ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 4,305

[16.2851021, 98.9325625, ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง]

                ปีใหม่เผ่าม้งคลองลานจัดงานประเพณีรื่นเริงโยนลูกช่วง วันที่ 1 ม.ค. ของทุกปีชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริง ที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่งนายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เปิดเผยว่า ประเพณีขึ้นปีใหม่หรือประเพณีฉลองปีใหม่ของชาวม้งคลองลาน เป็นงานรื่นเริงของชาวม้งของทุก ๆ ปี จะจัดขึ้นหลังจากได้เก็บเกี่ยวผลผลิตในรอบปีเรียบร้อย และเป็นการฉลองถึงความสำเร็จในการเพาะปลูกของแต่ละปี ซึ่งจะต้องทำพิธีบูชาถึงผีฟ้า - ผีป่า – ผีบ้าน ที่ให้ความคุ้มครอง และดูแลความสุขสำราญตลอดทั้งปี รวมถึงผลผลิตที่ได้ในรอบปีด้วย ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะทำการฉลองกันอย่างพร้อมเพรียงกัน ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม สำหรับ ชาวเขาเผ่าม้ง ทั้งชายและหญิง เด็กและผู้ใหญ่ จะต้องแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่า ซึ่งต้องเป็นชุดที่ตัดเย็บใหม่ มีการตบแต่งประดับประดาด้วยเครื่องเงิน ที่ทำขึ้นมาจากฝีมือของชาวเขาเอง โดยมีลวดลายจากการคิดและประดิษฐ์โดยช่างที่มีความชำนาญในด้านนี้ นอกจากนั้นยังมีเหรียญเงิน จากเงินตราสกุลต่าง ๆ ที่หาซื้อแลกเปลี่ยนหรือเก็บไว้ นำมาประดับตามเสื้อผ้าที่จะสวมใส่         
                ส่วนกิจกรรมการละเล่นที่บรรดาหนุ่มสาวนิยมเล่นกัน ในเทศกาลปีใหม่ คือการโยนลูกช่วง ซึ่งเป็นการละเล่นที่หนุ่มสาวชาวเขาเผ่าม้ง ตั้งหน้าตั้งตารอคอยมาหนึ่งปีเต็ม เพราะช่วงเวลานี้หนุ่มสาวจะมีโอกาสได้เลือกคนที่ถูกใจ ในการที่จะจับคู่โยนลูกช่วงด้วยกัน โดยฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายเลือกชายหนุ่มที่พอใจ จากนั้นจะนำลูกช่วงไปให้ เพื่อชวนไปโยนลูกช่วงด้วยกัน ส่วนพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ก็จะมานั่งดูลูกหลานของตนโยนลูกช่วงกัน ซึ่งหนุ่มสาวบางรายในระหว่างที่โยนลูกช่วง ถ้าเกิดพอใจซึ่งกันและกัน หรือรักกัน ก็จะแต่งงานภายหลังสิ้นเทศกาลปีใหม่

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=126&code_db=DB0008&code_type=A001

คำสำคัญ : ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ที่มา : https://www.facebook.com/ChattraPhetchara/posts/349205031929414

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=05&nu=pages&page_id=156

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=156&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

ปีใหม่ลูกข่าง

ปีใหม่ลูกข่าง

เป็นประเพณีเปลี่ยนฤดูกาลทำมาเลี้ยงชีพ จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี ตรงกับเดือนอาข่า คือ “ท้องลาบาลา” คนทั่วไปนิยมเรียกประเพณีนี้ว่า ปีใหม่ลูกข่าง ประเพณีนี้มีประวัติเล่ากันมาว่า เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลทำมาหากิน ซึ่งภายหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์จากท้องไร่นา เสร็จแล้วก็จะเข้าสู่ฤดูแห่งการพักผ่อน ถือเป็นประเพณีของผู้ชาย โดยผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จะมีการทำลูกข่าง “ฉ่อง” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,452

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญบ้านคลองไพร ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มี 12 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายทางภาคเหนือที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทยภาคเหนือที่อพยพมาจากอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง จึงได้นำพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้มาใช้ที่บ้านคลองไพรด้วย ซึ่งพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้เป็นพิธีกรรมที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า โดยจะเป็นพิธีกรรมที่ใช้เฉพาะผู้หญิงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะใช้ในกรณีที่คนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เมื่อคนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เช่น รถล้ม รถชน แม่หรือ ย่ายาย จะเป็นผู้ไปซ้อนขวัญ ถ้าหากคนในครอบครัวไม่สามารถทำได้ ก็จะให้ผู้หญิงผู้เฒ่าผู้แก่ท่านอื่นที่เคารพและสามารถประกอบพิธีกรรมได้เป็นผู้กระทำให้

