ประวัติอำเภอเมืองตาก

ประวัติอำเภอเมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 3,208

[16.8784698, 98.8779104, ประวัติอำเภอเมืองตาก]

คำขวัญจังหวัด

ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม

คำขวัญอำเภอ                                                                                             

เมืองพระเจ้าตาก ต้านกระบากใหญ่ รวมชาวเขาเผ่าไทย ประทับใจริมปิง

ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ                                                                                     

ถนนมหาดไทยบำรุง ตำบลหนองหลวง อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000

หมายเลขโทรศัพท์                                                                                       0-5551-1007

หมายเลขโทรสาร                                                                                         0-5551-1007

ข้อมูลทั่วไป

1.ประวัติความเป็นมา                                                                                         

เมืองตากเป็นเมืองลูกหลวงประจำทิศตะวันตกของกรุงสุโขทัยตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า "เมื่อกูขึ้นเป็นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด มาที่เมืองตาก พ่อกูไปรบด้วยขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อเข้าไพร่ฟ้า หน้าใส" การศึกษาในครั้งนั้น ขุนสามชนพ่ายหนี เมืองตากจึงปลอดภัย

         ในอดีตเมืองตาก มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เมืองระแหง" ตั้งเมืองเดิม

อยู่ในพื้นที่ตำบลเกาะตะเภา อ.บ้านตาก ทางทิศเหนือของตัวเมืองปัจจุบันขึ้นไปประมาณ 24 กิโลเมตร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานไว้ว่า สาเหตุที่มีการย้ายเพราะที่ตั้งเดิมไม่เหมาะสม เพราะในยามศึกไม่เหมาะสมในการตั้งรับหรือถอยทัพ เนื่องจากมีแนวแม่น้ำปิงขวางกั้นอยู่ โดยเฉพาะข้าศึกพม่าซึ่งมาทางทิศตะวันตก จะถึงตัวเมืองก่อน

          สำหรับที่ว่าการอำเภอเมืองตาก ก็มีการย้ายสถานที่มาหลายครั้งแล้วเช่นกัน ครั้งแรกอยู่รวมกับศาลากลางจังหวัดต่อมา พ.ศ.2499 อาคารสถานที่คับแคบไม่เพียงพอกับความเจริญ จึงย้ายไปสร้างที่ริมถนนพหลโยธิน ซึ่งขณะนี้เป็นที่ตั้งด้านป่าไม้ตาก  เมื่อ พ.ศ.2508 เกิดเพลิงไหม้ที่ว่าการอำเภอเมืองตากเสียหายหนัก จึงย้ายไปเช่าบ้านของหลวงสรรค์บุรานุรักษ์ จนกระทั่ง     พ.ศ.2510 ได้สร้างและเปิดใช้ที่ว่าการอำเภอแห่งนี้นับตั้งแต่ได้ตั้งอำเภอเมื่อ

พ.ศ.2429 จนถึงขณะนี้ มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองตากมาแล้ว จำนวน 39 นาย ถึงปัจจุบัน

2.เนื้อที่/พื้นที่                                                                                               1,599.356 ตร.กม.

3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป                                                                       

ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม ร้อนจัดในฤดูร้อน หนาวจัดฤดูหนาว

ข้อมูลการปกครอง                                                                                      

1.ตำบล.......10.... แห่ง                                                                                 3.เทศบาล..2.....แห่ง

2.หมู่บ้าน....104.... แห่ง                                                                               4.อบต........9 ... แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

                                                                                                                   

1.อาชีพหลัก ได้แก่

เกษตรกรรม อ.เมืองตากมีพื้นที่การเกษตรกรรมทั้งสิ้น 890,409.25 ไร่ มีครัวเรือน ทั้งหมด 22,536 ครัวเรือน (รวมครัวเรือนในเทศบาล) เป็นครัวเรือนเกษตรกร 9,218 ครัวเรือน คิดเป็น 40% ของครัวเรือนทั้งหมด แบ่งพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน 8,948 ครอบครัว                                   -

3.จำนวนธนาคาร

 มี 10 แห่ง ได้แก่

ธ.กรุงเทพ โทร.055-512390

ธ.กรุงศรีอยุธยา โทร.055-533781

ธ.ทหารไทย โทร.055-512097

ธ.ไทยพาณิชย์ โทร.055-541430

ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์ โทร.055-511286

ธ.กรุงไทย โทร.055-511116

ธ.กสิกรไทย โทร.055-511111

ธ.นครหลวง โทร.055-511275

ธ.ออมสิน โทร.055-511147

ธ.อาคารสงเคราะห์ โทร.055-515951

4.จำนวนห้างสรรพสินค้า                                                                           

มี 3 แห่ง

ด้านสังคม                                                                                                   

1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่  โรงเรียนตากพิทยาคมตาก โทร.055-511134

