กระบก

กระบก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้ชม 14,874

[16.4258401, 99.2157273, กระบก]

กระบก ชื่อสามัญ Barking deer's mango, Wild almond
กระบก ชื่อวิทยาศาสตร์ Irvingia malayana Oliv. ex A.W.Benn. จัดอยู่ในวงศ์กระบก (IRVINGIACEAE)
สมุนไพรกระบก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะลื่น หมักลื่น (สุโขทัย, นครราชสีมา), ซะอัง (ตราด), หลักกาย (ส่วน-สุรินทร์), มื่น มะมื่น (ภาคเหนือ), บก หมากบก หมากกระบก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กะบก กระบก จะบก ตระบก (ภาคกลาง), จำเมาะ (เขมร), ไม้มื่น (ขมุ), เปรียวด้องเดี๋ยง (เมี่ยน), สือมั่วลื้อ(ม้ง) เป็นต้น

ลักษณะของกระบก
         ต้นกระบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ทรงเรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นเปลา เปลือกต้นมีสีเทาอ่อนปนสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ในที่กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด[1] มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าดิบแล้ง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าหญ้า และป่าแดง[2] และยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดด้วย
         ใบกระบก มีใบเป็นใบเดี่ยวติดเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปรีแกมรูปขอบขนานจนถึงรูปใบหอก ใบกว้างประมาณ 2-9 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร เนื้อใบหนาเกลี้ยงทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบ โคนใบมนแหลมหรือเว้าเล็กน้อย สอบเรียวไปทางปลายใบ ปลายใบแหลมทู่ ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงใบประมาณ 8-14 คู่ และมักมีเส้นแขนงปลอมแซมระหว่างกลาง เส้นใบย่อยเป็นแบบขั้นบันได เห็นได้ชัดจากด้านท้องใบ เมื่อใบแห้งจะเห็นเส้นร่างแหชัดทั้งสองด้าน ปลายใบเป็นติ่งมน มีหูใบ หูใบมีลักษณะพิเศษคือ ม้วนหุ้มยอด เรียวแหลม โค้งเล็กน้อยลักษณะเป็นรูปดาบ ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
          ดอกกระบก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีสีเขียวอมเขียวอ่อน มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้อยู่ 10 อัน และจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม
          ผลกระบก หรือ ลูกกระบก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมรี หรือค่อนข้างเป็นรูปไข่ ลักษณะแบนเล็กน้อย คล้ายกับผลมะม่วงขนาดเล็ก โดยผลอ่อนจะมีสีเขียว แต่เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในผลมีเมล็ดและมีเนื้อหุ้มเมล็ดเละๆ เหมือนมะม่วง ในผลกระบกมีเมล็ด
          เมล็ดกระบก หรือ เม็ดกระบก เมล็ดโตเป็นรูปไข่ เป็นเมล็ดเดี่ยว มีเปลือกแข็ง เนื้อในเมล็ดมีสีขาวอัดแน่นอยู่ (ลักษณะเป็นเนื้อแป้ง) และมีน้ำมัน มักติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

สรรพคุณของกระบก
1. น้ำมันเมล็ดกระบกช่วยบำรุงสมอง (น้ำมันจากเมล็ด)
2. เนื้อไม้ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เนื้อไม้)
3. ช่วยบำรุงหัวใจ (น้ำมันจากเมล็ด)
4. ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก (น้ำมันจากเมล็ด)
5. ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด (น้ำมันจากเมล็ด)
6. ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย (เมล็ด)
7. ลูกกระบกใช้เป็นยาระบาย ด้วยการใช้ผลกระบกอ่อนประมาณ 1 กำมือ นำมาตมผสมกับพริกเกลือ แล้วใช้รับประทานสัปดาห์ละครั้ง (หากใช้เยอะมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย) (ผล)
8. ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง (เนื้อในเมล็ด) ช่วยขับพยาธิในเด็ก (เนื้อไม้) สามารถใช้ได้ทั้งคนและสัตว์ หากเป็นคนให้ใช้ผลกระบกไม่แก่หรืออ่อนมากเกินไปประมาณ 3 ลูก ตำผสมกับน้ำซาวข้าว 1 ถ้วยตาไก่ขนาดกลาง แล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่มกินก่อนนอนวันละครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน ส่วนถ้าเป็นสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขที่เป็นขี้เรื้อน ก็ให้ใช้สูตรเดียวกับคน แต่ให้เพิ่มปริมาณของผลกระบกเป็นเท่าตัว ใช้กินไม่เกินสามวันหายขาด (ผล)
9. ช่วยบำรุงไต (เนื้อในเมล็ด)
10. ช่วยแก้อาการคันตามผิวหนัง (ใบ)
11. เนื้อในเมล็ดมีรสร้อน ช่วยบำรุงเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงไขข้อกระดูก แก้ข้อขัดได้ (เนื้อในเมล็ด)

