เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้ชม 1,403

[16.5680198, 99.4659328, เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง]

           เสียงกลองวัดหนองปลิง ดังรัวเต็มที่ ยังผลให้ชาวบ้านที่อยู่ในรัศมีเสียงกลองพากันหูผึ่ง กำลังทำงานอยู่ก็ละวาง มองหน้าทักถามกันด้วยสายตา ท่าทีตะลึงงัน มันเป็นเวลาใกล้ค่ำ แต่ทว่านี่ก็เลยกลางเดือน 11 ออกพรรษามาหลายเดือนแล้ว กลองย่ำค่ำ พระก็หยุตี เหลือแต่เวลาเพล 11.00 น. จึงจะได้ยินกัน สำหรับในพรรษานั้นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน วัดทีพระมาก เพราะมีพระบวชใหม่เพิ่มจำนวน ส่วนพระเก่าก็อยู่ประจำ ไม่โคจรไปไหนๆ จึงประชุมกันเพื่อกิจวัตรสวดมนต์อย่างเคร่งครัด เฉพาะเวลาเย็น ชาวบ้านจะได้ยินเสียงกลองสองครั้ง ครั้งแรก 17.00 น. ครั้งที่สองราวๆ 18.00 น.เศษ ครั้งแรกเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า พระเริ่มเตรียมลงประชุม ตอนหลังสวดมนต์ทำวัตรจบ เป็นเครื่องเตือนจิตใจชาวบ้าน ซึ่งปกติหมกมุ่นอยู่กับงานให้ได้หวนระลึกถึงพระศาสนา แม่ตัวเองจะติดงานวัดมาไม่ได้นอกจากวัดพระ 8 ค่ำ 15 ค่ำ แต่ก็ได้ส่งอารมณ์ส่งจิตใจมาอนุโมทนาคารวะพระรัตนตรัย ด้วยเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งเท่ากับเป็นการฉุดรั้งจิตใจที่หมกมุ่นอยู่ในโลกีย์วิสัย ให้ได้สัมผัสกับแสงสว่างแห่งศีลธรรมศาสนา แม้จะชั่วแวบหนึ่งก็ยังมีคุณแก่ชีวิต เป็นสิริมงคลแก่ตนแล้ว ฉะนั้นเมื่อเสียงกลองย่ำค่ำในฤดูกาลเข้าพรรษาดังแว่วมา ชาวบ้านจะยกมือขึ้นพนมเหนือศีรษะ อุทานว่า สาธุ ถ้าเด็กหรือหนุ่มๆ สาวๆ ไม่สาธุเมื่อได้ยินเสียงกลองย่ำค่ำ ก็จะมักถูกผู้ใหญ่เตือนเป็นเชิงติดว่า “เอ็งมันบาปหนา มือแข็ง ไม่ไหว้พระอนุโมทนากับท่าน ดูสิ! หมามันได้ยินเสียงกลอง เสียงระฆังมันยังโห่ยังหอน” เมื่อโดนเข้าแบบนี้เป็นไม่มีใครจะมือแข็งอยู่ได้ ต้องจัดแจงปรับปรุงจรรยาตนเองทันที ฉะนั้นกลองระฆังประจำวัดต่างๆ ในพุทธศาสนาจึงมีความหมายต่อชาวบ้านมากคือเป็นสัญญาณแห่งสวรรค์ของเขานั่นเอง
           แต่เสียงกลองคราวนี้ ไม่ใช่ฤดูกาลที่พระจะย่ำค่ำ จังหวะก็เร่งร้อนนัก ทุกคนที่ได้ยินก็รู้ทันทีว่า นั่นเป็นสัญญาณบอกเหตุฉุกเฉิน ฉะนั้นเพียงสิ้นเสียงกลองไม่นาน ลานวัดหนองปลิงก็เกลื่อนกล่นไปด้วยผู้คน
           พระภิกษุสูงอายุรูปหนึ่ง ยืนยู่บนชานกุฎิ มีสีหน้าตื่นตกใจจนเห็นชัด ตะโกนโต้ตอบชาวบ้านผู้ซักหาสาเหตุด้วยเสียงและปากคอสั่นราวกับเป็นไข้
          “ฉันเพิ่งกลับมาเดี๋ยวนี้และไม่ไปนานนี่นา มันคงเอาไปได้ไม่ไกลหรอก”
          “อะไรกันครับ” เสียงอีกคนหนึ่งตะโกนซ้อนเข้ามา
          “ขโมยจ๊ะ! ขโมย มันมางัดกุฎิเอาพระไปหมด”
          “พระอะไร”
          “พระพุทธรูปเชียงแสน สุโขทัยสี่องค์” พระตอบ
