ผักพื้นบ้านของดีที่ถูกลืม

ผักพื้นบ้านของดีที่ถูกลืม

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้ชม 2,407

[16.4258401, 99.2157273, ผักพื้นบ้านของดีที่ถูกลืม]

         ประเทศไทยเป็นประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารมากมาย พืชผักที่ปลูกกันในปัจจุบัน มีทั้งผักที่เป็นของไทยดั้งเดิม และผักที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว เป็นต้น ผักเหล่านี้ได้ปลูกมานานจนคนรุ่นใหม่เข้าใจผิด คิดว่าเป็นผักของไทย และนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ได้มองข้ามคุณค่าของผักพื้นบ้านดั้งเดิมไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆ ที่ผักเหล่านี้มีแมลงศัตรูพืชรบกวนมาก ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณที่สูง ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ทำลายระบบนิเวศน์วิทยา และสิ้นเปลืองงบประมาณในการบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ อีกด้วย
         ผักพื้นบ้าน หมายถึงพรรณพืชผัก หรือพรรณไม้พื้นเมืองในท้องถิ่นที่ชาวบ้านนำมาบริโภค เป็นผักเกิดในแหล่งธรรมชาติตามป่าเขา หนองบึง ริมน้ำ หรือชาวบ้านนำมาปลูกไว้เพื่อความสะดวกในการเก็บประกอบอาหาร
         เดิมนั้นประเทศไทยมีผักพื้นบ้านจำนวนมากถึง 255 ชนิด มีชื่อเฉพาะแต่ละท้องถิ่น ผักเหล่านี้ส่วนใหญ่จะนำยอดอ่อน ดอก ผล เมล็ด มาใช้บริโภค และนำไปประกอบเป็นอาหารพื้นเมืองตามกรรมวิธีเฉพาะของท้องถิ่น ปลูกง่าย ทนทาน ไม่ต้องดูแลมาก มีภูมิต้านทานโรคสูงกว่าผักที่นำพันธุ์มาจากต่างประเทศเพื่อปลูกในประเทศไทย จึงปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง และปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโต
         ข้อดีของผักพื้นบ้านอีกประการหนึ่งคือ ไม่ต้องปลูกบ่อย เพียงแต่เก็บยอด ดอก ใบ มารับประทาน ก็จะแตกหน่อ ชูช่อใบขึ้นมาใหม่ และมีให้เลือกมากมาย หมุนเวียนรับประทานได้ทั้งปี สามารถเก็บกินได้ไม่รู้จบ นอกจากนี้แล้วผักพื้นบ้านยังมีคุณค่าในการสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับชาวบ้าน สามารถเลือกสรรพืชผักที่มีประโยชน์ และตัดสิ่งที่มีโทษออกไป อาจนำมาบริโภคเป็นยาสมุนไพร รักษาโรคต่างๆไม่ว่าจะเป็น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง โรคหัวใจ ฯลฯ โรคเหล่านี้ป้องกันได้ด้วยการรับประทานผักพื้นบ้านราคาถูก เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจของไทย ช่วยให้ประหยัด ในการซื้อยาจากต่างประเทศ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น
         คุณค่าทางโภชนาการของผักพื้นบ้าน สารอาหารที่พบมากในผักพื้นบ้านมีหลายชนิด ที่สำคัญๆ ได้แก่ แร่ธาตุ และวิตามินชนิดต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถจำแนกพอสังเขปได้ดังนี้
         1. ผักที่มีแคลเซียมสูงได้ แก่ ใบชะพลู ผักแพ้ว ใบยอ ผักกะเฉด ยอดแค สะเดา สะแล หน่อเหรียง มะเขือพวง ขี้เหล็ก ใบเหลือง ผักแส้ว กระถิน ตำลึง ผักฮ้วน ฯลฯ
         2. ผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูง (แบต้าแคโรทีนนี้จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกาย) ได้แก่ ใบย่านาง ผักแพว ตำลึง ยอดแค ใบกะเพรา ผักแว่น ใบเหลือง ใบแมงลัก ผักชะอม ฟักทอง ฯลฯ
         3. ผักที่มีธาตุเหล็กมากได้แก่ ผักกูด ขมิ้นขาว ผักแว่น ใบแมงลัก ใบกะเพรา ผักเม็ก ยอดมะกอก กระถิน ชะพลู ขี้เหล็ก ผักแขยง ฯลฯ
         4. ผักที่มีวิตามินซีมากได้แก่ ดอกขี้เหล็ก ดอกผักฮ้วน ยอดผักฮ้วน มะรุม พริก ยอดสะเดา ใบเหรียง มะระขี้นก ผักหวาน ผักเชียงดา ผักขี้หูด ผักแพว ฯลฯ
         นอกจากให้คุณค่าทางโภชนาการแล้ว ผักพื้นบ้านยังให้กากใยอาหาร ซึ่งจะดูดซับไขมัน ทำให้ไขมันดูดซึมเข้าร่างกายน้อย ลดระดับไขมันในเลือด ทั้งยังช่วยในการขับถ่าย ทำให้ท้องไม่ผูก ลำไส้ขับเคลื่อนกากอาหารได้ดีขึ้น ป้องกันไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร โรคท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
         มีข้อควรระวังในการรับประทานผักพื้นบ้านที่มีสารออกซาเลตสูง ได้แก่ ผักโขม ผักกระโดน ผักติ้ว ผักเม็ก ผักหวานป่า ใบชะพลู เป็นต้น ต้องรับประทานร่วมกับเนื้อสัตว์ เพราะจากการวิจัยพบว่า ถ้าร่างกายได้รับสารออกซาเลต หรือกรดออกซาเลตในปริมาณสูง และได้รับสารฟอสเฟตน้อย (สารฟอสเฟตมีในเนื้อสัตว์) จะทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
         รายการอาหารไทยหลายอย่างที่เป็นวัฒนธรรมของคนไทย ในแต่ละสำรับจะมีผักพื้นบ้านที่ประกอบกันแล้วให้ประโยชน์ และคุณค่าทางโภชนาการที่เอื้อต่อกัน เช่น น้ำพริก แต่ละภาคของประเทศไทยจะมีน้ำพริกประจำภาคนั้นๆ แต่ละภาคไม่เหมือนกัน แต่ที่เหมือนกันคือ การรับประทานน้ำพริก ต้องควบคู่กับผัก อาจจะเป็นผักสด หรือผักลวกก็ได้ การรับประทานควบกับผักเพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนลง และช่วยเพิ่มรสชาติของน้ำพริก เช่น น้ำพริกกะปิ ในน้ำพริกมีกะปิ เป็นส่วนผสม มีมะนาว ช่วยดูดซึมแคลเซียม และธาตุเหล็กที่อยู่ในกะปิ
         ผักที่จิ้มน้ำพริก ทั้งผักสด และผักลวก จะให้ธาตุอาหารหลากหลาย คือ มีวิตามิน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และกากใยอาหาร ยังมีน้ำพริกอีกหลายชนิดที่รับประทานกับผักพื้นบ้านแล้วให้ประโยชน์ และคุณค่าทางโภชนาการที่เอื้อต่อกัน เช่น สะเดาน้ำปลาหวาน น้ำพริกมะขามสด น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกโจร เป็นต้น
         จากประโยชน์อันหลากหลายของผักพื้นบ้านดังกล่าว จึงควรสนับสนุน ส่งเสริมการปลูก และการบริโภคผักพื้นบ้านของไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ส่งเสริมการขยายพันธุ์ผักพื้นบ้านที่หายาก ที่กำลังจะสูญพันธุ์ รวมทั้งแนะนำชักชวนคนรุ่นใหม่รับประทานผักพื้นบ้านกันมาก ๆ เพื่อประโยชน์ในด้านสุขภาพ และอนุรักษ์พืชผักพื้นบ้านของไทยมิให้สูญพันธุ์ไป

