ชนเผ่าเมียน (MIEN)

ชนเผ่าเมียน (MIEN)

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้ชม 14,596

[16.2844429, 98.9325649, ชนเผ่าเมียน (MIEN)]

       ชาวเมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทางตะวันออก ของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมา ทางใต้ เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุงและภาคเหนือของไทย ชาวเมี่ยนที่ี่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัดเชียงราย พะเยาและน่านรวมทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย
       ภาษาเมี่ยนมีความ สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาม้งมากกว่าภาษาชาวเขาอื่นๆ ภาษาเขียน เมี่ยนได้รับอิทธิพลจากจีนมาก เป็นคำเดียวโดดๆ ไม่มีีภาษาเขียนเป็นของตนเอง เมี่ยนที่อยู่ในเมืองไทยส่วนใหญ่พูดภาษาไทยเหนือหรือคำเมืองพอรู้เรื่องบาง คนพูดภาษาไทยกลางได้ คนที่มีอายุพูดภาษาจีนกลางและจีนฮ่อได้ ผู้ชายชาวเมี่ยนมีคำนำหน้าว่า “เลา” ส่วนผู้หญิงมีคำนำหน้าว่า “อ่ำ” บุตรชายคนแรกเรียก ต่อนโห หรือ ต่อนเก๊า ลูกสาวคนแรกเรียก อ่ำม๋วย พวกเมี่ยนนิยมตั้งหมู่บ้านบนไหล่เขา บริเวณต้นน้ำลำธาร สูงประมาณ 3,000-3,500 ฟุต ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าหมู่บ้านม้งและลีซอ หมู่บ้านเมี่ยนมักมีขนาดเล็กประมาณ 15 หลังคาเรือน มีการโยกย้ายหมู่บ้านบ่อยๆ ในช่วงเวลา 10-15 ปี แต่บางแห่งตั้งอยู่อย่างถาวร
       ในหมู่บ้านเมี่ยนจะเอากระบอกไม้ไผ่ผ่าครึ่งทำเป็นท่อหรือรางน้ำเพื่อรองน้ำจากลำธารมาใช้ภายใน หมู่บ้านได้ ชาวเมี่ยนปลูกบ้านคร่อมดิน ใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน บ้านมีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุงหลังคาด้วยหญ้าคาหรือใบหวาย ฝาบ้านทำจากไม้เนื้ออ่อนที่ผ่าด้วยขวานและลิ่มถากให้เรียบ กั้นฝาในแนวตั้ง บางหลังใช้ไม้ไผ่หรือฟางข้าวผสมดินโคลนก่อเป็นกำแพงเป็นฝาผนัง ถ้ามีสมาชิกหลายคนจะแบ่งเป็นห้องๆ หน้าบ้านมีีประตูเรียกว่า ประตูผี ประตูนี้จะเปิดใช้เมื่อส่งตัวบุตรสาวออกไปแต่งงาน หรือนำลูกสะใภ้เข้าบ้าน และใช้เวลายกศพออกจากบ้าน ตรงกับประตูหน้า จะมีหิ้งผีติดข้างฝาเรียกว่า “เมี้ยนป้าย” เป็นที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษ บางบ้านมีหิ้งผีอีกแบบหนึ่งเรียกว่า “เมี้ยน เตี่ย หลง”  
