นิทานพื้นบ้าน เรื่องพ่อตากับลูกเขย

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพ่อตากับลูกเขย

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้ชม 5,925

[16.4258401, 99.2157273, นิทานพื้นบ้าน เรื่องพ่อตากับลูกเขย]

มีพ่อกับลูกเขยอยูํบ้านด้วยกัน วันหนึ่งลูกเขยไปหาปลามาได้ เอาไปปิ้ง แล้วก็กินแต่หนังปลา เหลือเนื้อปลาไว้ให้พ่อตา พอพ่อตากลับมาก็ถามวำ “ทำไมเหลือแต่เนื้อปลาไม่มีหนัง ”ลูกเขยบอกวำ “กินหนังหมดแล้ว ” พ่อตาก็เลยบอกว่า “วันหลังอย่ากินหนังนะเดี๋ยวพ่อมากิน” วันต่อมาลูกเขยได้เผือกมา จึงเอามาต้ม แล้วกินเนื้อหมด เหลือแต่หนังไว้ให้พ่อตากิน

นายสมนึก งามเจริญ  ผู้เล่าเรื่อง

คำสำคัญ : นิทาน, นิทานพื้นบ้าน

ที่มา : นครไตรรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร. (ม.ป.ป.). กำแพงเพชร : ม.ป.พ.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). นิทานพื้นบ้าน เรื่องพ่อตากับลูกเขย. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610006&code_type=01&nu=pages&page_id=1228

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1228&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

ตำนานวัดกาทิ้ง

ตำนานวัดกาทิ้ง

ริมฝั่งลำน้ำปิง มีเมืองโบราณคือเมืองคณฑี หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่าบ้านโคน เป็นชุมชนโบราณที่ไม่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จทอดพระเนตรชุมชนโบราณแห่งนี้ เมื่อปีพุทธศักราช 2450 ทรงกล่าวถึงชุมชนบ้านโคนว่า คงเป็นเมืองมาแต่โบราณ แต่หาคูหรือเทินและกำแพงไม่ได้ วัดเก่าที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ชื่อวัดกาทิ้ง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 1,578

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาพูด แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาษาพูดของกลุ่มชนดั้งเดิมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาแต่อดีต และภาษาคำพูดของกลุ่มชนที่อพยพโยกย้ายมาจากถิ่นอื่น ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มหลายภาษา ชุมชนดั้งเดิมคือ ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำปิงทั้งสองข้าง ได้แก่ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) นครชุม ไตรตรึงษ์ และคณที กับชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไป ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดสุโขทัย คือ เมืองบางพาน หรือพรานกระต่ายในปัจจุบัน กลุ่มชนดังกล่าวนี้ใช้ภาษาพูดที่เป็นภาษาถิ่นไทยกลาง แต่มีเสียงและความหมาย ของคำผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยที่เรียกกันว่า เหน่อ

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้เช้าชม 9,071

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร คือตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2449 และกลับพระนคร ในวันที่ 27 สิงหาคม 2449 มีอยู่หนึ่งวันที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสบ้านปากคลอง คือวันที่ 25 สิงหาคม ตอนเช้าเสด็จเข้าไปในคลองสวนหมากไปบ้านพะโป้ มีเรื่องเล่าว่า พะโป้ได้นำแหย่ง (ที่นั่งบนหลังช้าง) ให้พระพุทธเจ้าหลวงประทับนั่ง เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับ พะโป้ได้บูชาแหย่งองค์นี้อย่างดี โดยเก็บไว้ในฐานะสิ่งสักการะบูชาเลยทีเดียว เมื่อพะโป้สิ้น (ถึงแก่กรรม) แล้ว ทรัพย์สมบัติของท่านถูกแบ่งปันกันไปหลายส่วน แหย่งได้ตกไปอยู่กับหลายท่าน แต่มีเรื่องมหัศจรรย์เล่าขานกันว่าเมื่อผู้ใดขึ้นนั่งมักจะมีปัญหาเกิดกับผู้นั่งเสมอ ทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง จนเล่าขานเลื่องลือไปทั่วปากคลอง ไม่มีใครกล้านั่งหรือแตะต้องแหย่งองค์นี้อีกเลย

