ลิเกป่า

ลิเกป่า

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 2,080

[16.4336195, 99.4094765, ลิเกป่า]

ที่มา
        เล่นในงานลงแขกเกี่ยวข้าว หรือในงานประเพณีบวชพระที่บ้านเจ้าภาพ เพื่อความสนุกสนาน ผู้สืบค้น แม่แฉล้ม บุญสุข แม่สุวรรณ สังข์สุวรรณ แม่พวงเพ็ญ จิ๋วปัญญา แสดงโดยแม่บ้านหมู่ 4 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 

วิธีการเล่น
        ชายหญิง ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสี ไม่มีเครื่องดนตรี มีลูกคู่ร้องรับและปรบมือเข้าจังหวะ จำวนผู้แสดงไม่จำกัด 

การแต่งกาย
        ชายหญิง แต่งกายธรรดาเหมือนอยู่บ้าน 

เนื้อเพลง
ชาย  - แม่คิ้วโก่งเหมือนวงฆ้อง พี่อยากได้นวลน้องเข้ามาพาที แม่กลิ่นเอยกลิ่นธูปที่เขาจุดฟังเทศน์มาตัดสวาทขาดเด็ด ช่างไม่เหลียวหลัง ทำให้พี่หลงรอ เชียวนะแม่ช่อดอกรัง
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย       
หญิง - พ่อคิ้วโก่งเหมือนวงพระจันทร์ คิ้วน้องนี้ไม่ต้องกันมันก็โก่งอยู่เอง พ่อผมแหวกหว่างหวีทำให้น้องนี้วังเวง
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ  เอ๊ย
ชาย - พี่รักน้องมานาน ไม่รู้จะไปไหว้วานใครเขามาเป็นสื่อ พี่ก้มหน้าเขียนสารจนชาวบ้านเขาลื
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง - อย่ามัวรักน้องเลย เดี๋ยวชาวบ้านเขาเย้ยเอานะพ่อปูก้ามเก จงถอยหลังลงรูปเถิดนะพ่อปูทะเล
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย       
ชาย - แม่ปลาปิ้งข้าวปั้น น้องอย่ามาทำป่วนปั่นว่าพี่เกี้ยวไม่เป็น พี่เอามือเขาไปแปะ น้องก็ป่ายมือปัด มือพี่ไม่กัดเนื้อเป็นน้องจะเว้าก้เว้า แม่นกกาเหว่าเสียเย็น
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง - พ่ออ้อยลำโอน ปล่อยให้ใครเขาโหน เอาเสียจนลำเอน ไม่กลัวแฟนๆ ที่ว่า จะสู้ก้ม หน้ารับเดน
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ  เอ๊ย
ชาย - แม่ทับทิมริมตลิ่ง ขอให้พี่ตอนสักกิ่งพี่จะเอาไว้ทำพันธุ์ ถ้าทับทิมไม่ตาย เราคงไม่วายรักกัน
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ  เอ๊ย      
หญิง - พ่อทับทิมริมสระ ให้พี่ไปบวชเป็นพราะ ไม่เถิดนะพี่ไป พี่อย่ามาหลงรักน้อง เดี๋ยวจะไม่ได้ครองผ้าไตร
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ  เอ๊ย
ชาย  - อนิจจาแม่ยาใจ พี่มีความรักใคร่กับแม่ พอถึงวันดีพี่จะมาหมั้น พอถึงวันจันทร์พี่จะมาขอแม่แขนอ่อนเหมือนท่อนจันทน์ ถ้ารักฉันน้องจงรอ
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง - พ่อ ร. เรือรุ่งริ่ง พ่อ ล. ลิงจับหลัก พี่อย่ามาพะวงหลงรัก เลยนะพ่อ ร. เรือรูปหล่อ พ่อ ร. เรือหลุดหลักถึงมาบอกรักน้องก็ไม่รอ
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
ชาย  - แม่ฝรั่งข้างรั้ว น้องจะสุกคาขั้วเอาไว้คอยใคร น้องจะหล่นก็หล่น ขอให้พี่คนละใบ
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง - พ่อฝรั่งข้าวรั้ว น้องไม่สุกคาขั้วเอาไว้คอยใคร รักน้องไม่หล่นไม่เล็ด แม้แต่เท่าเม็ดพริกไทย
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ  เอ๊ย 

ผู้แสดง
                นางแฉล้ม  บุญสุข   แสดงเป็นชาย
                นางพวงเพ็ญ จิ๋วปัญญา  แสดงเป็นหญิง

ลูกคู่ลิเกป่า นางลั่นทม  โรจนพัฒนกุล
                นางสุภาพ  สุขสำราญ
                นางเนียม   เกตุน้อย
                นางบุญมา  เงินอาจ
                นางมณี   กาวีสูง
                ด.ญ. นันทิกาญจน์  เงินอาจ
                นางมาลี  คำอินทร์

 ลักษณะคำประพันธ์
        เป็นคำคล้องจองที่ใช้ปฏิภาณไหวพริบ ทำให้เกิดสัมผัสระหว่างวรรคใช้ลีลาทำนองและน้ำเสียงคล้ายๆ ลิเก แต่เป็นการโต้ตอบระหว่างหนุ่มสาว ดัดแปลงมีลูกคู่กำกับเหมือนลำตัดและเพลงฉ่อย แต่ลักษณะคำประพันธ์หาแบบฉบับที่มาตรฐานไม่ได้ จึงเป็นลักษณะวรรณกรรมชาวบ้าน ที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งทั้งจำนวนวรรค ไม่สามารถสรุปเป็นรูปแบบได้

