ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้ชม 4,199

[16.3194159, 99.4823679, ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร]

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร
           นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง
           ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)
           จึงทรงพระราชทานนามสกุลให้ว่า “นุชนิยม” ทรงอธิบายว่า มาจากคำสมาส “นุช + นิยะมะ แปลว่า "กำหนดโดยพระยากำแพงเพชร นุช" แต่เขียนให้เป็นแบบไทยๆว่า “นุชนิยม” โดยให้คงรูปภาษาโรมันไว้แบบเดิม คือ NUJANIYAMA –นูจานิยามา  (นุชนิยะมะ) ดังนั้นนามสกุลพระราชทานพิเศษลำดับที่ 4787 นี้จึงใช้นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน (บันทึก - ในการทำพาสปอร์ต มีปัญหาในการใช้นามสกุล NUJANIYAMA เพราะเวลาในการเรียกขึ้นเครื่องบิน จะออกเสียงเป็น "นูจานิยาม่า" ทางกรมการกงศุล ฝ่ายทำพาสปอร์ต จึงขอให้เปลี่ยนนามสกุลที่ออกเสียงตรงกับภาษาไทย จึงมี ทั้ง NOOCHNIYOM และ NUCHNIYOM)
           ต้นสกุล นุชนิยม คือพระยารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิริยปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร-นุช) เดิมรับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ ในรัชสมัยขององค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระยากำแพงเพชร-นุช มีภรรยาเรียกกันว่า ท่านผู้หญิงชี แต่ชื่อจริงเรียก “กาว” เป็นราชธิดาเจ้าผู้ครองนครเชียงราย พระยากำแพงเพชร-นุช เป็นญาติกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังเรียกกันว่าท่านเจ้าโต สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ครั้นพระยากำแพงเพชร-นุช ได้ไปราชการทัพหลายครั้ง มีความดีความชอบ องค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ได้พระราชทาน ดาบด้ามทองฝักทองคำเป็นบำเหน็จ (ดาบนี้อยู่ที่ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร) และอีกทั้งได้รับพระราชทานตำแหน่งให้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร
           พระยากำแพงเพชร-นุช มีบุตรกับท่านผู้หญิงชี คือ
          1 ท่านผู้หญิง แพง เป็นภรรยาพระกำแพงเพชร (นาค) มีบุตรด้วยกัน 6 คน ชาย5 หญิง 1 คือ
                1.1 พระยากำแพงเพชร (บัว) ไปราชการทัพเวียงจันทร์ กลับมาก็ถึงอนิจกรรมในเวลานั้น
                1.2 เป็นพระยาสวรรคโลก (เถื่อน) ลงไปรับราชการอยู่กรุงเทพฯ เป็นพระยาราชสงครามไปราชการทัพเวียงจันทร์ ได้ลาวเชลยมา 100 ครัวมีความชอบโปรดเกล้าให้ขึ้นมาเป็นพระยากำแพงเพชรแทนพี่ชายและได้รับพระราชทานลาว 100 ครัวเรือนด้วย ได้ให้เชลยตั้งบ้านเรือนอยู่วัดป่าหมู เหนือบ้านหลวงมนตรี ปัจจุบันเรียกว่า “เกาะยายจันทร์” รับราชการได้ 16 ปีเศษ พระยากำแพงเพชร (เถื่อน) ก็ถึงอนิจกรรม
               1.3 ชื่อ น้อย เป็นพระพลอยู่แล้ว ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยากำแพงเพชร รับราชการ 15 ปี ถึงแก่อนิจกรรม
               1.4 ชื่อ เกิด รับราชการเป็นพระยาตากอยู่ 10 ปี ไปราชการทัพเชียงตุง กลับจากทัพได้เลื่อนเป็นพระยากำแพงเพชรแทนพี่ชาย อยู่ 11 ปี จึงถึงแก่อนิจกรรม (เป็นปู่ของพระกำแหงสงคราม- ฤกษ์ นุชนิยม)
               1.5 ชื่อ สุดใจ รับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นที่พลพ่าย
(ท่านทั้ง 5 นี้เป็นมหาดเล็กหุ้มแพรทุกท่าน)
              1.6 ชื่อ อิ่ม เป็นท้าวอยู่ในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และรับราชการอยู่จนแผ่นดินพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ในระหว่างนั้น พระอินทรเดช (บัว) เป็นคนกรุงเก่าต่างสกุลมาเป็นผู้รักษาการเมืองคือ ต้นสกุลรามโกมุท มารับราชการได้ 3 ปีก็ออกจากที่นั่น
          2 ท่านผู้หญิงพลับ
          3 บุตรชายที่เป็นพระฤทธิเดช รับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ
          จาก 1.4 พระยากำแพงเพชร (เกิด) สมรสกับท่านผู้หญิงทรัพย์ มีบุตร ธิดา รวม 9 คน คือ
          1. คุณย่าหุ่น
          2. คุณย่านก-คุณปู่เสือ
          3. คุณย่าขำ
          4. หลวงวิเศษสงคราม (ดิษฐ์)
          5. คุณย่าผึ้ง-พระกำแหงสงคราม (เหลี่ยม นุชนิยม)
          6. หลวงพิพิธอภัย (ต่าย รามสูต)
          7. พระยากำแพงเพชร (อ้น รามสูต)
          8. คุณหญิงภู่-พระยากำแพงเพชร (หรุ่น อินทรสูต)
          9. คุณย่าทองหยิบ
          ต่อมาทั้ง 9 ท่านได้สืบสายสกุลรวม อย่างน้อย 15 สายสกุลคือ
          สายสกุลสายตรง - กำแหงสงคราม, กลิ่นบัว, นาคน้อย, นุชนิยม, รอดศิริ, รามบุตร, รามสูต, ศุภดิษฐ์ และอินทรสูต---เรียงตามอักษร
          สายสกุลที่เกี่ยวข้อง - กัลยาณมิตร สายพระสุจริตรักษา, ชูทรัพย์, ชูพินิจ, รัชดารักษ์, รามโกมุท และวิชัยขัทคะ-สายพระศรีพัฒนาการ
          พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) เป็นบุตรของพระกำแหงสงคราม (เหลี่ยม) เกิดจากคุณย่าผึ้ง ในวันที่พระกำแหงสงคราม (เหลี่ยม) ผู้บิดา กำลังจัดทัพไปรบในสงครามขบถเจ้าอนุวงศ์ คนที่บ้านมาแจ้งว่าท่านได้บุตรชาย ท่านบอกให้คนมารายงานว่า "ให้ตั้งชื่อลูกที่เกิดมาว่า ชื่อ"ฤกษ์" แล้วออกทัพไปราชการสงครามด้วยจิตใจที่เด็ดเดี่ยว
          พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์) รับราชการสนองพระเดชพระคุณรับใช้ชาติในสงครามปราบศึกฮ่อ รัชสมัยรัชกาลที่ 5 จนสงบราบคาบ แล้วกลับมาอยู่กำแพงเพชร จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เกษียณอายุราชการ แต่ไปช่วยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ในตำแหน่งกรมการพิเศษ ก่อตั้งค่ายสุรศักดิ์มนตรี มณฑลทหารบกที่ 7 จังหวัดลำปาง
          ในปัจจุบัน มีผู้ใช้นามสกุล "นุชนิยม" มีจำนวนประมาณ 350 คน

