กระเบาน้ำ

กระเบาน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้ชม 3,180

[16.4258401, 99.2157273, กระเบาน้ำ]

        กระเบาน้ำ (Chaulmoogra) หรือที่เชียงใหม่เรียกกระตงดง, กระเบาข้าวเหนียว, กระเบาข้าวแข็ง ส่วนลำปางเรียกดงกระเบา เขมรเรียกระเบาดึก โคราชเรียกกระเบาใหญ่ ปัตตานีเรียกกาหลง, กุลา ประจวบคีรีขันธ์เรียกหัวค่าง และในภาคใต้เรียกเบา ภาคเหนือเรียกมะกูลอ ตลอดจนชาวจีนเรียกตั้วฮวงจี๊ เป็นต้น อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และกระจายพันธุ์ไปตามภูมิภาคอินโดจีน ซึ่งในประเทศไทยสามารถพบได้แทบทุกภาคเลยทีเดียว

ลักษณะของต้นกระเบาน้ำ
        สำหรับต้นกระเบาน้ำนั้นเป็นพืชจำพวกต้นขนาดกลาง เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร เปลือกเรียบสีเทา เป็นใบเดี่ยวสีชมพูแดง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ออกเรียงแบบสลับ รูปรียาวแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน ขอบเรียบ ส่วนดอกของกระเบาน้ำนั้นจะมีสีขาวนวล ช่อหนึ่งมีประมาณ 5-10 ดอก กลิ่นหอมฉุน
        โดยดอกจะแยกเพศอยู่คนละต้น ในเพศผู้จะออกดอกเดี่ยว มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ สีชมพู ส่วนเพศเมียจะออกเป็นช่อสั้นๆ กลีบเลี้ยงและดอกจะเหมือนกับเพศผู้ และผลของกระเบาน้ำเป็นผลใหญ่รูปทรงกลม เปลือกผลแข็งและหนาสีน้ำตาล ผิวเรียบ บริเวณผิวขนลักษณะคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาล เนื้อในมีสีขาวอมเหลือง มีเมล็ดสีดำอยู่ประมาณ 30-50 เมล็ด และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว

ประโยชน์และสรรพคุณของต้นกระเบาน้ำ
        ลำต้น – สามารถนำไปเป็นวัสดุในการก่อสร้าง
        ผล – ผลแก่สุกใช้สำหรับเป็นอาหารรับประทาน
        เมล็ด – เมล็ดแก่สามารถนำไปบีบเป็นน้ำมันทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ และวัณโรค โดยในสมัยก่อนมักนิยมนำมาใช้สำหรับรักษาโรคเรื้อน ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว
        นอกจากนี้ กระเบาน้ำยังสามารถช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ด้วย นับว่าเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก และนอกจากจะมีประโยชน์มากมายต่อร่างกายแล้ว ยังสามารถรักษาโรคผิวหนังเรียกได้ว่าแทบทุกชนิดเลยก็ว่าได้

คำสำคัญ : กระเบาน้ำ

ที่มา : เกร็ดความรู้.net/กระเบาน้ำ/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กระเบาน้ำ. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1455

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1455&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะเกลือ

มะเกลือ

มะเกลือ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ เปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามยาว แก่นสีดำสนิท เนื้อละเอียดมันสวยงาม ทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5-10 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนสีเงิน ใบแก่หนา ผิวเรียบมัน ด้านใต้ใบสีเขียวซีด บางเกลี้ยง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,418

พริกขี้หนู

พริกขี้หนู

พริกขี้หนูเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม. ใบพริกขี้หนูเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม ดอกพริกขี้หนูจะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง ผลพริกขี้หนูผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 12,494

ตองกง

ตองกง

ต้นตองกง จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุหลายปี ลำต้นกลม มีลักษณะคล้ายต้นไผ่ ลำต้นตั้งมีกอที่แข็งแรงมาก มีความสูงของต้นประมาณ 3-4 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและส่วนของลำต้นหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง โดยสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย จีน หม่า รวมไปถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยขึ้นเป็นวัชพืชตามที่โล่งสองข้างทาง ตามไหล่เขา และตามชายป่า ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,800 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,679

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ

ต้นมะเขือเปราะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 ฟุต มีอายุได้หลายฤดูกาล ใบมีขนาดใหญ่ ออกเรียงตัวแบบสลับ ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีม่วงหรือสีขาว ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียว และอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลเมื่อแก่แล้วจะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลเป็นสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,987