คำสำคัญ : เพลงพื้นบ้าน

ที่มา : สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2544). การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณเมืองกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ลิเกป่า. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=01&nu=pages&page_id=126

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=126&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

พิธีทำบุญในไร่ข้าว

พิธีทำบุญในไร่ข้าว

พิธีนี้จะทำหลังจากทำพิธีปลูกข้าวเริ่มแรกประมาณ 1 เดือน หรือ ประมาณ 3 อาทิตย์ของอาข่า (สุ่มนองจ๊อง) ทำเพื่อให้ผลผลิตในไร่ข้าวเจริญงอกงาม ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น ตั๊กแตน ปลวก ฯลฯ ในการทำพิธีนี้ต้องนับวันฤกษ์วันดีของครอบครัว (เป็นวันเกิดของคนในครอบครัว แต่ไม่ตรงกับวันตายโหงของคนในครอบครัว) การประกอบพิธี แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การประกอบพิธีแบบธรรมดาโดยใช้ไก่ และการประกอบพิธีขนาดใหญ่โดยใช้หมู

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 999

การสืบชะตาป่า

การสืบชะตาป่า

การสืบชะตาป่า” มีฐานคิดมาจากความต้องการอนุรักษ์ป่าชุมชนของคนในชุมชนร่วมกับเครือข่ายป่าชุมชนรอบผืนป่าตะวันตก 6 จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.และโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาแห่งประเทศเดนมาร์ก (DANIDA) ด้วยความเชื่อว่าการคงอยู่ของ ป่าชุมชน จะเป็นการสร้างความมั่นคงของแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่คนในชุมชน โดยกิจกรรมได้เริ่มจัดขึ้นโดยเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแนวคิดดังกล่าวถูกขยายมายังพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้ความร่วมมือของคนในชุมชน 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,824

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

จุดกำเนิดของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการพบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน พบเครื่องประดับประเภททำด้วยหิน เช่น กำไล หินขัด ชุมชนโบราณบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตา เนียล และชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและสร้อยข้อมือ เป็นจุดกำเนิดของการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 5,438

ระบำคล้องช้าง

ระบำคล้องช้าง

เป็นการละเล่นพื้นบ้านเก่าแก่ของตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร การละเล่นนี้ได้ดัดแปลงการคล้องช้างลากไม้มาแสดงรำคล้องช้างในเทศกาลสงกรานต์ การทำบุญกลางบ้าน เพื่อหนุ่มสาวได้มีโอกาสพบปะกัน ผู้สืบค้น แม่เฟี้ยม กิตติขจร แม่ลำภู ทองธรรมชาติ แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ดนตรีและนักรองจะเริ่มบรรเลง ฝ่ายชายจะจับชายผ้าทั้งสอง ชายรำป้อออกมาคล้องหญิงที่ตนสนใจ แล้วรำต้อนไปมาอยู่กลางวง ฝ่ายหญิงนำฝ่ายชายมาส่งแล้วไปคล้องชายคนอื่นๆ สลับกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 9,641

ชากังราวว่าวไทย

ชากังราวว่าวไทย

เทศบาลเมืองกำแพงเพชรจัดงาน "ชากังราวว่าวไทย" เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมการเล่นว่าว ในประเทศไทยขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ บริเวณลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตอุทยาน ภายในงานมีกิจกรรมดังนี้ การประกวดว่าวไทย ในระดับเยาวชนและประชาชนทั่วไป การประกวดปลากัดและปลาสวยงาม เพื่อส่งเสริมกิจกรรม ยามว่างของเยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,541

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,931

มหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 16 จังหวัด

มหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 16 จังหวัด

ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 16 จังหวัดขึ้นทุกวันที่ 21-23 สิงหาคมของทุกปี นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมและเลือกซื้ออาหารพื้นเมือง และสินค้าพื้นเมือง รวมถึงกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน ดังนี้ การแสดงวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในแต่ละจังหวัดในภาคเหนือรวม 16 จังหวัด

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,280

ประเพณีการเกิด

ประเพณีการเกิด

ระยะตั้งท้องผู้เป็นแม่ต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ ทำให้เกิดความเชื่อถือหลายอย่าง เช่น ให้นำดอกบัวที่บูชาพระมาต้มกินจะทำให้เด็กในท้องแข็งแรง เวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสให้เอาเข็มมากลัดที่ชายผ้า จะทำให้เด็กเกิดมาอาการครบ 32 และให้นั่งถัดบันไดจะทำให้คลอดง่าย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,696

ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง (ขึ่มสึ ขึ่มมี๊อ่าเผ่ว)มีขึ้นภายหลังจากที่มีการอยู่กรรมจากการเผาไฟในไร่ช่วงกลางเดือนเมษายน ตรงกับเดือนอาข่า "ขึ่มสึ บาลา"อาข่าจะประกอบพิธี "ขึ่มสึ ขึ่มมี้ อาเผ่ว" เป็นประเพณีการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หรือเรียกอีกอย่างว่า ประเพณีปีใหม่ชนไข่ เนื่องจากประเพณีนี้มีการนำไข่มาใช้ประกอบพิธี เด็กๆ จะมีการเล่นชนไข่ โดยการย้อมเปลือกไข่ให้เป็นสีแดง และใส่ตะกร้าห้อยไปมา เป็นประเพณีที่มีมาช้านาน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,453

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,979