เชียง แซ่แต้

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2018 ผู้ชม 1,390

[16.4264988, 99.215725, เชียง แซ่แต้]

         นายเซียง แซ่แต้ เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2454 มีภูมิกำเนิดที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายจุง นางฮวย แซ่แต้ บิดามารดาเป็นคนจีนอพยพมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ นายเซียงจึงเป็นผู้ที่มีเชื้อสายจีน แต่สัญชาติไทย ด้วยถือกำเนิดในประเทศไทย 
         ขณะเมื่ออายุได้ไม่ถึงขวบ ต้องอพยพไปประเทศจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้งหนึ่งและดำเนินชีวิตอยู่ในประเทศจีนเป็นเวลา 8 ปี และเมื่อจำความได้ ได้พบเห็นการดำรงชีวิตที่ยากจนและเป็นทุกข์ของชาวจีน ครอบครัวของเด็กชายเซียง แซ่แต้ ก็ไม่อาจทดความทุกข์ยากในประเทศจีนได้จึงต้องพากันอพยพมาประเทศไทย ต่อมาไม่นานบิดาของเด็กชายเซียงก็เสียชีวิต เด็กชายเซียงจึงอยู่ในความดูแลของนางฮวยผู้เป็นมารดาและพี่น้องอีกแปดคน 
         นางเซียง แซ่แต้ มีชีวิตในวัยเด็กอยู่กับความยากจนลำบาก แต่ก็ไม่เคยท้อถอย พี่น้องคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวนายเซียง แซ่แต้ต่างช่วยกันทำงานสารพัดเท่าที่จะทำได้ เช่น ขายหนังสือพิมพ์ ขายไอศกรีม ขายก๋วยเตี๋ยว ขายขนมหวาน ฯลฯ เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงทุกชีวิตในครอบครัว ด้วยเหตุนี้ เด็กชายเซียงจึงไมได้เรียนหนังสือในระบบโรงเรียนเช่นเด็กในวัยเรียนคนอื่น ๆ แม้ว่านางเซียง และพี่น้องคนอื่น ๆ จะทำงานหนักอย่างขยันขันแข็งแต่ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น นายเซียงและครอบครัวจึงได้อพยพไปอยู่ที่ตำบลหนองตม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก นายเซียง ยังคงทำงานหนักรับจ้างหักล้างถางป่า ขุดบ่อน้ำ และสร้างเตาเผาถ่าน ในระยะนั้นคนในหมู่บ้านนิยมเผาถ่านจำหน่ายกันมาก นายเซียงได้รับจ้างสร้างเตาเผาถ่านหลายแห่ง จนหมู่บ้านบริเวณนั้นได้ชื่อว่า “บ้านเตาถ่าน” มาจนทุกวันนี้ 
          ครอบครัวของนายเซียงได้อาศัยอยู่ที่บ้านเตาถ่านระยะหนึ่ง แต่เห็นว่าไม่มีอะไรดีขึ้น จึงได้อพยพไปประกอบอาชีพที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่ออยู่ได้ระยะหนึ่งก็ไม่มี อะไรดีขึ้นมาอีก นายเซียงและครอบครัวจึงได้อพยพไปอยู่ที่ตลาดในเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยประกอบอาชีพรับจ้างทำงานทั่วไปและขายขนมไปด้วย และด้วยเหตุนั้นเองจึงทำให้นายเซียง แซ่แต่ได้มีโอกาสพบกันนางสาวเมี้ยน คชเถื่อน ธิดานายกอน คชเถื่อน ผู้ใหญ่บ้านบ้านโรงสูบ หมู่ 1 อำเภอขานุวรลักณบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาไม่นานนทั้งสองก็ได้สมรสกัน 
         เมื่อนายเซียง แซ่แต้ได้สมรสกับนางเมี้ยน คชเถื่อนในระยะแรกยังคงอาศัยร่วมอยู่กับบิดามารดาของภรรายา เนื่องจากนางเมี้ยนเป็นธิดาคนเดียวของบิดามารดา เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้จากการทำงานก็ยังคงเป็นเจ้าของบ้าน ทำให้นายเซียงเกิดความเหนื่อยหน่ายท้อแท้ แต่ด้วยความดีของนางเมี้ยน ผู้ภรรยาเป็นสายใยผูกใจ นายเซียง แซ้แต้ให้คงอยู่กับครอบครัวต่อไป 
         นายเซียง แซ้แต้ต่อสู้ชีวิตด้วยความยากแค้น แต่ก็ได้กำลังใจที่ดีจากภรรยาคู่ชีวิต แต่ก็ต้องพบอุปสรรคอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งสำคัญถึงขั้นต้องโทษจำคุก เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ นายเซียง แซแต้ จึงถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 6 เดือน อุทรณ์แล้วลดเหลือ 3 เดือน 
         การที่นายเซียง แซแต้ ถูกจำคุกครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นจุดผกผันของชีวิต ทำให้นายเซียงได้รู้จักข้าราชการผู้ใหญ่ของจังหวัดกำแพงเพชรหลายคน เนื่องจากบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย นายเซียง แซ่แต้ เป็นคนขยันอยู่แล้วจึงทำให้พัศดีในขณะนั้น คือ นายละม้าย จันทร์เพ็ญ รักใคร่นายเซียงมาก แม้กระทั่งผู้ว่าราชการจังหวัดก็ชอบพอรักใคร่ เมื่อได้เห็นผลงานของนายเซียง ซึ่งเป็นผู้ทำงานจริง ๆ จัง ๆ ขยันขันแข็ง ดังนั้นขณะที่นายเซียงถูกจำคุกจึงเข้า ๆ ออก ๆ เรือนจำเป็นประจำเพราะ ผู้ใหญ่ไว้วางใจเรียกใช้เสมอ 
         ดังนั้นชีวิตของนายเซียง แซ่แต้จึงเริ่มเปลี่ยนแปลง เพราะได้รับความเกื้อหนุนจากผู้ใหญ่ นำให้มีช่องทางทำมาหากินที่ดีขึ้น เนื่องจากเมื่อผู้ใหญ่ในจังหวัดท่านใดย้าย มาประจำที่จังหวัดกำแพงเพชร มักจะเดินทางไปเยื่ยมเยียนนายเซียงถึงบ้าน และได้พบว่านายเซียง แซ่แต้ ขยันขันแข็งทำมาหากินทุกอย่าง เจ้านายระดับต่าง ๆ ในจังหวัดมีความรักใคร่นายเซียงและมีความเชื่อถือในตัวนายเซียงมากขึ้นเป็นลำดับ 
        ครั้งหนึ่งนายสุวรรณ รื่นยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้เดินทางไปเยี่ยมเยือน นายเซียงที่บ้าน ทำให้ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และปัญหาของชาวบ้าน โดยเฉพาะปัญหาการเดินทาง โจรผู้ร้ายชุกชุม จึงได้ดำเนินการจัดส่งปืนเล็กขาวและปืนคาร์บิน รวม 2 กระบอก ให้นายเซียงเพื่อไว้ใช้ ในการปราบโจรกลุ่มก่อการร้ายในหมู่บ้านของตนและหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งนายเซียง ภาคภูมิใจมากที่ได้รับการให้เกียรติอย่างสูงสุดจากผู้ว่าราชการจังหวัดในครั้งนั้น นายเซียง แซ่แต้ จึงเกิดความมุ่งมั่นที่กระตำทุกอย่างเพื่อความสงบสุขของชาวบ้าน 

