แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง

แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้ชม 4,898

[16.2851012, 98.9318737, แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง]

        แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง ดนตรีชาวเขาเผ่าม้ง ไพเราะแว่วมาอย่างโหยหวน แสดงความสูญเสีย ที่สลับซับซ้อน ชาวม้ง เรียกดนตรีชิ้นนี้ว่า เก้ง คนพื้นราบเรียกกันว่า แคน แต่เดิมดนตรีที่เรียกว่าเก้งใช้ในการเป่าเพื่อส่งวิญญาณของผู้ตาย เมื่อได้ยินเพลงจากแคน แสดงถึงมีการตาย มีการลั่นกลองประกอบ เมื่อมีการตายชาวม้งต้องนำศพไปฝังบนเขาผู้นำขบวนจะเดินเป่าแคนเพื่อส่งวิญญาณไปสวรรค์ จากการสัมภาษณ์ นายหวั่งเซ้ง จังเจริญกุล ชาวเขาเผ่าม้ง อายุ 63 ปี มีอาชีพทำแคนขายท่านเล่าให้ฟังว่า ดนตรีประจำชาวเขาเผ่าม้งที่สำคัญ คือ แคนหรือเก้ง ใช้เป่าเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์ มีเพลงประกอบหลายเพลง เพลงที่น่าสนใจได้จัดลำดับไว้ ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้ เพลงที่ 1 เป็นเพลงสำหรับไหว้ครู เพลงที่ 2 ท่วงทีและทำนอง แนะนำให้คนตายเดินทางขึ้นสวรรค์ เพลงที่ 3 แนะให้ขึ้นม้าขี่ไปเมืองผี หรือเมืองสวรรค์ แล้วแต่บุญกรรมที่ทำมา เพลงที่ 4 จะนำไปฝังศพ แนะนำให้ใช้ชีวิตในเมืองผี ปัจจุบันวัฒนธรรมการเป่าแคนเปลี่ยนแปลงไป ใช้เป่าในหลายงาน แม้งานรื่นเริงก็ใช้เป่าอาจเป็นเพราะมีการปรับสภาพตามความเป็นจริง ในปัจจุบัน เสียงแคนไพเราะมาก น้ำเสียง ลีลาทำนอง ให้อารมณ์ ความรู้สึกที่บอกถึงความรักอาลัย และความสูญเสีย นายหวั่งเซ้ง จังเจริญกุล สอนถึงวิธีการทำแคนโดยละเอียด เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของชาวม้งไปสู่ลูกหลานของชาวม้ง ท่านบอกว่า ขณะนี้ทั้งประเทศมีผู้ทำแคนชาวม้ง ได้ไม่กี่คน มีความตั้งใจที่อยากจะถ่ายทอดสู่เยาวชนหรือผู้สนใจ แต่ยังขาดทุนทรัพย์ในการดำเนินการ ร้องขอผู้เกี่ยวข้องให้ช่วยลงทุนในการดำเนินการตั้งโรงเรียนการทำแคนและเป่าแคน เพื่อสืบทอดวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าม้งอีกแนวทางหนึ่ง ใครเล่าจะช่วยภารกิจอันสำคัญของนายหวั่งเซ้ง จังเจริญกุล…
        การเป่าแคนหรือเก้ง ของชาวม้งนี้ มีท่าเต้นประกอบการเป่าแคนด้วย มีลีลาและอารมณ์ที่น่าสนใจ น่าเรียนรู้และน่าสืบทอด การบันทึกเรื่องราวของการทำแคน การเป่าแคน การเต้นตามทำนองแคน สู่รายการโทรทัศน์วัฒนธรรม จึงการบันทึกวัฒนธรรม โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามารับใช้วัฒนธรรมอาจทำให้วัฒนธรรม การเป่าแคน การทำแคน และการเต้นตามทำนองของแคน อยู่คู่วัฒนธรรมชาวม้งต่อไปอย่างนิจนิรันดร์

คำสำคัญ : แคน เก้ง ม้ง

ที่มา : สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน. (2549). วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินามหมู่บ้านตำบลคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610007&code_type=01&nu=pages&page_id=1436

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1436&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

