แสลงใจ

แสลงใจ

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้ชม 4,554

[16.4258401, 99.2157273, แสลงใจ]

แสลงใจ ชื่อสามัญ Nux-vomica Tree, Snake Wood
แสลงใจ ชื่อวิทยาศาสตร์ Strychnos nux-vomica L.จัดอยู่ในวงศ์กันเกรา (LOGANIACEAE หรือ STRYCHNACEAE)
สมุนไพรแสลงใจ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แสลงทม แสลงเบื่อ (นครราชสีมา), แสงโทน แสลงโทน (โคราช), แสงเบื่อ (อุบลราชธานี), โกฐกะกลิ้ง กระจี้ กะกลิ้ง ตูมกาแดง (ภาคกลาง), ดีหมี, ว่านไฟต้น เป็นต้น
หมายเหตุ : ต้นแสลงใจ (ตูมกาแดง) ที่กล่าวถึงในบทความนี้เป็นคนละชนิดกับต้นแสลงใจที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Strychnos nux-blanda A.W. Hill หรือที่ภาคกลางเรียกว่า "ตูมกาขาว"

ลักษณะของต้นแสลงใจ
       ต้นแสลงใจ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 10-13 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-500 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่อินเดีย ศรีลังกา กัมพูชา ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย
       ใบแสลงใจ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี หรือรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ มีเส้นใบตามขวาง 5 เส้น ยาว 3 เส้น ก้านใบสั้นยาวได้ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ออกใบดกและหนาทึบ
       ดอกแสลงใจ ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกมีลักษณะคล้ายร่ม ดอกย่อยมีขนาดเล็ด ดอกเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีเทาอมขาว ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแตกออกเป็น 5 กลีบ (กลีบดอกมี 5 กลีบ) กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ปลายกลีบดอกแหลม ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน
       ผลแสลงใจ ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีส้มแดง ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 3-5 เมล็ด
       เมล็ดแสลงใจ เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปกลมแบน คล้ายรูปโล่หรือกระดุม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ผิวเมล็ดเป็นสีเทาอมสีเหลือง และมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีขาวขึ้นปกคลุมคล้ายกำมะหยี่ เมล็ดแสงใจในภาษาอังกฤษ จะเรียกว่า Button Seed หรือ Dog Button ส่วนในตำรับยาฝรั่งจะเรียกว่า นุกซ์ โวมิกา (Nux Vomica) ซึ่งหมายถึงเมล็ดแข็งที่ทำให้อาเจียน ส่วนจีนจะเรียกเมล็ดแสงใจว่า "โฮ่งบ๋วยจี้" และ "หม่าเฉียนจื่อ" (จีนกลาง) ส่วนไทยเรียกว่า "เมล็ดแสลงใจ", "เม็ดกาจี๊", "ลูกกะจี้" แต่ในตำรับยาไทยนั้นจะเรียกเมล็ดแก่แห้งว่า "โกฐกะกลิ้ง" หรือ "โกกกักกลิ้ง" ซึ่งในสมัยก่อนนั้นจะใช้เมล็ดในด้านการเบื่อสัตว์ สาร Strychnine ที่อยู่ในเมล็ดอาจจะอยู่ในรูปของผงแป้ง (ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่มีรสขมมาก) หรือในรูปของสารละลายแอลกอฮอล์ (trychnine alkaloid) ส่วนเมล็ดที่ทำมาเป็นยาน้ำสีเหลืองจะเรียกว่า "ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา" (Tincture Nux vomica)

