พระยอดขุนพล

พระยอดขุนพล

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 25,038

[16.4746251, 99.5079925, พระยอดขุนพล]

         พระยอดขุนพล กรุเก่าวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระปางมารวิชัย พุทธลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูป "ทรงเทริด" ของเมืองลพบุรี (เทริด [อ่านว่า "เซิด"] หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า) องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานในซุ้มทรงห้าเหลี่ยม คล้ายกับรูปทรง ใบเสมา เซียนพระสมัยก่อนจึงเรียกว่า "พระเสมาตัด" มาในระยะหลังคนรุ่นใหม่เห็นว่า คำว่า "ตัด" ฟังแล้วไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก จึงตัดคำนี้ออกไป เหลือเพียง พระยอดขุนพล กำแพงเพชร ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่ว (เช่นเดียวกับ พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ที่เซียนพระรุ่นเก่าเรียกกันมานานปี ต่อมาเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้  เซียนพระชาวสุพรรณพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อเรียกพระพิมพ์นี้เสียใหม่ว่า พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ฟังดูแล้วไพเราะกว่า ใบไม้ร่วง ที่ไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก ทำให้พระพิมพ์นี้มีราคาพุ่งขึ้นทันที) พระยอดขุนพล กำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระเก่าเก็บ สภาพเดิมๆ ทุกอย่าง ผิวพระไม่ได้ผ่านการใช้มาก่อนเลย  ผิวพระมีปรอทคลุมทั่วองค์พระ และมีคราบกรุติดอยู่โดยทั่วไป ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้องค์พระมีเสน่ห์น่าชวนชม สวยงามสมบูรณ์ทุกซอกมุม แม้ว่าธรรมชาติของพระพิมพ์นี้จะเป็นพระพิมพ์ตื้น แต่เฉพาะองค์นี้มีความคมชัดมาก และหากพิจารณาให้ละเอียดจริงๆ จะเห็นว่า พระพักตร์เหมือนกับใบหน้าของคนจริงๆ (ใบหน้าของคนขณะหลับตา) ความสวยคมชัดของพระองค์นี้ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ได้คว้ารางวัลชนะเลิศมาแล้วหลายสิบงาน จนทำให้มีภาพปรากฏอยู่ในหนังสือรวมภาพพระยอดนิยม ยุคแรกๆ ที่มีการจัดพิมพ์กันขึ้นมา...ขอแสดงความยินดีด้วยกับ คุณหมอพัฒนพงศ์ ที่มีพระสวยระดับแชมป์อยู่ในครอบครองอีกองค์หนึ่ง พระยอดขุนพล เป็นพระศิลปลพบุรี เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เป็นแม่ทัพนายกอง ผู้บริหารองค์กรใหญ่ๆ ควรจะหาไว้ใช้ติดตัว เป็นการเสริมสร้างบารมี อำนาจ ให้เป็นที่เคารพรักนับถือและเกรงขามของผู้ใต้บังคับบัญชา ขณะเดียวกัน ผู้ใช้พระพิมพ์นี้ก็ต้องมี "ความเมตตา" แก่ผู้น้อยด้วย ถึงจะได้อยู่ด้วยกันอย่างสันติสุขนานๆ
