การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้ชม 1,722

[16.2844429, 98.9325649, การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง]

       ชาวม้งในจังหวัดกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อำเภอคลองลาน มีเป็นจำนวนมากที่ยังรักษาวัฒนธรรมและประเพณี ไว้ได้เป็นอย่างดี จากการสำรวจล่าสุด มีชาวม้งจำนวน 1,983 คน ชาวม้งที่อำเภอคลองลาน มีความเชื่อเรื่องพระพุทธศาสนา ผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับผีมีผีเหย้าผีเรือน 6 ตน คือผีปู่ย่าตายายหรือผีบรรพบุรุษ ผีเสาเอก ผีเตาไฟ ผีเตาข้าวหมู ผีประตูและผีที่นอน และมีความเชื่อเรื่องผีป่า ชาวม้งยึดถือระบบครอบครัว บุรุษที่มีอาวุโสสูงสุดจะมีศักดิ์เป็นหัวหน้าหรือประมุขของตระกูล มีสิทธิขาดในการตัดสินใจ ขณะเดียวกันผู้อาวุโสจะต้องรับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ของคนในตระกูล มีครอบครัวชาวม้งครอบครัวหนึ่งและมีเพียงครอบครัวเดียว ที่ยังรักษาการตีมีดแบบโบราณไว้ได้เป็นอย่างดี และสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ตีมีดตั้งแต่อยู่เมืองจีน จนกระทั่งอพยพมาอยู่ที่ขุนเขาคลองลาน และอพยพมาอยู่พื้นล่างในที่สุดกว่า 20 ปี
       ท่านผู้นั้นคือ นายยูเล่ง แซ่ม้า อายุ 64 ปี เรียนรู้การตีมีดจากพ่อ พ่อเรียนรู้มาจากปู่ ปู่เรียนรู้มาจากทวด สืบทอดมาแสนนาน เขาเริ่มตีมีดมา ตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยการใช้เหล็กแท่ง หรือเหล็กแหนบ เป็นวัตถุดิบสำหรับตี เตาที่ใช้ตีมีดของนายยูเล่ง แซ่ม้า เป็นเตาแบบโบราณ ที่ใช้ ปู้ หรือไฟสำหรับเป่าให้เหล็กแดง ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนเจาะเข้าไปให้เป็นโพรงเป็นกระบอกสูบและใช้ขนไก่สำหรับเป็นลูกสูบ การสูบเบาแรงมาก แทบไม่ต้องออกแรง เพียงดึงเบาๆ ก็ทำให้เกิดลมอัดอย่างแรง ทำให้ไฟลุกอย่างคุโชน ทำให้เหล็กแดง เมื่อได้ที่แล้วจึงนำมาใช้ตี มีเทคนิคการตีที่ไม่เคยเห็นมาก่อน คือการทำให้เหล็กอ่อนตัว คือเมื่อเผาเหล็กให้ร้อนจนแดงแล้วนำมากลบด้วยแกลบสักครู่ แล้วจึงไปตีใหม่หรือไปตะไบจะทำให้เหล็กอ่อนมากขึ้นและนำไปเข้าเล่ม ทำให้มีมีคมที่ถาวร และคมผิดกว่ามีดทั้งหลาย
        นายยูเล่ง แซ่ม้า เป็นห่วงมากในอาชีพการตีมีดแบบโบราณที่ไม่มีผู้สืบทอด อาจทำให้การตีมีดที่สืบทอดมาหลายร้อยปีต้องสาบสูญไปพร้อมภูมิปัญญาของชาวเขาเผ่าม้งที่จะต้องไร้ทายาทสืบทอดอย่าง น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง มีดที่นายยูเล่ง แซ่ม้า ตีขาย ขายในราคาถูก ทั้งๆ ที่มีคุณภาพอย่างมาก ขายดีมีผู้มาซื้อตลอดเวลาท่ามกลางกระแสแห่งการต่อสู้แห่งอารยธรรมชาวเขากับอารยธรรมพื้นราบ อารยธรรมชาวเขากำลังพ่ายแพ้ ต่ออารยธรรมตะวันตก ใครเล่าจะต่อชีวิตการตีมีดจากนายยูเล่ง แซ่ม้า ชาวเขาเผ่าม้ง ผู้มุ่งมั่นรักษาวัฒนธรรมการตีมีด ไว้ให้มีผู้สืบทอดการตีมีดต่อไป

