ไทรย้อย

ไทรย้อย

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 13,172

[16.4258401, 99.2157273,, ไทรย้อย]

ไทรย้อย ชื่อสามัญ Golden Fig, Weeping Fig, Weeping or Java Fig, Weeping Chinese Bonyan, Benjamin Tree, Benjamin's fig, Ficus tree
ไทรย้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benjamina L. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรไทรย้อย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ไทรพัน (ลำปาง), ไทร (นครศรีธรรมราช), ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์), ไฮ (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพฯ), จาเรย (เขมร), ไซรย้อย เป็นต้น
ข้อควรทราบ : ต้นไทรย้อยใบแหลมเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นไม้มงคลประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ลักษณะของไทรย้อย
         ต้นไทรย้อย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย อินเดีย และภูมิภาคมาเลเซีย จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม้ผลัดใบขนาดกลาง ที่มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบและแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อยลง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง มีลำต้นที่สูงใหญ่ ตามลำต้นจะมีรากอากาศแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมากดูสวยงาม รากอากาศเป็นรากขนาดเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล ลักษณะรากกลมยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศที่มีขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ด้วย มีรสจืดและฝาด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า ชอบดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นในระดับปานกลาง ไทรย้อยมีเขตการกระจายพันธุ์กว้างในประเทศเขตร้อน พบได้ที่อินเดีย เนปาล ปากีสถาน จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นกระจายในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา และบางครั้งอาจพบได้ตามเขาหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,300 เมตร
         ใบไทรย้อย ไทรย้อยแต่ละสายพันธุ์นั้นจะมีลักษณะของใบที่แตกต่างกันเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่ บางต้นลักษณะของใบเป็นรูปกลมป้อม ส่วนบางพรรณก็เป็นรูปยาวรี แต่โดยทั่วไปแล้วใบจะมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-11 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นสีเขียวเรียบเป็นมันเหมือนกันหมด เส้นแขนงใบมีข้างละประมาณ 6-16 เส้น ส่วนเส้นแขนงใบย่อยเรียงขนานกัน มีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ ก้านยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร มีหูใบยาวประมาณ 0.5-2.8 เซนติเมตร ร่วงได้ง่าย เกลี้ยงหรือมีขนขึ้นประปราย
         ดอกไทรย้อย ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปทรงกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่จากจ้างกิ่ง ไม่มีกลีบดอก[3] ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ช่อดอกของไทรก็คือผลที่ยังไม่สุกนั่นเอง แต่เป็นช่อดอกที่ได้รับการออกแบบมาให้ม้วนดอกทั้งหลายกลับนอกเข้าในเพื่อทำหน้าที่พิเศษ ถ้านำมาผ่าดูก็จะพบว่าข้างในกลวง ที่ผนังมีดอกขนาดเล็ก ๆ จำนวนนับร้อย ๆ ดอก ด้านตรงข้ามกับขั้วผลไทรมีรูเปิดขนาดเล็กมาก และมีเกล็ดเล็ก ๆ ปิดซ้อนกันอยู่ โดยดอกไทรจะมีอยู่ด้วย 3 ประเภท คือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกกอลล์ ซึ่งดอกกอลล์ (Gall flower) จะมีหน้าที่เป็นที่วางไข่และเลี้ยงตัวอ่อนของ "ตัวต่อไทร" (เป็นแมลงชนิดเดียวเท่านั้นที่ช่วยผสมเกสรให้ต้นไทร)
         ผลไทรย้อย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรี ออกผลเป็นคู่ ๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม สีน้ำตาล สีชมพู สีส้มแดง หรือสีม่วงดำเมื่อแก่ ไร้ก้าน