ประโยชน์ของกระบก
1. ต้นกระบกมีประโยชน์ในด้านภูมิสถาปัตย์ เหมาะสำหรับใช้ปลูกเป็นกลุ่มในพื้นที่โล่ง ๆ ตามสวนสาธารณะต่าง ๆ สวนรุกขชาติ หรือในสวนสัตว์เปิด ให้เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่าได้
2. ไม้กระบกเป็นไม้เนื้อแข็งและหนัก มีเสี้ยนตรงแข็งมาก ไม่แตกแยกเมื่อแห้ง เลื่อยผ่าตบแต่งได้ง่าย สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือกสิกรรมต่าง ๆ เช่น ครก สาก เครื่องสีข้าว รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม และยังนำมาทำเป็นฟืน หรือถ่านที่ให้ความร้อนสูงได้ เป็นต้น
3. เนื้อในเมล็ดมีรสหวานมัน นิยมนำมาคั่วรับประทานเป็นของว่าง มีรสคล้ายกับถั่วลิสง หรือที่เรียกว่า "กระบกคั่ว"
4. มีการใช้น้ำมันจากเมล็ดกระบกมารับประทาน
5. เนื้อในเมล็ดเป็นแหล่งอุดมของแคลเซียมและเหล็กชั้นดี จึงช่วยบำรุงกระดูกและฟันได้เป็นอย่างดี
6. ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักหรือรับประทานกับลาบ (ม้ง)
7. นอกจากจะเป็นอาหารคนแล้ว ผลสุกของกระบกที่ร่วงหล่นลงมา ยังสามารถนำไปใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ของวัว ควาย รวมไปถึงสัตว์เคี้ยวเอื้องอื่น ๆ
8. ผลสุกของกระบก สัตว์ป่าจำพวกเก้ง กวาง และนกชอบกินเป็นอาหารมาก โดยสัตว์เหล่านี้จะช่วยพาเมล็ดไปงอกในที่ไกล ๆ จึงเป็นการช่วยขยายพันธุ์ต้นกระบกได้เป็นอย่างดี
9. น้ำมันจากเนื้อในเมล็ดสามารถนำมาใช้เป็นสบู่และเทียนไขได้
10. ผลกระบกเป็นแหล่งเลี้ยงจุลินทรีย์ชั้นดี พืชชนิดไหนที่อยู่ใกล้ต้นกระบกก็เหมือนกับได้ปุ๋ยชั้นดีไปด้วย
11. เนื้อในไขกระบกมีความทนทานต่อการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีได้ดี ในทางอุตสาหกรรมจึงมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเป็นอาหารที่ช่วยเพิ่มคุณค่าได้
12. เนื้อในผลกระบก นอกจากจะนำมาเคี้ยวกินเล่นแล้ว ยังสามารถนำมาใช้พัฒนาเป็นเครื่องสำอางและยาเหน็บทวารได้อีกด้วย
13. เนื้อในเมล็ดกระบก ต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วย ไขมัน 78%, โปรตีน 3.40%, คาร์โบไฮเดรต 9.07%, ความชื้น 2.08%, ธาตุแคลเซียม 103.30 มิลลิกรัม และธาตุเหล็ก 61.43 มิลลิกรัม
14. น้ำมันเมล็ดกระบกประกอบไปด้วย กรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งได้แก่ กรดปาล์มิติก 52%, กรดลอริก 40.11%, ไมริสติก 50.12%, และกรดสเตียริก 0.55% ส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัว ได้แก่ กรดไลโนเลอิก 1.46%, กรดโอเลอิก 3.12% และกรดปาล์มมิโตเลอิก 0.12%

คำสำคัญ : กระบก

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กระบก. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1560

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1560&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ (Liquorice, Licorice) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวสเปนเรียก ชะเอมเทศ, Sweet Root, Glycyrrhiza, Liquorice ส่วนชาวจีนเรียก กำเช่า หรือชะเอมจีน และชาวรัสเซียเรียก ชะเอมรัสเซีย เป็นต้น ซึ่งชะเอมเทศนั้นจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับชะเอมไทย ซึ่งนับได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่มีอายุยืนเลยทีเดียว และเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้กันเป็นอย่างมาก ด้วยสรรพคุณทางยาในการแก้โรคหรืออาการต่างๆ มากมาย และเด่นในด้านการขจัดสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายของเราได้ดี โดยต้นชะเอมเทศนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 11,111