สรรพคุณของแสลงใจ
1. เมล็ดแก่แห้ง (โกฐกะกลิ้ง) ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำย่อย ด้วยการนำเมล็ดมาดองกับเหล้ากิน แต่ต้องใช้ในปริมาณที่น้อย เพราะใช้มากจะเป็นพิษ (เมล็ด)
2. ช่วยบำรุงประสาท (เมล็ด)
3. เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงหัวใจให้เต้นแรงขึ้น (เมล็ด)
4. เมล็ดมีรสเมาเบื่อขม เป็นยาเย็น มีพิษมาก ก่อนนำมาใช้ต้องผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษก่อน โดยมีสรรพคุณเป็นยากระจายเลือดลม ทำให้เลือดเย็น แก้เลือดร้อน ช่วยทะลวงเส้นลมปราณ (เมล็ด)
5. เมล็ดใช้ในปริมาณต่ำจะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยกระตุ้นระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนของเลือด (เมล็ด)
6. เมล็ดเป็นยาบำรุงประสาทอย่างแรง (เมล็ด)
7. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยตัดพิษไข้ ตัดพิษกระษัย (เมล็ด)
8. รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย (ราก)
9. ช่วยแก้โรคโปลิโอในเด็ก (เมล็ด)
10. รากมีรสเมาเบื่อขม ใช้กินเป็นยาแก้ท้องขึ้น (ราก)
11. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ (เมล็ด)
12. ช่วยแก้โรคไตพิการ (ใบ)
13. รากใช้ฝนกับน้ำกินและทาแก้อาการอักเสบจากงูกัด (ราก)
14. ใบมีรสเมาเบื่อขม ใช้ตำกับเหล้าพอกปิดแผลเรื้อรังเน่าเปื่อย (ใบ)
15. ช่วยแก้ฝีต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก (เมล็ด)
16. ใช้แก้มะเร็งที่บริเวณผิวหนัง (เมล็ด)
17. ใบใช้ตำพอกแก้อาการฟกช้ำ (ใบ) ส่วนเมล็ดใช้ภายนอกก็เป็นยาแก้ฟกช้ำดำเขียวได้เช่นกัน (เมล็ด)
18. แก่นใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อย (แก่น)
19. เมล็ดมีสรรพคุณแก้ปวดบวม แก้อัมพฤกษ อัมพาต ช่วยขับลมชื้น แก้เหน็บชาและรูมาติซั่ม (เมล็ด)
20. ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา (Tincture Nux vomica) ซึ่งทำมาจากเมล็ดของต้นแสลงใจจะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงประสาท ช่วยทำให้มีกำลังรู้สึกเฉียบแหลมขึ้น บำรุงเส้นประสาทชนิดโมเตอร์ ให้กระเพาะและลำไส้ขย้อนอาหารและขับน้ำไฟธาตุ ช่วยบำรุงธาตุ ทำให้ตัวเย็น แก้โลหิตพิการ แก้โรคอันเกิดจากปากคอพิการ แก้คลื่นเหียน เป็นยาระบายอย่างอ่อน ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร ใช้เป็นยาบำรุงความกำหนัด ใช้แก้โรคอัมพาต เส้นตายและเนื้อชาไม่รู้สึก ใช้แก้ประสาทพิการ เส้นตาย เป็นเหน็บชาต่าง ๆ แก้พิษงู พิษตะขาบ พิษแมลงป่อง (ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา)
หมายเหตุ : เมล็ดมีพิษมาก ก่อนนำมาใช้เป็นยาต้องนำมาผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษออกก่อน ด้วยการนำเมล็ดแสลงใจมาคั่วกับทราย จนเมล็ดมีสีน้ำตาลเข้มพองตัวออกและแตกอ้า แล้วจึงนำเมล็ดมาปอกเปลือกเพื่อกำจัดขน และนำไปแช่ในน้ำปูนขาว 2 คืน ครบแล้วจึงนำออกมาตากแดดให้แห้ง แล้วหั่นเป็นแผ่น ๆ หรือบดให้เป็นผง จึงจะสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ (จะใช้วิธีต้มหรือย่างเพื่อลดปริมาณของสารพิษก็ได้) โดยเมล็ดที่ผ่านกรรมวิธีการกำจักพิษแล้ว ขนาดที่ใช้สำหรับเด็กอายุ 1-4 ขวบ ให้ใช้ครั้งละ 0.2 กรัม วันละ 2-3 ครั้ง ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้ใช้ครั้งละ 0.3-0.6 กรัม วันละ 2-3 ครั้ง[4] ส่วนทิงเจอร์นักสะวอมมิกา (Tincture Nux vomica) ให้รับประทานได้ 5-15 หยด