โรงเรียนผดุงปัญญาตาก โทร.055-511135

โรงเรียนถนอมราษฎร์บำรุง โทร.055-511762

2.มหาวิทยาลัย ได้แก่ วิทยาลัยลุ่มแม่น้ำปิง โทร.055-515141

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตตาก โทร.055-515900

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ                                               

  1. ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้าน คือ ดินเหมาะสำหรับปลูกพืชไร่ การทำนาและการปลูกผลไม้ และดินที่ไม่เหมาะสมแก่การเกษตร คือ เนื้อดินเป็นทรายมีชั้นหินศิลาแลง ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเนินเขา และเทือกเขาสูง
  2. ทรัพยากรน้ำ แม่น้ำปิง มีต้นน้ำอยู่ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ไหลผ่านตลอดแนวอำเภอ เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอเมืองตาก
  3. ทรัพยากรป่าไม้ อำเภอมีพื้นที่ป่าไม้สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้กระยาเลย และไม้เบญจพรรณ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80%
  4. ทรัพยากรแร่ธาตุ อำเภอเมืองตากมีแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ แร่เฟลด์สปาร์พบในตำบลวังประจบ แร่ผลูออไรด์ พบในตำบลวังหิน หินอ่อน พบในตำบลบัวเหนือ หินปูน พบในตำบลป่ามะม่วง และตำบลแม่ท้อ

ด้านประชากร                                                                                             

1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น                                                                            รวม 99,977  คน

2.จำนวนประชากรชาย                                                                                รวม 49,770  คน

3.จำนวนประชากรหญิง                                                                              รวม 50,207 คน

4.ความหนาแน่นของประชากร                                                                   62 คน/ตร.กม.

ด้านการคมนาคม                                                                                        

1.ทางบก                                                                                                     - รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1 (ถนนพหลโยธิน)

- สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  0-5551-2786

2.ทางน้ำ- ท่าเรือขนส่งโดยสาร 

- ท่าแพขนานยนต์       

3.ทางอากาศ- ท่าอากาศยาน             หมายเลขโทรศัพท์  0-5551-2603 , 0-5551-4057

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม                                                                

1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่                                                      

ข้าว ลำไย ข้าวโพด อ้อย ฯลฯ

2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่

      (แม่น้ำ/บึง/คลอง)   แม่น้ำปิง

3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่                                                       

โรงงานผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)

ถ.พหลโยธิน ต.หนองบัวใต้ อ.เมือง จ.ตาก

คำสำคัญ : ประวัติอำเภอเมืองจังหวัดตาก

ที่มา : http://www.amphoe.com/menu.php

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประวัติอำเภอเมืองตาก. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=TK001&nu=pages&page_id=658

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=658&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

เมืองตากตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าลำน้ำปิง ด้านตะวันตกติดกับชายแดนพม่าส่งผลให้กลายเป็นชุมทางหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้วการค้าในสยามขยายตัวมากขึ้น พร้อมกับการเข้ามาของจีนแผนดินใหญ่ในระหว่างนี้เองจีนกลุ่มต่าง ๆ จึงได้เลือกที่ลงหลักปักฐานบนย่านที่ทำการค้าได้ดี เมืองตากเป็นเมืองหนึ่งที่ชาวจีนนิยมเลือกมาทำการค้าตั้งเป็นชุมชนการค้า พร้อมทั้งน่าจะมีการสร้างศาลเจ้าจีนไว้เป็นที่เคารพของคนในย่านนั้น ศาลเจ้าปุนเถ่ากง จึงเสมือนหมุดยึดโยงความเชื่อความรักในแผ่นดินระหว่างจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก เป็นอนุสรณ์ของชาวจีนที่เมืองตากที่ยังคงมีลมหายใจของคนในพื้นที่

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,147

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ความเชื่อเรื่องผี เป็นความเชื่อที่อยู่คู่สังคมคนอุษาคเนย์มายาวนาน และเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบความเชื่อในเรื่องหลังความตายมากมาย ความเชื่อดังกล่าวสืบทอดส่งผ่านมายังกลุ่มชนต่าง ๆ โดยความเชื่อเรื่องผีจะถูกผูกร้อยตามบริบทของกลุ่มชนและพื้นที่ของกลุ่มชนนั้น ๆ ผีถูกแบ่งตามหน้าทีเป็นผีดี ได้แก่ ผีเสื้อบ้าน(อารักบ้าน) ผีปู่ย่า ฯลฯ และผีร้ายคือผีที่สร้างความทุกข์ร้อนใจให้กับคนทั่วไปโดยทั่วไปคนเชื่อว่าหากทำเรื่องไม่ดีไม่เป็นคุณผีดีจะกลายเป็นผีร้ายมาาร้างความทุกข์ร้อนให้คนทั่วไป เช่น ไม่เคารพกราบไหว้ ไม่ทำการบูชาเซ่นสรวงเมื่อถึงวาระสำคัญเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 771

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

กลุ่มจีนแคะ เป็นจีนกลุ่มๆที่เดินทางเข้ามา จีนกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญคือ จีนแต้จิ๋ว กลุ่มจีนแคะเดินทางเข้ามาระลอกใหญ่ หลังจากการเปิดเส้นทางรถไฟสถานีปากน้ำโพและสถานีเมืองพิษณุโลก ภายหลังอพยพต่อมายังเมืองใกล้เคียง เช่น แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร และที่เมืองตากก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จีนแคะเลือกมาทำการค้า โดยหอบเอาความรู้ด้านเชิงช่างงาน ฝีมือติดตัวมาด้วย เลือกลงหลักปักฐานในย่านถนนตากสิน ซึ่งเป็นถนนการค้าริมน้ำที่สำคัญมาแต่ช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นต้นมา 