          เสียงซักเสียงตอบดังแซ่ดไปหมด ทำให้รู้ว่า พระพุทธรูปเก่าอายุร่วมพันปี ที่สวยงามมีค่ามากเป็นสมบัติของวัดและคนหนองปลิงทั้งบาง ซึ่งเก็บรักษาไว้ในกุฎิหายไปในระหว่างที่พระสงฆ์ทั้งวัด ซึ่งมีอยู่เพียง 3 รูป ไปกิจนิมนต์บ้านแถวใกล้ๆ นั้น โดยมันมางัดกุฎิ พอทุกคนรู้ชัดเท่านั้น หัวใจราวกะถูกไฟไหม้ พระสี่องค์นี้เขาได้เยกราบไหว้บูชากันมาชั่วกาลนาน ด้วยความเลื่อมใส และเชื่อมั่นในอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และมีผู้หมายปองจ้องคิดจะครอบครองกันมากมาย มาขอซื้อขอเช่าในราคาสูง ยั่วให้อยากได้เงินก็มี ที่ใช้อำนาจหน้าที่เลียบเคียงเข้ามาข่มขู่เอาก็มี แต่อาศัยอดีตกำนันนาค อ่อนคำ เป็นผู้รู้จักผ่อนปรน ทำให้รอดพ้นความโลภของคนเห็นแก่ตัวมาได้ด้วยดี ก็เมื่อมาถูกขโมยไปเสียเช่นนี้ ชาวบ้านทั้งหมดจึงรู้สึกเสมือนถูกโจรกรรมมิ่งขวัญพากันโกรธเคืองขโมย บางคนโกรธจัดก็ลามไปถึงพระสงฆ์ว่ารักษาของไม่ดี แต่เมื่อเห็นอาการกิริยาอันเต็มไปด้วยความทุกข์ร้อนของท่านแล้วก็ให้อภัย จึงทำให้ความโกรธเปลี่ยนทิศทางไปสู่ขโมยทางเดียว แต่ขโมยอยู่ที่ไหน?
          ชายชราในวัยเรือน 70 ท่าทางเยือกเย็น อ่อนโยนเป็นลักษณะของผู้ใหญ่เต็มภูมิ ถ้อยทีวาจาหลักแน่นชัดเจน แม้จะมีเสียงเบาๆ ตามวิสัยคนชราแต่ก็ทำให้คนเงียบสดับฟัง จับใจความได้ถนัดว่าเสียงตะโกนทางไมโครโฟนของพวกอวดอ้างสรรพคุณขายยาตามสถานีวิทยุมากนัก ชายชราผู้นี้คือ กำนันนาค อ่อนคำ ที่คนทั้งบางเรียกว่าพ่อ เป็นฐานะนามที่เขาพากันตั้งเอาเอง ด้วยความยอมรับนับถือว่าเป็นเสมือนผู้บังเกิดเกล้าของเขาทั้งหมดขณะนั้น ความหวังของทุกหัวใจ ก็หันทิศทางมายังพ่อนาคเหมือนทุกๆ คราวที่ประสบปัญหาหนักทั้งในเรื่องส่วนตัวและส่วนรวมเขาได้ยินพ่อนาคพูดด้วยเสียงเศร้าๆ ว่า
          “อย่าเอะอะไปเลย ลูกเอ๋ย ! จะพาให้เสียเวลา เรายังมีหวัง พระท่านยืนยันว่า ของเพิ่งหายไปชั่วครู่อย่างมันจะพอไปได้ก็คงยังไม่พ้นบริเวณหนองปลิงหรอก ช่วยกันติดตามเร็วเถอะ แยกย้ายกันไปซุ่มสังเกตตามช่องทางที่จะออกนอกเขตบ้านเราทุกๆ แห่ง ไปเถอะ อย่าชักช้า เสียเวลาเลย”
          ทุกคนยอมรับความคิดเห็นนี้ ไม่มีใครเห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ยอมสละกิจส่วนตัว โดยเฉพาะชายฉกรรจ์ต่างจัดเตรียมอาวุธ จัดแบ่งกลุ่มกันออกสกัดในช่องทางทุกแห่ง คราวกินคราวนอนก็ผลัดเวรกันเคร่งครัดรวดกะทหารของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นไปอยู่ชั่ว 4 คืน 3 วัน พวกผู้หญิง เด็ก และคนชราก็คอยฟังข่าวอยู่ที่บ้าน บรรยากาศระหว่างนี้ทำให้บ้านหนองปลิงเงียบวังเวงไปทั้งบาง และในตอนเช้าของวันที่ 4 เสียงกลองวัดหนองปลิงก็ดังขึ้นอีกครั้ง เมื่อทุกๆ คนไปวัดก็ได้เห็นพ่อนาคของเขายืนเด่นอยู่บนชานกุฎิ
          “ลูกเอ๋ย ! พ่อนาคประกาศขึ้นด้วยเสียงแจ่มใสหน้าสดชื่น “พ่อเข้าใจว่าพระของเรายังไม่สูญเมื่อคนนี้พ่อฝันว่ามีคนพาพ่อไปบอกที่ซ่อนพระ พ่อเดินไปกับเขาในป่า จำได้รางๆ ว่าพอพ้นป่า ก็ถึงชายบึงเขาชี้บอดว่าพระจมน้ำอยู่ริมบึง ใกล้ต้นจิกสองต้น พ่อตื่นขึ้นมา จึงมั่นใจว่าเทวดาคงมาเข้าฝันบอกตำแหน่งซ่อนพระให้ วันนี้เราช่วยกันไปค้นตามชายบึงหลังวัดของเรานี่แหละ”