         อ.ประชุม กาญจนวัฒน์ นักพระเครื่องอาวุโสผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้เขียนถึง พระยอดขุนพล ว่าเป็นพระที่น่าใช้มาก มี 3 เมืองใหญ่ๆ ที่สร้างพระพิมพ์นี้ คือ ลพบุรี ที่ท่านเรียกว่า พระยอดขุนพล เมืองละโว้ /กำแพงเพชร ที่เรียกว่า พระยอดขุนพล ชากังราว และ กรุงศรีอยุธยา ที่เรียกว่า พระยอดขุนพล อโยธยา แต่ไม่ว่าจะเป็น พระยอดขุนพล ของเมืองไหนก็ตาม ทุกวันนี้หาพระองค์แท้ๆ ได้ยากนัก ผู้สนใจจึงต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะ ของปลอม มีมากเหลือเกิน คือ มากกว่า ของแท้ เสียอีกพูดถึง เมืองกำแพงเพชร สุดยอดของพระเมืองนี้ต้องยกให้ พระซุ้มกอ ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของ พระชุดเบญจภาคี ที่เช่าหากันองค์หนึ่งหลายแสนบาท ไปจนถึงหลักล้านก็มี ตามสภาพความสวยงามคมชัด อย่างองค์ที่เป็นภาพประกอบหัวคอลัมน์ "คมเลนส์ส่องพระ" ที่เห็นข้างบนนี้ ฝ่ายศิลป์ทำให้ภาพเบลอๆ ความจริงแล้วภาพเดิมสวยคมชัดมาก องค์นี้แหละที่เรียกว่า พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ องค์เจ้าเงาะ องค์ดั้งเดิมของ อ.เชียร ธีรศานต์ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาอันน่าสนใจมาก ต่อมาได้เปลี่ยนมือไปโน่นไปนี่หลายแห่งหน จนในที่สุด มร.ไลน์ ก็อด วิน เศรษฐีจากเกาะฮ่องกง ก็มานิมนต์ท่านไปอยู่ที่โน่น ด้วยราคานับสิบล้านบาท ทุกวันนี้ยังหา พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ องค์อื่นใดมาเทียบความสวยคมชัดได้ยากยิ่ง ทิ้งไว้เป็นความทรงจำของคนในวงการพระเครื่องเมืองไทย จนทุกวันนี้พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์ในภาพนี้เป็นพระของ พิทักษ์ ชำนาญวินิจฉัย นักธุรกิจหนุ่มผู้สนใจพระสวย ที่มีพุทธคุณทางเมตตามหานิยม และโชคลาภ จึงนิมนต์ พระซุ้มกอ องค์นี้ไปขึ้นคอด้วยความสุขสมหวังทุกประการ พระซุ้มกอ เป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อหามวลสารละเอียดมาก มีว่านดอกมะขามเป็นจุดแดงเล็กๆ ปรากฏทั่วองค์พระ เป็นพระปางสมาธิ มีทั้งสมาธิราบ และสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสนผสมกับสุโขทัย คือ องค์พระอวบอ้วน พระอุระผึ่งผาย นูนเด่นเป็นสง่า งดงามมาก เหมือนกับพระสมัยเชียงแสน พระนาภีเรียว การทิ้งพระพาหา และขัดสมาธิงดงามแบบสุโขทัย มีประภามณฑลรอบพระเศียรคล้ายรูปตัว ก ไก่ จึงมีการเรียกพระพิมพ์นี้ว่า พระซุ้มกอ มีหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ใหญ่ มีกนก พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก (ส่วนมากเป็นพระซุ้มกอดำ) พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ขนมเปี๊ยะ (มีปีกกว้าง) และพระซุ้มกอ พิมพ์พัดใบลาน พระซุ้มกอ และ พระเมืองกำแพงเพชร อื่นๆ เป็นที่รู้จักกันครั้งแรกในสมัย พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 โดยมีบันทึกในพระราชนิพนธ์เรื่อง เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร ว่ามีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนาน พระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง ซึ่งขุดได้จากเจดีย์ต่างๆ ในวัดพระบรมธาตุ บริเวณทุ่งเศรษฐี นครชุม พร้อมกับพระเครื่องจำนวนหนึ่ง นับเป็นการพบกรุพระเป็นครั้งแรก จนเป็นที่เลื่องลือในเวลาต่อมา และเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสกันมากในสมัยนั้น เพราะเชื่อกันว่า พระกรุนี้มีอานุภาพยอดเยี่ยมมาก ผู้ใดมีไว้จะประสบพบกับความสำเร็จสมหวังตามความปรารถนาทุกประการ 