คำสำคัญ : สายสกุล

ที่มา : http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php/topic,1404.0/wap2.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1337

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1337&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุม เป็นเมืองโบราณ เดิมเป็นเมืองอิสระ มีกษัตริย์ปกครองตนเอง มีกำแพงเมืองใหญ่ก่อนร่วมอาณาจักรกับสุโขทัย สถาปนามาก่อนพุทธศักราช ๑๘๐๐ ได้ยกฐานเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย (เมืองลูกหลวงหมายถึง เมื่อพระมหากษัตริย์สุโขทัยมีราชโอรสจะส่งมาปกครอง) เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในสมัยของพญาลิไทกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย โดยเสด็จมาเมืองนครชุม และสถาปนา พระบรมสาริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ขึ้นที่เมืองนครชุมแห่งนี้ เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองถึงราว พุทธศักราช ๒๐๐๐ เกิดน้ำกัดเซาะรวมทั้งเกิดไข้ป่าและโรคระบาด ทำให้เมืองนครชุม ถึงกาลล่มสลาย

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,375

ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร

ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร

ในสมัยโบราณ การติดต่อระหว่างเมืองประเทศราช เมืองพระยามหานคร และเมืองต่างๆ ในพระบรมโพธิสมภาร มีการติดต่อและรายงานโดยการใช้ใบบอก มีประโยชน์ในการรายงาน เรื่องราชการ ใบบอกเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง อาจมีข้อเท็จจริงอยู่ในใบบอกประสมกันอยู่ แต่อาจเป็นต้นเค้าของหลักฐานในการสืบค้นให้ลึกลงไปในอดีตที่ยังไม่มีใครสนใจนัก ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองหลวงของราชธานี ส่วนประวัติศาสตร์ของหัวเมืองมิใคร่มีผู้ใดใส่ใจ ใบบอกจึงเป็นหลักฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ฉายภาพในอดีตของแต่ละเมืองอย่างชัดเจนในสมัยนั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 6,269

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

วันนี้ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4โมงเช้า จึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,653

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี)  มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,279

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จมาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,138

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

ในพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปขึ้นมาใหม่ มีความต้นเรื่องต่างกับพงศาวดารกรุงสยาม (ของรัชกาลที่ 2) เริ่มด้วยกษัตริย์เมืองเชียงรายพ่ายศึก ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านเมืองใหม่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ริมแม่น้ำปิง (อยู่คนละฟากเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน) ภายหลังให้ชื่อใหม่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ ต่อมามีลูกเขยเป็นสามัญชนคนเข็ญใจชื่อ นายแสนปม ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร พระนามว่าสมเด็จพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อเจ้าอู่ทอง ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,534

เมืองแปบ หรือวังแปบ

เมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่า เดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่า บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า 

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,490

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

ลำน้ำคลองสวนหมาก เกิดจากน้ำซับจากป่าอุทยานแห่งชาติคลองลานและป่าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ไหลลงมารวมกันเกิดลำน้ำคลองสวนหมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของลำน้ำคลองสวนหมากคือ แก่งเกาะร้อย สำหรับน้ำคลองสวนหมากจะมีนักท่องเที่ยวนิยมล่องแพยางประมาณเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก และมีแก่งหินเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท้าทายลักษณะของลำคลองสวนหมากจะเป็นแก่งหินและเนินทราย มีน้ำไหลตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 3,550

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,480

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 947