กรรณิการ์

กรรณิการ์

เผยแพร่เมื่อ 28-04-2020 ผู้ชม 6,252

[16.4258401, 99.2157273, กรรณิการ์ ]

กรรณิการ์ หรือกันลิกา (Night Blooming Jasmine, Night Jasmine) นั้นเป็นพืชจำพวกต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั้งในอินเดีย ชวา สุมาตรา รวมทั้งไทยด้วย โดยของไทยเราจะมีกรรณิการ์อยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรรณิการ์ที่มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอย่าง Nyctanthes arbor-tristis L. ส่วนกรรณิการ์อีกชนิดหนึ่งนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้วคือ Nyctanthes Aculeate Craib ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก

ข้อมูลทางพฤษศาสตร์
        อาณาจักร : Plantae
        หมวด : Magnoliophyta
        ชั้น : Magnoliopsida
        อันดับ : Scrophulariales
        วงศ์ : Oleaceae
        สกุล : Nyctanthes
        สปีชีส์ : N. arbor-tristis
       ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nyctanthes arbor-tristis L.
       ชื่อสามัญ : Night blooming jasmine
       ลักษณะทั่วไปของกรรณิการ์
       สำหรับต้นกรรณิการ์นั้นเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 3 – 5 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลขรุขระ ใบเดี่ยวรูปไข่ ปลายแหลม โคนมน โดยดอกจะออกเป็นช่อช่อละประมาณ 3 – 7 ดอก สีขาว มีกลิ่นหอม ส่วนผลของกรรณิการ์นั้นจะเป็นรูปไข่กลับ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ส่วนผลที่แก่จัดจะแตกออกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดซีกละหนึ่งเมล็ด กลมแบนสีน้ำตาล

ประโยชน์และสรรพคุณของกรรณิการ์
       สำหรับประโยชน์และสรรพคุณของกรรณิการ์นั้นมีมากมายตั้งแต่ลำต้น เปลือก ดอก ใบ ยันรากเลยทีเดียว โดยสรรพคุณของกรรณิการ์มีดังนี้
       ลำต้น – ใช้สำหรับแก้อาการปวดศีรษะ แก้ไข้ ปวดข้อ โดยมีรสขมเย็น หวานๆ ฝาดๆ
       เปลือก – นำเปลือกทั้งต้นชั้นในมาต้มสำหรับดื่มแก้อาการปวดศีรษะได้ดี ให้รสขมเย็น
       ดอก – ใช้สำหรับแก้อาการวิงเวียนศีรษะ แก้ไข้ ให้รสขมหวาน
       ใบ – ใช้แก้แก้อาการไข้ ปวดข้อ ตานขโมย บำรุงน้ำดี ตลอดจนเจริญอาหาร ให้รสขม
       ราก – ช่วยแก้อาการไอ แก้พรรดึก (อุจจาระที่แห้งติดอยู่กับผนังลำไส้ทำให้ถ่ายลำบาก) ท้องผูก แก้ลมและดี บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ผมหงอก ตลอดจนบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ให้รสขม หวานๆ ฝาดๆ
       นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่ากรรณิการ์นั้นเป็นพืชสมุนไพรมีในไทยตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ จากเดิมมีถิ่นกำเนิดในตอนกลางของอินเดีย และสามารถขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ด หรือปักชำกิ่ง ซึ่งนับได้ว่ากรรณิการ์นั้นเป็นพืชของไทยที่มีอายุมานานนับร้อยปีเลยทีเดียว

คำสำคัญ : กรรณิการ์

ที่มา : เกร็ดความรู้.net/กรรณิการ์/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กรรณิการ์ . สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1449

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1449&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

จำปา

จำปา

ต้นจำปานั้นจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 15 – 30 เมตร เป็นทรงพุ่มโปร่งรูปกรวยคว่ำ มีการแตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด ที่บริเวณเปลือกมีสีเทาแกมขาว กลิ่นฉุน โดยต้นจำปานั้นจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทาบกิ่ง และตอนกิ่ง ส่วนใบเป็นใบเดี่ยวใหญ่สีเขียวเป็นมัน คล้ายรูปทรงรีแกมขอบขนาน โคนสอบ ปลายแหลม เนื้อใบบาง สำหรับใบอ่อนนั้นจะมีขน ส่วนในใบแก่จะเกลี้ยงปราศจากขน โดยดอกนั้นเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองแกมแสด กลิ่นหอมแรง จะออกดอกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ซึ่งดอกนี้จะเริ่มบานพร้อมส่งกลิ่นหอมในช่วงพลบค่ำ 

