จันผา

จันผา

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้ชม 15,733

[16.4258401, 99.2157273, จันผา]

จันผา ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena cochinchinensis (Lour.) S.C.Chen. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Dracaena loureiroi Gagnep. มักเขียนผิดเป็น Dracaena loureiri Gagnep.) ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง (ASPARAGACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย NOLINOIDEAE
สมุนไพรจันผา มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า จันทน์ผา (ภาคเหนือ), จันทน์แดง (ภาคกลาง, สุราษฎร์ธานี), ลักกะจันทน์ ลักจั่น (ภาคกลาง), จันทร์ผาลักกะจั่นจันทร์แดง เป็นต้น

ลักษณะของจันผา
        ต้นจันผา จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง หรือเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 1.5-4 เมตร (ต้นโตเต็มที่อาจมีความสูงถึง 17 เมตร) เรือนยอดเป็นรูปทรงไข่ มีเรือนยอดได้ถึง 100 ยอด เมื่อต้นโตขึ้นจะแผ่กว้าง ลำต้นตั้งตรง กลม มีแผลใบเป็นร่องขวางคล้ายข้อถี่ ๆ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว ไม่มีกิ่งก้าน ใบจะออกตามลำต้น ส่วนแก่นไม้ด้านในเป็นสีแดง ต้นเมื่อมีอายุมากขึ้นแก่นจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีแดง เราจะเรียกแก่นสีแดงว่า "จันทน์แดง" เมื่อแก่นเป็นสีแดงเต็มต้น ต้นก็จะค่อย ๆ โทรมและตายลง พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะกล้าจากเมล็ดหรือการแยกกอ ชอบดินปนทรายหรือหินที่มีการระบายน้ำดี ความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดเต็มวันและแสงรำไร มักพบขึ้นตามป่าภูเขาหินปูนสูง ๆ และมีแสงแดดจัด
        ใบจันผา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันถี่ ๆ ที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรีขอบขนาน หรือเป็นรูปแถบยาวแคบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 45-80 เซนติเมตร เนื้อใบหนากรอบ โคนใบจะติดกับลำต้นหรือโอบคลุมลำต้น ไม่มีก้านใบ และมักจะทิ้งใบเหลือเพียงยอดเป็นพุ่ม
         ดอกจันผา ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายยอด โค้งห้อยลง ออกดอกเป็นพวงใหญ่ตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อจะมีความยาวประมาณ 45-100 เซนติเมตร มีดอกย่อยขนาดเล็กและมีจำนวนมากมายหลายพันดอก ดอกเป็นสีขาวนวล หรือขาวครีม หรือเขียวอมเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม ตรงกลางดอกมีจุดสีแดงสด กลีบดอกมี 6 กลีบ ดอกมีขนาดประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้จำนวน 6 ก้าน ก้านเกสรมีความกว้างเท่ากับอับเรณู ส่วนก้านเกสรตัวเมียปลายแยกเป็นพู 3 พู ชั้นกลีบเลี้ยงเป็นหลอด ที่ปลายกลีบแยกเป็นพูแคบ ๆ 6 พู ไม่ซ้อนกัน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม
         ผลจันผา ออกผลเป็นช่อพวงโต ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นพวง ผลมีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียวอมสีน้ำตาล ส่วนผลแก่เป็นสีแดงคล้ำ ภายในผลมีเมล็ดเดียว โดยผลจะแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน

สรรพคุณของจันผา
1. แก่นมีรสขมเย็น ช่วยบำรุงหัวใจ (แก่น, ทั้งต้น)
2. แก่นที่มีเชื้อราลงจนทำให้แก่นเป็นสีแดงและมีกลิ่นหอมมีสีแดง (เรียกว่า จันทน์แดง[4]) มีรสขมและฝาดเล็กน้อย ใช้สำหรับเป็นยาเย็นดับพิษไข้ แก้ไข้ได้ทุกชนิด และจากการทดลองใน
    สัตว์พบว่าสารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ในการลดไข้ แต่ต้องใช้ในปริมาณมากกว่ายาแอสไพริน 10 เท่า และจะออกฤทธิ์ช้ากว่ายาแอสไพรินประมาณ 3 เท่า (แก่น, แก่นที่ราลง)
3. ช่วยแก้ไข้ แก้ไข้เพื่อดีพิการ (แก่น, เนื้อไม้)
4.3 ช่วยแก้ไอ แก้อาการไออันเกิดจากซางและดี (แก่น, เนื้อไม้)
5. เมล็ดใช้รักษาดีซ่าน (เมล็ด)
6. ช่วยแก้อาจมไม่ปกติ (เมล็ด)
7. ทั้งต้นช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ทั้งต้น)
8. ช่วยแก้ซาง (แก่น)
9. วยแก้อาการเหงื่อตก อาการกระสับกระส่าย (แก่น)
10. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (แก่น, ทั้งต้น)
11. ช่วยแก้ดีพิการ แก้น้ำดีพิการ (แก่น, เนื้อไม้)
12. ช่วยแก้บาดแผล รักษาบาดแผล (แก่น, ราก)
13. แก่นใช้ฝนทาช่วยแก้อาการฟกบวม ฟกช้ำ ฝี บวม (แก่น)
14. ช่วยแก้พิษฝีที่มีอาการอักเสบและปวดบวม (แก่น, ทั้งต้น)
15. จันผาจัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดเบญจโลธิกะ” ซึ่งประกอบไปด้วยตัวยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้ชื่นใจ 5 อย่าง (แก่นจันผา, แก่นจันทน์ขาว, แก่นจันทน์ชะมด, ต้นเนระพูสี, ต้นมหา
      สะดำ) ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อดี แก้ลมวิงเวียน กล่อมพิษทั้งปวง และช่วยแก้รัตตะปิตตะโรค (แก่น)
16. จันผาจัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดจันทน์ทั้งห้า” (แก่นจันผา (แก่นจันทน์แดง), แก่นจันทน์ขาว, แก่นจันทนา, แก่นจันทน์เทศ, แก่นจันทน์ชะมด) ซึ่งเป็นตำรับที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อ
      โลหิตและดี ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยบำรุงตับปอดและหัวใจ และช่วยแก้พยาธิบาดแผล (แก่น)
17. จันผาปรากฏอยู่ในตำรับยา “มโหสถธิจันทน์” อันประกอบไปด้วยจันทน์ทั้งสอง ได้แก่จันทน์แดง (จันผา) และจันทน์ขาว ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ อีก 13 ชนิด ซึ่งเป็นตำรับยาที่มี
      สรรพคุณช่วยแก้ไข้ทั้งปวงที่มีอาการตัวร้อนและมีอาการอาเจียนร่วมด้วยก็ได้ (แก่น)
18. จันผาปรากฏอยู่ในตำรับ “ยาจันทน์ลีลา” อันประกอบไปด้วยจันทน์แดง (จันผา) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ ซึ่งเป็นตำรับที่ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อนและไข้เปลี่ยนฤดู
      (แก่น)
19. จันผาปรากฏอยู่ใน “ตำรับยาเขียวหอม” ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษสุกใส แก้พิษหัด บรรเทาอาการไข้จากหัดและสุกใส
      (แก่น)
20. นอกจากนี้จันผาหรือจันทน์แดงยังปรากฏอยู่ในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) อันได้แก่ ตำรับยา “ยาหอมนวโกฐ” และตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” โดยเป็น
      ตำรับยาที่มีส่วนประกอบของจันผาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น มีอาการคลื่นเหียนอาเจียน และช่วยแก้ลมจุก
      แน่นในท้อง (แก่น)
21. จันผาจัดอยู่ในตำรับ “ยาประสะจันทน์แดง” (ประกอบไปด้วยจันทน์แดง (จันผา) จำนวน 32 ส่วน รากมะนาว รากมะปรางหวาน รากเหมือนคน โกฐหัวบัว จันทน์เทศ ฝางเสน เปราะหอม
      อย่างละ 4 ส่วน ดอกมะลิ ดอกบุนนาค ดอกสารภี และเกสรบัวหลวง อย่างละ 1 ส่วน นำมาบดเป็นผงสำหรับใช้เป็นยา)  ซึ่งตำรับยานี้มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ตัวร้อน และช่วยแก้กระหายน้ำ
      สำหรับวิธีใช้ให้นำผงยาที่ได้ (ผู้ใหญ่ให้ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ส่วนเด็กให้ใช้ครั้งละครึ่งช้อนกาแฟ) นำมาละลายในน้ำสุกหรือน้ำดอกมะลิ ใช้ดื่มทุก ๆ 3 ชั่วโมง (แก่น)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของจันผา
1. จันผามีฤทธิ์ต้านอาการปวด การอักเสบ และช่วยลดไข้ในสัตว์ทดลอง
2. มีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ต้านมะเร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรีย และมีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
3. จากการทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเนื้อไม้จันผาด้วยเอทานอล 50% ด้วยการให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และให้โดยวิธีการฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนู
    ทดลองในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษแต่อย่างใด

ประโยชน์ของจันผา
1. ต้นจันผาเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงาม อีกทั้งดอกยังมีกลิ่นหอม จึงใช้ปลูกเป็นไม้ประธานในสวนหิน ใช้ปลูกเป็นกลุ่ม หรือปลูกประดับในอาคาร ตามสนามหญ้า สวนหย่อม ตามสระว่ายน้ำ
    หรือจะปลูกตามริมทะเลก็ได้ เพราะเป็นไม้ทนลมแรง ทนเค็ม แต่ไม่ทนน้ำท่วมขัง
2. ส่วนของลำต้นที่เกิดบาดแผลนานเข้าจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง สามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงน้ำยาอุทัยได้

คำสำคัญ : จันผา

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จันผา. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1595