          หลายคนมองพ่อนาคของเขาอย่างแคลงใจ แต่ส่วนมากทำตามคำแนะนำเป็นเหตุให้คนทั้งกลุ่มพากันบ่ายหน้าไปสู่บึงใหญ่ ซึ่งไม่ห่างจากวัดมากนัก รวมทั้งคนที่ไม่แน่ใจนั้นด้วย สวะกอพงชายบึงถูกรื้อค้นอย่างละเอียด โดยเฉพาะตอนใดที่มีต้นจิก ตอนนั้นสะอาดเตียนไปทีเดียว เวลาผ่านไปจนสาย ก็ไม่มีวี่แววว่าจะพบพระ พ่อนาคเองก็ไม่ยอมอยู่นิ่ง ออกเรี่ยวแรงค้นกับเขา ทั้งๆ ที่สังขารก็ชราภาพอย่างนั้น ยิ่งดวงตะวันสูงขึ้นเสียงสนทนาปราศรัย วิพากษ์ วิจารณ์ ออกความคิดเห็นก็หายห่างไป เหลือแต่เสียงฉุดกระชากสวะและพงหญ้า บุกน้ำลุยโคลน และแล้วในบรรยากาศอันตึงเครียดด้วยความเหนื่อยอ่อนและหิวโหยนั่นเอง ก็ได้ยินชายคนหนึ่งตะโกนสุดเสียงราวจะถูกทำร้าย ทุกคนสะดุ้ง
          “พ่อ อยู่นี่ ! พ่อ อยู่นี่ !! พ่อ อยู่นี่ !!! เหมือนเขาจะพูดเป็นอยู่เท่านั้น
          “อะไรวะ ?” อีกคนตะคอกถาม
          “พระ ได้แล้ว ได้แล้ว อยู่นี่ พ่อ!” เขาย้ำบอกด้วยเสียงตื่นเต้นร้อนรน
          พอทุกดคนรู้แน่ว่าอะไรเป็นอะไร ต่างก็วิ่งบุกโคลนไปสู่จุดนั้น ต่อมาพระพุทธรูปสี่องค์ก็ถูกนำขึ้นมาวางเรียงกันบนพื้นหญ้า ต่างพากันอุทานด้วยเสียงและสีหน้าชื่นชมยินดี บางคนถึงกับก้มลงกราบ ทั้งๆ ที่โคลนยังเต็มตัว พ่อนาคยิ้ม
          “นิมนต์พระกับวัดเถอะลูกเอ๋ย !” แกร้องบอกด้วยเสียงแจ่มใส
          กลองวัดหนองปลิง รับงานหนักอีกแล้ว มันถูกระดมตีอยู่เป็นเวลานาน และผู้ตีก็ตีอย่างร่าเริง มีลีลาจังหวะแปลกๆ ชวนให้ขบขัน ทำให้ลานวัดหนองปลิงแน่นด้วยผู้คนอีกวาระหนึ่ง ต่างแสดงออกด้วยความเลื่อมใส และห่วงใยต่างๆ นาๆ ตามถนัด บางคนกราบแล้วกราบอีก อุทานว่า
          “บุญๆ ที่หลวงพ่อยังได้กลับมาให้ได้กราบไหว้บูชา” หลายคนด่าขโมย สาปแช่งให้มันตกนรก ไม่รู้จักผุดจักเกิดที่เอาหลวงพ่อไปจมน้ำไว้ตั้ง 4 คือ 4 วัน บางคนก็ยังประกาศบอกความอาฆาต ไม่หายขุ่นเคือง ตอนนี้พ่อนาคต้องพูดอีกครั้ง ทุกคนฟังอย่างตั้งใจ และมองพ่อนาคด้วยความอัศจรรย์ เพราะความฝันของพ่อนาค จึงทำให้ได้พระคืน จะไม่ให้อัศจรรย์อย่างไรเล่า ในเมื่อพ่อนาคติดต่อกับเทวดาได้เช่นนี้ ใจความที่พ่อนาคพูด
          “พ่อเป็นสุขจริงๆ ลูกหลานเอ๋ย ! ที่ได้เห็นลูกหลานมีความสุข ร่าเริงยินดีที่ได้พระกลับมา เพราะความสามัคคีพร้อมเพรียงของเราแท้ๆ ทำให้เทวดาอารักษ์เล็งเห็นและไม่ทอดทิ้ง ช่วยปกปักรักษามิ่งขวัญของเราไว้ได้ เราจะได้กราบไหว้บูชาของเราต่อไป เรากราบไหว้บูชารักษาท่าน ท่านก็จะคุ้มครองรักษาเรา แต่พ่อสังเกตเห็นว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่หายโกรธแค้น ยังเก็บมาผูกอาฆาต คิดจะสอนให้เจ็บตัวเสียบ้าง พ่อว่าเราควรจะยุติกันได้แล้ว ของเราก็ได้คืนมาแล้ว ให้อภัยเขาเถอะ เชื่อว่าขณะนี้มันผู้นั้นคนได้สำนึก อย่าไปซ้ำเติมเขาอีกให้เป็นบาปเป็นเวรต่อไปเลย เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย เรื่องของเราต่อไปก็คือ จงช่วยกันรักษาพระพุทธรูป 4 องค์นี้ไว้ ให้อยู่เป็นสมบัติของชาวหนองปลิงชั่วลูกชั่วหลาน ใครๆ ก็อย่าได้เห็นแก่ตัวเช่นมันผู้นั้นอีก