งานด้านประโยชน์ต่อสังคม 
         นายเชียง แซ่แต้ ได้ประกอบคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมหลายประการดังนี้ 
          1) การบำเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี 
             นายเชียง แซ่แต้ กล่าวว่าสิ่งที่นายเชียงเกลียดที่สุดคือ “โจร” ดังนั้นนายเชียงจึงได้อาสาตามจับโจรผู้ร้ายให้บ้านเมืองอย่างไม่เกรงกลัวอันตรายใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง 
         2) การเสียสละทุนเพื่อประโยชน์ต่อสังคม 
            นายเชียง แซ่แต้ เป็นคนขยัน อดทน จึงทำให้มีที่ดินเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในสมัยนั้นในการจับจองที่ดินทำกิน ใครถางป่าได้มากเท่าใดก็ได้สิทธิในที่ดินมาก เท่านั้น ต่อมานายเชียงเห็นว่าการมีที่ดินมาก ๆ โดยให้คนอื่นเช่าทำกินนั้น ทำให้หมู่บ้านมีคนอาศัยอยู่น้อย จึงได้ขายที่ดินให้กับคนที่เช่าที่ดินในราคาที่ถูก รายใดไม่มีเงินพอก็ให้ผ่อนส่งทีละเล็กทีละน้อย จนปัจจุบันเป็นหมู่บ้านที่มีการพัฒนาคือ “บ้านไร่ใหม่” อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร มีโรงเรียนประจำหมู่บ้านชื่อ โรงเรียนบ้านไร่ใหม่ (เชียงทองอุปถัมภ์) โดยมีนายเชียงเป็นผู้บริจาคที่ดินที่ตั้งของโรงเรียน เงินส่วนตัวซื้อวัสดุก่อสร้าง และอุปถัมภ์การเรียนต่าง ๆ ตลอดจนให้ทุน การศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่ยากจน จนโรงเรียนได้ยกระดับเป็นโรงเรียนดีเด่นระดับจังหวัดโรงเรียนหนึ่ง นายเชียง แซ่แต้ เป็นบุคคลหนึ่งที่เล็งเห็นความสำคัญของชุมชน ได้บริจาคเงินส่วนตัวเพื่อประโยชน์ จึงได้รับรางวัลชนะเลิศในการสนับสนุนช่วยเหลือจากสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2541 

