การแต่งงานของชาวเขา

การแต่งงานของชาวเขา

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 3,640

[16.2844429, 98.9325663, การแต่งงานของชาวเขา]

เมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรู้จักกันและเกิดรักกัน ทั้ง2 คนอยากใช้ชีวิตร่วมกัน ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะกลับมาบ้านของตนเอง และฝ่ายชายค่อยมาพาฝ่ายหญิงจากบ้านของฝ่ายหญิง โดยผ่านประตูผีบ้านของฝ่ายหญิง เพราะคนม้งถือและเป็นวัฒนธรรมของคนม้ง หลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงกลับมาถึงบ้านของฝ่ายชาย พ่อ แม่ของฝ่ายชาย จะเอาแม่ไก่มาหมุนรอบศีรษะทั้งสองคน 3 รอบเรียกว่า “หรือข๊า” เป็นการต้อนรับคนทั้งสองเข้าบ้าน ซึ่งฝ่ายชายต้องแจ้งให้ญาติทางฝ่ายหญิงทราบภายใน 24 ชั่วโมง โดยจัดหาคน 2 คน เพื่อไปแจ้งข่าวให้พ่อแม่และญาติทางฝ่ายหญิงทราบ ว่าตอนนี้บุตรชายของเราได้พาบุตรสาวของท่านมาเป็นลูกสะใภ้ของเราแล้ว ท่านไม่ต้องเป็นห่วงบุตรสาว โดยคนที่ไปแจ้งข่าวนั้นคนม้งเรียกว่า “แม่โก๊ง”พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะแจ้งให้ทางฝ่ายชายว่าทราบว่าอีก 3 วันให้ “แม่โก๊ง” มาใหม่ นั้นหมายถึงว่าพ่อแม่ทางฝ่ายหญิงต้องการจัดงานแต่งงาน สมัยก่อนคนม้งมักจะอยู่กินด้วยกันก่อนสองถึง 3 เดือน หรืออาจจะเป็นปีแล้วค่อยมาจัดงานแต่ง แต่ปัจจุบันนี้สังคมเปลี่ยนไปตามยุคเทคโนโลยี ทำให้การจัดงานแต่งงานของคนม้งได้กำหนดจัดงานแต่งงานภายใน 3 วันเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน ชาวม้ง จะไม่เกี้ยวพาราสี หรือแต่งงานกับคนแซ่หรือตระกูลเดียวกันเพราะถือเป็นพี่น้องกัน ชาวม้งนิยมแต่งงาน ในระหว่างอายุ 15-19 ปี เมื่อแต่งงานกันแล้วฝ่ายหญิงจะย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านของฝ่ายชาย ซึ่งนับเป็นการเพิ่มสมาชิกในครอบครัวชายชาวม้งอาจมีภรรยาได้มากกว่าหนึ่งคน อยู่รวมกันในบ้านของฝ่ายสามี
 
 
ภาพโดย : http://www.hotsia.com/chiangrai/homestay/300/dsc00696.jpg 

คำสำคัญ : การแต่งงาน, ชาวเขา

ที่มา : http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/hmong.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การแต่งงานของชาวเขา. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=05&nu=pages&page_id=158

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=158&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เมี่ยนได้ย้ายถิ่นมาพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพราะการกระทำของมนุษย์ การแทรกแซงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติซ้อนทับพื้นที่ของหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเมี่ยน จึงถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ป่ามายังพื้นที่ราบทำให้ไม่มีที่ดินทำการเกษตร จึงต้องปรับตัวด้วยการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย งานสร้างสรรค์นี้คือ มีการปักผ้าลายเจ้าสาวทั้งที่เป็นกางเกงแบบสั้นและแบบยาว อีกทั้งมีลายผ้าประยุกต์ เพื่อนำชิ้นผ้าไปสร้างสรรค์ผลงานต่อไป ทางด้านองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าปักชาวเขาถือว่ามีความจำเป็นต่อวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย การปักผ้าของชาวเมี่ยนนี้ นอกจากจะช่วยสร้างรายได้แล้ว ยังมีการปักผ้าส่งศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้หญิงรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 994

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 5,642

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเรียกขวัญ เมื่อประชาชนอาข่าไปในป่าหรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่ง แล้วไปสะดุ้งกลัวและเกิดความไม่สบายขึ้นมา เช่น ตัวร้อน ปวดหัว ฯลฯ เมื่อผู้ประสบเหตุกลับมาถึงบ้านก็บอกสมาชิกในครัวครอบให้ประกอบพิธีกรรมนี้ การคัดเลือกฤกษ์ยามในการทำพิธี ต้องไม่ตรงกับวันเกิดและวันตายของสมาชิกในครอบครัว จึงนับว่าเป็นวันดี แต่ถ้าเป็นวันเกิดของผู้ที่ประสบเหตุสะดุ้งนั้นได้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,706

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ลีซอ หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ตำบลวาวี ออำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 11,223

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่บนภูเขา มีอาชีพและรายได้จากการเกษตรเป็นหลัก ลักษณะด้านครอบครัว เครือญาติและชุมชนระดับหมู่บ้านของแต่ละเผ่า มีเอกลักษณ์ของตน ซึ่งแตกต่างกันทุกเผ่ายังคงนับถือผีที่สืบทอดมาจาก การที่ชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยบนผืนแผ่นดินไทยได้ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,112

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,304

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งจากการสำรวจ มี 2 หมู่บ้าน คือ 1) หมู่ 3 บ้านคลองน้ำไหลใต้ ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 80 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลัง 2) หมู่ 18 บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ ทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,433

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกากะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 7,793

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ตามประวัติศาสตร์ของชนชาติ “ลาหู่” มีมานานไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี โดยชาวลาหู่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในธิเบต และอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต่อมาได้ทยอยอพยพลงมาอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยแบ่งออกเป็นสองสาย คือส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า เมื่อพ.ศ. 2383 และราว พ.ศ. 2423 ได้เข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยตั้งรกรากที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแห่งแรก อีกส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าไปในประเทศลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ชนเผ่าลาหู่ได้แบ่งเป็นเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า อาทิ ลาหู่ดำ ลาหู่แดง ลาหู่เหลือง ลาหู่ขาว ลาหู่ปะกิว ลาหู่ปะแกว ลาหู่เฮ่กะ ลาหู่ลาบา ลาหู่เชแล ลาหู่บาลา เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 21,031

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญบ้านคลองไพร ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มี 12 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายทางภาคเหนือที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทยภาคเหนือที่อพยพมาจากอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง จึงได้นำพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้มาใช้ที่บ้านคลองไพรด้วย ซึ่งพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้เป็นพิธีกรรมที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า โดยจะเป็นพิธีกรรมที่ใช้เฉพาะผู้หญิงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะใช้ในกรณีที่คนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เมื่อคนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เช่น รถล้ม รถชน แม่หรือ ย่ายาย จะเป็นผู้ไปซ้อนขวัญ ถ้าหากคนในครอบครัวไม่สามารถทำได้ ก็จะให้ผู้หญิงผู้เฒ่าผู้แก่ท่านอื่นที่เคารพและสามารถประกอบพิธีกรรมได้เป็นผู้กระทำให้

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 776