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,771

มะเดื่อหอม

มะเดื่อหอม

มะเดื่อหอม จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีน้ำยางสีขาว ลำต้นมีความสูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่ง ลำต้นและกิ่งก้านมีขนแข็งและสากคาย มีสีน้ำตาลแกมสีเหลืองอ่อน เมื่อแก่ลำต้นจะกลวง ที่ตาดอกและใบอ่อนมีขนขึ้นหนาแน่น มีรากเก็บสะสมอาหารเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ ป่าโปร่ง และที่โล่งแจ้ง มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 3,313

พิกุล

พิกุล

พิกุล มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า อินโดจีน และในหมู่เกาะอันดามัน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างหนาทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและแตกเป็นรอยแตกระแหงตามแนวยาว ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ส่วนกิ่งอ่อนและตามีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง ชอบขึ้นในพื้นที่ดินดี ชอบแสงแดดจัด ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขังได้นานถึง 2 เดือน 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 11,145

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว (White Leadwort, Ceylon Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ปิดปิวขาว ภาคอีสานเรียก ปี่ปีขาว ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตอชุวา ชาวจีนแต้จิ๋วเรียก แปะฮวยตัง และชาวจีนกลางเรียก ป๋ายฮัวตาน เป็นต้น มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อน โดยในประเทศไทยส่วนใหญ่มักพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,328

เตยหอม

เตยหอม

เตยหอม (Pandanus Palm, Fragrant Pandan, Pandom Wangi) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวจีนเรียก พังลั้ง และชาวมลายูเรียก ปาแนะวองิง หรือหวานข้าวไหม้ เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเตยหอมนั้นในใบของต้นจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยอยู่ โดยสีเขียวที่ได้จากใบเตยหอมนั้นจะเป็นสีของคลอโรฟิลล์ นำมาใช้แต่งสีขนมได้ สามารถใช้ได้ทั้งกับใบสดหรือใบแห้ง ซึ่งปัจจุบันมีการขายในรูปใบแช่แข็งเพื่อให้ประเทศที่ไม่สามารถปลูกได้ได้ใช้ปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,220

ฝาง

ฝาง

ฝาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้นๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวานจะเรียกว่า "ฝางเสน" แต่ถ้าแก่นไม้เป็นสีเหลืองส้มและมีรสฝาดขื่นจะเรียกว่า "ฝางส้ม" พรรณไม้ชนิดนี้เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 12,210

สาบแร้งสาบกา

สาบแร้งสาบกา

สาบแร้งสาบกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกและจัดเป็นวัชพืชอย่างหนึ่ง มีอายุเพียงปีเดียวก็ตาย ลำต้นมีลักษณะตรง แตกกิ่งก้านสาขา สูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร ทั้งต้นมีขนสีขาวปกคลุมอยู่ เมื่อเด็ดมาขยี้ดมจะมีกลิ่นเฉพาะตัว กิ่งก้านเป็นสีเขียวอมม่วงเล็กน้อย ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน แต่ในปัจจุบันพบขึ้นทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่าหรือตามริมถนนทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ตามชายป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า และริมทาง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,320

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์ คือ ชันน้ำมันหรือยางที่ได้มาจากหัวรากใต้ดินหรือลำต้นของพืชในตระกูล Ferula เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน ต้นมหาหิงคุ์ (Ferula assa-foetida L.) จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่องๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน ใบมหาหิงคุ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 6,340

ไมยราบ

ไมยราบ

ไมยราบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimosa Pudica L. อยู่ในวงศ์ FABACEAE และมีชื่ออื่น ๆ ได้แก่ หญ้าต่อหยุบ หญ้ายุบยอบ กะหงับ ก้านของระงับ หงับพระพาย หญ้าจิยอบ และหญ้าปันยอด เป็นไม้ล้มลุก ใบประกอบเหมือนขนนก 2 ชั้น ดอกช่อกระจุกแน่น สีชมพู ออกที่ง่ามใบ ผลเป็นฝักแบน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,643

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต เป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกัน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ออกเรียงสลับตามข้อต้น ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่าง ๆ ก้านยาว ดอกเป็นสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามข้อตรงข้ามกับใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านนอกสีแดง ด้านในเขียวอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง ผลเป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงออกดำ โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ เถา ราก ใบยอดอ่อน และน้ำจากต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,642