ผลงานด้านภูมิปัญญา 
            นายเชียง แซ่แต้ นอกจากจะยึดมั่นในการทำความดีแล้ว ตลอดระยะเวลาการดำเนินชีวิตของนายเชียงจะมีความฉลาดทั้งในด้านการทำมาหากินและการดำรงชีวิต เมื่อนายเชียงพบเห็นอะไรก็จะจดจำและนำมาใช้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะ “ยาพื้นบ้าน” นายเชียงมีความสนใจที่จะสืบเสาะหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร เพื่อปรุงยาพื้นบ้าน โดยสอบถามจากผู้รู้ เช่น คุณยาย หมอพื้นบ้าน ผู้รู้สูตรยาพื้นบ้าน หรือผู้ที่เคยทดลองใช้ยาพื้นบ้านขนาดใดได้ผล สูตรยาบางขนานได้มาจากประเทศเขมร นายเชียงนำสูตรยาต่างๆ ที่ได้มาทดลองทำ ทดลองใช้เมื่อได้ผลดีจึงแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านทดลองใช้ไว้รักษาโรคต่างๆ สืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ แม้นายเชียง แซ่แต้ จะมีอายุ 90 ปีแล้ว แต่ร่างกายยังไม่แข็งแรงมิได้เจ็บป่วยแต่อย่างใด แต่ยังมุ่งมั่นที่จะผลิตยาพื้นบ้านนี้ไว้ช่วยเหลือคนเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ อยู่เสมอมานับว่านายเชียง ทำเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นโดยแท้ 
            นายเชียง แซ่แต้ ปรุงยาสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ดังนี้ 
               1. ยารักษาโรคริดสีดวงทวาร,และโรคเชื้อรา 
               2. ยาห้ามเลือด 
               3. ยารักษาโรคลงท้อง 
               4. ยารักษาโรคมะเร็ง 
               5. ยารักษาโรคบิด 
               6. น้ำมันขโมย(รักษาแผลไฟไหม้ , น้ำร้อนลวก) 
               7. ยารักษาโรคความอ้วน 
               8. ยารักษาโรคปวดศีรษะ 
               9. ยารักษาโรคเริม(งูสวัด) 
               10. ยารักษาโรคปวดฟัน 
               11. ยารักษาโรคปวดข้อ

 

คำสำคัญ : บุคคลสำคัญ

ที่มา : http://province.m-culture.go.th/kamphangphet/page/seang_per.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). เชียง แซ่แต้. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610003&code_type=01&nu=pages&page_id=628