คำสำคัญ : การตีมีด

ที่มา : สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน. (2549). วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินามหมู่บ้านตำบลคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610007&code_type=01&nu=pages&page_id=1439

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1439&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

ศูนย์รวมสายพันธุ์กล้วย ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ

ศูนย์รวมสายพันธุ์กล้วย ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ

กล้วยเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่เป็นอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ เส้นใยสิ่งทอ สมุนไพร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่มีน้อยคนที่จะรู้จักกล้วยอย่างแท้จริง หากอยากรู้จักกล้วยให้มากขึ้นก็ต้องเดินทางมาที่จังหวัดกำแพงเพชร หรือเรียกว่า เมืองกล้วยไข่ เพราะว่าจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าปลูกกล้วยไข่ได้รสชาติดีที่สุดในประเทศและด้วยชื่อเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ซึ่งพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้สายพันธุ์กล้วยที่คุณค่าทางวัฒนธรรมต่อชาวกำแพงเพชร ซึ่งคนที่สนใจเรื่องกล้วยรวมไปถึงคนที่ชอบกินกล้วยไม่ควรพลาด

เผยแพร่เมื่อ 01-08-2022 ผู้เช้าชม 2,338

เรือนส่างหม่อง

เรือนส่างหม่อง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราว พ.ศ. 2420 และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา 4 คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่างหม่องและนางเฮียงไม่มีบุตรด้วยกัน

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,988

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งเป็นอาชีพที่สำคัญในอดีตของชาวกำแพงเพชร การตัดหวาย การตักยาง การตีผึ้ง การทำยาสูบถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ นับว่าเป็นวิถีชีวิตของคนกำแพงเพชร แต่ในปัจจุบันเราจะไม่เห็นการตีผึ้งหลวงได้ง่ายนัก เพราะขาดผู้ที่ชำนาญการในการตีผึ้ง แต่เราก็โชคดีที่พบกับหนุ่มสมชาย ภู่สอน ผู้ยึดอาชีพตีผึ้งมากว่าสิบปี เมื่อเดินมาที่สวน พบผึ้งหลวงรังขนาดใหญ่ อยู่บนต้นกระท้อน หนุ่มสมชายเริ่มต้นทำคบไฟเพื่อจุดเป็นควันเพื่อให้ผึ้งเมาขณะตี และไม่สามารถต่อยเขาได้ เริ่มเอาควันเข้าไปลนที่รังผึ้งหลวง ผึ้งแตกรังบินว่อนเต็มท้องฟ้า เมื่อผึ้งหนีไปหมดแล้ว ได้ใช้มีดปาดรังผึ้งหลวงลงมา เพื่อนำมาคั้นเอาน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,789

กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

อย่างไรจึงเรียกว่า "กล้วยไข่เมืองกำแพง" กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร จะมีลักษณะลำต้นตรงกาบด้านนอกเป็นสีเขียวอมเหลือง และกาบด้านในเป็นสีชมพูอมแดง มีลักษระผิวกาบมันวาว ลำต้นมีกาบใบที่ประกบกันแน่น ปลายใบเรียว สีใบกล้วยเป็็นสีเหลืองอ่อน ผิวใบมันวาว ใบชูตั้งชันยาวและรี มีเส้นใบจะเรียงขนานกัน กล้วยไข่กำแพงเพชรจะเริ่มตกปลีหลังจากปลูก 6-8 เดือน ปลีจะเกิดที่ใจกลางของลำต้น มีลักษณะปลีขนาดเล็ก ด้านนอกเป็นสีแดงม่วง เมื่อลอกกาบปลีออก ด้านในจะเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 6,262

กล้วยไข่กำแพงเพชร

กล้วยไข่กำแพงเพชร

กล้วยไข่นับว่าเป็น "ของดีของเมืองกำแพง" ที่ชาวบ้านปลูกกันมานับร่วมร้อยปี จนกลายเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด และผูกพันกับประเพณีวิถีชีวิตของคนกำแพงมายาวนาน ทั้งงานบุญ งานสารทไทยกล้วยไข่ ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมการกินกระยาสารทของคนกำแพงเพชร คนกำแพงเพชรปลูกกล้วยไข่กันมากในแทบทุกพื้นที่ เนื่องจากทั้งดิน น้ำ และอากาศที่เหมาะสม ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีมีเอกลักษณ์โดดเด่น

