กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน)

กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน)

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้ชม 1,580

[16.8784698, 98.8779052, กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน)]

        กลองแอว เป็นกลองพื้นบ้านมีในภาคเหนือ มีลักษณะคล้ายกับกลองยาว แต่ใหญ่และยาวกว่ามาก ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เป็นกลองขึงด้วยหนังหน้าเดียว มีหนังเส้นใหญ่ดึงหน้ากลองไว้โดยรอบยาวตลอดไหล่กลอง เอวคอด ตอนท้ายเรียวและบานปลายคล้ายรูปกรวย ช่วงท้ายของกลองกลึงควั่นเป็นปล้องๆ มีหลายขนาด โดยมีหน้ากลองกว้างประมาณ 35-40 ซม. ความยาวของไหล่กลองประมาณ 75-80 ซม. และความยาวช่วงท้ายประมาณ 95-100 ซม. 
       กลองแอว เป็นชื่อเรียกที่มีความหมายถึง ลักษณะรูปร่างของหุ่นกลองที่คล้ายกับ "สะเอว"นอกจากนั้นยังอื่นมีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น บ้างก็เรียกตามรูปร่างลักษณะที่เห็น หรือเรียกตามเสียงที่ได้ยิน บ้างก็เรียกตามตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา เช่น กลองเปิ้งมง, กลองต๊กเส้ง และกลองอืด เป็นต้น ก่อนการตีจะต้องถ่วงหน้ากลองด้วยวัสดุเหนียวๆ ที่เรียกว่า จ่ากลอง ทำมาจากข้าวเหนียวนึ่งบดผสมกับขี้เถ้า แล้วแต่สูตรของแต่ละคน หรือใช้กล้วยตากอบน้ำผึ้งบด ติดไว้บริเวณหน้ากลองเพื่อเพิ่มความดังกังวาน
       กลองแอว สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามขนาดและเสียง คือ กลองแอวเสียงใหญ่ เสียงกลาง และเสียงเล็ก ซึ่งแต่ละประเภทจะมีขนาดของตัวกลองที่แตกต่างกันไปตามลำดับ โดยปกติกลองแอวที่ใช้ในภาคเหนือ จะบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ คือ ตะโล้ดโป๊ด สว่า (ฉาบใหญ่) ฆ้องอุ้ย ฆ้องโหย้ง โดยตีเป็นเครื่องประกอบจังหวะบรรเลงร่วมกันไปตลอดรวมเรียกว่า วงกลองตึ่งโนง และในบางโอกาสมักนิยมใช้เครื่องเป่าที่มีเสียงดังประกอบด้วย คือ แน ซึ่งมี 2 เลา ได้แก่ แนน้อย และแนหลวง หรืออาจจะมีการเพิ่มจำนวนเครื่องประกอบจังหวะไปตามความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ แต่เดิมกลองแอวเป็นกลองที่อยู่ประจำตามวัดเกือบทุกอารามในจังหวัดทางภาคเหนือ ใช้ตีเป็นสัญญาณประจำวัด เช่น ตีเป็นกลองเพล ตีเป็นสัญญาณชุมนุมสงฆ์ในพิธีสังฆกรรม หรือรวมกระทำกิจวัตรอื่นๆ และใช้ร่วมในงานบุญต่างๆ เช่น แห่นำขบวนครัวตาน หรือเมื่อมีงานฉลองศาสนสถานของวัดที่เรียกว่า ปอยหลวง งานบวชเณรที่เรียกว่า ปอยลูกแก้ว ซึ่งถือเป็นงานที่สำคัญมาก นอกจากนี้ยังมีการนำมาประกวดแข่งขันประชันเสียงกัน ซึ่งจะจัดในระหว่างเดือน 3 เดือน 4 ซึ่งตรงกับเดือนอ้ายเดือนยี่ในภาคกลาง หรือใช้แห่ประกอบการฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ในปัจจุบันนิยมนำมาแห่ในขบวนสำคัญต่างๆ โดยทั่วไป รวมถึงการแสดงบนเวทีให้นักท่องเที่ยวต่างถิ่นได้ชมอีกด้วย
       จากแผนที่วัฒนธรรมข้าวเหนียวของอาจารย์วิถี พาณิชพันธ์ กล่าวถึงพื้นที่ทีมีวัฒนธรรมยวน มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภาษา ความเชื่อ อาหาร คล้ายคลึงกัน ตากถูกกำหนดให้อยู่ในแผนที่ทางวัฒนธรรมดังกล่าว ซึ่งน่าจะเป็นเพียงนักวิชาการไม่กี่ท่าน ผลงานวิชาการไม่กี่ชิ้นที่ช่วยยืนยันถึงการตั้งถิ่นฐานของยวนในเมืองตากได้เด่นชัด ประจักษ์พยานที่บ่งชี้ถึงการตั้งถิ่นฐานของลาว(ยวน)ในเมืองตากปรากฏให้เห็นหลายสิ่ง เช่น การแต่งกาย ที่ปรากฏให้เห็นจากจิตรกรรมฝาผนังในวัดต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในชุมชนลาว(ยวน) ภาษาพูด(ปากลาว) อาหาร ประเพณี
       นอกจากนั้นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชุมชนคนลาวในด้านดนตรีนั้นคือ วงกลองคณะหัววัดต่าง ๆ ในย่านชุมชนลาว ดังเช่น วงกลองปูจาคณะศรัทธาวัดเชียงทองบน ผู้เขียนจำความได้ว่า ในงานวันออกพรรษาทุกปีที่วัดเชียงทองบนจะมีประเพณีตักบาตรเทโวฯเป็นประจำ โดยพระสงฆ์จะเดินลงมาจากวัดเชียงทองที่ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเล็ก ๆ แล้วจึงเดินผ่านในย่านชูมชนต่าง ๆ ในตัวเมืองตาก ภายในขบวนมีการตีกลองปูจา เพื่อเป็นพุทธบูชาอยู่เสมอ ที่ยังพอจะมีเค้าให้เห็นเพียงไม่กี่แห่ง หรือเมื่อคราวขบวนแห่กระทงสายเมื่อหลายปีก่อนชุมชนในแถบเขื่อนยันฮียังเคยแห่ขบวนด้วยการฟ้อนเล็บวงกลองตึงโน่งให้เห็นสิ่งนี้น่าจะเป็นหลักฐานถึงการสืบสานการเล่นเครื่องดนตรีของชุมชนคนลาวในเมืองตาก

