มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเสวย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,625

[16.634969, 99.8092375, มะพร้าวเสวย]

ประวัติความเป็นมา
        บ้านทรายทอง ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 พื้นที่เดิมเป็นป่าดิบเบญจพรรณ มีไม้ที่มีค่าหลายชนิด ที่มีมาก คือไม้ยาง ซึ่งมีลำต้นใหญ่แต่ไม่สูง ชาวบ้านเข้าไปหาของป่าในสมัยนั้น เรียกว่าดงยางเตี้ย พื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้าน เป็นดินทราย มองเห็นเป็นสีเหลืองทอง ชาวบ้านเลยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านทรายทอง

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
        1. ผ่านการรับรองจนได้รับเครื่องหมาย อย.
        2. ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มผช. จากสำนักงานอุตสาหกรรม จังหวัด
        3. ผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวยได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสองดาว เมื่อปีพุทธศักราช 2547
        4. ผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวยได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสามดาว เมื่อปีพุทธศักราช 2549
        5. ผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวยได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับห้าดาว เมื่อปีพุทธศักราช 2553
        6. หนังสือสำคัญการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจ
        7. ใบอนุญาตการใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตรชุมชนแปรรูป 

ความสัมพันธ์กับชุมชน
        ผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวย สดจากการรวมกลุ่มของคนในหมู่บ้านซึ่งเป็นการแปรรูปวัตถุดิบให้มีราคาและคุณค่าทำให้คนในชุมชนมีรายได้เสริม
ผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวยสามารถเก็บไว้ได้นานอีกทั้งกลุ่มมะพร้าวเสวยยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของบุคคล กลุ่ม/องค์การต่าง ๆ ที่สนใจ รวมทั้งยังสอนวิธีการทำให้นักเรียนที่อยู่ในชุมชนเพื่อจะได้สืบทอดภูมิปัญญาทางด้านนี้ต่อไป

วัตถุดิบและส่วนประกอบ
        1. มะพร้าว
        2. นมข้นหวาน
        3. น้ำตาลปีบ
        4. โอวัลติน
        5. แบะแซ
        6. นมสด
        7. เกลือ
        8. พลาสติกห่อ ถุงพลาสติก
        9. กระดาษแก้ว

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
       1. มะพร้าวที่จะนำมาทำต้องไม่แก่และอ่อนเกินไป
       2. เพิ่มรดชาดให้อร่อยโดยการใส่นมสด
       3. ควบคุมความร้อนของไฟระดับปานกลาง
       4. ขั้นตอนที่ 4 ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ

ภาพโดย : http://www.otoptoday.com/wisdom/8033

 

คำสำคัญ : มะพร้าวเสวย

ที่มา : http://www.otoptoday.com/wisdom/8033

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). มะพร้าวเสวย. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610008&code_type=01&nu=pages&page_id=571

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=571&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมต้มใบเตย

ขนมต้มใบเตย

ขนมต้มใบเตย เป็นเมนูขนมไทยๆ สุดแสนอร่อย แป้งเหนียวนุ่มๆ หอมกลิ่นใบเตย ไส้มะพร้าวหวานหอม คลุกเคล้ามะพร้าวขูดเส้น หวานมันหอมอร่อย อร่อยแบบไทยๆ เรามีเคล็ดลับในการทำคือ การทำไส้ขนมที่รสชาติหอมหวานมัน คือใช้มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น กับน้ำตาลปี๊บเคี่ยวจนเหนียว ล้วนำมาปั้นเป็นก้อนๆ เตรียมไว้ แล้วจึงนำมาห่อไส้ขนม การปั้นต้องค่อยๆ ห่อแป้งหุ้มไส้ให้มิดปิดสนิทแล้วคลุกเคล้ากับมะพร้าวทึนทึกขูดเส้นให้ทั่วๆ จะได้ขนมต้มใบเตยหอมๆ รสชาติอร่อยหอมหวานมัน หวังว่าทุกท่านคงอร่อย กับขนมต้มใบเตย

