรียก ถั่วทอง หรือถั่วเขียว และเชียงใหม่เรียก ถั่วจิม เป็นต้น ซึ่งถั่วเขียวนี้จัดเป็นพืชในตระกูลถั่ว โดยเปลือกนอกจะมีสีเขียวต่างจากเนื้อเมล็ดข้างในที่มีสีเหลือง เป็นพืชที่ปลูกงอกง่ายแต่มีวงจรชีวิตสั้น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอยู่ในเอเชียกลางและอินเดีย โดยในประเทศไทยเราได้มีการศึกษาและพบถั่วเขียวในถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน สมัยหินกลาง อายุประมาณ 10,000 ปีเลยทีเดียว จึงนับเป็นพืชที่มีมาหลายชั่วอายุคนแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 15,304

แก้ว

แก้ว

ต้นแก้ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และในออสเตรเลีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในป่าดิบแล้งจากที่ราบสูงจนถึงที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่อง ๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดเต็มวัน-รำไร และความชื้นปานกลาง-ต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอน

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 6,878