อย่าทำตัวเป็นคนใจบาป ขายได้กระทั่งพระ ขโมยได้กระทั่งของวัด มันเป็นบาปหนัก แต่ครั้งนี้เราลืมเขาเสียเถอะ อย่าไปโกรธไปพยาบาทเขาเลย ต้องคิดว่า เขาก็เหมือนพวกเรา เมื่อยากจนลงไปแล้วมันก็ไม่คิดกลัวบาปหากทางแก้จนในทางทุจริต แต่เราอย่าให้เหมือนเขา อย่าทำบาปเพื่อแก้จน ยังมีทางดีๆ ไม่ให้เราแก้แค้นความชั่วของคน ด้วยเวรพยาบาทช่วยกันดับเวรดับภัย ด้วยอโหสิกรรมเถิดลูกเอ๋ย ! ความชั่วของเขาก็ทำให้เขาเร่าร้อนอยู่มากแล้ว เราอย่ายอมบาปไปซ้ำเติมเขาอีกเลย”
          ด้วยลีลาที่อ่อนโยน แต่แหบเครือเจือด้วยความรู้สึกที่กล่าวออกมา ทำให้มีบางคนร้องไห้ มันเป็นการร้องที่เกิดจากความรู้สึก ซึ่งไม่เหมือนกับทุกครั้งที่เขาเคยร้อง ไม่ใช่เสียใจ แต่จะว่าดีใจมันก็ยิ่งกว่าดีใจ มันซึมในอกชวนสะอื้นอย่างบอกไม่ถูก แม้แต่คนที่ใจแข็ง ไม่ยอมให้ใครเห็นหน้าตา แต่ในหัวอกของเขา มันปกปิดไม่ได้ มันมีน้ำตาขังอยู่แต่รู้ได้เฉพาะตัว
          ในที่สุด ก็มาถึงวาระที่ต้องปรึกษากันว่า ต่อไปนี้จะพิทักษ์รักษาพระพุทธรูปทั้ง 4 นี้อย่างไรจึงจะปลอดภัย ที่วัดพระสงฆ์ก็มีน้อยรูป กุฎิก็ไม่สู้แข็งแรง ทำให้หวั่นใจว่าจะเกิดเรื่องซ้ำรอยขึ้นอีกก็ได้ และไม่แน่ว่าเทวดาจะมาเข้าฝันพ่อนาค บอกที่ซ่อนไว้อีกหรือไม่ ทุกคนลงมิติเป็นอันเดียวกัน คือถ้ามอบให้พ่อนาครับไปไว้ที่บ้านแล้ว ไม่ต้องวิตกว่าโจรทั้งผู้ร้ายและผู้ดี จะมาฉกลักพรากเอาไป แต่พ่อนาคกลับอ้ำอึ้งไม่ยอมรับปาก ได้แต่บอกว่า
          “เรามันเป็นชาวบ้าน แม้ใครจะเห็นว่าดี แต่ก็ไม่มีหน้าที่จะมาก้าวก่ายถึงสมบัติของศาสนา เรามีหน้าที่เพียงแต่จะช่วยกันบำรุงวัด สิ่งใดไม่มีก็ช่วยกันหาเข้ามา ส่วนการรักษาเป็นเรื่องของพระสงฆ์ท่านอย่าให้พ่อรับหน้าที่นี้เลยลูกเอ๋ย !”
          ไม่มีใครยอม ทุกคนพากันออกความเห็นเป็นเชิงเกลี้ยกล่อม และอ้อนวอน บางคนก็ตัดพ้อทำท่าจะบีบบังคับ ซึ่งล้วนแต่ออกจากความไว้วางใจรักเคารพในพ่อนาคทั้งนั้น ทำให้พ่อนาคอึดอัดไม่รู้จะหาทางผ่อนปรนอย่างไร ก็บังเอิญพระภิกษุผู้รักษาการเจ้าอาวาสพูดขึ้นว่า
          “ไม่ได้ โยมต้องรับเอาไว้ที่นี้ไม่ได้ พวกฉันก็มีเพียง 3 องค์เท่านั้น ไม่มีกำลังจะรักษาได้แน่น มันมาขโมยแต่พระพุทธรูปนะยังดี ต่อไปมันอาจจะมารุมบีบคอพวกฉันเข้าก็ได้ อีกอย่างหนึ่ง พากฉันก็ไม่ได้อยู่วัดตลอดเวลา บางวันก็ต้องจำเป็นทิ้งวัดไปกิจนิมนต์ที่อื่น โยมเอาไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านนะดีแล้ว นึกว่าเห็นใจพวกฉันเถอะ”
          “เมื่อท่านอาจารย์ว่าอย่างนั้น ผมก็ต้องรับ” พ่อนาคพูดขึ้น ทุกคนโล่งหัวอก ต่อแต่นั้นก็พากันนำพระพุทธรูปทั้ง 4 องค์ออกจากวัดไปบ้านพ่อนาค กลายเป็นขบวนแห่ที่ยึดยาวราวกับแห่พระในเทศกาลประจำปี แต่ไม่มีเสียงโห่ เพราะมันเป็นการแห่ไปสู่ความปลอดภัยเพื่อให้พ้นจากผู้ร้ายใจบาป
          เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ชาวบ้านหวงแหนระวังรักษาพระพุทธรูปสี่องค์นี้ขึ้นอีกมาก และทำให้ชาวบ้านหนองปลิง กำแพงเพชร นครชุม และที่ใกล้เคียง ที่เคยรู้จักพ่อนาคมาก่อน ลงความเห็นว่าพ่อนาคกลายเป็นผู้วิเศษ ติดต่อกับเทวดาได้อย่างอัศจรรย์ เพื่อศรัทธาและความเคารพนับถือต่อพ่อนาคมากขึ้น เมื่อเกิดปัญหาที่สุดวิสัยมนุษย์จะแก้ไข เขาก็ไม่ต้องเที่ยวบนบานศาลกล่าวเจ้าพ่อและเจ้าแม่ที่แลไม่เห็นตัวอีกเหมือนก่อนๆ เพราะเจ้าพ่อของเขาที่ตัว พูดจาด้วยได้ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันได้นั้นมีอยู่แล้ว คือพ่อนาค บ้านหนองปลิงของพ่อเขานั่นเอง
          เวลาล่วงเลยมาถึงวาระที่ใกล้จะมีงานเทศกาลประจำปี กลางเดือน 5 พ่อนาคได้ล่องลงมากรุงเทพฯ เพื่อเยี่ยมลูกหลานในที่ต่างๆ แล้ว ก็เลยมาเยี่ยมเคารพหลวงตาและจะอาราธนาไปแสดงธรรมในงานด้วย หลวงตาก็เลยได้รับรู้เรื่องอันนาอัศจรรย์เรื่องนี้ บางขณะก็เคลิ้มไปว่า อดีตกำนันนาค ประธานบริษัทป่าไม้จังหวัดกำแพงเพชร และทายกวัดหนองปลิงผู้นี้เป็นเทวดาไปจริงๆ ตอนหนึ่งท่านถามกำนันนาคว่า
          “เจริญพร ขออภัยคุณโยมเถอะ ! ที่ว่าฝันนะ ! ฝันจริงหรือ ?”
          “ข้อนี้ ผมเห็นจะบาปขอรับ ไม่ค่อยสบายใจเหมือนกัน ความจริงมีอยู่อย่างนี้ขอรับ ในคืนที่สามนับแต่วันเกิดเหตุ ราวๆ ตีสอง ผมตื่นนอนเพราะได้ยินเสียงคนมากระซิบเรียกเบาๆ ที่หลังเรือน บังเอิญคนในบ้านยังไม่มีใครตื่น ผมจึงหลบลงเรือนไปพบกับเขา เขาผู้นี้จะมาบอกที่ซ่อนพระให้ เพราะได้พบกับเจ้าขโมย ขณะนี้คนขโมยสำนึกตัวได้คิดแล้ว อยากจะเอามาคืนให้ แต่เกรงจะถูกรุมซ้อม เพราะคนหนุ่มบางคนประกาศความอาฆาตไว้น่ากลัวเหลือเกิน จะแอบเอามาคืนเงียบๆ อย่างนี้ก็ไม่มีทางเพราะทุกหนทุกแห่ง มีสายตาชาวบ้านซอกแซกสังเกตไปหมด โดยเฉพาะคนที่มีประวัติมือไว้ใจเร็ว ก็ถูกสะกดร้อยไม่ว่าจะไปเหนือไปใต้ รวมทั้งเจ้าคนขโมยนี้ด้วย เขาจึงได้รับคำขอร้องจากเจ้าคนขโมย ที่มันร้องห่มร้องไห้อ้อนวอนให้เขามาติดต่อกับผม ว่าผมจะรับรองได้ไหมว่าจะไม่เป็นอันตรายจากชาวบ้านและกฎหมาย อารมณ์ดีใจที่จะได้พระคืนผมก็รับประกัน ทั้งๆ ที่ยังมองไม่เห็นทางที่จะไม่ให้เรื่องลุกลามเป็นเวรเป็นกรรมกันต่อไป แต่แล้วก็คิดได้ ต้องออกอุบายดังที่ได้ทำไปแล้วนั่นแหละขอรับ ความจริงไม่ได้ฝันอะไรหรอก”
          หลวงตาหัวเราะชอบใจ ลงความเห็นว่าวิธีการของกำนันนาคเป็นกุศโลบาย ที่สร้างความยิ่งใหญ่เหนือผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายทีเดียว คือสร้างตนให้เป็นเทวดา ชาวบ้านเพิ่มศรัทธาความเชื่อถือในตัวแกมากขึ้น ของก็ไม่สูญ น้ำใจของชาวบ้านหนองปลิง ก็กลมเกลียวกันกว่าเดิม เพราะเห็นคุณค่าของความร่วมมือร่วมใจ ทำให้เทวดาไม่ทอดทิ้ง แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือดับเวรระงับภัยให้ยุติลงได้ คนชั่วก็สำนึกตัว พาดให้ดีขึ้น คนดีอยู่แล้วก็ไม่ยอมปล่อยใจให้มัวหมอง เพราะความมุ่งร้ายพยาบาท เขากำจัดมลทินแห่งหัวใจด้วยการให้อภัยคนชั่ว เมื่อเป็นเช่นนี้ จะไม่ให้เขาเรียกกำนันนาค ว่าพ่อนาคอย่างไรได้ คิดว่าไม่ช้าดอก ฐานะขอกำนันนาคคงจะขยับขึ้นเป็น “เจ้าพ่อนาค” แต่ก็เหมาะสมที่จะถูกยกย่องเทิดทูนเช่นนี้