       เมี่ยนที่มีฐานะอาจสร้างบ้านยกพื้นมุงหลังคากระเบื้องหรือสังกะสี กั้นฝาและปูพื้นด้วยไม้กระดาน บางแห่งนิยมสร้างยุ้งข้าวโพดไว้หน้าบ้าน เมี่ยนไม่มีหัวหน้าเผ่ามีแต่หัวหน้าที่ได้รับการคัดเลือกมาจากผู้อาวุโสของหมู่บ้านหรือได้รับแต่งตั้งจากทางการ ผู้ที่เป็นหัวหน้าต้องมีความรู้ความสามารถจะทำหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทต่างๆ รับเชิญไปในพิธีกรรมต่างๆ และติดต่อกับทางราชการ
       ครอบครัวของเมี่ยนมีทั้งครอบครัวเดี่ยวและขยาย ถ้าเป็นครอบครัวขยาย นิยมขยายทางฝ่ายชาย ในทัศนะของเมี่ยน คำว่า ญาติพี่น้อง นอกจากจะหมายถึงญาติพี่น้องทางสายโลหิตแล้ว ยังรวมถึงชนชาติอื่นๆ ที่เข้ามารวมอยู่ในชุมชนของชาวเมี่ยนด้วย ในเรื่องญาติพี่น้องของเมี่ยนนั้น มิได้หมายถึงความเกี่ยวพันทางสายโลหิตดังที่เข้าใจกัน แต่เกี่ยวพันกันในทางวิญญาณของบรรพบุรุษ เมี่ยนเชื่อว่าเด็กที่เกิดมานั้นเป็นผลผลิตของความร่วมมือระหว่างวิญญาณหญิงชายของบรรพบุรุษ ได้มอบวิญญาณเด็กให้แก่บิดามารดาซึ่งเป็นผู้สร้างร่างกายเด็กและเลี้ยงดูให้เติบโต บุคคลหนึ่งบุคคลใดจะยังไม่ได้เป็นชาวเมี่ยนโดยสมบูรณ์จนกว่าจะผ่านพิธีกรรมรับเข้าเป็นสมาชิก โดยการแนะนำตัวต่อวิญญาณบรรพบุรุษ หลังจากมีอายุครบ 12 ปีบริบูรณ์
       ในหมู่บ้านเมี่ยนจะเอากระบอกไม้ไผ่ผ่าครึ่งทำเป็นท่อหรือรางน้ำเพื่อรองน้ำจาก ลำธารมาใช้ภายในหมู่บ้านได้ ชาวเมี่ยนปลูกบ้านคร่อมดิน ใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน บ้านมีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุงหลังคาด้วยหญ้าคาหรือใบหวาย ฝาบ้านทำจากไม้เนื้ออ่อนที่ผ่าด้วยขวานและลิ่มถากให้เรียบกั้นฝาในแนวตั้ง บางหลังใช้ไม้ไผ่หรือฟางข้าวผสมดินโคลนก่อเป็นกำแพงเป็นฝาผนัง ถ้ามีสมาชิกหลายคนจะแบ่งเป็นห้องๆ หน้าบ้านมีีประตูเรียกว่า ประตูผี ประตูนี้จะเปิดใช้เมื่อส่งตัวบุตรสาวออกไปแต่งงาน หรือนำลูกสะใภ้เข้าบ้าน และใช้เวลายกศพออกจากบ้าน ตรงกับประตูหน้า จะมีหิ้งผีติดข้างฝาเรียกว่า “เมี้ยนป้าย” เป็นที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษ บางบ้านมีหิ้งผีอีกแบบหนึ่งเรียกว่า “เมี้ยน เตี่ย หลง” เมี่ยนที่มีฐานะอาจสร้างบ้านยกพื้นมุงหลังคากระเบื้องหรือสังกะสี กั้นฝาและปูพื้นด้วยไม้กระดาน บางแห่งนิยมสร้างยุ้งข้าวโพดไว้หน้าบ้าน
       เมี่ยนไม่มีหัวหน้าเผ่ามีแต่หัวหน้าที่ได้รับการคัดเลือกมาจากผู้อาวุโสของหมู่บ้านหรือได้รับแต่งตั้งจากทางการ ผู้ที่เป็นหัวหน้าต้องมีความรู้ความสามารถ จะทำหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทต่างๆ รับเชิญไปในพิธีกรรมต่างๆ และติดต่อกับทางราชการ
