วัดมะเคล็ด

วัดมะเคล็ด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 1,020

[16.5066751, 99.44552, วัดมะเคล็ด]

           ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขตอรัญญิก มีวัดมากมายติดต่อกันรวม 40 วัดจากความยิ่งใหญ่อลังการและสิ่งก่อสร้างเป็นศิลาแลงล้วนๆ นับเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่สำคัญ จนกระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองมรดกโลก นำความภูมิใจมาสู่ชาวกำแพงเพชรและชาวไทยทุกๆคนอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของเมืองกำแพงเพชรวัดมะเคล็ดเป็นอีกวัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ที่เรายังไม่ได้ไปสำรวจอย่างเป็นทางการ เมื่อศึกษาจากแผนที่แล้วเราจึงดั้นด้นเข้าไปสำรวจ ป้ายชื่อของวัดมะเคล็ดซึ่งเป็นป้ายขนาดใหญ่ มาก หายไปทั้งหมดวัดมะเคล็ด เพื่อป้องกันความผิดพลาด ในที่สุดเราจึงพบวัดมะเคล็ดในลักษณะที่ขุดแต่งแล้ว มะเคล็ด เป็นชื่อของพันธุ์ไม้หายากในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เนื่องจากในบริเวณวัดมีนี้มีต้นมะเคล็ดจำนวนมากจึงเรียกกันว่าวัดมะเคล็ด           
             วัดมะเคล็ดเป็นวัดที่มี ขนาดเนื้อที่กว้างขวางมาก นับสิบไร่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมเกือบจัตุรัส หันหน้าวัดไปทางทิศตะวันออก ระยะทางจากทางเข้าวัดมาถึงพระวิหาร ระยะทางราว 50 เมตร ที่น่าสนเท่ห์คือ ไม่มีทางขึ้นพระวิหารด้านหน้าทั้งที่ฐานพระวิหารสูงราว 1 เมตรเราต้องเดินอ้อมพระวิหารขนาดใหญ่ ไปขึ้นบันไดด้านหลัง ซึ่งมีบันไดคู่กัน เมื่อขึ้นไปพระวิหารแล้วเราจึงเดินไปสำรวจด้านหน้าพระวิหารซึ่งเป็นลานกว้าง สามารถให้พุทธศาสนิกชน ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้อย่างสะดวก ถัดจากฐานวิหาร ขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งราว 1 ฟุต เป็นที่ตั้งของ พระวิหาร มีวิหารขนาดใหญ่ราว 6 ห้อง มีอาสนะสงฆ์บนฐานวิหารมีฐานพระประธานขนาดใหญ่แต่ไม่มีพระประธานปรากฏให้เห็น หรือแม้แต่ร่องรอยห่างจากพระวิหารไปราว 5 เมตร มีเจดีย์ประธาน ฐานสี่เหลี่ยม เป็นศิลาแลงล้วนๆ ถัดขึ้นไปเป็นสถาปัตยกรรมย่อมุมไม้สิบสอง แต่ก่อสร้างด้วยอิฐลดหลั่นเป็นชั้นอย่างงดงาม พอถึงฐานองค์ระฆังไม่ปรากฎให้เห็นเนื่องจากพังทลายลงแล้วสิ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเจดีย์ประธานพบซุ้มพระพุทธรูปที่อยู่ในสภาพพอสังเกตได้เท่านั้นเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่มากถัดไปเป็นกำแพงแก้วในบริเวณเขตพุทธาวาสไม่พบเจดีย์รายเลยออกจะผิดสังเกตด้านขวาของวัดมะเคล็ดคือทางทิศเหนือพบหอพระ ขนาดย่อม ซึ่งดูจากหลักฐานเดิมแล้วน่าจะงดงามมากหรืออาจจะเป็นพระอุโบสถ แต่ไม่มีหลักฐานของใบเสมาให้เห็นเลยถัดมาทางด้านหน้าวัด มีศาลาน้อยใหญ่ 4 ศาลา เรียงรายซ้อนกันอยู่ ในลักษณะที่สร้างก่อนหลังมิได้อยู่ในสมัยเดียวกันศาลาใหญ่มีถึงแปดห้องมีขนาดกว้างขวางพอสมควร จะเห็นได้ว่าคงมีผู้คนมาทำบุญที่วัดมะเคล็ดมากพอควรเลยทีเดียว จึงทำศาลารองรับไว้หลายหลังบริเวณ ใกล้ๆศาลา มีบ่อน้ำขนาดพอเหมาะแต่เป็นทรงกลมซึ่งแตกต่างจากทุกวัดที่เป็นบ่อสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่รอบๆบ่อน้ำมีเสาศิลาแลง 4ต้นพอสรุปได้ว่ามีหลังคาและมีเครื่องทุ่นแรงในการโพงน้ำขึ้นมาใช้สังเกตภูมิปัญญาการสร้างบ่อน้ำต่ำลงไปในพื้นดินราว1เมตรจะพบศิลาแลงตลอดทั้งอุทยาประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีการก่อสร้างโดยนำศิลาแลงทำเป็นฐานและก่อ ศิลาแลงขึ้นมา อีก 1เมตรจนถึงพื้นดินปัจจุบันถัดจากนั้นก่อศิลาแลงเป็นทรงกลมอีกราว80 เซ็น นับว่าเป็นบ่อน้ำที่สมบูรณ์และแปลกอีกบ่อหนึ่งวัดมะเคล็ดเมื่อได้ยินชื่อและศึกษาในแผนที่แล้วคิดว่าเป็นวัดเล็กๆที่ไม่สำคัญแต่เมื่อทำการสำรวจแล้วพบว่าเป็นวัดที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดวัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ และมีสถาปัตยกรรมที่ผู้สร้าง สร้างได้อย่างสมบูรณ์และลงตัวสมควรได้รับความสนใจและศึกษาอย่างลึกซึ้งและต่อเนื่อง
             ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
             รายละเอียด และ อัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ : อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
                        