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 11,718

ขนมไข่

ขนมไข่

ขนมไข่ เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรนิยมรับประทานกันมายาวนานแต่เดี่ยวนี้หาร้านอร่อยๆ หาทานอยากและยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพราะมีส่วนผสมของแป้งไข่และน้ำตาลเป็นหลักขนมไข่เป็นขนมโบราณอย่างหนึ่งควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ลูกหลานรุ่นหลังได้รู้จักและเห็นคุณค่าของขนมโบราณ

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 4,945

ฉู่ฉี่แมงอีนูน

ฉู่ฉี่แมงอีนูน

ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ที่จังหวัดกำแพงเพชร จะมีแมง "แมงอีนูน" หรือแมงนูน ออกจากที่ซ่อนเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ โดยแมงนูนเป็นแมงปีกแข็งตัวสีน้ำตาล ลำตัวกลมขนาดหัวแม่มือ มีขา 6 ขา อาศัยอยู่ใต้ดินทราย สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ฉู่ฉี่ ต้ม คั่ว รวมไปถึงทอดในน้ำมันเดือดๆ อย่างไรก็ตามช่วงนี้เป็นช่วงที่แมงอีนูนจะมีไข่เต็มท้อง "แมงนูนจะมีรสชาติหอมมันเพราะมีไข่เต็มท้อง แต่ถ้าล่วงเลยจากเดือนนี้ไปแล้ว แมงอีนูนจะพากันขุดรูวางไข่ ดังนั้นในตัวจึงมีแต่เลือดซึ่งรับประทานไม่ได้ โดยปีที่ผ่านมาแมงอีนูนมีไม่มากเท่าปีนี้ สาเหตุเพราะปีนี้เกษตรกรไม่ได้ไถหน้าดินทำให้มีพงหญ้าและต้นอ้อยขึ้นหน้า แน่น แมงนูนจึงไม่ถูกทำลาย ดังนั้นในปีนี้จึงจับได้เป็นจำนวนมาก"

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 2,009

ขนมผักห่อ

ขนมผักห่อ

ขนมผักห่อ ขนมพืื้นบ้านของคนนครชุม ที่นิยมทำกินในครัวเรือน มีวิธีการทำง่ายๆ โดยโขลกพริก หอม กระเทียม กะปิให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย นำแป้งข้าวเจ้า แป้งมันเทผสมกันในภาชนะ ใส่น้ำเปล่าคนให้เข้ากัน ใส่หมูและน้ำพริก น้ำปลา ไข่ไก่ คนให้เข้ากัน แล้วซอยต้นหอมเป็นท่อนยาวประมาณ 1 ซ.ม.ใส่ลงไป คนให้ทั่ว ชิมดูมีรสเค็ม เผ็ดนิดๆ เย็บกระทงเป็นรูปเรือยาว 4 นิ้ว กว้าง 3 นิ้ว เรียงในซึ้ง ตักแป้งใส่กระทง นำซึ้งตั้งไฟพอน้ำเดือดเอาขนมนึ่งประมาณ 20 นาที เวลารับทานจะทานเปล่าๆ หรือทานกับซอสศรีราชาก็ได้

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,544

ขนมทองเอก

ขนมทองเอก

ขนมทองเอกเป็นขนมที่มีใช้ในงานบุญพิธีบวงสรวงและงานมงคลต่างๆ เพราะชื่อของขนมปะเภทนี้นั้นมีความหมายที่ดี เช่น ทองเอก และ เสน่ห์จันทร์ ผู้ทำจะต้องมีความชำนาญประณีตละเอียดอ่อนเนื่องด้วยเป็นขนมที่ใช้ออกงานเป็นหลัก ต้องรักษาลักษณะและสีของขนมไว้ตามแบบโบราณ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,104

ขนมขี้หนู

ขนมขี้หนู

ขนมขี้หนู เป็นขนมไทยโบราณ บ้างเรียกขนมทราย ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำเชื่อม โรยหน้าด้วยมะพร้าว การรับประทาน ตักใส่ภาชนะ (จานแบน ๆ) โรยด้วยมะพร้าวแก่ขูดฝอยตามชอบ (ไม่ใช่มะพร้าวซึก) ขนมที่ดีจะต้องเป็นเหมือนเม็ดทรายละเอียด ร่วนซุย ไม่จับเป็นก้อน หวานเล็กน้อย หอมชื่นใจเมื่อทาน