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1595&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เนื่องจากพบต้นที่มีลักษณะเป็นพืชป่าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และมีเขตการกระจายพันธุ์และนิยมบริโภคกันมากในประเทศเขตร้อน เช่น ไทย จีน ฮ่องกง และอินเดีย โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุเพียงปีเดียว ชอบเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่นหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยอดอ่อนนุ่ม เถาหรือลำต้นเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีมือสำหรับใช้ยึดเกาะเป็นเส้นยาว บางทีแยกเป็นหลายแขนง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทนแล้ง ทนฝนได้ดี โรคและเมล็ดไม่มารบกวน พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามที่รกร้าง ตามริมห้วย หนอง คลอง และตามบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 10,248

กระจับนก

กระจับนก

ต้นกระจับนกเป็นไม้ต้น สูง 6-10 เมตร ใบกระจับนกเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาว 1.6-4.5 เซนติเมตร รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกกระจับนกสีเหลืองถึงชมพูแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ แกนช่อยาว 3-10.5 เซนติเมตร ดอกกว้าง 1-2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ ขอบจักเป็นฝอย ส่วนฐานแผ่เป็นจานกลมนูน ขนาด 3 มิลลิเมตร ก้านเกสรผู้ยาว 2 มิลลิเมตร จำนวน 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,316

หญ้าแพรก

หญ้าแพรก

หญ้าแพรก มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียและยุโรป เจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและอากาศอบอุ่น โดยจัดเป็นพรรณไม้จำพวกหญ้า ต้นมีขนาดเล็ก มีอายุได้หลายปี ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาปกคลุมดิน เจริญเติบโตแบบแผ่ราบไปตามพื้นดินหรือเลื้อยปกคลุมดินไปได้ยาวประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อและมีรากงอกออกมา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด กิ่ง ราก และแตกลำต้นไปตามพื้นดิน เจริญเติบเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ต้องการความชื้นในปริมาณค่อนข้างมาก หญ้าชนิดนี้มักพบขึ้นเองตามพื้นที่แห้งแล้ง ที่ว่างริมถนน หรือในบริเวณสนามหญ้า ทนน้ำท่วมทังและสามารถขึ้นได้ในดินเค็ม 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 59,052

ขีกาขาว

ขีกาขาว

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ ใบจะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายผักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กกว่าไม่กลวง ดอกโตและมีสีขาว ผลมีลักษณะกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว ผลสุกมีสีแดง  นิเวศวิทยาชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามไร่นา  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เถาใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้ ใบสดใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,994

ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 1 เมตร ที่ส่วนต่าง ๆ ของต้นจะมีต่อมขนเหนียวสีเหลืองปกคลุมอยู่หนาแน่น มีกลิ่นเหม็นเขียว มีเขตกระจายพันธุ์กว้างขวาง พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยมักจะพบขึ้นได้ตามข้างถนนหรือที่รกร้าง ตามริมน้ำลำธาร บางครั้งก็อาจพบได้บนเขาหินปูนที่แห้งแล้งหรือตามชายป่าทั่วๆ ไป

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 15,455

ลำไยป่า

ลำไยป่า

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 - 20 เมตร  พุ่มต้นมีลักษณะคล้ายต้นลำไย  โคนมีพูพอนบ้างเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลม เปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู  ใบ เป็นช่อ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปหอก ดอกเล็ก สีเขียวอ่อน สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ตามก้านช่อมีขนสีนวล ๆ ทั่วไป  ผลเล็กสีน้ำตาล ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,429

เต็งหนาม

เต็งหนาม

ต้นเต็งหนาม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดไม่แน่นอน เปลือกต้นอ่อนเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา ผิวเรียบ ส่วนต้นแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นร่องยาวและมีหนามแข็งขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลำต้น พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,627

กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดงนั้นเป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีสีม่วงอมแดง เป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปฝ่ามือมี 3 แฉก หรือ 5 แฉก ขอบใบเป็นฟันเลื่อย ความกว้างและยาวประมาณ 8 – 15 เซนติเมตร ส่วนดอกนั้นออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ กลีบดอกชมพูหรือเหลือง ก้านดอกสั้น มีประมาณ 8-12 กลีบ เมื่อดอกกระเจี๊ยบแดงเจริญเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร และผลนั้นจะมีปลายแหลมเป็นรูปรี ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร เมื่อผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่จะแตกออกเป็น 5 แฉก เมล็ดสีน้ำตาล ตลอดจนตัวผลจะมีกลีบเลี้ยงสีแดงหนาชุ่มน้ำหุ้มผลไว้

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 8,257

รากสามสิบ

รากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,403

มะเขือม่วง

มะเขือม่วง

ต้นมะเขือม่วง จัดเป็นพืชล้มลุกหรือไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ทั่วไปและอาจมีหนามเล็ก ๆ แต่ไม่มากนัก สามารถออกดอกและผลได้ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกสลับข้างกัน ลักษณะของใบเป็นรูปค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักหรือเป็นคลื่น ท้องใบมีขนหนาสีเทา ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ผลมีลักษณะกลมรียาวทรงหยดน้ำ ผิวผลเรียบเป็นสีม่วง ขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 10,024