ฟักแม้ว

ฟักแม้ว

ฟักแม้ว หรือต้นมะระหวาน จัดเป็นเถาไม้เลื้อย ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับพืชที่อยู่ในตระกูลแตง แต่มีลักษณะหลายอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ลักษณะของลำต้น ใบ ยอด และมือจับ คล้ายต้นแตงกวาผสมฟักเขียว มีระบบรากสะสมขนาดใหญ่ ลำต้นฟักแม้วมีลักษณะเป็นเหลี่ยม เจริญเป็นเถา มีความยาวประมาณ 15-30 ฟุต มีเถาแขนง 3-5 เถา มีมือเกาะเจริญที่ข้อ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,412

ผักกาดหัว

ผักกาดหัว

ผักกาดหัวตามตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานผักกาดหัวไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่างๆ เหล่านี้ก็จะได้รับการบรรเทาให้ดีขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวผักกาดกับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปสะเทินฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่าเข้าใจผิดไปว่าหัวผักกาดนี้มันจะไปทำลายฤทธิ์ของยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ทั้งหมด และการรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆ นั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,955

สารภี

สารภี

สารภีไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบแผ่กว้าง เปลือกสีเทาหรือเทาปนน้ำตาล แตกล่อนเป็นสะเก็ด เปลือกชั้นในสีแดงเข้ม มีน้ำยางสีคล้ายน้ำนม เมื่อทิ้งให้สัมผัสกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6.5 ซม. ยาว 15-20 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนสอบแคบหรือสอบเรียว ปลายใบมนหรือสอบทู่ๆ อาจมีติ่งสั้นๆ หรือหยักเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงทั้งสองด้าน สีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นแขนงใบจำนวนมาก ไม่ชัดเจน ก้านใบ ยาว 0.5-1 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 2,040

หญ้าตีนกา

หญ้าตีนกา

หญ้าปากควาย (อังกฤษ: Crowfoot grass, Beach wiregrass; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dactyloctenium aegyptium) เป็นพืชวงศ์หญ้าและเป็นพืชฤดูเดียว แตกหน่อเป็นกลุ่ม ออกรากและยอดจากข้อของไหลที่อยู่ด้านล่าง สูง 30 - 50 ซม.ใบเป็นเส้นตรงยาว 20 ซม. มีขนที่ขอบใบ ดอกเป็นดอกช่อแบบ spike ประกอบด้วยช่อดอกย่อย 2-7 อัน ยาว 2-4 ซม. มีขนตรงกลาง วงชีวิตสั้น ออกดอกได้ตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล ชอบดินแห้ง พบตามที่สูง และที่ดินรกร้าง กระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทยในทวีปแอฟริกา พืชชนิดนี้ใช้เป็นพืชอาหารแบบดั้งเดิม โดยมีการใช้เมล็ดของพืชชนิดเป็นอาหารสัตว์เมื่อความแห้งแล้ง อดอยาก ในขณะที่ในพื้นที่อื่นๆถือว่าเป็นวัชพืช

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 5,854

งิ้ว

งิ้ว

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ต้น ผลัดใบ ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม กิ่งแผ่ ออกตั้งฉากกับลำต้น ใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกสลับ ใบย่อย 5-7 ใบ รูปไข่หรือรูปรีปลายเรียวแหลมโคนสอบแคบ ดอกสีแดง ตามปลาย ๆ กิ่ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยก 3-4 แฉก ไม่เท่ากัน ด้านนอกมีขน มันเป๋นเงากลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบม้วนออก เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ จำนวนมากโคนก้าน เกสรติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ผลรูปรี หรือรูปขอบขนาน คล้ายผลนุ่น เมล็ดสีดำ หุ้มด้วยปุยสีขาว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,784

กระเช้าสีดา

กระเช้าสีดา

ต้นกระเช้าสีดาไม้เถา รากมีเนื้อแข็ง กิ่งยาวเรียวเป็นร่อง ใบกระเช้าสีดาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปสามเหลี่ยมแคบ กว้าง 5-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนตัดตรง ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น ใบมีกลิ่น ดอกกระเช้าสีดาช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ กลิ่นเหม็น ช่อหนึ่งมีเพียง 2-3 ดอก ก้านดอกยาว 5-1 ซม. กลีบดอกมีเพียงชั้นเดียว ยาว 2-3.5 ซม. เชื่อมติดกันเป็นหลอด โคนหลอดพองออกเป็นกระเปาะกลม กระเปาะและหลอดดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ภายในกระเปาะเป็นที่ดักย่อยแมลงเพื่อเป็นอาหารเสริม 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,801