คันทรง

คันทรง

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 1,643

[16.4258401, 99.2157273, คันทรง]

 

คันทรง ชื่อวิทยาศาสตร์ Colubrina asiatica (L.) Brongn. จัดอยู่ในวงศ์พุทรา (RHAMNACEAE)
สมุนไพรคันทรง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ก้านตรง (สุรินทร์), ก้านถึง ก้านเถิ่ง ก้านเถิง ผักก้านเถิง (ภาคเหนือ), คันซง คันซุง คันชุง คันทรง (ภาคกลาง), กะทรง ทรง (ภาคใต้), เพลโพเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ผักหวานต้น (ลั้วะ), ก้านเถง ผักก้านตรง ผักก้านถึง ผักคันทรง เป็นต้น

ลักษณะของคันทรง
       ต้นคันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ถี่ ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือ บ้างว่าพบได้มากตามชายทะเลหรือชายหาดหินปูน
        ใบคันทรง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่ รูปไข่กว้าง หรือรูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือแหลม ส่วนขอบใบหยักมนแกมจักเป็นฟันเลื่อยละเอียด ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร แผ่นใบบาง หลังใบเรียบเป็นมันและเป็นสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ส่วนท้องใบเรียบมีขนที่เส้นใบ ผิวใบทั้งสองด้านมันเงา โดยมีเส้นใบ 3 เส้นออกจากโคนใบ เส้นใบข้างอีก 3-4 เส้นออกจากเส้นกลางใบ ก้านใบยาวประมาณ 1-1.6 เซนติเมตร มีหูใบขนาดเล็กยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร
         ดอกคันทรง ออกดอกเป็นช่อกระจุกเล็ก ๆ ตามซอกใบตามกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านเรียงเป็นแถวเป็นช่อเล็ก ๆ ในแต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 8-14 ดอก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนปนเขียว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ในดอกย่อยจะประกอบไปด้วยดอกสมบูรณ์เพศประมาณ 2-3 ดอก และดอกเพศผู้อีกหลายดอก ลักษณะของดอกเป็นรูปจาน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้าน กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียวมี 5 กลีบ ปลายกลีบดอกแหลม ส่วนโคนกลีบดอกติดกันที่ฐานดอก จานรองสีเหลืองส้ม มีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้องหลอมรวมกับจานรอง ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวสดมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนก้านดอกสั้น มีความยาวประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร โดยจะออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม
          ผลคันทรง ผลเป็นผลเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น ที่ขั้วผลมีวงกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่ เรียงห้อยลงเป็นแถว ๆ ตามกิ่ง ปลายผลเว้าเข้าแบ่งออกเป็นพู 3 พู ผลเป็นสีเขียวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อผลแก่ ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8-0.9 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเป็นมัน มีก้านผลที่ยาวประมาณ 0.4-0.6 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวน 3 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบนและเป็นสีดำหรือเป็นสีน้ำตาลเทา มีขนาด 0.5-0.6 x 0.4-0.5 เซนติเมตร โดยจะติดผลในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม

สรรพคุณของคันทรง
1. ใบมีรสขม ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)
2. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (น้ำมันจากเมล็ด)
3. รากมีสรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยแก้พิษร้อนถอนพิษไข้ โดยนิยมใช้รากคันทรงร่วมกับรากย่านางและรากผักหวานบ้าน เพื่อใช้เป็นยาหลักในตำรับยาแก้ไข้ แก้ไข้พิษ ไข้ออก
    ตุ่มต่าง ๆ ส่วนน้ำมันจากเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ด้วยเช่นกัน (ราก, น้ำมันจากเมล็ด)
4. รากนำมาฝนกับน้ำมะพร้าวใช้กินแก้ตานขโมยในเด็ก (โรคพยาธิในเด็กอายุระหว่าง 5-13 ปี เป็นโรคที่ทำให้เด็กมีอาการซูบผอม อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และอาจมีอาการท้อง
    เสียร่วมด้วย) (ราก)
5. รากใช้ดินแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ราก)
6. ทั้งใบและผลมีสารซาโปนิน มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน การบริโภคมากเกินไปอาจทำให้เกิดอันตรายได้ และสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานทั้งใบและผล (ผล, ใบ)
7. ในประเทศมาเลเซียจะใช้ต้นนำมาต้มรับประทานเพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหาร (ต้น)
8. ผลทำให้แท้งบุตร สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานทั้งผลและใบ (ผล)
9. รากใช้ฝนกับน้ำมะพร้าวกินเป็นยาแก้บวม (ราก)
10. เปลือกต้น ราก หรือใบมีรสฝาดเฝื่อน ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ใบ, เปลือกต้น, ราก)
11. เปลือกต้นและใบใช้ต้มอาบ จะช่วยแก้อาการบวมทั้งตัวเนื่องจากไตและหัวใจพิการ (เปลือกต้นและใบ)
12. ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ใบ, เปลือกต้น, ราก)
13. ใบนำมาปรุงเป็นยาต้มใช้ทาบรรเทาอาการระคายเคืองที่ผิว อาการแพ้ ผื่นคัน โรคผิวหนังอักเสบ ฝี และช่วยรักษาโรคผิวหนังได้บางชนิด (ใบ)
14. เปลือกต้นและใบใช้ต้มกับน้ำอาบจะช่วยแก้เม็ดผื่นคันตามตัว (เปลือกต้นและใบ)
15. ช่วยแก้อาการชา ช่วยบรรเทาอาการปวด แก้อาการปวดตามร่างกาย (น้ำมันจากเมล็ด)
16. เปลือกต้นและใบใช้ต้มอาบ ช่วยแก้อาการเหน็บชา (เปลือกต้นและใบ)
17. น้ำมันจากเมล็ดคันทรงใช้รักษาโรคข้อรูมาติกได้ (น้ำมันจากเมล็ด)