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=628&code_db=610003&code_type=01

Google search

Mic

มาณพ  ศิริไพบูลย์

มาณพ ศิริไพบูลย์

นายมาณพ  ศิริไพบูลย์  เกิดวันที่ 18 กันยายน 2487 บุตรนายมานิตย์  ศิริไพบูลย์ และนางวิมล  ศิริไพบูลย์ สถานที่เกิด ณ บ้านเลขที่ 080 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร การศึกษา จบชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร  เมื่อ พ.ศ.  2498  จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) ที่โรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎรวิทยาลัย” ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร  จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ. 2504

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,912

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

นายสันติ อภัยราช เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในด้านของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา วรรณกรรมท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่เป็นระบบ จัดทำเป็นข้อมูลองค์ความรู้ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับเชิญให้มีบทบาทในเรื่องดังกล่าวของทางจังหวัด อีกทั้งยังมีปณิธานในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและยังมีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นให้เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ผ่านทางการเป็นวิทยากรบรรยาย ทั้งยังเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสในการเข้าศึกษาอย่างทั่วถึง

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 2,043

เรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

เรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

นายเรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2490 อายุ 57 ปี ที่อยุู่ปัจจุบัน เลขที่ 444 หจก. นครชุมบริการ หจก.ก๊อดการสุรา หจก. ชุมนครก่อสร้าง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จบจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน พุทธศักราช 2530 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วันที่ 8 ตุลาคม 2542 จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองกำแพงเพชร วุฒิการศึกษาสูงสุด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรรุ่นแรก สาขาพัฒนาชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 1,103

 พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการเดิมชื่อ (ฉาย อัมพเศวต) เจ้าเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447-2454 เดิมเป็นหลวงสรรค์บุรารักษ์ นายอำเภอสรรค์บุรี เมืองชัยนาทต่อมาได้เลื่อนเป็นพระวิเชียรปราการ ผู้ช่วยราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้เลื่อนเป็นพระยาวิเชียรปราการ พระยาวิเชียรปราการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ 7 ปีได้ทำประโยชน์แก่เมืองกำแพงเพชรมาก ความดีของพระยาวิเชียรปราการ เด่นชัดตอนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2449 ตามที่ปรากฏในหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้นำเสด็จฯ ชมโบราณสถานด้วยความสันทัดจัดเจน 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,093

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2426 ณ ตำบลจุ่งแห้ว ประเทศจีน เป็นบุตรของนายอึ้งอยู่จ้อง และนางซ้อย ได้เดินทางมาอยู่ประเทศไทยเมื่ออายุ 18 ปี เข้าทำงานอยู่กับนายล่ำซำ (ต้นตระกูลล่ำซำ) ผู้เป็นอาว์ และได้ถูกส่งมาเป็นผู้ควบคุมในการทำป่าไม้ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด ได้สัมปทานป่าไม้สัก ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุม ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นระยะเวลา 10 ปีเศษ ได้ลาออกมาจากบริษัทไปประกอบอาชีพส่วนตัว โดยการตั้งโรงสีไฟที่อำเภอคลองขลุงอยู่หลายปี จึงได้กลับเป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุมอีกครั้งหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2020 ผู้เช้าชม 2,160

ประสิทธิ์ วัฒนศิริ

ประสิทธิ์ วัฒนศิริ

นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๔๗ ในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ปากคลองลุน (บ้านโคนใต้) ซึ่งปัจจุบัน อยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดาชื่อนายพวง แซ่ลิ้ม มารดาชื่อ นางปุย ได้เรียนหนังสือจนอ่านออก เขียนได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม จากสำนักเรียนวัดปราสาท บ้านโคนใต้ จากนั้นในปี ๒๔๖๑ ได้เรียนจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จากโรงเรียนประชาบาล อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชรหลังจากนั้นท่านได้ย้ายตามบิดาไปอยู่ตำบลหูกวาง อ.บรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ในทางธรรมท่านสอบได้นักธรรมตรี หลังจากนั้นท่านได้อพยพกลับมาที่ตำบลคณฑีอีกครั้ง มาบุกเบิกบ้านโคนจนสำเร็จดังใจหมาย