สรรพคุณของไทรย้อย
1. รากไทรย้อยมีสรรพคุณเป็นยาแก้กาฬโลหิต (รากอากาศ)
2. รากอากาศมีสรรพคุณบำรุงโลหิต แก้ตกโลหิต (รากอากาศ)
3. รากใช้เป็นยาแก้กระษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม ปวดเมื่อย โลหิตจาง) (รากอากาศ)
4. รากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาบำรุงน้ำนมให้สมบูรณ์ (รากอากาศ)
5. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (รากอากาศ)
6. ใช้เป็นยาขับพยาธิ (รากอากาศ)
7. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะให้คล่อง แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะมีสีต่าง ๆ (รากอากาศ)
8. ช่วยแก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะที่มีปัสสาวะขุ่นข้นเป็นสีเหลืองหรือแดง และมักมีอาการแน่นท้อง รับประทานไม่ได้ร่วมด้วย) (รากอากาศ)
9. ช่วยแก้อาการอักเสบหรือลดการติดเชื้อ เช่น ฝีหรือรอยฟกช้ำ (รากอากาศ)
10. ตำรายาไทยจะใช้รากไทรย้อยใน “พิกัดตรีธารทิพย์” (ประกอบไปด้วยรากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ และรากมะขามเทศ) มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำนม แก้กษัย แก้ท้องร่วง ช่วยฆ่าเชื้อคุดทะราด (รากอากาศ)

ประโยชน์ของไทรย้อย
1. ในป่าธรรมชาติ ต้นไทรนับเป็นที่อยู่อาศัย และผลยังเป็นแหล่งอาหารชั้นยอดของสัตว์ป่าหลายชนิด เพราะต้นไทรมีลำต้นแผ่กว้าง เต็มไปด้วยหลืบโพรง ทั้งนกนานาชนิด กระรอก ชะนี ลิง หรือแม้แต่สัตว์ใหญ่อย่าง เก้ง กวาง หมูป่า ฯลฯ ต่างก็ชอบรับประทาน
     ผลของมัน อีกทั้งต้นไทรแต่ละต้นก็ติดผลในช่วงเวลาที่ไม่ตรงกัน จึงทำให้ในป่าใหญ่ที่มีต้นไทรมาก ๆ จะมีผลไทรสุกไว้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เหล่านี้ได้ตลอดทั้งปี จึงช่วยทำให้เกิดสมดุลต่อระบบนิเวศทั้งในป่าและในเมืองที่ปลูก
2. รากอากาศสามารถนำมาพันเป็นวงกลมเพื่อประดับดอกไม้แห้งเป็นพวงมาลาได้
3. ต้นไทรย้อยนิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีทรงพุ่มแผ่กว้างให้ร่มเงาได้ดี ต้องมีเนื้อที่ในการปลูกพอสมควร แต่ในปัจจุบันวงการไม้ประดับได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะย่อส่วนต้นไม้ให้มีขนาดเล็กลง การนำไม้ป่าทั้งหลายรวมทั้งไทรย้อยมาปลูก
    เป็นไม้ประดับจึงสะดวกมากขึ้น
4. ด้วยความที่ตัวพุ่มของต้นไทรย้อยเป็นพุ่มแน่นทึบ ประกอบไปด้วยใบไม้เรียงซ้อนกันหลายชั้น จึงช่วยกั้นแสงแดดหรือช่วยดูดแสงแดดร้อนจัดในยามกลางวันได้ อีกทั้งพุ่มใบที่แน่นทึบยังช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอก ช่วยดูดซับควันพิษจากท่อไอเสีย
    รถยนต์และฝุ่นละอองได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะอย่างยิ่งในการนำมาปลูกไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม สถานที่ราชการ โรงแรม หรือแม้กระทั่งริมถนนและเกาะกลางถนน นอกจากนี้แล้วข้อดีอีกอย่างหนึ่งของต้นไทรย้อยก็คือ
    เป็นพันธุ์ไม้ที่มีความแข็งแรง ทนทาน ง่ายต่อการดูแลรักษา ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน และสามารถเจริญเติบโตได้ในดินทั่วไปอีกด้วย
5. คนไทยโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นไทรไว้เป็นไม้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข นอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ทั้งปวงด้วย เพราะมีความเชื่อว่าต้นไทรเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีเทพารักษ์อาศัยอยู่ จึงช่วยคอยคุ้มครองพิทักษ์
    คนในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขและปลอดภัย[4]แต่สำหรับบางคนก็เชื่อว่า ไม่ควรนำต้นไทรมาปลูกไว้ในบ้าน ไม่ใช่เพราะต้นไทรจะนำเรื่องร้ายเข้ามาในบ้านแต่อย่างใด แต่ด้วยเชื่อกันว่า ต้นไทรนั้นมีเทวดาสถิตอยู่ จึงอาจจะไม่เหมาะสมที่จะนำมาปลูก แต่ที่แน่ ๆ
    ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าต้นไทรนั้นมีรากเยอะ มีรากย้อยลงมาอาจดูเกะกะ มีนกมาถ่ายมูลเรี่ยราด รากจะแทงเข้าพื้นดินและแตกแยกออกไปโดยรอบ ทำให้สิ่งก่อสร้างบ้านเรือนหรือคอนกรีตเกิดการแตกร้าวและพังทลายได้ แถมบริเวณที่ปลูกต้นไทรก็ไม่สามารถ
    ปลูกไม้ชนิดอื่นได้เลย เพราะจะถูกรากไทรแย่งอาหารไปจนหมด แต่ก็อย่างที่ได้กล่าวมาว่า ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาย่อส่วนต้นไทรให้มีขนาดเล็กลงแล้ว จึงสามารถนำมาปลูกในบ้านหรือสถานที่ต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด

คำสำคัญ : ไทรย้อย

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ไทรย้อย. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1638

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1638&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระจับนก

กระจับนก

ต้นกระจับนกเป็นไม้ต้น สูง 6-10 เมตร ใบกระจับนกเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาว 1.6-4.5 เซนติเมตร รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกกระจับนกสีเหลืองถึงชมพูแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ แกนช่อยาว 3-10.5 เซนติเมตร ดอกกว้าง 1-2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ ขอบจักเป็นฝอย ส่วนฐานแผ่เป็นจานกลมนูน ขนาด 3 มิลลิเมตร ก้านเกสรผู้ยาว 2 มิลลิเมตร จำนวน 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,342

กล้วยหักมุก

กล้วยหักมุก

สำหรับกล้วยหักมุกนั้นเป็นกล้วยที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน และไม่ชอบน้ำมาก ลำต้นสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร กาบด้านในสีเขียวอ่อน ส่วนด้านนอกมีประดำเล็กน้อย บริเวณก้านใบมีร่องแคบ มีครีบ ใช้ทำเป็นใบตองได้ดี ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อ ปลีรูปไข่แบบป้อมๆ ม้วนงอขึ้นด้านบน และเมื่อออกผลใน 1 เครือ จะมีอยู่ประมาณ 7 หวี และในหวีหนึ่งๆ จะมีประมาณ 10-16 ผลใหญ่ ก้านผลจะยาว ปลายลีบลง เหลี่ยมค่อนข้างชัด เปลือกค่อนข้างหนา เมื่อดิบเป็นสีเขียว หากสุกแล้วจะเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล เนื้อในสีส้ม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 27,679

ผักกะโฉม

ผักกะโฉม

ต้นผักกะโฉม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว ลำต้นต้นแตกแขนงออกไป ต้นที่ยังเล็กอยู่จะมีขนขึ้นปกคลุม แต่เมื่อโตแล้วหรือแก่ขนจะหลุดร่วงไปเอง ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-2 ฟุต มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบขึ้นอยู่ตามริมคูและชอบดินชื้นแฉะ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม ขอบใบหนา ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวประมาณ 2-3 นิ้ว แผ่นใบเป็นสีเขียวสด หลังใบมีขนปกคลุมและมีรอยย่น ก้านใบสั้น