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรแสลงใจ
1. ในเมล็ดมีสาร Brucine หากนำมาใช้ในปริมาณมากจะเป็นพิษ โดยจะออกมีฤทธิ์กระตุ้นเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้เบื่อเมา ทำให้มีอาการกลืนอาหารลำบาก กล้ามเนื้อเกร็งแข็ง และชักกระตุก และอาจทำให้เสียชีวิตได้
2. การรับประทานแต่น้อย แต่รับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะเป็นอันตรายต่อตับ
3. สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตรไม่ควรรับประทานยานี้ (ในบางประเทศไม่ยอมรับสมุนไพรชนิดนี้ว่าเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรค)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาแสลงใจ
1. เมล็ดแสลงใจมีสารอัลคาลอยด์อยู่ประมาณ 1.5-5% ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น Stryhcnine, Brucine, Vomicine, Pseudostrychnine, N-methylses-pseudobrucine และยังพบ Chlorogenic acid, น้ำมันและโปรตีน 11% เป็นต้น[4] ซึ่งส่วนมากจะเป็นสารจำพวก Strychnine อยู่ประมาณ 1/3-1/2 ในสารอัลคาลอยด์ทั้งหมด สารนี้จะอยู่ตรงกึ่งกลางของเมล็ด มีความเป็นพิษและมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทไขสันหลัง นิยมใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ จึงห้ามนำมาใช้เกิดขนาดเพราะอาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ยังมีสาร Brucine ที่อยู่ด้านนอกติดกับเปลือกเมล็ด มีรสขมจัด ละลายได้ดีทั้งในน้ำและในแอลกอฮอล์ แต่จะมีฤทธิ์อ่อนกว่า Strychnine ปัจจุบันไม่นิยมใช้เป็นยารักษาโรคแล้ว
2. สารในกลุ่มอัลคาลอยด์ จำนวน 3 ชนิด (strychnine, pseudostrychnine, icajine) ใน 6 ชนิดจากเมล็ดของแสลงใจ เมื่อนำมาทดสอบกับเซลล์มะเร็งของมนุษย์ พบว่ามีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ โดยสาร strychnine ให้ผลกับ human carcinoma cell line KB, human leukemia cell line HL-60, human gastric carcinoma cell line BGC ส่วนสาร pseudostrychnine ให้ผลกับ human carcinoma cell line KB, human gastric carcinoma cell line BGC, human hepatic carcinoma cell line BEL-7402 และสาร icajine ให้ผลกับ human carcinoma cell line KB, human gastric carcinoma cell line BGC
3. ผงอัลคาลอยด์ Stryhcnine 1 เกรน สามารถเบื่อสุนัขได้ 1 ตัว โดยก่อนตายจะมีอาการชักกระตุกจนตายภายใน 1-3 ชั่วโมง (การฆ่าสัตว์ถือเป็นบาป ไม่ควรทำครับ ขอให้รู้ว่ามันอันตรายมากแค่ไหนก็พอ)
4. จากรายงานทางคลินิก โดยทดลองใช้รักษาอาการประสาทกล้ามเนื้อสามเหลี่ยมบนใบหน้าแข็งชา ด้วยการนำเมล็ดแสลงใจมาหั่นเป็นแผ่น ๆ แล้ววางบริเวณใบหน้าที่มีอาการชาหรือกระตุก โดยเปลี่ยนยาทุก ๆ 7-10 วัน จนกว่าจะหาย จากการรักษาพบว่าสามารถรักษาคนไข้ให้หายดีได้ประมาณ 80%[4]
5. ความเป็นพิษของเมล็ดแสลงใจ พบว่าหากรับประทานมากกว่า 5 มิลลิกรัม ของ Strychnos หรือประมาณ 30-50 มิลลิกรัมของผงยา จะทำให้มีอาการกระวนกระหาย หายใจลำบาก อาจเกิดอาการชัก และอาจทำให้ตายได้
6. สาร Strychnine สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในระบบทางเดินอาหาร เยื่อบุจมูก หรือบริเวณที่ฉีดเข้าไป เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ และจากถูก metabolite ที่ตับเป็นส่วนใหญ่ ประมาณ 10-20% จะถูกขับออกในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลงทางไต โดยสาร Strychnine มีค่าครึ่งชีวิตอยู่ที่ประมาณ 10-15 ชั่วโมง อาการของผู้ป่วยที่ได้รับ Strychnine มักจะเกิดขึ้นใน 10-20 นาทีหลังรับประทาน โดยผู้ป่วยอาจมีอาการตั้งแต่การกระตุกเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทั่วไปจนถึงมีอาการชักได้ ในบางรายอาจมีอาการชักจนตัวแอ่น โดยอาการชักมะจะเกิดในขณะที่ผู้ป่วยยังมีสติหรือรู้สึกตัว ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บปวดในขณะที่กระตุกได้ ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายของการเกร็งตัวชนิดนี้ก็คือ ทำให้การหายใจล้มเหลวและอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลายตัว จนเกิดมีไตวายตามมาภายหลังได้ ในทางเภสัชกรรมไทยจึงจัดให้เมล็ดแสลงใจเป็นพืชอันตราย แม้ในบางประเทศจะเคยใช้สาร Strychnine เพื่อรักษาโรคบางอย่าง แต่ภายหลังก็ได้ยกเลิกใช้ไปแล้ว เนื่องจากมีอันตรายและมีความเป็นพิษสูง

