ชบา

ชบา

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้ชม 14,011

[16.4258401, 99.2157273, ชบา]

ชบา ชื่อสามัญ Shoe flower, Hibiscus, Chinese rose
ชบา ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus rosa-sinensis L. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
ชบา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า  ชุมเบา (ปัตตานี), ใหม่ ใหม่แดง (ภาคเหนือ), บา (ภาคใต้) เป็นต้น โดยต้นชบานั้นมีต้นกำเนิดในประเทศจีน อินเดีย และในหมู่เกาะฮาวาย

ลักษณะของดอกชบา :
        มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบค่อนข้างมนรี มีปลายแหลม ขอบของใบเป็นจักเล็กน้อย และมีสีเขียวเข้ม เมื่อขยี้ใบจะเป็นเมือกเหนียว ลักษณะดอกชบา มีทั้งกลีบชั้นเดียวและหลายชั้น หากเป็นชั้นเดียวปกติจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีก้านเกสรอยู่ตรงกลางดอกหนึ่งก้าน ลักษณะของกลีบดอกชบาจะมีขนาดใหญ่ มีหลายสีไม่ว่าจะเป็น ขาว แดง แสด เหลือง ม่วง ชมพู และสีอื่น ๆ โดยดอกชบาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ดอกบานเป็นรูปถ้วย, ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน, กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง และขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ การติดตา และการเสียบยอด

ประวัติดอกชบา 
        ความเชื่อของคนโบราณในบ้านเรานั้นยังมีอคติกับดอกชบาอยู่ อาจเป็นเพราะเราได้รับดอกชบามาจากอินเดีย จึงได้รับความเชื่อของคนอินเดียมาด้วย เพราะในอินเดียนั้นดอกชบาจะนำมาใช้บูชาเจ้าแม่กาลี และนำมาร้อยพวงมาลัยสวมคอนักโทษประหาร และความหมายของดอกชบาในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ จะใช้ดอกชบาไว้สำหรับลงโทษและประจานผู้หญิงร้ายหรือผู้หญิงแพศยา ด้วยการนำดอกชบามาทัดหูทั้ง 2 ข้าง และร้อยดอกชบาแดงเป็นมาลัยใส่ศีรษะและใส่คอ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนโบราณไม่นิยมใช้และมีอคติกับดอกชบานั่นเอง 
         แต่ความสวยงามของดอกชบานั้น ในต่างประเทศให้สมญานามดอกชบาว่าเป็น ราชินีแห่งไม้ดอกเมืองร้อน (Queen of tropic flower) เลยทีเดียว และยังจัดเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย จาไมก้า รวมไปถึงรัฐฮาวายอีกด้วย ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการนำมาทัดหูหรือแซมผม

สรรพคุณของดอกชบา
1. มีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส
2. ช่วยฟอกโลหิต
3. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคที่เกี่ยวกับไต
4. ช่วยดับร้อนในร่างกาย แก้กระหาย และช่วยแก้ไข้ ด้วยการใช้ดอกชบา 4 ใบนำมาแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้วแล้วดื่มต่างน้ำ (ดอก)
5. ช่วยเรียกน้ำย่อย ทำให้อาการมีรสชาติดีขึ้น ด้วยการใช้รากชบาน้ำไปต้มกับน้ำดื่ม
6. ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว ด้วยการใช้ดอกชบาสดประมาณ 4 ดอกนำมาตำให้ละเอียด แล้วกินตอนท้องว่างในช่วงเช้าติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจะนำดอกชบา
    มาตากให้แห้งในที่ร่ม แล้วนำมาบดเป็นผงกินครั้งละ 1 ช้อนชาติดต่อกัน 1 สัปดาห์ (ดอก)
7. ช่วยแก้ประจำเดือนไม่มา หรือมาช้า ด้วยการใช้ดอกชบา 3 ดอกนำมาบดให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ (หรือจะผสมกับนม 1 แก้วก็ได้) แล้วนำมาดื่มตอนท้องว่างในช่วง
    เช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ (ดอก)
8. ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงประจำเดือน ด้วยการใช้กลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊ปอย่างละเท่า ๆ กัน ใส่ลงไปในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วไปตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 3
    สัปดาห์ น้ำตาลก็จะละลายผสมกับดอกชบา แล้วยำมากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละสองครั้งติดต่อกันประมาณ 3 สัปดาห์ (ดอก)
9. ใบชบาสามารถช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ ด้วยการใช้ใบชบาหรือฐานของดอกชบาก็ได้ นำมาตำให้แหลก แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผล ก็จะช่วยรักษาแผลได้ (ใบ)
10. เปลือกต้นชบาสามารถใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราได้ (เปลือก)
11. รากสด ๆ ของชบาพันธุ์ดอกขาวหรือแดง นำมาตำละเอียดใช้พอกฝีได้ (ราก)
12. ช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม ด้วยการใช้รากสดของชบาพันธุ์ดอกขาวหรือแดงนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกแก้อาการฟกช้ำ (ราก)
13. ใบชบาช่วยบำรุงผมให้ดกดำเงางาม ด้วยการใช้ใบชบาประมาณ 1 กำมือ ล้างให้สะอาด แล้วนำมาตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย ให้คั้นเอาแต่น้ำแล้วกรองกากทิ้ง หลังจากนั้นให้ใช้น้ำ
      เมือกจากใบชบามาใช้สระผม จะช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกและช่วยบำรุงผมด้วย (ใบ)
14. สามารถนำมาใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีดำ เพราะในอดีตมีการนำมาใช้ย้อมผม ย้อมขนตา หรือนำไปทารองเท้า (จึงเป็นที่มาของ Shoe flower หรือดอกรองเท้านั่นเอง) (ดอก)
15. เปลือกของต้นชบาสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือก หรือใช้ทอกระสอบได้อีกด้วย (เปลือก)
16. ต้นชบานิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วเพื่อชมดอก เพราะนอกจากจะให้ความสวยงามแล้วยังปลูกง่าย แข็งแรง และตายยากอีกด้วย (ต้นชบา)
17. ดอกเหมาะสำหรับนำมาร้อยเป็นพวงมาลัย เพราะมีสีสดใสและดอกโต (หากไม่ยึดติดกับอคติในอดีต) เป็นดอกไม้ที่ทัดหูได้งดงามอีกชนิดหนึ่งเลยล่ะครับ

คำสำคัญ : ชบา

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ชบา. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1600

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1600&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

โทงเทง

โทงเทง

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้นล้มลุกระบบรากแก้ว  เนื้อไม้อ่อน  แตกกิ่งก้านมาก ทรงพุ่มสูง ประมาณ 40-60 ซม.  ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากลำต้นลักษณะเรียงสลับกัน รูปไข่ ค่อนข้างกลม ปลายใบแหลมสั้น ฐานใบโค้งมน ด้านบนแผ่นใบสีเขียว ก้านใบยาวประมาณ 2 – 4 ซม.มีขนขึ้นปกคลุมก้านใบ  ดอกเป็นดอกเดี่ยว เกิดตามซอกใบมีกลีบเลี้ยงเป็นแผ่นสีเขียวบาง ๆ 5 กลีบ มีขน กลีบเลี้ยงจะเจริญขยายใหญ่ขึ้นมากหุ้มผลคล้ายโคมไฟจีน กลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองอ่อน หรือสีเขียวอ่อน บริเวณส่วนฐานของกลีบ มีเกสตัวผู้ 5 อัน ติดที่ฐานกลีบดอก เกสรตัวเมียเป็นเส้นตรงและมีตุ้มที่ปลาย  รังไข่แบ่งเป็น 2 ห้อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,361

ผักปลาบช้าง

ผักปลาบช้าง

ผักปลาบช้าง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ส่วนโคนของลำต้นจะทอดราบกับพื้นก่อน แล้วจึงชูตั้งขึ้น ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อปล้อง ลำต้นอ่อนเป็นสีเขียวเมื่อแก่เป็นสีม่วงอ่อน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบความชุ่มชื้น ดินที่ปลูกจึงควรมีความชื้นให้มาก ในประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบขึ้นตามที่ชุ่มชื้นหรือลุ่มน้ำขังบริเวณชายป่าดิบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000-1,800 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,063