คำสำคัญ : เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2548). หนองปลิง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610006&code_type=01&nu=pages&page_id=1431

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1431&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

ลายแทงมหาสมบัติ

ลายแทงมหาสมบัติ

ที่วัดสองพี่น้องปากคลองสวนหมาก เรื่องเล่าที่ได้ยินมาจากปากของหลวงพ่อทองหล่อ เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ในอดีต ท่านเล่าว่ามีชาวล้านนา (ภาคเหนือตอนบน) มาถามหาวัดสองพี่น้อง ปากคลองสวนหมาก ท่านตอบว่าที่ปากคลอง มีสองวัดคือวัดท่าหมันและวัดสว่างอารมณ์ มามีชื่อวัดสองพี่น้อง แต่เดิมวัดสว่างอารมณ์แห่งนี่อาจจะมีชื่อวัดสองพี่น้องก็ได้ เพราะมีวัดเก่าแก่สมัยถึงเชียงแสน หลักฐานก็คือหลวงพ่ออุโมงค์ ที่หลวงพ่อบุญมี พบใจจอมปลวกยักษ์ 

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 6,160

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่าเดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่าบริเวณแห่งนี้เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พระเจ้าพังคราช พระราชบิดาของพระเจ้าพรหมมหาราช แห่งเมืองเชียงแสนอยู่ใต้อำนาจของขอมพระเจ้าพรหมไม่ยอม จึงต่อสู้กับขอม ตั้งแต่พระชมมายุได้เพียงสิบหกปี สามารถขับไล่ขอมมาถึงลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 2,032

ทุ่งมหาราช

ทุ่งมหาราช

เรียมเอง เป็นนามแฝงของมาลัย ชูพินิจ (2449-2506) ซึ่งนอกจากจะเป็นนักหนังสือพิมพ์ผู้มีชื่อเสียงแล้ว ยังเป็นนักเขียนเรื่องหลายประเภท ที่รู้จักกันดีในวงการนักอ่าน ไม่ว่าจะใช้นามจริงหรือนามแฝง เช่น ม. ชูพินิจ, เรียมเอง, น้อย อินทนนท์, แม่อนงค์ ทุ่งมหาราช เป็นนวนิยายเสมือนบันทึกเหตุการณ์ของผู้เขียนสมัยเมื่อครั้งใช้ชีวิตอยู่กับบิดา มารดาที่คลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งในยุคนั้นผู้คนต้องผ่านพบความยากลำบากนานับประการ ตั้งแต่ความอดอยากยากแค้น โรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะไข้ทรพิษ และน้ำท่วม หนังสือเล่มนี้สะท้อนภาพของเรื่องราวดังกล่าว โดยผ่านตัวละครที่มีเลือดเนื้อและวิญญาณ เช่น รุ่ง หรือขุนนิคมบริบาล ซึ่งคาเรือนและบ้านไร่ ก็เพิ่งมีชาวเวียงจันทน์อพยพมาอยู่ไม่กี่ครอบครัว ความคิดของรุ่งสะท้อนความรู้สึกส่วนใหญ่ของชาวบ้านต่อการทำมาหากินด้วยความเป็นอิสระของตนเอง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 4,584