คำสำคัญ : ผักพื้นบ้าน

ที่มา : http://greensocirty.com/veg 1. html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักพื้นบ้านของดีที่ถูกลืม. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1520

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1520&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ฟักเขียว

ฟักเขียว

ฟักเขียว จัดเป็นพืชล้มลุกจำพวกไม้เถาเช่นเดียวกับบวบ มะระ หรือแตงชนิดอื่น ๆ มีถิ่นกำเนิดไม่แน่นอนระหว่างทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา เพาะปลูกกันมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ ลักษณะของผลจะเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน มีสีเขียวแก่จะเรียกว่า "ฟัก" ถ้าเป็นพันธุ์เล็กผิวมีสีเขียวอ่อน ๆ เราจะเรียกว่า "แฟง" หรือ "ฟักแฟง" (ภาพซ้าย) แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่ลักษณะของผลค่อนข้างกลมสีเขียวแก่ ๆ จะเรียกว่า "ฟักหอม" (ภาพขวา) หรือถ้าเป็นพันธุ์ที่รสขมเราจะเรียกว่า "ฟักขม" เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 9,142

ตีนเป็ดน้ำ

ตีนเป็ดน้ำ

ต้นตีนเป็ดน้ำ มีถิ่นกำเนิดในอินเดียจนถึงทางตอนใต้ของจีน ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบได้เฉพาะทางภาคใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ทรงร่ม เรือนยอดเป็นทรงกลมทึบ ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา มีช่องระบายอากาศเป็นร่องยาว มีน้ำยางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแก่ ปลูกได้ดีในดินทั่วไป ชอบแสงแดดเต็มวัน เจริญเติบโตได้เร็ว ไม่ต้องการการดูแลมาก มักพบขึ้นตามบริเวณริมน้ำ ตามป่าชายเลน ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายหาด

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 8,913

ชิงชัน

ชิงชัน

ชิงชัน (Tamalin, Rosewood, Black-wood) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก ประดู่ชิงชัน ส่วนภาคเหนือเรียก เกิดแดง เป็นต้น และที่สำคัญคือต้นชิงชันนี้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคายอีกด้วย ซึ่งต้นชิงชันนี้จะทำการขยายพันธุ์โดยเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ส่วนใหญ่อยู่ในป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณทั่วไป โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีกับดินทุกชนิดในทุกภาคของประเทศไทย, ลาว และพม่า ยกเว้นในภาคใต้ของไทยเท่านั้นที่ไม่สามารถกระจายพันธุ์ของชิงชันได้ นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าต้นชิงชันมักจะเจริญอยู่ร่วมกับไม้ไผ่และไม้สักหรือในป่าเต็งรังด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 24,592

บอน

บอน

บอนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตที่ราบลุ่มของเอเชียอาคเนย์ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มีเหง้าลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หลายต้นเรียงรายตามพื้นที่ลุ่มริมน้ำ มีความสูงของต้นประมาณ 0.7-1.2 เมตร ลำต้นประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยอยู่รอบ ๆ หัวใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ไหล และวิธีการปักชำหัว เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี เพาะปลูกได้ง่าย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค มักขึ้นเองตามที่ลุ่ม บนดินโคลน บริเวณริมน้ำลำธาร หรือบริเวณที่มีน้ำขังตื้น ๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 15,194

สมอพิเภก

สมอพิเภก

สมอพิเภก (Belleric Myrobalan) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่พบได้ทั่วไปในป่า พบมากบริเวณที่ชุ่มข้างริมน้ำหรือแหล่งน้ำ นิยมใช้ประโยชน์จากผล และเปลือก ในด้านสมุนไพรทางยา และในด้านอื่นๆที่ได้จากต้น อาทิ การแปรรูปไม้ การให้ร่มเงา เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,438

กระโดนดิน

กระโดนดิน

ต้นกระโดนดินไม้พุ่มเตี้ย สูง 10-20 ซม. รากอวบ ใบกระโดนดินใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนสอบแคบจนถึงก้านใบดูคล้ายครีบ ขอบจักเล็กๆ และถี่ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบยาวประมาณ 2 ซม. ดอกกระโดนดินดอกใหญ่ ออกที่ยอด 1-2 ดอก ก้านดอกยาว 3-3.5 ซม. มีขนละเอียดสีเทา มีใบประดับรูปใบหอก 2 ใบ ยาวประมาณ 2 ซม. และใบประดับย่อย 2 ใบติดอยู่ที่โคนดอก ยาว 1.5-2 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,785

เหมือดโลด

เหมือดโลด

เหมือดโลดเป็น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาดำ หนา แตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองหม่นขึ้นหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานกว้าง หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 10-16 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนมนหรือรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ หรือมีคลื่นเล็กน้อย ผิวด้านบนมีขนประปราย ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ผิวใบด้านบนค่อนข้างสาก แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจนทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1.2-1.8 เซนติเมตร หูใบรูปไข่ยาว 4-6 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,115

ไข่เน่า

ไข่เน่า

ต้นไข่เน่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-25 เมตร ผิวลำต้นเกลี้ยงเป็นสีหม่นและมีด่างเป็นดวงสีขาวๆ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเปลือกมีสีเทาหรือสีน้ำตาลแกมสีเหลือง ลักษณะผิวเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด หรือเป็นร่องตื้นตามความยาวของลำต้น ส่วนกิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนนุ่ม กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนต้นเป็นทรงเรือนยอดรูปกรวยแตกกิ่งต่ำ เจริญเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง โดยจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 ปีหลังการปลูก

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 6,993

กานพลู

กานพลู

กานพลู (Clove) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ในภาคเหนือเรียกจันจี่ เป็นต้น โดยเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย ซึ่งมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวของกานพลู มีรสเผ็ด และมีเพาะปลูกกันมากที่สุดในแถบประเทศอินโดนีเซีย, ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา เป็นต้น โดยเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งกานพลูนี้มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปมักนิยมนำมากลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหยไว้สูดดม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,198

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ (Liquorice, Licorice) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวสเปนเรียก ชะเอมเทศ, Sweet Root, Glycyrrhiza, Liquorice ส่วนชาวจีนเรียก กำเช่า หรือชะเอมจีน และชาวรัสเซียเรียก ชะเอมรัสเซีย เป็นต้น ซึ่งชะเอมเทศนั้นจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับชะเอมไทย ซึ่งนับได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่มีอายุยืนเลยทีเดียว และเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้กันเป็นอย่างมาก ด้วยสรรพคุณทางยาในการแก้โรคหรืออาการต่างๆ มากมาย และเด่นในด้านการขจัดสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายของเราได้ดี โดยต้นชะเอมเทศนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 11,197