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 879

นิทานพื้นบ้าน เรื่องหลวงตากับเต่า

นิทานพื้นบ้าน เรื่องหลวงตากับเต่า

มีหลวงตารูปหนึ่ง ขณะเดินไปปลดทุกข์ตอนเช้า เห็นเต่าตัวใหญ่ตัวหนึ่งเกิดอยากฉันขึ้นมา พอกลับไปกุฏิมองตามช่องฝาเห็นเด็กวัดมากันแล้ว ก็เริ่มสวดมนต์ดังๆ ว่า “เด็กเอ๋ยตาไปถาน เห็นเต่าคลานตัวมันใหญ่” ซ้ำไปซ้ำมา เด็กวัดได้ยินเสียงสวดมนต์ก็ “เอ๊ะ ! วันนี้หลวงตาสวดมนต์แปลก” พากันไปฟังได้ความแล้วจึงเดินไปที่ถาน เห็นเต่าตัวใหญ่คลานอยู่จริง จึงช่วยกันจับมาฆ่าจะต้มกิน แต่เต่าตัวใหญ่มาก หาหม้อใส่ไม่ได้เถียงกันวุ่นวาย หลวงตาแอบดูอยู่ก็สวดมนต์ต่อ “หม้อนี้ใบเล็กนัก หม้อต้มกรัก จักดีกว่า” ลูกศิษย์ได้ยินจึงไปเอาหม้อต้มกรักที่ใช้ย้อมจีวรพระมาต้ม เกิดปัญหาขึ้นมาอีกว่า ต้มแล้วจะต้องใส่อะไรบ้างถึงจะรสชาติดี หลวงตาได้ยิน เด็กวัดปรึกษากัน ก็รีบสวดมนต์ต่อ “ข่าตะไคร้ มะนาว มะกรูด มะพร้าวขูด น้ำปลาดี” เด็กวัดรีบปรุงตามสูตรหลวงตา กลิ่นหอมฟุ้งไปทั่ว หาช้อนมาชิมกัน หลวงตาเห็นแล้วก็น้ำลายหก ถ้าขืนปล่อยไว้คงอดแน่ จึงท่องมนต์บทสุดท้ายด้วยเสียงอันดังว่า “เนื้อหลังเด็กกินได้ ตับกับไข่เอาไว้ฉันเพล”

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,733

ทุ่งมหาราช

ทุ่งมหาราช

เรียมเอง เป็นนามแฝงของมาลัย ชูพินิจ (2449-2506) ซึ่งนอกจากจะเป็นนักหนังสือพิมพ์ผู้มีชื่อเสียงแล้ว ยังเป็นนักเขียนเรื่องหลายประเภท ที่รู้จักกันดีในวงการนักอ่าน ไม่ว่าจะใช้นามจริงหรือนามแฝง เช่น ม. ชูพินิจ, เรียมเอง, น้อย อินทนนท์, แม่อนงค์ ทุ่งมหาราช เป็นนวนิยายเสมือนบันทึกเหตุการณ์ของผู้เขียนสมัยเมื่อครั้งใช้ชีวิตอยู่กับบิดา มารดาที่คลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งในยุคนั้นผู้คนต้องผ่านพบความยากลำบากนานับประการ ตั้งแต่ความอดอยากยากแค้น โรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะไข้ทรพิษ และน้ำท่วม หนังสือเล่มนี้สะท้อนภาพของเรื่องราวดังกล่าว โดยผ่านตัวละครที่มีเลือดเนื้อและวิญญาณ เช่น รุ่ง หรือขุนนิคมบริบาล ซึ่งคาเรือนและบ้านไร่ ก็เพิ่งมีชาวเวียงจันทน์อพยพมาอยู่ไม่กี่ครอบครัว ความคิดของรุ่งสะท้อนความรู้สึกส่วนใหญ่ของชาวบ้านต่อการทำมาหากินด้วยความเป็นอิสระของตนเอง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 4,589

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพ่อตากับลูกเขย

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพ่อตากับลูกเขย

มีพ่อกับลูกเขยอยูํบ้านด้วยกัน วันหนึ่งลูกเขยไปหาปลามาได้ เอาไปปิ้ง แล้วก็กินแต่หนังปลา เหลือเนื้อปลาไว้ให้พ่อตา พอพ่อตากลับมาก็ถามวำ “ทำไมเหลือแต่เนื้อปลาไม่มีหนัง ”ลูกเขยบอกวำ “กินหนังหมดแล้ว ” พ่อตาก็เลยบอกว่า “วันหลังอย่ากินหนังนะเดี๋ยวพ่อมากิน” วันต่อมาลูกเขยได้เผือกมา จึงเอามาต้ม แล้วกินเนื้อหมด เหลือแต่หนังไว้ให้พ่อตากิน