บุนนาค

บุนนาค

บุนนาค มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา อินโดจีน พม่า ไทย คาบสมุทรมาเลเซีย และสิงค์โปร์ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 15-25 เมตร และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร ลักษณะเป็นทรงยอดพุ่มทึบและแคบ มีทรงพุ่มใหญ่ลักษณะคล้ายเจดีย์ต่ำ ๆ มีพูพอนเล็กน้อยตามโคนต้น เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เนื้อไม้แข็ง กิ่งก้านเรียวเล็กห้อยลง เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกตื้น ๆ หลุดร่วงได้ง่าย ที่เปลือกชั้นในจะมีน้ำยางสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย ส่วนในเนื้อไม้จะมีสีแดงคล้ำเป็นมันเลื่อม พบได้มากในป่าดิบชื้น ตามลำธารหรือริมห้วย พบได้มากในประเทศอินเดียและศรีลังกา

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 10,518

รางจืด

รางจืด

ลักษณะทั่วไป ต้นรางจืด เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนและไม่มีมือจับเหมือนกับตำลึง และมะระ แต่อาศัยลำต้นในการพันรัดขึ้นไป รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,577

หูเสือ

หูเสือ

หูเสือเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำยอดหรือต้น ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ที่มีอินทรีวัตถุสูง ชอบความชื้นมาก และแสงแดดปานกลาง พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วทุกภาคของประเทศ แต่พบได้มากทางภาคเหนือ ถือเป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,259

เกล็ดมังกร

เกล็ดมังกร

ต้นเกล็ดมังกร จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นพันหรือเลื้อยเกาะยึดไปตามต้นไม้อื่นๆ ย้อยห้อยเป็นสายลงมา ยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร มีรากตามลำต้น ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นตามบริเวณป่าเบญจพรรณหรือตามป่าทั่วๆ ไป มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,078

หนามโค้ง

หนามโค้ง

หนามโค้ง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยนั้นมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักแหลม โคนฝักแหลม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,744

พิกุล

พิกุล

พิกุล มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า อินโดจีน และในหมู่เกาะอันดามัน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างหนาทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและแตกเป็นรอยแตกระแหงตามแนวยาว ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ส่วนกิ่งอ่อนและตามีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง ชอบขึ้นในพื้นที่ดินดี ชอบแสงแดดจัด ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขังได้นานถึง 2 เดือน 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 10,980

เขยตาย

เขยตาย

เขยตายเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน ประโยชน์ของเขยตาย ผลสุกมีรสหวานใช้รับประทานได้ แต่มีกลิ่นฉุน ใบใช้เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร ลำต้นเขยตายมีสารอัลคาลอยด์ arborinine เป็นหลัก และอัลคาลอยด์อื่นๆ ข้อควรระวัง คือ ยางจากทุกส่วนของลำต้นมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน เพ้อคลั่งและเสียชีวิตได้

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,068

กระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้เป็นไม้ล้มลุกประเภทเฟิร์นสามารถพบกระแตไต่ไม้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ อาจจะพบขึ้นตามต้นไม้ ตามโขดหิน ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าพรุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับความสูงต่ำๆ และต้นกระแตไต่ไม้นี้จะกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าเขตร้อน และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือสปอร์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตกแต่ง เนื่องจากใบมีลักษณะสวยงาม อีกทั้งยังมีประโยชน์คือใช้เป็นยาสมุนไพรอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,887

จอก

จอก

ต้นจอก จัดเป็นวัชพืชน้ำขนาดเล็ก หรือเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นลอยและเจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ มีอายุยืนหลายปี ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ และมีรากระบบรากแก้วและมีรากฝอยเป็นจำนวนมากออกเป็นกระจุกอยู่ใต้น้ำ สีขาว ลำต้นมีความสูงประมาณ 2.5-10 เซนติเมตร ลำต้นมีไหล ต้นใหม่จะเกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล โดยต้นจอกเป็นพรรณไม้น้ำที่ชอบแสงแดดจัด ชอบน้ำจืด สามารถพบได้ตามลำคลอง หนองน้ำ นาข้าว และที่มีน้ำขัง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด หรือแตกไหล และวิธีการแยกต้นอ่อน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 10,728