ว่านมหาเมฆ

ว่านมหาเมฆ

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้ชม 6,918

[16.4258401, 99.2157273, ว่านมหาเมฆ]

ว่านมหาเมฆ ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma aeruginosa Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
สมุนไพรว่านมหาเมฆ มีชื่อเรียกอื่นว่า ขมิ้นดำ ว่านขมิ้นดำ (เชียงใหม่), กระเจียวแดง, มหาเมฆ, อาวแดง, ขิงเนื้อดำ, ขิงดำ, ขิงสีน้ำเงิน, เหวินจู๋ เอ๋อจู๋ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของว่านมหาเมฆ
         ต้นว่านมหาเมฆ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 80-150 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อน หรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน จึงมีคนเรียกว่า "ขิงดำ" หรือ "ขิงสีน้ำเงิน" ความยาวของเหง้ามีขนาดประมาณ 12 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หัวหรือเหง้าเมื่อเก็บไว้นานหลายปีจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี มักขึ้นตามดินทราย ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และในป่าราบทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศ 
         ใบว่านมหาเมฆ ใบจะแทงขึ้นมาจากเหง้าที่โคนใบจะมีกาบใบสีม่วงอมเขียวเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ในต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 4-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-20 เซนติเมตร และยาวประมาณ 18-60 เซนติเมตร ตรงกลางใบจะมีสีม่วงแดง กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ไปจนถึงปลายใบ
         ดอกว่านมหาเมฆ ออกดอกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากเหง้าและมีกาบใบห่อหุ้มอยู่ กาบใบยาวประมาณ 12-20 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมรี กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพูแดง มีประมาณ 20 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ บริเวณโคนกลีบดอกเป็นสีขาว กลีบดอกมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 1 อัน และเกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่มี 3 รัง
         ผลว่านมหาเมฆ ออกผลเป็นพวง ลักษณะเหมือนดอกระกำหรือดอกคำ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่สามเหลี่ยม ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปกลมมีเนื้อสีขาวใสหุ้มอยู่
         หมายเหตุ : หัวว่านและเนื้อในหัวว่านมหาเมฆจะมีลักษณะคล้ายกับว่านหลายชนิด เช่น ว่านขมิ้นชัน ว่านคันทมาลา ว่านใจดำ ฯลฯ แต่จุดแตกต่างที่ชัด คือ เหง้าของว่านคันทมาลาจะมีลักษณะอวบอ้วนกว่า ข้อตามเหง้าถี่กว่า แง่งสั้นมองเห็นได้ชัด ส่วนเหง้าของว่านมหาเมฆจะมีตาสีชมพูเหมือนว่านใจดำ แต่ข้อมีสีดำและห่างกว่าว่านคันทมาลา ขณะที่ว่านใจดำข้อบนเหง้ามีสีน้ำตาล และต่างกับว่านขมิ้นชันตรงที่เนื้อในหัวแก่ของว่านขมิ้นชันจะเป็นสีเหลืองเข้ม