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 5,925

นิทานเรื่อง จระเข้กับกระต่าย

นิทานเรื่อง จระเข้กับกระต่าย

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีกระต่ายตัวหนึ่งหากินอยู่ริมบึง และมีจระเข้อยู่ในบึงอีก 1 ตัว คอยจ้องกินเหยื่อ จระเข้มองเห็นเจ้ากระต่ายมาใกล้ๆ จึงรีบคลานขึ้นจากน้ำ อ้าปากงับกระต่ายอย่างรวดเร็ว กระต่ายตกใจมาก คิดเพียงว่าต้องหาทางออกจากปากจระเข้ให้ได้ จึงออกอุบายถามจระเข้ว่า “ไหนๆ ข้าจะตายแล้ว บอกหน่อยทีเถอะว่าหวยงวดนี้ออกอะไร” จระเข้ไม่ทันคิดจึงอ้าปากบอกว่า “55” กระต่ายได้โอกาสกระโจนออกจากปากเอาขาหลังถีบลิ้นจระเข้ขาด ส่วนจระเข้รีบงับไว้ได้เพียงหางกระต่าย จระเข้จึงไม่มีลิ้นและกระต่ายมีหางสั้นกุดจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 11,902

ตำนานท้าวแสนปม

ตำนานท้าวแสนปม

ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง หมายถึง ท้าวแสนปม เป็นสัญลักษณ์สำคัญของนครไตรตรึงษ์ มีนิทานเล่ากันมาว่า  เจ้าเมืองไตรตรึงษ์ มีพระธิดาสิริโสภาองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่รักใคร่ดังดวงแก้วตาทรงพระนามว่า นางอุษา  ที่ใกล้เมืองไตรตรึงษ์นี้มีชายคนหนึ่งซึ่งร่างกายเต็มไป ด้วยปุ่มปม ชาวบ้านเรียกเขาว่า นายแสนปม มีอาชีพปลูกผักสวนครัวขายเลี้ยงตัว มะเขือที่เขาปลูกเอาไว้ต้นหนึ่งมีผลโตน่ากินเพราะ นายแสนปมถ่ายปัสสาวะรดเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งเทวดาดลใจให้พระธิดานีกอยากเสวยมะเขือ พวกนางข้าหลวงจึงออกเสาะหาจน มาพบมะเขือในสวนของนายแสนปมลูกใหญ่อวบจึงขอซื้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 18,148

ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม

ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม

วัดพระบรมธาตุเจดียารามเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยเมื่อ 600 กว่าปีที่แล้ว ก็ยุคสุโขทัย ดินดอนบริเวณนี้ มีชื่อว่า "นครชุม" และวัดแห่งนี้ก็เป็นพระอารามหลวงประจำเมืองนครชุม มาแต่สมัยนั้น ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ค้นพบจากหลักศิลาจารึก หลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ได้บันทึกไว้ว่า พระยาลิไท แห่งราชวงษ์สุโขทัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และปลูกพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา ณ วัดพระบรมธาตุเจดียาราม เมื่อปี พ.ศ. 1900 ภายในวัดมีเจดีย์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "พระบรมธาตุเจดีย์" เป็นเจดีย์เก่าแก่ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นกันกับตัววัด พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ตั้งเรียงกันสามองค์ อยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์กลางของพระเจดีย์นั้นประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ อยู่ภายในภาชนะเงินรูปสำเภา พระเจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระเจดีย์ทรงมอญซึ่งได้รับการบูรณะ ขึ้นภายหลัง สิ่งสำคัญอีกอย่างในวัดคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งชาวกำแพงเพชรเชื่อกันว่า เป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระยาลิไททรงปลูกเมื่อ พ.ศ.1900 เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ประมาณ 9 คนโอบ

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 4,796

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่าเดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่าบริเวณแห่งนี้เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พระเจ้าพังคราช พระราชบิดาของพระเจ้าพรหมมหาราช แห่งเมืองเชียงแสนอยู่ใต้อำนาจของขอมพระเจ้าพรหมไม่ยอม จึงต่อสู้กับขอม ตั้งแต่พระชมมายุได้เพียงสิบหกปี สามารถขับไล่ขอมมาถึงลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 2,034