การปลูกกล้วยไข่

การปลูกกล้วยไข่

เราจะปลูกกล้วยไข่กำแพงเพชรให้ได้ผลผลิตที่สูง ลดการลงทุน ด้วยมาตรฐานการส่งออกได้อย่างไรกันนะ แรกสุดเรามาพิจารณาว่าพื้นที่สวนเรามีลักษณะที่กล้วยไข่กำแพงเพชรเติบโตได้ดีไหม สวนเราต้องเป็นที่ดอนหรือที่ราบที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ มีดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึกมากกว่า 40 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.5-7.0 มีอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 25-28 องศาเซลเซียล การเตรียมพื้นที่เริ่มที่ "การไถดะ" ด้วยรถไถแล้ว "ตากดิน" ประมาณหนึ่งสัปดาห์ เพื่อปรับดินและกำจัดวัชพืช

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 10,427

แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

พระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชรมีชื่อเสียงในด้านความสง่างามด้วยศิลปะอันเกิดจากประติมากรรมของสกุลช่างกำแพงเพชร ในอดีตมีผู้ค้นพบกรุพระพิมพ์หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “พระเครื่อง” บริเวณพระมหาธาตุเจดีย์ที่ถูกปล่อยให้รกร้างเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นจุดกำเนิดของกรุพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี รวมถึงได้มีการพบตำนานการสร้างพระพิมพ์ซึ่งจารึกในแผ่นลานเงินรวมอยู่ในกรุที่ถูกค้นพบ ทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงตำนานความเป็นมาของพระเครื่องนครชุมที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน  ด้วยเหตุนี้กำแพงเพชรจึงกลายเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,685

บายศรี

บายศรี

บายศรี เป็นการใช้ภูมิปัญญาไทย ในการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ ผู้ได้รับการทำพิธี บายศรีจึงเป็นของสูง สิ่งมีค่าของไทยมาแต่โบราณ ในงานมงคลทุกงานจะมีพิธีที่มีบายศรีเป็นส่วนสำคัญ เป็นศาสนพิธีของศาสนาพราหมณ์ คำว่าบาย เป็นภาษาเขมร หมายถึง ข้าวสุก ศรี เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง มิ่งขวัญ บายศรี จึงหมายถึง ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย  ก่อนทำพิธีสู่ขวัญ ต้องมีการจัดทำพาขวัญหรือขันบายศรี หมายถึง ภาชนะใส่เครื่องสังเวยบูชาก่อนการเรียกขวัญ ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยใบไม้ เช่น ใบตองกล้วย นำมาพับ เป็นมุมแหลมและเย็บซ้อนอย่างสวยงาม อาจทำเป็น 3 ชั้น 5 ชั้น หรือ 7 ชั้น แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้จัดพิธี บายศรีจึงเป็นความเชื่อของคนทุกภาคในประเทศไทย การทำพิธีโดยใช้บายศรี ก่อให้เกิดขวัญกำลังใจ ช่วยให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถเผชิญภยันตรายได้อย่างดี ทำให้เกิดโชคลาภและสิริมงคลแก่ผู้กระทำ การใช้บายศรี มีทั้งเหตุการณ์ดีและเหตุการณ์ไม่ดี

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 31,973

มะขามป้อม สุดยอดสมุนไพรไทย แก้ไอ เจ็บคอ บำรุงกล่องเสียง

มะขามป้อม สุดยอดสมุนไพรไทย แก้ไอ เจ็บคอ บำรุงกล่องเสียง

ที่วัดโขมงหัก หมู่ที่ 13 ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแพทย์แผนไทยหมอพื้นบ้านได้รวมกลุ่มกัน เพื่อทำยาอมมะขามป้อมเพชร เพื่อใช้รักษาบรรเทาอาการเจ็บคอ แก้ไอ บำรุงกล่องเสียง แก้เสมหะที่ลำคอ แก้เสลดหางวัว ยาอมมะขามป้อมเพชร ประกอบไปด้วย มะขามป้อม มะขามเปียก ดอกดีปลี ดอกช้าพลู เกลือ น้ำตาล ที่ถูกนำไปตากแห้งและอบ จากนั้นนำมาเคี่ยวในกระทะที่ร้อนคลุกเคล้าให้เข้ากันใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,345

เรือนส่างหม่อง

เรือนส่างหม่อง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราว พ.ศ. 2420 และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา 4 คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่างหม่องและนางเฮียงไม่มีบุตรด้วยกัน