คำสำคัญ : กลองแอว กลองปู่จา

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/673454162744794

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน). สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=TK001&nu=pages&page_id=2043

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2043&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีปอยส่างลอง

"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 9,426

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

ในช่วงวันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรเรียบร้อยแล้วชาวบ้านมักจะนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำบุญที่วัด เรียกประเพณี “ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ในเมืองตากมีการสืบทอดประเพณีการถวายข้าวใหม่เช่นเดียวกับวัฒนธรรมภาคเหนือเช่นกัน แต่มีข้อแตกต่างกัน คือชาวเมืองตากนิยมนำข้าวเหนียวใหม่มาเผาเป็นข้าวหลาม เพื่อใช้ในการถวายพระก่อนงานเทศกาล 1 วัน อดีตชาวบ้านเกือบทุกหลังจะนิยมเผาข้าวหลามเพื่อนำไปถวายพระ เป็นกิจกรรมสร้างความรักสามัคคีในครอบครัว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 1,079

ผามพิธี

ผามพิธี

หากเอ๋ยถึงผี คนทั่วไปมักนึกถึงสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาสัมผัส และแทนในรูปความน่ากลัว ความเชื่อในเรื่องผีเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดในสังคมอาคเนย์ แม้ในระยะหลังเรานับถือพุทธมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (ยุคแรกสมัยประวัติศาสตร์) แต่เราก็ยังคงมีความเชื่อในเรื่องผีที่ฝั่งลึกในจิตวิญญาณของเราอยู่ สะท้อนผ่านในรูปพิธีกรรม ความเชื่อ ผีจึงถูกผูกร้อยกับเราอย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนเหนือ ที่นับถือผีข้างมารดา ถือว่าเป็นเก๊า (หลัก) ของสายตระกูล คนเหนือนับถือผีบรรพบุรุษ สร้างหิ้งบูชาผีไว้ที่ด้านเหนือของเรือนเป็นหิ้งผีไว้สักการะยามทำงานบุญงานทาน ก่อนเข้าพรรษา หรือปีใหม่ไทย ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูด้วยการจัดเครื่องไหว้ผี ตามจารีตของคนในท้องถิ่น