       ครอบครัวของเมี่ยนมีทั้งครอบครัวเดี่ยวและขยาย ถ้าเป็นครอบครัวขยาย นิยมขยายทางฝ่ายชาย ในทัศนะของเมี่ยน คำว่า ญาติพี่น้อง นอกจากจะหมายถึงญาติพี่น้องทางสายโลหิตแล้ว ยังรวมถึงชนชาติอื่นๆ ที่เข้ามารวมอยู่ในชุมชนของชาวเมี่ยนด้วย ในเรื่องญาติพี่น้องของเมี่ยนนั้น มิได้หมายถึงความเกี่ยวพันทางสายโลหิตดังที่เข้าใจกัน แต่เกี่ยวพันกันในทางวิญญาณของบรรพบุรุษ เมี่ยนเชื่อว่าเด็กที่เกิดมานั้นเป็นผลผลิตของ ความร่วมมือระหว่างวิญญาณหญิงชายของบรรพบุรุษ ได้มอบวิญญาณเด็กให้แก่บิดามารดาซึ่งเป็นผู้สร้างร่างกายเด็กและเลี้ยงดูให้เติบโต บุคคลหนึ่งบุคคลใดจะยังไม่ได้เป็นชาวเมี่ยนโดยสมบูรณ์จนกว่าจะผ่านพิธีกรรมรับเข้าเป็นสมาชิก โดยการแนะนำตัวต่อวิญญาณบรรพบุรุษ หลังจากมีอายุครบ 12 ปีบริบูรณ์ ชาวเมี่ยนมีอิสระเสรีในการเลือกคู่ครอง โดยไม่มีการบังคับกัน เมี่ยนมีประเพณีเที่ยวสาว ซึ่งชาวเมี่ยนได้ยึดถือปฏิบัติมาจนทุกวันนี้ การเที่ยวสาวนั้นไม่ได้มีเพียงการพูดจาเกี้ยวพาราสีเท่านั้น แต่เมื่อหญิงสาวชาวเมี่ยนพอใจหนุ่มคนใดเป็นพิเศษ ก็อาจจะร่วมหลับนอนกับชายคนนั้นได้ภายในห้องนอนของตนเอง
       การแต่งงานของเมี่ยนมี 2 แบบคือ การแต่งงานเล็ก และการแต่งงานใหญ่ การแต่งงานเล็กกระทำที่บ้านผู้หญิง ส่วนการแต่งงานใหญ่จัดที่บ้านผู้ชาย มีการกินเลี้ยง 3 วัน 3 คืน ชาวเมี่ยนไม่นิยมแต่งงานกับคนแซ่เดียวกัน และไม่ห้ามการมีภรรยาหลายคน โดยถือหลักว่า ถ้ามีภรรยาคนเดียวไม่สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้เพียงพอ ก็ต้องหาภรรยาน้อยเพื่อมาช่วยทำงาน ครอบครัวเมี่ยนมักไม่ค่อยมีการหย่าร้าง ถ้าผู้หญิงมีชู้ ชายชู้ต้องเสียค่าปรับให้สามีเก่า การมีชู้เป็นเรื่องน่าอับอายสำหรับเมี่ยน ผู้ชายชาวเมี่ยนมีศักดิ์เหนือกว่า
       ผู้ชายชาวเมี่ยนมีศักดิ์เหนือกว่าสตรีและเด็กในครอบครัว เวลากินอาหาร จะจัดให้ผู้ชายก่อน สตรีและเด็กจะมากินทีหลัง ภรรยาต้องเคารพสามี ตื่นก่อนนอนทีหลัง ชาวเมี่ยนทำมาหากินโดยการทำไร่เลื่อนลอย พืชหลักที่ปลูกได้แก่ ฝิ่น ข้าว ข้าวโพด มันฝรั่ง พริก ฝ้าย มันเทศ เป็นต้น ไร่ข้าวของเมี่ยนจะไม่่มีต้นไม้ใหญ่เหมือนพวกกะเหรี่ยง ไร่ข้าวจะอยู่รอบหมู่บ้านในรัศมีเดินไม่เกินสองชั่วโมง ฤดูปลูกข้าวเริ่มปลูกปลายเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ข้าวที่เกี่ยวและนวดแล้วจะเก็บไว้ในยุ้งในไร่ไม่นิยมนำกลับมาบ้าน นอกจากเพาะปลูกแล้ว ชาวเมี่ยนยังเลี้ยงสัตว์ เช่น ม้า หมูและไก่ ม้าใช้สำหรับขี่ี่เดินทางหรือต่างของ หมูและไก่เลี้ยงไว้เพื่อเซ่นสังเวยผีในพิธีกรรม ชาวเมี่ยนยังมีฝีมือในการทำเครื่องประดับเครื่องเงิน เย็บปักถักร้อย ทำมีด จอบ ขวาน เคียว เป็นต้น