ประโยชน์ของแสลงใจ
1. เมล็ดใช้เป็นยาเบื่อหนูและสุนัข หรือนำไปป่นใช้เป็นเบื่อปลาก็ได้ บางข้อมูลระบุว่าเปลือกและรากของต้นแสลงใจถูกนำไปสกัดเป็นยาพิษที่มีชื่อว่า ยาพิษคูแร (curare) ของชนเผ่าอินเดีย
    แดง โดยจะใช้อาบปลายลูกศรเพื่อใช้นำไปใช้ในการล่าสัตว์
2. เนื้อไม้ของต้นแสลงใจเป็นไม้เนื้ออ่อน ตกแต่งได้ง่าย ปลวกไม่ชอบกิน สามารถนำมาใช้ทำเป็นของเล่นสำหรับเด็ก เครื่องแกะสลัก ด้ามเครื่องมือทางการเกษตรได้ ฯลฯ

คำสำคัญ : แสลงใจ

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แสลงใจ. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1611

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1611&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ก้นจ้ำขาว

ก้นจ้ำขาว

ต้นก้นจ้ำขาวเป็นพืชล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นสัน ใบก้นจ้ำขาวใบเป็นใบประกอบขนนกชั้นเดียว มี 3 ใบย่อย แผ่นในรูปไข่ ปลายใบแหลม ของใบหยัก ฐานใยมน เนื้อใบบาง ดอกก้นจ้ำขาวดอก เป็นดอกช่อกระจุกแน่น ออกที่ปลายยอดและซอกใบ ก้านช่อดอกยาว วงใบประดับมี 2 ชั้น แยกกัน ดอกวงนอกมีกลีบดอกรูปลิ้น สีขาว ไม่สมบูรณ์เพศ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีเหลือง เกสรเพศผู้สีน้ำตาล เกสรเพศเมียสีเหลืองปลายแยกเป็น 2 แฉก ผลก้นจ้ำขาวผลเป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน มีแพปพัสเป็นหนามสั้น 2 อัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,496

มะกรูด

มะกรูด

หลายๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทpมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 8,301

ไข่เน่า

ไข่เน่า

ต้นไข่เน่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-25 เมตร ผิวลำต้นเกลี้ยงเป็นสีหม่นและมีด่างเป็นดวงสีขาวๆ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเปลือกมีสีเทาหรือสีน้ำตาลแกมสีเหลือง ลักษณะผิวเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด หรือเป็นร่องตื้นตามความยาวของลำต้น ส่วนกิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนนุ่ม กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนต้นเป็นทรงเรือนยอดรูปกรวยแตกกิ่งต่ำ เจริญเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง โดยจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 ปีหลังการปลูก

