บอนแบ้ว

บอนแบ้ว

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 2,585

[16.4258401, 99.2157273, บอนแบ้ว]

บอนแบ้ว ชื่อสามัญ Dwarf Voodoo Lily
บอนแบ้ว ชื่อวิทยาศาสตร์ Typhonium roxburghii Schott จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)
สมุนไพรบอนแบ้ว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตะพิดป่า (พังงา), บอนดอย (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), อุตตพิษ (ไทย), ส่วนทางภาคเหนือเรียก "บอนแบ้ว" เป็นต้น

ลักษณะของบอนแบ้ว
        ต้นบอนแบ้ว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กและมีความบอบบางกว่าต้นอุตพิด มีหัวอยู่ใต้ดิน ทรงกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหัว เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า จีนตอนใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และภูมิภาคมาเลเซีย ไปจนถึงฟิลิปปินส์และนิวกินี
        ใบบอนแบ้ว ใบอ่อนมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปหัวหรือเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจ ส่วนใบแก่จะเป็นหยัก แบ่งออกเป็น 3 แฉก ยาวประมาณ 5-17 เซนติเมตร ก้านใบมีความยาวประมาณ 10-35 เซนติเมตร
         ดอกบอนแบ้ว ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดมีกาบ ออกหลังจากผลิใบ มีกลิ่นเหม็น ก้านช่อสั้นหรือยาวได้เกือบ 9 เซนติเมตร กาบมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน มีขนาดกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 14-15 เซนติเมตร เป็นสีม่วงอมน้ำตาล แดงด้านใน ด้านนอกสีน้ำตาลนอกอมเขียว โคนบิดม้วนโอบรอบช่อ โคนเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร ปลายกาบคอดเรียวยาว บิดเวียนเล็กน้อย ส่วนช่อดอกยาวพอ ๆ กับแผ่นกาบ ดอกมีลักษณะแท่งยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ช่อดอกเพศเมียจะอยู่ด้านล่าง ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีรังไข่ 1 ช่อง ในช่องมีออวุล 1 เม็ด รังไข่เป็นรูปไข่สีขาวครีม ยอดเกสรเพศเมียเป็นสีม่วง ส่วนที่อยู่ถัดไปคือช่วงที่เป็นหมัน ยาวประมาณ 1.5-2.2 เซนติเมตร ด้านล่างมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันหนาแน่น ลักษณะโค้งลง สีครีมหรือสีเหลืองอ่อน ยาวประมาณ 0.8-0.9 เซนติเมตร ช่วงบนเปลือกเกลี้ยง เป็นรูปทรงกระบอก และช่อดอกเพศผู้จะยาวประมาณ 0.7-1.2 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ประมาณ 2-3 อัน สีเหลืองครีม อับเรณูไร้ก้านชู ช่องเปิดที่ปลาย ช่วงช่อดอกปลายสุดเป็นรยางค์รูปกรวยเรียวแหลมยาว สีม่วงอมสีน้ำตาลเข้ม ขนาดยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร โคนเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ช่วงผลมีโคนกาบหุ้ม ในผลแก่กาบอ้าออก
         ผลบอนแบ้ว ผลเป็นผลสด เนื้อนุ่ม ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน รูปรี หรือรูปไข่ สีเขียวเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อแก่ ภายในมีเมล็ดเดี่ยว

สรรพคุณของบอนแบ้ว
1. รากใช้กินกับกล้วยเป็นยารักษาอาการปวดท้อง (ราก)
2. รากมีฤทธิ์เป็นยาช่วยกระตุ้น รักษาโรคริดสีดวงทวาร (ราก)
3. หัวใช้หุงเป็นน้ำมันใส่แผลเป็นยาสมานแผล โดยการปิ้งไฟใช้รับประทานได้ (หัว)
4. รากใช้ภายนอกเป็นยาทาและกินรักษาพิษงูกัด (ราก)
5. หัวใช้เป็นยากัดฝ้าหนอง กัดเถาดานในท้อง (หัว)

ประโยชน์ของบอนแบ้ว
1. ก้านใบนำมาลอกเอาเปลือกออก นำมาใช้แกงส้มแบบเดียวกับแกงอุตพิด
2. กาบนำมาหั่นให้ละเอียด ใช้ดองกินเป็นผักได้

คำสำคัญ : บอนแบ้ว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บอนแบ้ว. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1645

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1645&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กกกันดาร

กกกันดาร

ต้นกกกันดารเป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าสั้น หนา ไม่ค่อยแตกแขนงออกไป ลำต้นเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียบเกลี้ยง สูงประมาณ 20-40 เซนติเมตร ออกเป็นกอแน่นต้นเดียว ไม่ออกรวมเป็นกระจุกกันหลายต้นลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับรอบลำต้น มองเห็นเป็นวงใกล้พื้นดิน ใบบิดหมุนเป็นเกลียวที่ส่วนปลายคล้ายกงจักร แผ่นใบรูปแถบถึงรูปเคียว กว้าง 1-4 มิลลิเมตร ยาว 5-18 เซนติเมตร ปลายใบกลม หลังใบเป็นมันเกลี้ยง ขอบใบเรียบ เป็นคลื่น มีขนสาก ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง แผ่นใบตอนโคนเป็นกาบหุ้มลำต้น กาบใบสีเขียวอ่อน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,785