สรรพคุณของว่านมหาเมฆ
1. เหง้าว่านมหาเมฆมีรสขมเผ็ด เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อตับและม้าม ใช้เป็นยากระจายเลือดลม (เหง้า)
2. เหง้าใช้เข้าตำรับยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย (เหง้า)
3. เหง้าใช้เป็นยาแก้โรคธาตุพิการ ด้วยการใช้เหง้าสดมาโขลกให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว คั้นเอาแต่น้ำกิน (เหง้า)
4. ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้อาเจียน (เหง้า)
5. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคหอบหืดหายใจไม่ปกติ แก้ไอ (เหง้า)
6. ใช้เป็นยาแก้ลมขึ้น แก้จุกเสียดแน่นหน้าอก ขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ (เหง้า)
7. เหง้านำมาหั่นเป็นแว่นสดหรือตากแห้งต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง โรคกระเพาะ รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ (เหง้า)
8. เหง้านำมาหั่นแล้วนำไปดองกับเหล้ากินเป็นยารักษาอาการท้องร่วงได้ดีมาก (เหง้า)
9. ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิเส้นด้าย ให้กินเหง้าสดกับน้ำสะอาดหรือน้ำสุกก่อนเข้านอน เพียง 3 วัน ตัวพยาธิในร่างกายก็จะตายหมด (เหง้า)
10. เหง้าใช้เป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติเนื่องจากเส้นเลือดของมดลูกอุดตัน (เหง้า)
11. เหง้านำมาหั่นแล้วนำไปดองกับเหล้าหรือนำมาต้มกับน้ำกิน เป็นยาสำหรับสตรีที่คลอดลูกใหม่ ๆ อยู่เรือนไฟ เป็นยาช่วยแก้อาการปวดมดลูก มดลูกอักเสบ และช่วยชักมดลูกให้เข้าอู่เร็ว
      ขึ้น รัดมดลูก ทำให้ยุบตัวเร็ว (เหง้า)
12. ช่วยคลายและกระจายก้อนเนื้อในร่างกาย หรือซีสต์ในมดลูก (เหง้า)
13. ใช้รักษาโรคมะเร็งปากมดลูกระยะแรก (เหง้า)
14. ช่วยรักษาตับและม้ามโต (เหง้า)
15. เหง้าใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผลและต้านเชื้อรา (เหง้า)
16. เหง้าใช้เป็นยาประคบผิวหนังแก้อาการคัน (เหง้า)
17. ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว (เหง้า)
ขนาดและวิธีใช้ : ให้ใช้ยาแห้งครั้งละ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้เข้ากับตำรายาอื่นได้ตามต้องการ
ข้อควรระวัง : สตรีมีครรภ์ หรือผู้ที่มีอาการเลือดลมพร่องหรือม้ามและกระเพาะหย่อน ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของว่านมหาเมฆ
1. ในเหง้าพบน้ำมันซึ่งมีสารที่ประกอบไปด้วย Curcumenol, Curdione, Curzerenone, Germacene, Isofrtungermacrene, Zedoarone และยังพบแป้ง เป็นต้น (สารที่พบจากเหง้าของ
    ว่านมหาเมฆ คล้ายกับสารที่พบในเหง้าของขมิ้นอ้อย แต่จะไม่พบสาร Cucurmin ซึ่งเป็นสารที่ให้สีเหลืองของขมิ้นอ้อย)
2. น้ำมันจากเหง้าว่านมหาเมฆมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Bacillus inuza, Staphylococcus, เชื้ออหิวาต์ และเชื้อในลำไส้ใหญ่ได้หลายชนิด
3. สาร Curdione จากเหง้าว่านมหาเมฆมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli, Salmonella typhi, Klebsiella. Pneumoniae และ Stophylococcus aureus
4. เมื่อนำสารที่สกัดได้จากเหง้ามาฉีดเข้าช่องท้องของหนูทดลองที่เป็นโรคมะเร็งในตับ หรือเป็นเนื้อร้าย 180 พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ แต่ถ้านำสารสกัดมาให้
    หนูทดลองดังกล่าวกิน พบว่าจะไม่มีผลในการรักษา
5. เมื่อนำน้ำมันจากเหง้ามาให้คนหรือสัตว์กิน พบว่าจะมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะและลำไส้ให้มีการขยับและบิดเคลื่อนไหวตัว ทำให้สามารถขับลมในกระเพาะและลำไส้ได้ อีกทั้งยังช่วยแก้
    อาการปวดกระเพาะและลำไส้ได้อีกด้วย
6. สารสกัดชั้นน้ำยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV-1 และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HIV-1 protease (IC50 : 500 mcg/ml) (Otake et al.,1995)

ประโยชน์ของว่านมหาเมฆ
1. ดอกสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารรับประทานได้ โดยนิยมนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก
2. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเพื่อใช้เป็นยาสมุนไพรทั่วไปอย่างแพร่หลายในมาเลเซีย อินเดีย และประเทศในแถบอินโดจีนสำหรับการปลูกนั้นควรปลูกในดินร่วนปนทรายผสมดินลูกรัง
    แดง และให้วางหัวว่านโผล่พ้นดินขึ้นมาเล็กน้อย ว่านชนิดนี้ชอบแสงแดด จึงควรนำมาปลูกในที่กลางแจ้ง
3. ในด้านของความเชื่อ มีความเชื่อกันว่าหากเกิดจันทรุปราคา ให้นำหัวว่านมหาเมฆมาปลุกเสกด้วยคาถา (เสกจนพระจันทร์มืดมิด) แล้วนำหัวว่านมาทาบตัว จะทำให้ผู้อื่นมองไม่เห็นตัวเรา
    และหากปรารถนาสิ่งใดก็จะสมดั่งปรารถนา หรือหากนำมารับประทานก็จะเป็นคงกระพันชาตรี

คำสำคัญ : ว่านมหาเมฆ

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ว่านมหาเมฆ. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1610

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1610&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระตังใบ (กระตังบาย)

กระตังใบ (กระตังบาย)

ต้นกระตังใบเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นเกลี้ยง หรือปกคลุมด้วยขนสั้นๆ ใบกระตังใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 1-3 ชั้น ใบย่อยมี 3-7 ใบ ถึงจำนวนมาก ปลายใบคี่ เรียงแบบสลับ ใบย่อยออกเป็นคู่ตรงข้าม หูใบรูปไข่กลับ แผ่เป็นแผ่นกว้าง มักจะเกลี้ยง หรือมีขนประปราย หูใบร่วงง่าย ทำให้เกิดรอยแผลเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง เกลี้ยง หรือมีขนสั้นปกคลุม ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรี ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบ หรือกลม หรือเว้า เล็กน้อย 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,610