ประโยชน์ของคันทรง
1. ใบอ่อนและยอดอ่อนนำมานึ่งหรือต้มให้สุก ใช้รับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริก น้ำพริกปลาร้า ตาแดง หรือใช้เป็นผักรองห่อหมก และยังนำมาใส่ในแกงแคร่วมกับผักอื่น ๆ
    ใช้ทำแกงกับปลาย่าง ใส่ในแกงขนุน ใช้ทำแกงผักคันทรงกุ้งสด นำมาทำแกงส้ม แกงเลี้ยง หรือนำมาผัดกับน้ำมัน
2. ชาวฮาวายจะใช้ใบแทนสบู่ (ไม่ได้ระบุว่าใช้อย่างไร)
3. ผลใช้เป็นยาเบื่อปลา

คำสำคัญ : คันทรง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). คันทรง. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1619

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1619&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ชะอม

ชะอม

ชะอม (Cha-om, Acacia, Climbing Wattle) เป็นพืชที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ผักละหรือผักหละ ส่วนภาคอีสานเรียก ผักขะ เป็นต้น ซึ่งชะอมนี้เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยทั่วทุกภาครู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และมักนำมาประกอบอาหารต่างๆ โดยเฉพาะไข่ทอดชะอม ที่เป็นเมนูโปรดของใครหลายๆคนเลยทีเดียว แถมในชะอมนี้ยังมีประโยชน์ต่างๆมากมายอีกด้วย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักนิยมนำชะอมมาปลูกไว้บริเวณรั้วบ้าน เพราะมีหนามแหลมและยังสามารถรับประทานได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,436

จมูกปลาหลด

จมูกปลาหลด

ต้นจมูกปลาหลด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยไปได้ไกลเกินกว่า 5 เมตร เถามีขนาดเล็กกลมเป็นสีเขียวและมียางสีขาวอยู่ในเถา ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและจะค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่ลำต้นและใบเมื่อนำมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นเหม็น พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและวิธีการปักชำ ชอบอยู่ในร่มรำไร ชอบความชื้น มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย โดยมักขึ้นบริเวณน้ำตื้นริมบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 4,229

ฟักข้าว

ฟักข้าว

ฟักข้าว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อย อายุยิ่งมากเถายิ่งใหญ่ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว บนหลังคา (ขอให้มีที่เกาะ) ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ คล้ายกับใบโพธิ์ ความกว้างและความยาวของใบมีขนาดเท่ากัน ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ดอกจะออกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ โดยจะออกดอกข้อละหนึ่งดอก ลักษณะของดอกฟักข้าวจะคล้ายกับดอกตำลึง กลีบดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,405

กกลังกา

กกลังกา

ต้นกกลังกาเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นออกเป็นกอมีหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นมีความสูงประมาณ 100-150 ซม. ลักษณะของลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นกลมมีสีเขียวใบกกลังกาจะออกแผ่ซ้อน ๆ กัน อยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 18-19 ซม. ใบมีสีเขียว ริมขอบ ใบเรียบใต้ท้องใบสาก ลำต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 18-25 ใบ ดอกกกลังกา ออกเป็นกระจุก อยู่รวมกันเป็นใบ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาวแกมเขียว ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 6-7 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,938