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,314

แกงหยวกกล้วยไข่กับเมี่ยงนครชุม

แกงหยวกกล้วยไข่กับเมี่ยงนครชุม

จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่อยู่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนทำให้ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตได้รับการผสมผสานจากทั้งภาคเหนือ (ล้านนา) และภาคกลาง (อยุธยาและสุโขทัย) ซึ่งแสดงออกในหลาย ๆ อย่าง อาทิ ประเพณี วัฒนธรรม โดยเฉพาะอาหาร อย่างเมี่ยงคำหรือเมี่ยงลาว เป็นต้น เมี่ยงเป็นอาหารที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยการย้ายถิ่นฐานของผู้คนที่มาจากภาคเหนือและภาคอีสาน แต่เมื่อย้ายถิ่นมาอยู่กำแพงเพชรเป็นเวลานานก็เริ่มผสมผสานความเป็นภาคกลางเข้าไปในอาหารหรือแม้แต่วิธีการกิน รวมถึงส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการทำเมี่ยง นอกจากเมี่ยงแล้วเมื่อมาจังหวัดกำแพงเพชร คนส่วนใหญ่จะนึกถึงกล้วยไข่กำแพงเพชร เนื่องจากกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น มีลักษณะเด่นที่ลูกเล็กกำลังดี มีกลิ่นหอมและรสชาติหวาน แขกบ้านแขกเมืองจึงนิยมนำกล้วยไข่ไปเป็นของฝาก สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรมีการปลูกกล้วยไข่อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อมีกล้วยสุกเป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงคิดหาวิธีที่จะนำกล้วยมาทำเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เพื่อให้คนในครอบครัวไม่เกิดความเบื่อหน่ายจากการรับประทานอาหารชนิดเดิมซ้ำ ๆ ก่อเกิดเป็นแกงหยวกกล้วยไข่ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 07-06-2022 ผู้เช้าชม 810

ขนมชั้น

ขนมชั้น

ขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3-4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมในแต่ละแบบ ซึ่งแป้งแต่ละอย่างก็จะมีคุณสมบัติทำให้ขนมมีเนื้อต่างกัน

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,977

ขนมครก

ขนมครก

ขนมครก เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งน้ำตาลและกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะรับประทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน เป็นขนมของไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณมีหลักฐานว่าขนมครกเป็นที่นิยมแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีการทำเตาขนมครกขายตั้งแต่ยุคนั้น ขนมครกแต่เดิมใช้ข้าวเจ้าแช่น้ำ โม่รวมกับหางกะทิ ข้าวสวย และมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย ผสมเกลือเล็กน้อยใช้เป็นตัวขนม ส่วนหน้าของขนมครกเป็นหัวกะทิ ขนมครกชาววังจะมีการดัดแปลงหน้าขนมครกให้แปลกไปอีก เช่น หน้าเผือก หน้าข้าวโพด หน้าต้นหอม

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 5,944

แกงนอกหม้อ

แกงนอกหม้อ

หัวใจหลักของแกงนอกหม้อ อยู่ที่การนำเครื่องทุกอย่างที่ถูกปรุงให้สุกพอดีอย่างที่ใจต้องการใส่ในชามเตรียมไว้ปรุงน้ำแกงจืดให้ได้รสกลมกล่อม แล้วจึงค่อยตักลงใส่ในชาม ข้อดีของการปรุงแกงนอกหม้อคือรสชาติของส่วนประกอบแต่ละชนิด จะยังคงรักษารสชาติดั้งเดิมของตัวเอง และสำหรับเนื้อสัตว์ก็จะไม่สุกเกิน และรสชาติของน้ำแกงก็จะกลมกล่อมอย่างที่ปรุงไว้

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 22,409