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 853

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

หลังจากเมืองเชียงใหม่แตก พระเจ้ามังระ ทรงเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง แผนการรวบแผ่นดินไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าต้องพังทลายลง ทรงบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพมือหนึ่ง ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก แต่การบุกจากด้านเหนือจะต้องผ่านหัวเมืองสำคัญหลายเมือง และเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อทัพพม่ามากที่สุด ก็คือพิษณุโลก

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,256

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

ที่มาชื่อ หมู่บ้าน ภูเขา ห้วยหนอง ลำคลองบึง เป็นเครื่องบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธ์ บ่งชี้ระบบนิเวศวิทยา บางทียังโยงกับเรื่องทางพุทธศาสนาอีกด้วย ในจังหวัดของเรามีตำนานพระเจ้า(พระพุทธเจ้า)เสด็จมาโปรดฯ หลายแห่ง ซึ่งส่วนมากล้วนผูกโยงกับพุทธศาสนา ดังเช่น ตำนานการสร้างเจดีย์ แห่งวัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (เมืองตากเดิมในสมัยสุโขทัย - อยุธยาต้อนต้น) ในส่วนเมืองตากปัจจุบัน (ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง) พบตำนานพระเจ้าเลียบโลกเช่นเดียวกัน ผ่านทางตำนานที่มาของชื่อภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวเมืองตาก เราเรียกกันว่า "เขาพระเมิน"

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 605

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

ชาวตากนับว่ามีโอกาสดีเคยรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่หลายครา แต่คราที่อยู่ในความทรงจำคือ ในคราวปีพ.ศ.2501 มีการจัดแต่งซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติบริเวณเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินบนถนนตากสิน ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทอดพระเนตรกิจในการสร้างเขื่อนภูมิพล และทรงเสด็จมาประทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตากในย่านตัวเมืองตากเดิม (ย่านตรอกบ้านจีน) เหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวตากอย่างหาที่สุดมิได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 431

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”

หลังจากที่พระเจ้ามังระสวรรคต ทางพม่าก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันภายในอยู่หลายปี ทำให้กรุงธนบุรีมีโอกาสได้หายใจหายคอ ระหว่างนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระบรมราชโองการให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปตีลาวและกัมพูชาเพิ่มเติม จนสร้างเขตแดนของอาณาจักรกรุงธนบุรี จรดเวียดนาม ส่วนพระองค์เร่งวางรากฐานให้กรุงธนบุรี

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,309

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ.2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,128

"เกียเฮงหลี" อาคารพาณิชย์ปูนหลังแรกในย่านตัวเมืองตาก

การขยายตัวของตลาดใน นำไปสู่การตัดถนนเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเหมาะในการคมนาคม ขนข่ายผู้คนจากชุมชนโดยรอเข้ามาจับจ่ายใช้สอย และเปลี่ยนสินค้า เราเรียกกันต่อมาว่า ถนนตากสินนั้นเอง การขยายตัวส่งผลให้เกิดร้านค้าตั้งขึ้นตลอดแนวถนน หนึ่งในนั้น คืออาคารพาณิชย์ที่สร้างด้วยปูนแห่งแรกของตัวเมืองตาก นั้นคือร้านเกียเฮงหลี โด่ดเด่นในย่านถนนตากสิน ขายสินค้าจำพวกอุปกรณ์ก่อสร้าง ในปัจจุบันหากใครขับผ่านย่านถนนตากสินตรงข้ามกับธนาคารกสิกรไทย สาขาตาก ยังคงพอาคารที่สวยงามผ่านกาลเวลาของเมือง ให้เห็นเป็นร่องรอยอาคารพาณิชย์รุ่นแรกของเมือง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 609

รำวงบ้านเสาสูง

รำวงบ้านเสาสูง

บ้านเสาสูง เป็นชื่อที่คนในรุ่นปัจจุบันของเมืองตากเลือนไปแล้วตามการเปลี่ยนผ่านของเมือง คำว่าเสาสูงในที่นี้หมายถึงเสารับสัญญาโทรเลขที่ส่งตรงมาจากชุมสายต้นทางที่ปากครองโอ่งอ่างกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมสายโทรเลขต่างประเทศที่สำคัญนับเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้นมา ส่งตรงจากกรุงเทพฯ มายังย่านตัวเมืองตากและไปส่งสัญญานต่อที่อำเภอแม่สอด บ้านเสาสูงในปัจจุบันคือบริเวณย่านซอย 21 ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองตากเดิมในสมัยรัชกาลที่ 2-7 หรือในปัจจุบันอาจจะเรียกย่านนั้นว่าย่านระแวกชุมชนตรอกบ้านจีนนั้นเอง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 423