สารภี

สารภี

สารภีไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบแผ่กว้าง เปลือกสีเทาหรือเทาปนน้ำตาล แตกล่อนเป็นสะเก็ด เปลือกชั้นในสีแดงเข้ม มีน้ำยางสีคล้ายน้ำนม เมื่อทิ้งให้สัมผัสกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6.5 ซม. ยาว 15-20 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนสอบแคบหรือสอบเรียว ปลายใบมนหรือสอบทู่ๆ อาจมีติ่งสั้นๆ หรือหยักเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงทั้งสองด้าน สีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นแขนงใบจำนวนมาก ไม่ชัดเจน ก้านใบ ยาว 0.5-1 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 2,040

ผักกะโฉม

ผักกะโฉม

ต้นผักกะโฉม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว ลำต้นต้นแตกแขนงออกไป ต้นที่ยังเล็กอยู่จะมีขนขึ้นปกคลุม แต่เมื่อโตแล้วหรือแก่ขนจะหลุดร่วงไปเอง ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-2 ฟุต มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบขึ้นอยู่ตามริมคูและชอบดินชื้นแฉะ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม ขอบใบหนา ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวประมาณ 2-3 นิ้ว แผ่นใบเป็นสีเขียวสด หลังใบมีขนปกคลุมและมีรอยย่น ก้านใบสั้น

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 3,788

เพกา

เพกา

ลักษณะทั่วไป     ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง ประมาณ 4 – 20 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนเปลือกเรียบสีเทา บางทีแตกออกเป็นรอยตื้น ๆ เล็กน้อย หรือรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ เกิดจากใบร่วงหล่นไปแล้ว  ใบออกเป็นช่อคล้ายขนนกประมาณ 2-3 ชั้น มีใบเดียว ๆ ตรงปลายก้านจะเรียงตรงข้ามชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยจะมีลักษณะเป็นรูปไข่และรูปขอบขนาน ส่วนปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ โคนสอบกลม มักจะเบี้ยว  ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด กลีบรองกลีบดอกจะมีลักษณะเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอกเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อเป็นผล แข็งมากค่อนข้างหนา ภายนอกสีม่วงแดงหรือน้ำตาลคล้ำ ส่วนภายในจะเป็นสีเหลือง สีชมพู ตรงโคนจะเชื่อมติดกัน มีลักษณะรูปลำโพง บริเวณปากลำโพงด้านในนั้นจะเป็นสีขาวอมเหลือง หรือสีขาวอมเขียว เกสรตัวผู้จะมีประมาณ 5 อัน ติดกับท่อดอก โคนก้านมีขน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน มีท่อเกสรยาวประมาณ 4-6 ซม.  สีม่วงคล้ำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,835

มะหาด

มะหาด

มะหาด ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกขรุขระ สีน้ำตาล บริเวณเปลือกของลำต้นมักมีรอยแตก ไหลซึมแห้งติดกันใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่รูปยาวรี ปลายแหลม โคนเว้ามน ใบอ่อนมีขอบใบหยักใบแก่ขอบเรียบหูใบเรียวแหลมดอก ช่อกลมเล็ก ๆ สีเขียว อมเหลือง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละช่อ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวเมียกลีบดอกกลมมนโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดดอกตัวผู้กลีบเป็นรูปขอบขนานผล เป็นผลรวม กลมแป้นใหญ่ เปลือกนอกขรุขระ เนื้อผลนุ่ม สีเขียว แก่มีสีน้ำตาลเหลือง เมล็ดรูปรี

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,417

ผักตบชวา

ผักตบชวา

ผักตบชวา จัดเป็นพรรณไม้น้ำที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ได้มีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกไว้ที่วังสระปทุมในกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ.2444 แต่จากการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและเกิดน้ำท่วมจึงทำให้ผักตบชวาหลุดรอดออกมา และเกิดการแพร่กระจายไปทั่ว จนกลายเป็นวัชพืชน้ำที่รุนแรง โดยผักตบชวานั้นจัดเป็นพืชน้ำล้มลุกมีอายุหลายฤดู มีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำ มีไหล ซึ่งเกิดตามซอกใบแล้วเจริญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอ่อนและเข้ม ลำต้นจะมีขนาดสั้นหรือยาวจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ ก้านใบจะพองออกตรงช่องกลาง ภายในมีลักษณะเป็นรูพรุน จึงช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้ 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 28,042

กระบก

กระบก

ต้นกระบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ทรงเรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นเปลา เปลือกต้นมีสีเทาอ่อนปนสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ในที่กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าดิบแล้ง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าหญ้า และป่าแดง และยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดด้วย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 15,042