นิทานพื้นบ้าน เรื่องอีกากับนกยูง

นิทานพื้นบ้าน เรื่องอีกากับนกยูง

อีกากับนกยูงเป็นเพื่อนเกลอกัน วันหนึ่งอีกากับนกยูงผลัดกันลงรักปิดทอง อีกาลงรักให้กับนกยูงกํอน โดยปิดทองลงไปด้วย ทำให้นกยูงมีลวดลายสวยงามจนถึงปัจจุบัน ก็มาถึงตานกยูงทำให้กับอีกาบ้าง พอลงรักจนสีดำสนิทแล้ว ถึงขั้นจะปิดทอง อีกาแลเห็นหมาเนำลอยมาในแมํน้ำ ก็เลยรีบไปกินตามสัญชาติญาณชอบกินของเน่า นกยูงเห็นเข้าเลยไมํยอมปิดกองให้กับอีกา อีกาเลยมีสีดาสนิทมาจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 2,256

นิทานเรื่อง แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้

นิทานเรื่อง แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้

สีมากำพร้าพ่ออยู่กับแม่มาตั้งแต่เล็ก พอโตเป็นหนุ่มก็แต่งงาน ตอนแรกทั้งครอบครัวรักใคร่กันดีแต่บรรดาสาวๆ ที่ผิดหวังจากสีมาไปยุแยงให้แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้ ตอนแรกลูกสะใภ้ไม่โต้ตอบเวลาแม่ผัวดุด่า แต่นานเข้าเริ่มทนไม่ไหวโต้ตอบไปบ้าง สีมาหนักใจ คิดหาวิธีจะทำให้ทั้งสองปรองดองกัน จึงบอกกับแม่ว่าจะฆ่าเมียตัวเองเพื่อให้แม่สบายใจ แต่ต้องทำดีกับลูกสะใภ้สัก 15 วันก่อน แล้วก็ไปบอกเมียตัวเองว่าจะฆ่าแม่ให้แต่ต้องทำดีให้แม่ให้ตายใจ 15 วันก่อน 

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 2,630

นิทานพื้นบ้าน เรื่องหลวงตากับเต่า

นิทานพื้นบ้าน เรื่องหลวงตากับเต่า

มีหลวงตารูปหนึ่ง ขณะเดินไปปลดทุกข์ตอนเช้า เห็นเต่าตัวใหญ่ตัวหนึ่งเกิดอยากฉันขึ้นมา พอกลับไปกุฏิมองตามช่องฝาเห็นเด็กวัดมากันแล้ว ก็เริ่มสวดมนต์ดังๆ ว่า “เด็กเอ๋ยตาไปถาน เห็นเต่าคลานตัวมันใหญ่” ซ้ำไปซ้ำมา เด็กวัดได้ยินเสียงสวดมนต์ก็ “เอ๊ะ ! วันนี้หลวงตาสวดมนต์แปลก” พากันไปฟังได้ความแล้วจึงเดินไปที่ถาน เห็นเต่าตัวใหญ่คลานอยู่จริง จึงช่วยกันจับมาฆ่าจะต้มกิน แต่เต่าตัวใหญ่มาก หาหม้อใส่ไม่ได้เถียงกันวุ่นวาย หลวงตาแอบดูอยู่ก็สวดมนต์ต่อ “หม้อนี้ใบเล็กนัก หม้อต้มกรัก จักดีกว่า” ลูกศิษย์ได้ยินจึงไปเอาหม้อต้มกรักที่ใช้ย้อมจีวรพระมาต้ม เกิดปัญหาขึ้นมาอีกว่า ต้มแล้วจะต้องใส่อะไรบ้างถึงจะรสชาติดี หลวงตาได้ยิน เด็กวัดปรึกษากัน ก็รีบสวดมนต์ต่อ “ข่าตะไคร้ มะนาว มะกรูด มะพร้าวขูด น้ำปลาดี” เด็กวัดรีบปรุงตามสูตรหลวงตา กลิ่นหอมฟุ้งไปทั่ว หาช้อนมาชิมกัน หลวงตาเห็นแล้วก็น้ำลายหก ถ้าขืนปล่อยไว้คงอดแน่ จึงท่องมนต์บทสุดท้ายด้วยเสียงอันดังว่า “เนื้อหลังเด็กกินได้ ตับกับไข่เอาไว้ฉันเพล”