ดาวเรือง

ดาวเรือง

ดาวเรือง (African Marigold) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก คำปู้จู้หลวง ส่วนกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก พอทู เป็นต้น ซึ่งดอกดาวเรืองนั้นถือได้ว่าเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ มีหลากหลายสายพันธุ์ โดยในประเทศไทยของเรานั้นจะนิยมใช้ดอกดาวเรืองพันธุ์ซอเวอร์เรนมาใช้ประโยชน์ทางด้านการค้า เนื่องจากมีดอกที่ใหญ่ดูสวย โดยขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลักจะได้ต้นใหญ่สวย หรือจะปักชำก็ได้แต่ต้นที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่า เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนเพราะระบายน้ำได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,731

ผักโขมหนาม

ผักโขมหนาม

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง และแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ตามโคนต้น    จะเรียบ และเป็นมันแต่ส่วนปลายนั้นจะมีขนปกคลุมอยู่บ้างประปราย ลำต้นมีสีเขียวเป็นมัน แต่บางที่ก็มีสีแดง สูงประมาณ 1 – 2 ฟุต เป็นพรรณไม้ที่มีอายุแค่ปีเดียว ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบจะเป็นหอกปลายแหลม โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ขอบใบเป็นคลื่นทั้งสองด้านและที่สังเกตได้ง่ายคือที่โคนก้านใบจะมีหนามแข็งแรงอยู่ 1 คู่ ใบกว้างประมาณ 0.5 – 1.5 นิ้ว ยาว 1.5 – 4 นิ้วมีสีเขียว ดอกจะมีออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบ ซึ่งดอกนี้เพศผู้และเมีย จะแยกกันอยู่คนละดอก ดอกเพศเมียจะออกอยู่จะออกอยู่ตรงง่ามใบในลักษณะเป็นกลุ่ม ส่วนเพศผู้ออกตรงปลายกิ่ง เป็นเส้นกลีบดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ สีเขียวอ่อนสีขาวหรือสีเขียว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,369

จำปี

จำปี

จำปี (White Champaka) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกยืนต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จุ๋มปี๋ หรือจุมปี เป็นต้น อยู่ในวงศ์เดียวกับจำปี ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยบ้างก็ว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ หรือประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย โดยสามารถแบ่งสปีชีส์ออกได้ประมาณ 50 ชนิดเลยทีเดียว พร้อมสรรพคุณในต้นจำปีอีกมากมายที่ให้คุณประโยชน์และรักษาโรค อาการต่างๆ รวมถึงการนำมาใช้เพื่อทำสิ่งของต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ได้อีกมากมายเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,646

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง (Soya Bean, Soybean) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ถั่วหนัง, ถั่วเน่า, ถั่วพระเหลือง หรือถั่วแระ เป็นต้น ซึ่งถั่วเหลืองนั้นถือได้ว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของโลกกันเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นพืชที่ถือกำเนิดและรู้จักกันมาอย่างยาวนานประมาณกว่า 4,700 ปีเลยทีเดียว โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ส่วนของไทยเรานิยมปลูกมากทางภาคเหนือและภาคกลางตอนบน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,839

รากสามสิบ

รากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,430

เถาตดหมา

เถาตดหมา

เถาตดหมา จัดเป็นไม้เถาเนื้ออ่อนล้มลุก มักเลื้อยตามพื้นดิน ลำต้นเล็กและเรียว เถานั้นมีความยาวได้ประมาณ 4 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยมหรือมีปีกแคบ ๆ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่ในมาดากัสการ์ แอฟริกา ศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า จีน ภูมิภาคอินโดจีน และในประเทศมาเลเซีย จนถึงทางตอนบนของออสเตรเลีย ส่วนในประเทศพบขึ้นเป็นวัชพืชทั่วทุกภาค โดยมักพบขึ้นตามที่โล่ง ท้องไร่ ท้องนา ข้างถนน ชายป่า ริมลำธาร หรือชายทะเล 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,381

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาทเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร กิ่งก้านกลม มีสีเทา เปลือกมีสีน้ำตาลแก่ ผิวบางและเรียบ เนื้อไม้ข้างในมีสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 ซม. ยาว 9-22 ซม. เนื้อใบหนาทึบ หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบฟัน เส้นใบมีประมาณ 14-16 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 9-16 มม. ดอกออกเป็นช่อกระจายตรงซอกใบ ช่อละ 5-10 ดอก ยาวประมาณ 16-18 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,825

กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,554