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 770

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

หลังสงกรานต์ 16 เม.ย (วันปากปี) คนตากที่มีเชื้อสายชาวล้านนาจะมีการบูชาข้าว + บูชาเคราะห์โดยเตรียมสะตวง ทำจากกาบกล้วย รองด้วยใบตองแบ่งเป็น 9 ช่อง ปักธงสีขาวทุกช่อง แต่ละช่อง รองด้วยใบขนุน ใส่ข้าวสุก กับข้าวชื่อมงคล กล้วยสุก ดอกมะลิสีขาว นำไปวางในวิหาร พร้อมเส้นฝ้ายวา และเสื้อของคนในครอบครัวเมื่อพระสวดมนต์เสร็จแล้ว จะนำเสื้อผ้าที่ผ่านพิธีมาทำการสะบัดเคราะห์หรือสิ่งชั่วร้ายออกไป จะนำสะตวงไปลอยน้ำ และนำฝ้ายวาไปเผา ถือเป็นการล้างสิ่งที่ไม่ดี และรับแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิต”

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 895

กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน)

กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน)

กลองแอว เป็นชื่อเรียกที่มีความหมายถึง ลักษณะรูปร่างของหุ่นกลองที่คล้ายกับ "สะเอว"นอกจากนั้นยังอื่นมีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น บ้างก็เรียกตามรูปร่างลักษณะที่เห็น หรือเรียกตามเสียงที่ได้ยิน บ้างก็เรียกตามตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา เช่น กลองปู่จา, กลองเปิ้งมง, กลองต๊กเส้ง และกลองอืด เป็นต้น ก่อนการตีจะต้องถ่วงหน้ากลองด้วยวัสดุเหนียวๆ ที่เรียกว่า จ่ากลอง ทำมาจากข้าวเหนียวนึ่งบดผสมกับขี้เถ้า แล้วแต่สูตรของแต่ละคน หรือใช้กล้วยตากอบน้ำผึ้งบด ติดไว้บริเวณหน้ากลองเพื่อเพิ่มความดังกังวาน

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,580

การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์

การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์

ตากตั้งอยู่จุดกึ่งกลางเส้นทางในลำน้ำปิงที่ใช้ขึ้นลงระหว่างกรุงเทพ และหัวเมืองทางเหนือจึงมีการขยายตัวนับเนื่องมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดชุมชนชาวจีนริมฝั่งแม่น้ำปิงตั้งรกรากเป็นตลาดบกการค้าริมแม่น้ำปิง จนกระทั่งการคมนาทางถนนและทางรถไฟเกิดการขยายตัวได้รับความนิยมในการขนส่งสินค้าและผู้คนอย่างมาก ลำน้ำปิงจึงลดบทบาทลงไปพร้อม ๆ กับความคึกคักของตลาดการค้าริมทางน้ำสู่การตั้งร้านค้าและเกิดเป็นชุมชนการค้าแห่งใหม่ทางด้านเหนือของตลาดการค้าเดิม (ตรอกบ้านจีน) ต่อมาเรียกพื้นที่ตลาดการค้าใหม่นี้ว่าตลาดใน ตลาดในจึงกลายเป็นชุมชนจีนใหม่ที่คึกคักมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา การเข้าของจีนใหม่นำไปสู่การพยายามรักษาจารีตแบบจีนโบราณไว้ด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 463

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

การล่องซุงไม้สัก ร่องรอยความเจริญของกิจการป่าไม้ในหัวเมืองทางภาคเหนือ ในอดีตก่อนการถมแม่น้ำและการสร้างเขือนภูมิพล แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางสำคัญในการล่องแพซุงจากเชียงใหม่ลำปางสู่กรุงเทพ ซึ่งมีแหล่งค้าไม้ที่สำคัญในระยะแถววัดสระเกศ ภายหลังจึงย้ายมาอยู่แถวบางโพ เมืองตาก ในอดีตมีห้างค้าไม้ถึงสามแห่ง คือ ห้างสัญชาติอังกฤษ 2 แห่ง คือ ห้างบอมเบย์เบอร์ และห้างบริติชบอร์เนียว (ห้างบอร์เนียวฯ) ซึ่งตั้งในย่านชุมชนหัวเดียด และห้างไม้คนจีนหนึ่งแห่ง คือ กิมเซ่งหลี ซึ่งภายหลังเป็นกลุ่มคหบดีคนสำคัญในภาคเหนือ คือตระกูล โสภโณดร