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 2,318

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว ทำจากแป้งข้าวเหนียวมาปั้นเป็นส่วนประกอบของสินค้า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ของกล้วยไข่ เช่น ลำต้น เครือกล้วยไข่ แล้วนำมาประกอบเป็นต้นกล้วยไข่และทำเป็นพวงกุญแจ ใช้เป็นของที่ระลึก ของฝาก หรือทำเป็นของตกแต่งก็ดูสวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,240

การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

นายยูเล่ง แซ่ม้า อายุ 64 ปี เรียนรู้การตีมีดจากพ่อ พ่อเรียนรู้มาจากปู่ ปู่เรียนรู้มาจากทวด สืบทอดมาแสนนาน เขาเริ่มตีมีดมาตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยการใช้เหล็กแท่งหรือเหล็กแหนบ เป็นวัตถุดิบสำหรับตี เตาที่ใช้ตีมีดเป็นเตาแบบโบราณที่ใช้ปู้หรือไฟสำหรับเป่าให้เหล็กแดง ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนเจาะเข้าไปให้เป็นโพรงเป็นกระบอกสูบและใช้ขนไก่สำหรับเป็นลูกสูบ การสูบเบาแรงมากแทบไม่ต้องออกแรง เพียงดึงเบาๆ ก็ทำให้เกิดลมอัดอย่างแรง ทำให้ไฟลุกอย่างคุโชน ทำให้เหล็กแดง เมื่อได้ที่แล้วจึงนำมาใช้ตี มีเทคนิคการตีที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,722

เรือนนายหอม รามสูต

เรือนนายหอม รามสูต

บ้านหลังนี้ เป็นบ้านทรงปั้นหยา (เรือนไม้แบบยุโรป มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง หลังคาทุกด้านชนกันแบบพีระมิด ไม่มีหน้าจั่วเรือนปั้นหยาปรากฏมีอยู่ที่หลังคาพระราชวังต่างๆ ที่สร้างในสมัยต้นรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นแบบปั้นหยา จากเรือนปั้นหยาได้วิวัฒนาการมาเป็นเรือนมะนิลา คือบางส่วนเป็นเรือนหลังคาปั้นหยาแล้ว เปิดบางส่วนให้มีหน้าจั่ว ในสมัยที่เรือนแบบมะนิลาซึ่งคงจะแพร่หลายมาจากเมืองมะนิลา) เข้ามาสู่ความนิยมอย่างแพร่หลายในพระราชวัง แล้วสู่วังของเจ้านายในราชสำนัก และมาสู่เรือนของผู้มีอันจะกินในต่างจังหวัดในที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,316

การปลูกกล้วยไข่

การปลูกกล้วยไข่

เราจะปลูกกล้วยไข่กำแพงเพชรให้ได้ผลผลิตที่สูง ลดการลงทุน ด้วยมาตรฐานการส่งออกได้อย่างไรกันนะ แรกสุดเรามาพิจารณาว่าพื้นที่สวนเรามีลักษณะที่กล้วยไข่กำแพงเพชรเติบโตได้ดีไหม สวนเราต้องเป็นที่ดอนหรือที่ราบที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ มีดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึกมากกว่า 40 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.5-7.0 มีอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 25-28 องศาเซลเซียล การเตรียมพื้นที่เริ่มที่ "การไถดะ" ด้วยรถไถแล้ว "ตากดิน" ประมาณหนึ่งสัปดาห์ เพื่อปรับดินและกำจัดวัชพืช

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 10,417

แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

พระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชรมีชื่อเสียงในด้านความสง่างามด้วยศิลปะอันเกิดจากประติมากรรมของสกุลช่างกำแพงเพชร ในอดีตมีผู้ค้นพบกรุพระพิมพ์หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “พระเครื่อง” บริเวณพระมหาธาตุเจดีย์ที่ถูกปล่อยให้รกร้างเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นจุดกำเนิดของกรุพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี รวมถึงได้มีการพบตำนานการสร้างพระพิมพ์ซึ่งจารึกในแผ่นลานเงินรวมอยู่ในกรุที่ถูกค้นพบ ทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงตำนานความเป็นมาของพระเครื่องนครชุมที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน  ด้วยเหตุนี้กำแพงเพชรจึงกลายเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,685