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,730

ตำนานบ้านบ่อถ้ำ

ตำนานบ้านบ่อถ้ำ

เดิมหมู่บ้านบ่อถ้ำยังเป็นป่าดงดิบ เมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ในบริเวณนี้เป็นแหล่งของสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ มีชาวบ้านชุดแรกซึ่งได้อพยพมาอยู่นั้นเป็นคนมาจากนครราชสีมามาหักร้างถางพงบริเวณหนึ่งที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นครั้งแรก เรียกบริเวณนั้นว่า "เนินมะดั่น" (เนินมะด่านหรือบางครั้งเรียกว่าโนนมะด่าน) ต่อมาในบริเวณนั้นมีผู้คนเริ่มอพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากขึ้นตามลำดับ จึงไม่สามารถจะขยายหมู่บ้านนั้นได้ เพราะบริเวณนั้นมีลักษณะเป็นโนนหรือเนิน จึงได้โยกย้ายมาตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งในปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 เมื่อผู้คนได้อพยพกันมากขึ้น จนกระทั่งมีผู้นำของกลุ่มคนในสมัยนั้นเป็นคนต้นตระกูล ดำสนิท ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ขุน คือ ขุนคูหา (เดิมชื่อลายสด ดำสนิท)

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 2,365

ตำนานบ้านสลกบาตร

ตำนานบ้านสลกบาตร

เมื่อประมาณ 200 ปีเศษ ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่่ง อพยพมาจากทิศตะวันออก โดยมีล้อเกวียน วัว ควายเป็นพาหนะ เพื่อมาหาที่ทำกินและที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น รวมกันประมาณ 7-8 ครอบครัว ประมาณ 20 กว่าคน เมื่อเดินทางมาถึงได้จอดล้อเกวียนเพื่อหยุดพักให้วัว ควายกินน้ำกินหญ้า และพักหุงหาอาหารกินกันที่ข้างคลอง ชายโนนและชายคลอง ซึ่งมีต้นตะเคียน ต้นขี้เหล็ก ต้นโพธิ์ ขึ้นอยู่บนโนนอย่างหนา มีคลองน้ำไหลอยู่ในโนน ผู้ที่อพยพมาเป็นสภาพพื้นที่ เกิดความพอใจว่าสภาพที่เห็นนี้พวกเขาสามารถที่จะบุกเบิกหักร้างถางพงเพื่อใช้เป็นที่ทำกินอยู่อยู่อาศัยได้ จึงได้ปรึกษาหารือกันและตกลงกันว่า จะยึดพื้นที่ผื่นนี้เป็นท่ี่ทำไร่ ทำนาและทำกินโดยแบ่งกันไม่ไกลกันนัก แบ่งไปเป็นสัดส่วน 

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 3,856

ตำนานวัดปราสาท

ตำนานวัดปราสาท

ประวัติของวัดปราสาทในช่วงแรกนั้นยังคลุมเครือ แต่ก็พอสรุปได้ดังนี้ คือ นานมาแล้วมีพวกห่มขาว ได้นำเรือชะล่ามาฝากกับตาเฮง ยายสาท ผัวเมียที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำหน้าวัด เมื่อพวกห่มขาวฝากเรือแล้วก็ขึ้นมาที่ท่านำแล้วก็หายไป โดยที่เรือนั้นก็ยังอยู่กับตาเฮงและยายสาท นานไปคนพวกนั้นก็ไม่มาเอาเรือคืน ตาเฮงและยายสารทก็มาค้นเรือดู พบทองและเงินจำนวนมาก จึงนำมาสร้างวัด ตาเฮงก็มาสร้างศาล เรียกกันว่าศาลตาเฮง ส่วนยายสาทก็นำเงินมาจ้างคนสร้างปราสาทซึ่งใหญ่โตมาก

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 1,721

นิทานเรื่อง ชาวนากับหมา

นิทานเรื่อง ชาวนากับหมา

มีชาวนาครอบครัวหนึ่ง มีบ้านอยู่กลางทุ่งนาของฉัน วันหนึ่งเกิดมีหมาเข้ามาลักขโมยข้าวขอในบ้านชาวนากิน ชาวนากลับจากทำนาพอดี พบหมากำลังจะกินอาหารที่อยู่ในครัว จึงวิ่งไล่จับหมาตัวนั้นได้ ด้วยความโมโห ชาวนาจึงจุดไฟที่หางหมาตัวนั้น เจ้าหมาก็ตกใจมาก วิ่งหนีเข้าไปในทุ่งนาของชาวนาที่กำลังเหลืองใกล้เวลาเก็บเกี่ยว ไฟที่หางหมาจึงไหม้ต้นข้าวและลุกลามไหม้ไปทั้งทุ่งนาของชาวนาจนไม่เหลือสักต้น

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,858