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 6,900

งาขาว

งาขาว

งาขาว (White Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น งาขาว, งาดำ ซึ่งงานั้นเป็นพืชสมุนไพรที่เรารู้จักกันดี และงานั้นมักจะโรยอยู่ในขนมต่างๆ มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แถมยังมีคุณค่าทางด้านโภชนาการสูงอีกด้วย จนแทบไม่น่าเชื่อว่างาเม็ดเล็กๆ อย่างนี้จะสามารถอัดแน่นไปด้วยคุณค่ามากมายถึงเพียงนี้ได้อย่างไร และมีการใช้เมล็ดงาเพื่อประกอบอาหารกันมากโดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง และเอเชีย

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,427

กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดงนั้นเป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีสีม่วงอมแดง เป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปฝ่ามือมี 3 แฉก หรือ 5 แฉก ขอบใบเป็นฟันเลื่อย ความกว้างและยาวประมาณ 8 – 15 เซนติเมตร ส่วนดอกนั้นออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ กลีบดอกชมพูหรือเหลือง ก้านดอกสั้น มีประมาณ 8-12 กลีบ เมื่อดอกกระเจี๊ยบแดงเจริญเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร และผลนั้นจะมีปลายแหลมเป็นรูปรี ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร เมื่อผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่จะแตกออกเป็น 5 แฉก เมล็ดสีน้ำตาล ตลอดจนตัวผลจะมีกลีบเลี้ยงสีแดงหนาชุ่มน้ำหุ้มผลไว้

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 8,257

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ใบฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบรียาว ปลายใบแหลม ดอกฟ้าทะลายโจร ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีดอกย่อย กลีบดอกมีสีขาวโคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ (มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่) ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นฝัก ฝักจะคล้ายกับฝักต้อยติ่ง (หรือเป๊าะแป๊ะ) ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ฝักจะเป็นสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,294

หูเสือ

หูเสือ

หูเสือเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำยอดหรือต้น ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ที่มีอินทรีวัตถุสูง ชอบความชื้นมาก และแสงแดดปานกลาง พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วทุกภาคของประเทศ แต่พบได้มากทางภาคเหนือ ถือเป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,259

กุ่มบก

กุ่มบก

กุ่มบก (Sacred Barnar) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียกผักก่าม เขมรเรียกถะงัน หรือสะเบาถะงัน เป็นต้น ซึ่งกุ่มบกนั้นมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนภาคกลางและใต้ของไทย รวมทั้งในพุทธประวัติยังได้กล่าวไว้ว่าขณะที่พระพุทธเจ้าทรงนำห่อบังสุกุลที่ห่อศพนางมณพาสีไปซักแล้วนำไปตากไว้ที่ต้นกุ่ม และเทวดาที่สถิตอยู่ในต้นกุ่มก็ได้น้อมกิ่งลงมาให้พระพุทธเจ้าได้ทรงตากจีวรอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,511

กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,431

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร ยา น้ำมนต์ที่อาบให้บทหนึ่ง ชินบัญชรนี้ สัมพุทโธ รวม แล้วอ้ายพวกต่ออายุนะโมเม มะหิติโต เอาแต่หัวข้อก็ได้ แล้วตำราของพ่อแม่ที่เป็นของปู่ สมุนไพรี ตำราน้ำมนต์ไม่รู้เลย ยาเขาได้ น้ำมนต์ไม่ได้เลย เสียดายเมื่อพ่อสังพ่อตำราดี ๆ ทั้งนั้น รักษาคน เมื่อก่อนต้องมีการไหว้ครู ต้องมีข้าวต้มขาว ใบศรี เมื่อก่อนตุ๊กแก้ม (จิ้งจก) ตกใส่ตู้ยังตายเลย เมื่อสังขารแม่ยังอยู่ลูก ๆ ไม่เจ็บป่วย เข้าไว้ทุกปี ปวดหัวปวดตา ไว้บนวันนี้สองวันก็หาย

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 857