เผยแพร่เมื่อ 30-07-2020 ผู้เช้าชม 1,921

พระวิเชียรธรรมนาท

พระวิเชียรธรรมนาท

พระวิเชียรธรรมนาท เจ้าอาวาสวัดหนองปลิง ท่านมีจิตตั้งมั่น ต้องต่อสู้กับนานาอุปสรรคกว่าที่จะประสบความสำเร็จในการสร้างวัดหนองปลิงให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ตั้งแต่ถูกหลอกขายที่ดินสร้างวัด ๒๑ ไร่ด้วยโฉนดปลอม จนต้องขอให้จังหวัดช่วยจึงออกโฉนดได้ ท่านยังถูกลอบยิง ๒ ครั้งและเป็นคดีความบ่อยๆ แต่ที่สุดทุกอย่างก็ผ่านไปได้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 1,431

บุญมี บานเย็น

บุญมี บานเย็น

สมุนไพรเป็นพืชสำคัญของชาวไทยอยู่คู่กับชาวไทยมานานหลายร้อยปี แต่ในปัจจุบันคนไทยกลับลืมเลือนไปสิ้น เราหาคนไทยที่เข้าใจเรื่องสมุนไพรไทยยากยิ่งนัก แต่ไม่น่าเชื่อมีคนไทยในกำแพงเพชรศึกษาสมุนไพรอย่างจริงจังอยู่ท่านหนึ่ง ท่านนั้นคือนายบุญมี บานเย็น (นายโบ๊ะ) เจ้าพ่อสมุนไพรกำแพงเพชร ที่รายการโทรทัศน์วัฒนธรรมยกย่อง
สวนสมุนไพรจังหวัดกำแพงเพชรตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเข้าไปชมแล้วชื่นชมนายโบ๊ะ หรือลุงโบ๊ะอย่างยิ่งที่รวบรวมสมุนไพรไทยไว้หลายร้อยชนิด จัดเป็นระบบ มีป้ายบอกชื่อสมุนไพรแต่ละชนิดอย่างชัดเจน

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,132

พระยาราม

พระยาราม

พระยาราม นามเต็ม พระยารามรณรงค์ เดิมเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ครั้นเมื่อสมเด็จพระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์ ได้เรียกพระยารามไปไว้กรุงศรีอยุธยาและให้เลื่อนเป็นพระยาจันทบุรี สมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทรงไว้วางพระทัยพระยารามมาก กรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ต้องปรึกษาหารือพระยารามทุกครั้ง เช่น คราวที่ออกอุบายจะไปดีเมืองพิษณุโลก ซึ่งพระมหาธรรมราชาที่ 2 ครองอยู่ด้วยความแค้นพระทัยก็ปรึกษากับพระยารามเป็นความลับ แต่ทำไม่สำเร็จเพราะพระมหาธรรมราชาที่ 2 รู้ตัวก่อน โดยพระยาสีหราชเดโซบอกความลับให้ทราบ ดังนั้น พระยารามจึงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพระมหาธรรมราชาที่ 2 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระมหินทราธิราช

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 280

เชิด นุ่มพรม

เชิด นุ่มพรม

นายเชิด นุ่มพรม บุคคลสำคัญทางด้านประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงพื้นบ้านของตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2476 อยู่บ้านเลขที่ 148 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เรียนจบชั้น ป.4 ที่โรงเรียนบ้านเมืองเก่า สมัยเมื่อยังเรียนหนังสืออยู่ ครูมักจะให้ร้องเพลงตามบทดอกสร้อย เพราะในนั้นหมู่บ้านที่อยู่มีหนุ่มสาวมาก ใครจะมาเล่นร้องรำทำเพลง ต้องตามหาตัวนายเชิดก่อน เพราะนายเชิดมีพี่สาวน้าสาวหลายคน นายเชิดเมื่อเด็กมักจะพาไปหาหมู่น้าๆ อาๆ เพื่อให้เขาได้รู้จักกัน

เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 590