ชาวไทย 20 บาท : ชาวต่างประเทศ 100 บาท 
            
อัตราค่ายานพาหนะ
            
รถจักรยานสองล้อ  คันละ 10 บาท/คัน
            รถจักรยานยนต์ คันละ 20 บาท/คัน
            รถจักรยานสามล้อ คันละ 20 บาท/คัน
            รถจักรยานยนต์สามล้อ คันละ 30 บาท/คัน
            รถยนต์ทุกชนิด คันละ 50 บาท/คัน

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=&pages=2&code_db=DB0011&code_type=

คำสำคัญ : วัดมะเคล็ด

ที่มา : http://www.sunti-apairach.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดมะเคล็ด. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=305

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=305&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดหนองพิกุล

วัดหนองพิกุล

บริเวณอรัญญิก เมืองนครชุม มีวัดโบราณเก่าแก่แปลกและสวยงามอยู่วัดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกขานกันว่าวัดหนองพิกุล อยู่บริเวณทางเข้าวัดพิกุล หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุมจังหวัดกำแพงเพชร ในท่ามกลาง วัดซุ้มกอ วัดหนองพุทรา วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล และบริเวณวัดเจดีย์กลางทุ่งอันงดงามตระการตา

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,866

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ในหมู่บ้านวังโบสถ์ มีสภาพที่ทรุดโทรมมาก เห็นเพียงเนินดินและพระพุทธรูปโกลนศิลาแลงปรักหักพังอยู่บนฐานแลง สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างราวพุทธศักราช 1900 หลักฐานการค้นพบ จากคำบอกเล่าของนายเย็น รอดโต ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ได้เล่าให้ลูกหลานฟังว่า เมื่อประมาณพุทธศักราช 2504 ได้ซื้อที่ดินบริเวณวังโบสถ์ และได้มาหักร้างถางพง พบว่าเนื้อที่ที่ซื้อไว้ มีวัดเก่าสมัยโบราณอยู่ในบริเวณที่ดินด้วย พบเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพบพระพุทธรูปเก่าแก่

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,139

วัดป่ามืด

วัดป่ามืด

เป็นโบราณสถานมีเจดีย์กลมแบบลังกา ด้านหน้าเป็นฐานเจดีย์ราย 4-5 แห่ง มีกำแพงล้อมรอบต่อจากกำแพงด้านหน้าเป็นโบราณสถานอีกหมู่หนึ่ง มีฐานเจดีย์และฐานวิหารและเจดีย์รอบอีก 7 ฐาน มีกำแพงรอบเช่นเดียวกัน ตัววิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นแบบโถงไม่มีผนัง พระประธานสร้างจากศิลาแลง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,046

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดท่องเที่ยว 3 วิถี แต่ก่อนจะไปเดินเล่นที่ตลาด แวะมาชมความงดงามของตัวพระวิหาร รวมทั้งเสาและประตูวิหารที่แกะสลักอย่างอ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของวิถีภาคเหนือ พร้อมกราบสักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาในวิหารวัด เดินเข้าไปภายในวิหารรู้สึกได้ถึงความร่มเย็นและเงียบสงบ วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ เป็นวัดในท่าขุนราม ที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นตามแบบฉบับล้านนาทางเหนือ ที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชม

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 972

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์ ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ใกล้กับวัดป่าแลง วัดหมาผี วัดตะแบก และวัดเตาหม้อ ในบริเวณนี้มีวัดที่มีชื่อที่น่าสนใจวัดหนึ่ง คือวัดรามรณรงค์

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,535

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมากมายนับร้อยวัด วัดป่าแลงเป็นวัดหนึ่งที่อยู่หน้าวัดหมาผี ได้รับการบูรณะและตกแต่งอย่างงดงามถูกต้องตามหลักการและนับว่าสมบูรณ์ที่สุดโดยมีข้อมูลอย่างครบถ้วน นับว่าน่าศึกษายิ่งนัก วัดป่าแลง เป็นวัดขนาดกลางมีเนื้อที่ 21,700 ตารางเมตร มีบ่อแลงโดยรอบ จึงเรียกกันตามชื่อสามัญว่าวัดป่าแลง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,524

วัดหนองลังกา

วัดหนองลังกา

กลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองนครชุมแตกต่างจากกลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร คือส่วนใหญ่นิยมสร้างด้วยอิฐ ขนาดสิ่งก่อสร้างไม่ใหญ่โตมากนัก วัดที่สำคัญ เช่น วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหม่องกาเล และวัดหนองยายช่วย รูปแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เสด็จมาเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,048

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

สถานที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของกำแพงเพชร นอกเหนือไปจากอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่รวบรวมปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานเอาไว้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นถิ่นกำเนิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากตัวเมืองกำแพงเพชรใช้ถนนสายเล็กๆ หมายเลข 1084 เป็นถนนขนานกับแม่น้ำ เชื่อมต่อหลายอำเภอของกำแพงเชรและนครสวรรค์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,759

วัดหมาผี

วัดหมาผี

วัดหมาผีเป็นวัดที่อยู่ในบริเวณอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ตัววัดมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีกำแพงศิลาแลงคั่นกลางระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสโดยมีคูน้ำล้อมรอบ ปัจจุบันเขตสังฆาวาสไม่ปรากฏหลักฐานของสิ่งก่อสร้าง ส่วนเขตพุทธาวาสปรากฏสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์ประธาน และวิหาร

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,120

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ที่ 12 ตำบลเทพนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรโดยสำนักพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้ตั้งเป็นวัดบ่อเงิน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 หลักฐานที่ดินในการตั้งวัดบ่อเงิน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่มที่ 13 (3) หน้า 53 จากที่ดินอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เดิมวัดบ่อเงิน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,314