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 776

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเรียกขวัญ เมื่อประชาชนอาข่าไปในป่าหรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่ง แล้วไปสะดุ้งกลัวและเกิดความไม่สบายขึ้นมา เช่น ตัวร้อน ปวดหัว ฯลฯ เมื่อผู้ประสบเหตุกลับมาถึงบ้านก็บอกสมาชิกในครัวครอบให้ประกอบพิธีกรรมนี้ การคัดเลือกฤกษ์ยามในการทำพิธี ต้องไม่ตรงกับวันเกิดและวันตายของสมาชิกในครอบครัว จึงนับว่าเป็นวันดี แต่ถ้าเป็นวันเกิดของผู้ที่ประสบเหตุสะดุ้งนั้นได้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,706

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่บนภูเขา มีอาชีพและรายได้จากการเกษตรเป็นหลัก ลักษณะด้านครอบครัว เครือญาติและชุมชนระดับหมู่บ้านของแต่ละเผ่า มีเอกลักษณ์ของตน ซึ่งแตกต่างกันทุกเผ่ายังคงนับถือผีที่สืบทอดมาจาก การที่ชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยบนผืนแผ่นดินไทยได้ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,112

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 5,642

วัฒนธรรมการทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) ของชนเผ่าม้ง

วัฒนธรรมการทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) ของชนเผ่าม้ง

ชาวม้งมีบรรพบุรุษโบราณอาศัยอยู่ในดินแดนอันหนาวเย็น หิมะตกหนัก มีกลางคืนและฤดูหนาวที่ยาวนาน อาจอพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย ประเทศจีน ชาวม้งอพยพหนีการปกครองของจีน ในเขตที่ราบสูงของหลวงพระบาง ราวพุทธศักราช 2443 กลุ่มม้งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่อำเภอคลองลาน มีแม่เฒ่าชาวม้งท่านหนึ่งชื่อว่า นางจื่อ แซ่กือ อายุ 64 ปี อาศัยอยู่ หมู่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา ซึ่งเดิมอยู่บนเขาน้ำตกคลองลาน อพยพมาอยู่พื้นราบมาประมาณ 20 ปี งานที่สำคัญและภูมิใจที่สุดของนางจื่อ แซ่กือ คือ การทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) เพื่อนำมาตัดเย็บชุดชาวเขาเผ่าม้งของแม่เฒ่า

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,758

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ชาวจีนโพ้นทะเล หรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพในประเทศไทยเป็นเวลานาน โดยมีการผสมผสานกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมของชนทั้งสองกลุ่ม ความเชื่อ ความศรัทธารวมถึงเอกลักษณ์กลายเป็นวัฒนธรรมผสม แต่ถึงอย่างไรก็ตามชาวจีนโพ้นทะเลยังคงรักษา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของตนไว้เป็นอย่างดี อย่างที่เราจะเห็นได้ในทุกพื้นที่ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ จะมีเทศกาลปีใหม่จีน(ตรุษจีน) สารทจีน ให้อยู่ในทุกพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ครบถ้วนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของความเชื่อ ความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้ศึกษาขอพาไปรู้จักกับประเพณีในรอบ 1 ปีของชาวจีนดังในหัวข้อ “ประเพณีที่ถือปฏิบัติในรอบปี”

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,312

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ลีซอ หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ตำบลวาวี ออำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 11,223

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เมี่ยนได้ย้ายถิ่นมาพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพราะการกระทำของมนุษย์ การแทรกแซงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติซ้อนทับพื้นที่ของหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเมี่ยน จึงถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ป่ามายังพื้นที่ราบทำให้ไม่มีที่ดินทำการเกษตร จึงต้องปรับตัวด้วยการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย งานสร้างสรรค์นี้คือ มีการปักผ้าลายเจ้าสาวทั้งที่เป็นกางเกงแบบสั้นและแบบยาว อีกทั้งมีลายผ้าประยุกต์ เพื่อนำชิ้นผ้าไปสร้างสรรค์ผลงานต่อไป ทางด้านองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าปักชาวเขาถือว่ามีความจำเป็นต่อวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย การปักผ้าของชาวเมี่ยนนี้ นอกจากจะช่วยสร้างรายได้แล้ว ยังมีการปักผ้าส่งศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้หญิงรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 994

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นทวด-รุ่นปู่ ซึ่งม้งจะมีความเชื่อว่าจะต้องเลี้ยง ผีปู่-ผีย่า เพราะช่วงเวลาในหนึ่งรอบปีหรือในหนึ่งปีที่ผ่านมานั้นผีปู่-ผีย่า ได้ดูแลครอบครัวของแต่ละครอบครัวเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีการปลูกข้าวใหม่เพื่อจะเซ่นบูชา คุณผีปู-ผีย่ากับเจ้าที่ทุกตน ซึ่งการกินข้าวใหม่จะทำกันในเดือน ตุลาคมของทุกปี ข้าวใหม่คือข้าวที่ปลูกขึ้นมาเพื่อที่จะเซ่นถวายให้กับผีปู่-ผีย่า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,845