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=164&code_db=DB0003&code_type=P004

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระยอดขุนพล. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=201

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=201&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระยอดขุนพล

พระยอดขุนพล

พระยอดขุนพล กรุเก่าวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระปางมารวิชัย พุทธลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูป "ทรงเทริด" ของเมืองลพบุรี (เทริด หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า) องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานในซุ้มทรงห้าเหลี่ยม คล้ายกับรูปทรง ใบเสมา เซียนพระสมัยก่อนจึงเรียกว่า "พระเสมาตัด" มาในระยะหลังคนรุ่นใหม่เห็นว่า คำว่า "ตัด" ฟังแล้วไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก จึงตัดคำนี้ออกไป เหลือเพียงพระยอดขุนพล กำแพงเพชร ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่ว (เช่นเดียวกับ พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ที่เซียนพระรุ่นเก่าเรียกกันมานานปี ต่อมาเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้ เซียนพระชาวสุพรรณพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อเรียกพระพิมพ์นี้เสียใหม่ว่า พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ฟังดูแล้วไพเราะกว่าใบไม้ร่วง ที่ไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก ทำให้พระพิมพ์นี้มีราคาพุ่งขึ้นทันที

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 25,038

พระประทานพรยืน

พระประทานพรยืน

กรุที่พบหรือสถานที่พบพระพิมพ์นี้คือ บริเวณบ้านของครูกำยาน ตรงด้านใต้เชิงสะพานฝั่งตะวันตก ซึ่งรวมอยู่ฝั่งนครชุมของเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เป็นพระกรุพิมพ์หนึ่งที่มีศิลปะสมัยสุโขทัย บวกศิลปะกำแพงเพชรโบราณ พระกรุแตกเมื่อปี พ.ศ.2537 ได้พบพระพิมพ์ต่าง ๆ มากมาย มีทั้งพระเนื้อชินเงิน พระเนื้อดินเผา และพระพุทธรูปบูชา-เทวรูปศิลปะสมัยลพบุรีก็รวมอยู่ด้วย มีพระเครื่อง-พระบูชาหลายขนาด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 10,760

 เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

พระวิบูลวชิรธรรม นามเดิม สว่าง นามสกุล เจริญศรี นามฉายา อุตตโร นามบิดา ขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นามมารดา หอม หรือ ก้อนดิน เกิด ณ บ้านน้ำหัก ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2426 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรคนที่ 5 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) แต่เป็นบุตรคนเดียวของคุณแม่หอมหรือก้อนดิน ทั้งนี้เนื่องจากโยมมารดาของท่านเป็นภรรยาคนที่ 2 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นั่นเอง มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน 5 คน ซึ่งถึงแก่กรรมไปหมดแล้วก่อนที่หลวงพ่อจะถึงแก่มรณภาพ

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 10,199

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระว่านหน้าทองนั้นในทรรศนะของผมเป็นพระเครื่องชั้นสูงของกำแพงเพชรอย่างแท้จริง และเป็นพระที่คู่ควรแก่การอาราธนาบูชาประจำตัว เพราะพระว่านหน้าเป็นพระที่พระมหากษตริย์ทรงสร้าง เป็นพระที่ศิลปสวยงามอลังการณ์ตามแบบของสกุลช่างสมัยสุโขทัยซึ่งเป็นยุคทองพระพุทธศาสนา การสร้างพระพิมพ์ด้วยทองคำซึ่งเป็นของสูงค่ามาตั้งแต่โบราณเป็นสิ่งที่บอกในตัวเองว่า พระว่านหน้าทองไม่ใช่พระในระดับธรรมดาแน่ พระกำแพงว่านหน้าทองที่นำมาให้ศึกษาอีกองค์หนึ่ง คือ พระกำแพงลีลาฝักดาบ สำหรับพุทธานุภาพของพระว่านหน้าทองนั้นเป็นที่ประจักษ์แก่นักพระเครื่องยุคเก่ากันมานักต่อนักว่า มีอานุภาพครอบจักรวาลสมดังคำจารึกในใบลานทอง เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอคัดข้อเขียนของ อ.ประชุม ฯ ที่เขียนเล่าเรื่องพระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง ไว้ในหนังสือของท่านเมื่อกึ่งศตวรรษมาแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 8,775

กรุซุ้มกอ

กรุซุ้มกอ

ที่ตั้งกรุพระวัดซุ้มกอ อยู่ตรงข้ามท่ารถ บขส. ห่างริมถนนกำแพงเพชร ประมาณ 40 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พระซุ้มยอ พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก พระลีลากำแพง พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 6,226

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ เป็นพระที่พบเจอครั้งแรก ในปี 2549 โดยพบใต้ฐานพระประธานในอุโบสถ เป็นพระเนื้อโลหะ ลักษณะคล้ายพระสกุลช่างดังที่ได้กล่าวข้างต้น แต่ไม่สามารถสืบทราบ ปี พศ. ที่ได้จัดสร้าง ไม่มีข้อมูลผู้สร้างพระ มีเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีการสร้างตั้งแต่ก่อนมีวัดเสด็จ เพราะการ ขุดพบนั้น ได้ขุดพบบริเวณใต้ฐานพระประธาน นั่นหมายถึง มีการสร้างก่อนที่รัชกาลที่ 5 เสด็จพระพาสต้น และศิลปะเป็นแบบสุโขทัย ซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ มีฐานคล้ายขาโต๊ะ เป็น 3 ขา จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นศิลปะแบบเดียวกันกับพระสกุลช่าง กำแพงเพชร แต่พระที่วัดเสด็จไม่ได้มีการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 6,808

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ เมืองกำแพงเพชร เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพุฒาจารย์โต เป็นชาวกำแพงเพชร หลักฐานจากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ความว่า... ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี ตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร เวลาเช้าวันหนึ่งออกลาดตระเวนกองทัพทั้งปวงเพื่อบัญชาการ และชักม้าลัดเพื่อตัดทาง ม้าก็เลยพาท่านเข้าป่าฝ่าพง จำเพาะมายังบ้านปลายนาใต้เมืองกำแพงเพชรเป็นเวลาเย็น จึงแลเห็นโรงหนึ่งตั้งอยู่ปลายทุ่งนา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงได้ชักม้าไปถึงโรงนั้น ไม่เห็นมีคนผู้ใหญ่อยู่ ได้เห็นแต่หญิงสาวคนหนึ่งเดินออกมา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงบอกแก่นางสาวคนนั้นว่า ข้ากระหายน้ำ เจ้าจงตักน้ำมาให้กินสักขันเถิด... 