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 3,788

กะสัง

กะสัง

ต้นกระสังเป็นไม้ล้มลุก สูง 15-30 ซม. ลำต้น และใบอวบน้ำ ใบกระสังเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายแหลม โคนเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ มีต่อมโปร่งแสง ช่อดอกออกที่ข้อตรงข้ามกับใบ เรียงโค้งขึ้น ประกอบด้วยดอกเล็กๆ ที่ไม่มีก้านดอกจำนวนมากเวียนรอบแกน ดอกกระสังเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ไม่มีทั้งกลีบเลี้ยง และกลีบดอก มีใบประดับดอกละ 1 ใบ มีเกสรเพศผู้ 2 อัน อยู่ข้างๆ รังไข่ อับเรณูสีขาว ก้านชูอับเรณูสั้น เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่รูปกลม อยู่เหนือฐานดอก ผลกระสังลักษณะกลม มี 1 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 8,169

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นต้นขนาดย่อม กิ่งเล็กเรียวงอไปมาเล็กน้อยตามข้อ  ใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายแหลม ขอบเรียบ ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามกิ่งดูคล้ายใบประกอบ เหมือนใบมะยมดอกเล็ก  กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองแดง ออกเป็นช่อตามง่ามใบ  ผลกลมฉ่ำน้ำ ผิวเป็นพูเล็กน้อย สีเขียวถึงขาว ขั้วสีแดงห้อยลงใต้ใบ  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด หรือกิ่งปักชำ   ประโยชน์ด้านสมุนไพรใบและต้น รสหวานเย็น ใช้น้ำยาหยอดตาแก้อักเสบ รักษาแผลในจมูก ราก รสเย็นระงับความร้อน ถอนพิษไข้กลับไข้ซ้ำ แก้โรคคางทูม

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,020

ผักหนาม

ผักหนาม

ผักหนาม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเหง้าแข็งอยู่ใต้ดินทอดเลื้อย ทอดขนานกับพื้นดิน ตั้งตรงและโค้งลงเล็กน้อย ชูยอดขึ้น ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 75 เซนติเมตร ตามลำต้นมีหนามแหลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ทางตอนใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงอินโดนีเซีย ในประเทศพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วทุกภาค ชอบดินร่วน ความชื้นมาก และแสงแดดแบบเต็มวัน มักขึ้นในที่ชื้นแฉะมีน้ำขัง เช่น ตามริมน้ำ ริมคู คลอง หนอง บึง ตามร่องน้ำในสวน หรือบริเวณดินโคลนที่มีน้ำขัง

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 4,280

ตาล

ตาล

ต้นตาล หรือ ต้นตาลโตนด เป็นปาล์มต้นเดี่ยวที่มีความสูงชะลูด มีลำต้นใหญ่และเนื้อแข็งแรงมาก และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำและแข็งมาก แต่ไส้กลางของลำต้นจะอ่อน ส่วนบริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ในขณะที่ต้นยังเตี้ยจะมีทางใบแห้งและติดแน่น เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนและระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง ไม่ชอบอากาศเย็น ชอบแสงแดดจัด ทนต่อดินเค็ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด การย้ายไปปลูกต้นจะไม่รอด เพราะรากแรกที่แทงลงดินอยู่ลึกมาก หากรากแรกขาดก็จะตายทันที

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 7,550

ติ่งตั่ง

ติ่งตั่ง

ต้นติ่งตั่ง จัดเป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดใหญ่หรือไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ชอบแสงแดดจัด น้ำปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดิบแล้งทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,919

สังกรณี

สังกรณี

สังกรณี จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขารอบๆ ต้นมากมาย มีความสูงของลำต้นประมาณ 60-120 เซนติเมตร ตามต้นไม่มีหนาม ตามกิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากตามป่าเต็งรัง ป่าไผ่ ป่าดงดิบ และป่าดิบแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 7,775

มะกรูด

มะกรูด

หลายๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทpมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 8,435