ชิงชัน

ชิงชัน

ชิงชันเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงถึง 25 เมตร เปลือกหนา สีน้ำตาลเทา กระเทาะล่อน เป็นแผ่นขนาดเล็ก เปลือกในสีเหลือง ยอดและใบอ่อนออกสีแดง เกลี้ยงหรือมีขนเพียงเบาบาง ใบชิงชันเป็นช่อ มีใบประกอบย่อย 11-17 ใบ มีลักษณะยาวรี รูปขอบขนานแกมรูปหอก ฐานใบมนกลม ปลายใบมนทู่และหยักเว้าเล็กน้อย ทางด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ ดอกชิงชันสีขาวอมม่วง ออกเป็นช่อดอกเชิง ประกอบตามปลายกิ่ง ดอกจะเกิดพร้อมกับการผลิตใบใหม่ เกสรผู้แยกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 3,088

ผักตบไทย

ผักตบไทย

ผักตบไทย มีถิ่นกำเนิดในแถบเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี อาศัยอยู่ในน้ำ มีเหง้าใหญ่ แตกลำต้นเป็นกอ มีความสูงได้ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นอยู่ใต้ดิน ชูก้านใบเหนือระดับน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือแยกต้นอ่อนไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามแหล่งน้ำจืด ริมหนองน้ำ คลองบึง ที่ชื้นแฉะ โคลนตม และตามท้องนาทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,008

มะขาม

มะขาม

มะขามจัดเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในทวีฟแอฟริกาและมีการนำเข้ามาปลูกในแถบเอเชีย นอกจากนี้มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ และตามตำราพรหมชาติยังถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้าย ผีร้ายต่างๆ ไม่ให้มากล้ำกราย อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อมงคล ถือกันเป็นเคล็ดทำให้มีคนเกรงขาม สำหรับประโยชน์ของมะขามและสรรพคุณมะขามนั้นมีมากมาย จัดว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและยังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคอีกด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,802

มะกรูด

มะกรูด

หลายๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทpมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 8,300

ผักกาดหัว

ผักกาดหัว

ผักกาดหัวตามตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานผักกาดหัวไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่างๆ เหล่านี้ก็จะได้รับการบรรเทาให้ดีขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวผักกาดกับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปสะเทินฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่าเข้าใจผิดไปว่าหัวผักกาดนี้มันจะไปทำลายฤทธิ์ของยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ทั้งหมด และการรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆ นั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,858

กระเบียน

กระเบียน

ต้นกระเบียน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เรือนยอดค่อนข้างเล็ก ไม่เป็นรูปทรง เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแกมน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาลหม่น ล่อนออกเป็นแผ่นบางๆ กิ่งก้านแข็งแรงหรืออาจมีหนามตรงออกเป็นคู่ที่ข้อ มักขึ้นเป็นกลุ่มหรือขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเป็นรูปไข่กลับ กลม หรือรูปรี ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบเรียวไปจนถึงก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนนุ่ม ก้านใบสั้นมาก มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยม 1 คู่ อยู่ตรงข้ามกัน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 4,906

จอก

จอก

ลักษณะทั่วไป วัชพืชน้ำขนาดเล็ก ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ มีระบบรากแก้วและมีรากฝอยจำนวนมาก อายุยืนหลายปี เจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีไหล ต้นใหม่เกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล ใบเป็นใบเดี่ยวเกิดบริเวณส่วนโคน ของลำต้นเรียงซ้อนกันหลายชั้น ไม่มีก้านใบรูปร่างใบไม่แน่นอน บางครั้งรูปรี แต่วนมากเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายกลีบหยักลอนเป็นคลื่น ฐานใบมนสอบแคบ ขอบใบเรียบสีแดงมีขนขึ้นปกคลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน บริเวณบานใบพองออกมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายฟองน้ำ ทำให้ลอยน้ำได้ ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงกลางต้นหรือต้นโคนใบระหว่างกลาง ซึ่งดอกนั้นจะมีกาบหุ้มดอกอยู่ 2-3 อันมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,832

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ใบฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบรียาว ปลายใบแหลม ดอกฟ้าทะลายโจร ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีดอกย่อย กลีบดอกมีสีขาวโคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ (มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่) ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นฝัก ฝักจะคล้ายกับฝักต้อยติ่ง (หรือเป๊าะแป๊ะ) ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ฝักจะเป็นสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,293

ผักชีดอย

ผักชีดอย

ต้นผักชีดอย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 8-25 นิ้ว แตกกิ่งก้านสาขาใกล้กับโคนต้น มีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่จัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นตามดินหิน ทุ่งหญ้า หรือที่รกร้างทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,553