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 5,295

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล พบจากกรุวัดหนองพิกุล หรือ เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดพิกุล ซึ่งเป็นวัดร้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี พระที่พบจากกรุนี้เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระว่านหน้าทอง และพระอื่นๆเนื้อนุ่มจัด และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอ่อนช้อย สมส่วน พระเครื่องกรุวัดพิกุลนี้ได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดพระบรมธาตุเพียงไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างเกือบทุกแบบเช่นเดียวกับที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ลักษณะของพระซุ้มกอจากกรุวัดพิกุลนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากพระกำแพงซุ้มกอ กรุฤาษีที่เคยนำมาให้ศึกษากันอยู่บ้าง กล่าวคือ พระพักตร์เรียวงาม ไม่ต้อป้อมเหมือนกรุฤาษี พระเศียรจะตั้งตรง (กรุฤาษีเอียงขวาเล็กน้อย) บัวที่อาสนะทั้ง 5 กลีบ กลีบบัวจะมนโค้ง ไม่มีลักษณเป็นเหลี่ยมและลายในกลีบบัวจะไม่ลึกเหมือนกรุฤาษี ความคมชัดของพิมพ์ไม่ชัดเท่ากรุฤาษี ซอกพระพาหาตื้นกว่าของกรุฤาษี และหากพิจารณาอย่างพิเคราะห์จะเห็นว่าเนื้อพระจะหนึกแน่นกว่ากรุฤาษี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 33,696

กรุตาลดำ

กรุตาลดำ

ที่ตั้งกรุพระวัดตาลดำ อยู่ทิศตะวันออกของกรุเจดีย์กลางทุ่ง ประมาณ 400 เมตร ปัจจุบันถูกชาวบ้านปราบเป็นที่ทำการเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางพญากำแพง พระอู่ทองกำแพง พิมพ์ใหญ่ พระลูกแป้ง คู่ พระเจ้าห้าพระองค์ พระกลีบบัว พระลูกแป้ง เดียว พระเจ้าสามพระองค์ พระเจ้าสิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 4,992

พระลีลา “กำแพงเขย่ง”

พระลีลา “กำแพงเขย่ง”

พระลีลา หรือ พระกำแพงเขย่ง เป็นหนึ่งในกลุ่มพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่อง ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องพุทธคุณที่เชื่อถือศรัทธากันมา และมีรูปลักษณะงดงามทางพุทธศิลป์ โดยนิยมทำเป็นพระพิมพ์ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ พระพิมพ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพานำติดตัว และองค์พระขนาดใหญ่ประมาณศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก พระกำแพงลีลานี้ บางครั้งเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง คำว่า พระกำแพง นี้สันนิษฐานว่าเป็นคำเรียกจากลักษณะการพิมพ์รูปพระที่ย่อส่วนมาจากพระพุทธรูปปางลีลาที่เป็นปฏิมากรรมเอกลักษณ์สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่เรียกว่าพระ 4 อิริยาบถ ได้แก่ พระนั่ง พระยืน พระเดิน และพระนอน ซึ่งพระพุทธรูปปางลีลาอยู่ในอิริยาบถเดิน มักปั้นให้มีลักษณะอ่อนช้อย นิยมปั้นติดกับกำแพงหรือผนังซุ้มสถูปเจดีย์ ไม่ปั้นเป็นพระลอยองค์เหมือนรูปพระอิริยาบถอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นถึงคำว่า กำแพงนั้น มาจาก กำแพงเพชร ซึ่งเป็นกลุ่มเมืองสำคัญโบราณในสมัยสุโขทัยที่มีการค้นพบพระพิมพ์ปางลีลาในรูปแบบต่างๆ จำนวนมาก ส่วนคำว่า เขย่ง เรียกจากลักษณะการย่างพระบาทของพระพุทธรูปปางลีลา บิดสะโพกเล็กน้อยและเอียงกายทางซ้าย ซึ่งเรียกว่า กริดพัง คนโบราณแลดูว่าเหมือนว่าพระกำลังก้าวเขย่ง จึงเรียกต่อกันมาว่า พระกำแพงเขย่ง 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 17,379