       เมี่ยนเชื่อว่า เงินเป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จทั้งในโลกมนุษย์และโลกของวิญญาณ กล่าวคือ ชาวเมี่ยนเชื่อว่าในขณะที่มี ชีวิตในโลกมนุษย์ ถ้าหากได้จ่ายเงินเพื่อทำบุญอย่างเพียงพอแล้ว เมื่อตายไปแล้ววิญญาณจะได้รับการเคารพนับถือจากดวงวิญญาณทั้งหลาย และอาศัยอยู่ในโลก วิญญาณอย่างมีความสุข ผู้ที่ได้รับการนับถือในสังคมเมี่ยนต้องมี ลักษณะอยู่ 3 ประการ คือ มีฐานะการเงินดี มีความเฉลียวฉลาด และมีความเมตตากรุณา
       เมี่ยนมีการนับถือผี พวกเขาเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีผีสิงสถิตอยู่ทั้งนั้น เช่น ผีภูเขา ผีต้นไม้ ผีบ้าน ผีป่า ผีมี 2 พวกคือ ผีดีและผีร้าย ผีดี ได้แก่ ผีบนสวรรค์หรือท้องฟ้า ผีร้ายอาศัยอยู่ตามต้นไม้ในป่า ตามแอ่งน้ำ ลำธาร นอกจากนั้นเย้ายังนับถือผีอีกพวกหนึ่งซึ่งมีความสำคัญสูงสุด คือ ผีใหญ่หรือ “จุ๊ซัง เมี้ยน” มี 18 ตนด้วยกัน มีอำนาจลดหลั่นกันเป็นลำดับ ผีที่มีอำนาจสูงสุดมี 3 ตนด้วยกัน คือ สามด๋าวหรือฟามชิ้ง หมอผีของชาวเมี่ยนเรียกว่า“ซิมเมี้ยนเมียน” ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ และรักษาโรค ชาวเมี่ยนเชื่อว่าร่างกายคนมีขวัญทั้งหมด 11 ขวัญ ขวัญเหล่านี้ชอบออกไปจากร่างกายเมื่อเจ็บป่วย ได้รับอันตรายหรือตกอกตกใจ แล้วผีร้ายจะเข้ามาสิงสู่แทน หมอผีจะเป็นผู้ประกอบพิธีเรียกขวัญ และเชิญผีครู ผีบรรพบุรุษ และผีสามด๋าวมาช่วยในการเรียกขวัญด้วย  
       การแต่งกายของชาวเมี่ยน ผู้หญิงนุ่งกางเกงด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ด้านหน้าจะปักลวดลาย ใส่เสื้อคลุมสีดำยาวถึงข้อเท้า ผ่าด้านหน้าตลอดติดไหมพรมสีแดงที่อกเสื้อรอบคอลงมาถึงหน้าท้อง ผ่าด้านข้าง อกเสื้อกลัดติดด้วยแผ่นเงินสี่เหลี่ยม ทาผมด้วยขี้ผึ้ง พันด้วยผ้าสีแดง และพันทับด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงสีดำขายาว ขลิบขอบขากางเกงด้วยไหมสีแดง สวมเสื้อดำอกไขว้แบบเสื้อคนจีน ติดกระดุมคอและรักแร้เป็นแนวลงไปถึงเอว เสื้อยาวคลุมเอว ปัจจุบันชาวเมี่ยนเริ่มแต่งกายคล้ายคนไทยพื้นราบมากขึ้น อาวุธของเมี่ยนได้แก่ ปืนคาบศิลาทำเอง ใช้คันร่มเป็นลำกล้องปืน