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 704

เทศน์มหาชาติในเมืองตาก ภาษากลุ่มที่เลือนไปตามบริบท

เทศน์มหาชาติในเมืองตาก ภาษากลุ่มที่เลือนไปตามบริบท

ในระหว่างเทศกาลเข้าพรรษาตามหัววัดในชุมชนคนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในตัวเมืองตาก ทั้งกลุ่มไทยพื้นถิ่น ลาว (ยวน) มอญ ฯลฯ ล้วนสืบสานประเพณีนี้กันทั้งสิ้น ในงานตั้งธรรมหลวง(เทศน์มหาชาติ) พระท่านเทศน์เป็นคำเมือง(ปากลาว) ในปัจจุบันตามหัววัดต่าง ๆ ที่ตั้งในชุมชนต่าง ๆ ไม่แน่ใจว่ายังเทศน์ด้วยภาษาชาติพันธ์ุอยู่หรือไม่ หรือกลืนกลายไปแล้วตามกาลเวลา เพราะคนในแต่ละชุมชนสื่อสารภาษากลุ่มน้อยลงไปทุกที

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 721

ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก

ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก

การทำบุญกลางบ้าน คืองานพิธีกรรมที่สร้างความรัก ความผูกพันของคนในชุมชนหมู่บ้าน เพราะเป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านต้องร่วมกันจัดเตรียมพิธีกรรม ปะรำพิธี ตลอดไปจนการช่วยกันโยงด้ายสายสิญจน์จากบริเวณปะรำพิธีที่นิยม เลือกบริเวณกลางชุมชน ในชุมชนคนลาว ในช่วงเช้าก่อนวันประกอบพิธี จะมีการประกอบพิธีเลี้ยงท้าวทั้งสี่ในช่วงเช้า ตามความเชื่อของชาวล้านนา เพื่อทำให้เกิดสิริมงคล ราบรื่นในการประกอบพิธีกรรม ยามค่ำนิยมนิมนต์พระจากวัดชุมชนมาเจริญพุทธมนต์ ในระหว่างพระเจริญพระพุทธมนต์นั้น บ้านทุกหลังจะทำการบูชาเจดีย์ทรายองค์เล็กๆ ที่ชาวบ้านตระเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า ๆ และโยงด้านสายสิญจน์เข้าสู่เคหะสถานของตัวเอง ด้วยการเครื่องบูชาคือธูป เที่ยน ดอกไม้ ธง หรือตุงช่อ เพราะเชื่อว่าทำให้เกิดสิริมงคลสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในเคหะสถานนั้นๆ และยังเป็นการสืบอายุให้กับชุมชน และเมืองด้วย

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 603

น้ำมะกรูด-ส้มปล่อย เครื่องสระเกล้าดำหัว อัตลักษณ์เมืองตาก

น้ำมะกรูด-ส้มปล่อย เครื่องสระเกล้าดำหัว อัตลักษณ์เมืองตาก

น้ำมะกรูด-ส้มป่อย ถือได้ว่าเป็นเครื่องหอมพิเศษของเมืองตาก สันนิษฐานว่าน่าจะแพร่หลายเข้ามาจากวัฒนธรรมของชาวล้านนาซึ่งมีความใกล้ชิดด้านที่ตั้งและผู้คน โดยชาวบ้านจะนำฝักส้มป่อยและผลมะกรูดไปปิ้งไฟให้เกิดกลิ่นหอม และนำฝักส้มป่อยมาหักเป็นท่อนๆใส่รวมลงไปในน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบไทย ซึ่งจะต่างจากหัวเมืองทางเหนือที่นิยมใช้น้ำขมิ้นส้มปล่อย ลอยด้วยดอกสารภี ไม่มีวัฒนธรรมการเผาผลมะกรูดเป็นเครื่องหอมในวัฒนธรรมจากข้อสันนิษฐานนี้จึงแสดงให้เห็นถึงรูปแบบพิเศษของเมืองตากอีกข้อหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,182