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,991

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งเป็นอาชีพที่สำคัญในอดีตของชาวกำแพงเพชร การตัดหวาย การตักยาง การตีผึ้ง การทำยาสูบถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ นับว่าเป็นวิถีชีวิตของคนกำแพงเพชร แต่ในปัจจุบันเราจะไม่เห็นการตีผึ้งหลวงได้ง่ายนัก เพราะขาดผู้ที่ชำนาญการในการตีผึ้ง แต่เราก็โชคดีที่พบกับหนุ่มสมชาย ภู่สอน ผู้ยึดอาชีพตีผึ้งมากว่าสิบปี เมื่อเดินมาที่สวน พบผึ้งหลวงรังขนาดใหญ่ อยู่บนต้นกระท้อน หนุ่มสมชายเริ่มต้นทำคบไฟเพื่อจุดเป็นควันเพื่อให้ผึ้งเมาขณะตี และไม่สามารถต่อยเขาได้ เริ่มเอาควันเข้าไปลนที่รังผึ้งหลวง ผึ้งแตกรังบินว่อนเต็มท้องฟ้า เมื่อผึ้งหนีไปหมดแล้ว ได้ใช้มีดปาดรังผึ้งหลวงลงมา เพื่อนำมาคั้นเอาน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,792

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เป็นเรือนไม้สักพักอาศัย 2 ชั้น ทรงมนิลาประยุกต์หลังคาปั้นหยามีมุขยื่นด้านหน้าประดับไม้ฉลุแบบเรือนขนมปังขิง (เรือนขนมปังขิง เป็นชื่อเรียกอาคารประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งแพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการประดับตกแต่ลวดลายฉลุที่วิจิตรพิสดาร หรูหรา สวยงาม เหมือนขนมปังขิง) หลังคามุงกระเบื้องดินเผาทางเข้าหน้าบ้านและหน้าเรือนที่เฉลียงมีซุ้มประตู ตัวเรือนยกพื้นสูงเกือบ 2 เมตร 

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,535

ดินสอพองกำแพงเพชร

ดินสอพองกำแพงเพชร

จะมีคนกำแพงเพชรสักกี่คนที่ทราบว่า ใต้แผ่นดินอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรที่เต็มไปด้วยศิลาแลง อันทรงคุณค่าต่อเมืองมรดกโลก มีดินขาว ที่เรียกกันว่าดินสอพองจำนวนมาก ดินสอพอง หมายถึง ดินขาว เราเองก็ไม่เคยทราบเช่นกัน ว่ามีดินสอพองใต้แผ่นดินกำแพงเพชร และได้ถูกนำมาผลิตดินสอพองมานับร้อยปี นับเป็นภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดมาอย่างควรบันทึกไว้ในรายการโทรทัศน์วัฒนธรรมของเรา

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 1,716

กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

อย่างไรจึงเรียกว่า "กล้วยไข่เมืองกำแพง" กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร จะมีลักษณะลำต้นตรงกาบด้านนอกเป็นสีเขียวอมเหลือง และกาบด้านในเป็นสีชมพูอมแดง มีลักษระผิวกาบมันวาว ลำต้นมีกาบใบที่ประกบกันแน่น ปลายใบเรียว สีใบกล้วยเป็็นสีเหลืองอ่อน ผิวใบมันวาว ใบชูตั้งชันยาวและรี มีเส้นใบจะเรียงขนานกัน กล้วยไข่กำแพงเพชรจะเริ่มตกปลีหลังจากปลูก 6-8 เดือน ปลีจะเกิดที่ใจกลางของลำต้น มีลักษณะปลีขนาดเล็ก ด้านนอกเป็นสีแดงม่วง เมื่อลอกกาบปลีออก ด้านในจะเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 6,268

การขึ้นตาล

การขึ้นตาล

ตาลถูกกล่าวขานเปรียบเทียบในวรรณกรรมมาช้านาน ตาลจึงเป็นพืชที่ชาวไทยรู้จักเป็นอย่างดีและนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและเหมาะสม ทุกส่วนของตาลล้วนนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ตาลโตนด เป็นต้นไม้ตระกูลเก่าแก่ มีมากกว่า 4,000 ชนิด ขึ้นอยู่ทั่วประเทศไทย มีอายุยืนนับร้อยๆ ปี นักชีววิทยามีความเห็นว่า ตาลโตนดมีถิ่นกำเนิดทางฝั่งตะวันออกของอินเดีย ขยายไปสู่ศรีลังกา สหภาพเมียนม่าร์ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา ในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรบุรี นครปฐม มีปลูกมาก่อนสมัยทวารวดี ตาดโตนดเป็นพืชตระกูลปาล์มพัด มีชื่อหลายชื่อด้วยกัน เช่น ตาลใหญ่ ตาลนา ภาคเหนือเรียก ปลีตาล ภาคใต้เรียกโนด เขมรเรียกตะนอย ตาลโตนดที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร มี 3 สายพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,433