คำสำคัญ : เผ่าเมียน

ที่มา : สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน. (2549). วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินามหมู่บ้านตำบลคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ชนเผ่าเมียน (MIEN). สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=05&nu=pages&page_id=1444

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1444&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกากะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 7,969

การแต่งกายของชาวเขา

การแต่งกายของชาวเขา

ลักษณะการแต่งกายของชาวเขา จังหวัดกำแพงเพชร จะมีตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ชายเสื้อจะยาวคลุมเอว ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมาตลอดแนว สายเสื้อลงไปยังชายเสื้อ ด้านหลัง มักจะปักลวดลายสวยงามด้วย ปัจจุบันนิยมใส่ซิปลงขอบ สาบเสื้อ เพื่อสะดวกในการใส่ ส่วนกางเกงจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย หรือกางเกงจีนเป้าตื้นขาบาน มีลวดลายน้อย และใส่ผ้าพันเอวสีแดง คาดทับกางเกง และอาจมีเข็มขัดเงินคาดทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนกัน

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 11,938

ศาสนาความเชื่อและพิธีกรรมของชาวเขา

ศาสนาความเชื่อและพิธีกรรมของชาวเขา

ชาวม้งมีการนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนฟ้า ในลำน้ำ ประจำต้นไม้ ภูเขา ไร่นา ฯลฯ ชาวม้งจะต้องเซ่นสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ปีละครั้ง โดยเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 7,053

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เมี่ยนได้ย้ายถิ่นมาพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพราะการกระทำของมนุษย์ การแทรกแซงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติซ้อนทับพื้นที่ของหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเมี่ยน จึงถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ป่ามายังพื้นที่ราบทำให้ไม่มีที่ดินทำการเกษตร จึงต้องปรับตัวด้วยการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย งานสร้างสรรค์นี้คือ มีการปักผ้าลายเจ้าสาวทั้งที่เป็นกางเกงแบบสั้นและแบบยาว อีกทั้งมีลายผ้าประยุกต์ เพื่อนำชิ้นผ้าไปสร้างสรรค์ผลงานต่อไป ทางด้านองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าปักชาวเขาถือว่ามีความจำเป็นต่อวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย การปักผ้าของชาวเมี่ยนนี้ นอกจากจะช่วยสร้างรายได้แล้ว ยังมีการปักผ้าส่งศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้หญิงรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 1,046

ประเพณีโล้ชิงช้า

ประเพณีโล้ชิงช้า

จะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ผลผลิตกำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อาข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอาข่าคือ “ฉ่อลาบาลา” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,549

ชนเผ่าเมียน (MIEN)

ชนเผ่าเมียน (MIEN)

ชาวเมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทางตะวันออกของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมาทางใต้เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุงและภาคเหนือของไทย ชาวเมี่ยนที่ี่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน รวมทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 14,596

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 5,695

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,326

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ตามประวัติศาสตร์ของชนชาติ “ลาหู่” มีมานานไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี โดยชาวลาหู่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในธิเบต และอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต่อมาได้ทยอยอพยพลงมาอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยแบ่งออกเป็นสองสาย คือส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า เมื่อพ.ศ. 2383 และราว พ.ศ. 2423 ได้เข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยตั้งรกรากที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแห่งแรก อีกส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าไปในประเทศลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ชนเผ่าลาหู่ได้แบ่งเป็นเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า อาทิ ลาหู่ดำ ลาหู่แดง ลาหู่เหลือง ลาหู่ขาว ลาหู่ปะกิว ลาหู่ปะแกว ลาหู่เฮ่กะ ลาหู่ลาบา ลาหู่เชแล ลาหู่บาลา เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 21,384

ชนเผ่าม้ง (HMONG)

ชนเผ่าม้ง (HMONG)

ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 31,785