ก้นปิด

ก้นปิด

ต้นก้นปิดเป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือจับ มีหัวใต้ดิน ลำต้นแก่มักมีรอยแตกเป็นขีดตามยาว ใบก้นปิดเป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมฐานใบกลมและบังก้านใบ ขนาดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 8-17 ซม. ขอบใบเรียบ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ เป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกก้นปิดสีเหลืองส้ม ออกเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกสีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือลำต้น ช่อดอกทรงก้านร่ม ยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,587

แห้ม

แห้ม

ต้นแห้ม หรือ ต้นแฮ่ม จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด ลำต้นที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะมีลักษณะเป็นชิ้นหรือแท่งตรงทรงกระบอก เรียกว่า "Coscinium" อาจพบในขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม โดยพืชชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ใน The British Phamaceutical Codex 1991 ภายใต้หัวข้อ Coscinium[1] ยังไม่มีการปลูกในประเทศไทย และต้องนำเข้ามาจากประเทศลาวเท่านั้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพร โดยจะมีทั้งแบบที่เป็นผงสีเหลือง (คล้ายขมิ้น) และแบบที่หั่นเป็นชิ้นเฉียงๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไม้มีรูพรุนและเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,893

ถั่วแปบ

ถั่วแปบ

ถั่วแปบ (Hyacinth Bean, Bonavista Bean, Lablab) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ถั่วมะเปกี, มะแปบ, ถั่วแล้ง หรือถั่วหนัง เป็นต้น โดยเป็นพืชสมุนไพรที่มีสายพันธุ์มากมายหลากหลาย จะเรียกว่ามากกว่าบรรดาพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ เลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว มีแหล่งกำเนิดในแถบร้อนของทวีปเอเชีย รวมทั้งในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเราด้วย สำหรับถั่วแปบนี้มักนิยมนำมาทำเป็นขนมหวานของไทย โดยผสมกับแป้งเคี้ยวเหนียวนุ่มรับประทานอร่อย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 9,534

กระทือ

กระทือ

ต้นกระทือไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเทียมสูงได้ถึง 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน แตกแขนงเป็นกอ เปลือกเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม จะแทงหน่อใหม่ช่วงฤดูฝน ใบกระทือใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ หลังใบสีเขียวเป็นมัน ท้องใบสีเขียวนวล ก้านใบสั้นมาก ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร กาบใบเรียงตัวกันแน่น หุ้มเป็นลำต้นเทียม ดอกช่อ แบบช่อเชิงลด ก้านช่อดอกยาว 14-45 เซนติเมตร ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ดอกทรงกระบอก ปลายมน ใบประดับสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,423

กุยช่าย

กุยช่าย

กุยช่าย (Chinese Chive) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกผัก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกหัวซู ภาคอีสานเรียกหอมแป้น กูไฉ่ หรือผักแป้น เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปกุยช่ายนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ กุยช่ายเขียว และกุยช่ายขาว โดยทั้งสองสายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันเลย เพียงแต่จะต่างในเรื่องของการปลูกและดูแลรักษาเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,566

ขนุน

ขนุน

ขนุน (Jackfruit) เป็นผลไม้และพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกมะหนุน เขมรเรียกขะเนอ ภาคอีสนเรียกหมักมี้ กะเหรี่ยงเรียกนะยวยซะ จันทร์บุรีเรียกขะนู ปัตตานีเรียกนากอ และชาวเงี้ยวเรียกล้าง เป็นต้น ซึ่งขนุนนี้มีรสชาติหวานอร่อยเป็นที่ถูกอกถูกใจของหลายๆ คนเลยทีเดียว แต่ผู้เป็นเบาหวานไม่ควรรับประทานนะคะ แถมเม็ดขนุนนั้นก็สามารถนำไปต้มรับประทานได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,830

ไทรย้อย

ไทรย้อย

ต้นไทรย้อย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย อินเดีย และภูมิภาคมาเลเซีย จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม้ผลัดใบขนาดกลาง ที่มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบและแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อยลง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง มีลำต้นที่สูงใหญ่ ตามลำต้นจะมีรากอากาศแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมากดูสวยงาม รากอากาศเป็นรากขนาดเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล ลักษณะรากกลมยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศที่มีขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ด้วย มีรสจืดและฝาด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 13,172

เข็มป่า

เข็มป่า

ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ลำต้นใหญ่ สูงประมาณ 3-4 เมตร  ใบมีสีเขียวสด เป็นรูปไข่ยาว ๆ ขอบใบเรียบ ใบยาว  ดอกออกตลอดปี ออกดอกเล็กเป็นพวง เหมือนดอกเข็มธรรมดาแต่สีขาว   ผลมีลักษณะเป็นผลกลม มีสีเขียว  เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าทั่ว ๆ ไป  ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและตอนกิ่ง  ประโยชน์สมุนไพร ดอกใช้รักษาโรคตาเปือก ตาแฉะ ตาแดง ใบใช้ยาฆ่าพยาธิ ผลใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร  เปลือกใช้ตำแล้วคั้นหยอดหูเมื่อแมลงเข้าหู รากใช้เป็นยารักษาเสมหะในท้อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,098

ขจร

ขจร

ต้นขจร หรือ ต้นสลิด มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น สามารถเลื้อยพันไปได้ไกลประมาณ 2-5 เมตร เถามีขนาดเล็ก ลักษณะกลมเหนียวมากและเป็นสีเขียว เมื่อแก่เถาขจรจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตามยอดอ่อนมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม แตกใบเป็นพุ่มแน่นและทึบ ทำให้บางครั้งพุ่มของของต้นขจรจะแผ่ปกคลุมต้นไม้อื่นได้มิดเลยทีเดียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 3,618