เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,541

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์]

           บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงในเขตท้องที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของชุมชน เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองด้วยกัน คือ เมืองแปป เมือง กำแพงเพชร เมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร ฯลฯ ซึ่งชื่อเมืองเหล่านี้พบตามจารึก ในเอกสารต่าง ๆ โดยแต่ละเมืองมี ความสำคัญแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เหมือนอย่างเมืองไตรตรึงษ์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมโบราณระหว่างบ้านเมืองในแถบภาคกลางอย่างละโว้ อโยธยา และเมืองในเขตล้านนาอย่างหริภุญไชย เป็นเมืองสำคัญชั้น ลุงของกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยซึ่งเคยเข้ามาเป็นเจ้าครองเมือง และเป็นเมืองที่มีตำนานปรัมปราเรื่อง “ท้าวแสนปม” อันโด่งดัง ร่องรอยแห่งอดีตความเป็นบ้านเป็นเมืองของเมืองไตรตรึงษ์มีปรากฏเป็นหลักฐานทั้งซากโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลาจารึก พงศาวดาร ตำนาน และเอกสารต่าง ๆ อยู่หลายแห่ง แม้จะมีความสับสนในข้อมูลที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ก็มีข้อสรุปที่ชัดเจนได้ว่า เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่มีอยู่จริงและมีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยทวาราวดีต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นในช่วงรัชกาลที่ 3 ก่อนจะถูกทิ้งร้างให้กลายสภาพเป็นเมืองที่เหลือแต่ซากโบราณสถานมาจนทุกวันนี้
           ที่ตั้งและลักษณะของเมืองไตรตรึงษ์ เมืองไตรตรึงษ์ เป็นเมืองเก่าและร้าง ตั้งอยู่ที่บ้านวัง พระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร ห่างจากตัว เมืองกำแพงเพชรไปประมาณ 16 กิโลเมตร ตัวเมืองอยู่ทางฝั่ง ขวาของแม่น้ำปิง เป็นเมืองขนาดเล็กมีคูน้ำคันดินล้อมรอบสามชั้น ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน กว้างประมาณ 800 เมตร ยาวประมาณ 840 เมตร แม้จะมีแม่น้ำปิงไหลผ่าน แต่ไม่ได้ใช้ล้าน้ำเป็นคูเมือง เพราะพบร่องรอยคูเมืองเดิม ขนานกับแนวแม่น้ำปิง ปัจจุบันแนวกำแพงเมืองด้านเหนือที่อยู่ติดกับแม่น้ำปิงบางส่วนได้ถูกกระแสน้ำเซาะพังทลายและถูกชาวบ้านเข้ามาไถปรับท้าไร่สวนจนเสียหายไปหลายส่วนบริเวณกลางเมืองมีโบราณสถานขนาดใหญ่สองแห่ง แห่งแรกเรียกว่า เจดีย์เจ็ดยอดเป็นกลุ่ม เจดีย์ก่อด้วยอิฐ เจดีย์ประธานมีเป็นทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานล่างเป็นแบบฐานหน้ากระดาน สี่เหลี่ยมซ้อนกันสี่ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำและบัวหงาย แล้วเป็นส่วนเรือนธาตุย่อ ไม้ยี่สิบ ส่วนยอดหักพังลงมาหมดฐานด้านหน้าหรือด้านตะวันออกท้าเป็นซุ้มพระยื่นออกมาเป็นแบบเจดีย์ที่นิยมสร้างในสมัย สุโขทัยรอบเจดีย์ประธานมีฐานเจดีย์รายเล็ก ๆ ก่อด้วยอิฐอยู่หลายองค์ โบราณสถานอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเจดีย์เจ็ดยอดห่างออกไปประมาณ 200 เมตร เป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐมีฐานวิหารและฐานเจดีย์รายเล็ก ๆ ก่อด้วยอิฐเช่นกัน ศิลปะการก่อสร้างเป็นแบบสุโขทัย มีข้อน่าสังเกตซึ่ง จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เคยศึกษาเอาไว้ว่า เจดีย์ประธานของกลุ่มเจดีย์เจ็ดยอด มีรูปทรงแบบศิลปะเชียงแสน มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทางด้านตะวันออกซุ้มเดียว ลักษณะคล้ายคลึงกับเจดีย์ วัดพระยืนจังหวัดล้าพูน อันอาจท้าให้เชื่อตามต้านานต้นพงศาวดารได้ว่า พระเจ้าไชยศิริมาสร้างเมืองไตรตรึงษ์ เพราะเจดีย์องค์นี้ล้วนเป็นฝีมือช่างในกลุ่มสกุลหริภุณชัย-เชียงแสน ซึ่งเก่ากว่าสกุลช่างสุโขทัยและที่บริเวณเมือง เก่าในจังหวัดกำแพงเพชรเท่าที่มีการสำรวจพบยังไม่เคยปรากฏร่องรอยของศิลปะที่เก่าก่อนสมัยสุโขทัยเหมือยอ ย่างที่เมืองไตรตรึงษ์นี้เลย ตามผิวดินภายในเขตเมือง พบเศษภาชนะดินเผา ทั้งประเภทเครื่องเคลือบแบบสุโขทัยที่เรียกว่า เครื่องถ้วยสังคโลก เศษภาชนะดินเผาเนื้อเครื่องดินและชนิดเผาแกร่งไม่เคลือบ จากการขุดค้นพบว่า ถัดจากชั้นดินที่พบเศษภาชนะดินเผาแบบสุโขทัย พบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี เช่น เศษภาชนะ ดินเผา ลูกปัดแก้ว และชิ้นส่วนตะเกียงดินเผา
            สำหรับชิ้นส่วนตะเกียงดินเผานั้นเป็นแบบที่พบทั่วไปตามแหล่ง ชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในเขตภาคกลางแถบลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้สันนิษฐานได้ว่าบริเวณเมืองไตรตรึงษ์ก่อนจะเป็นบ้าน เป็นเมืองในสมัยสุโขทัยได้ มีผู้คนเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานอยู่แล้วในสมัยทวารวดี แต่อาจจะไม่เป็นเมืองหรือชุมชนใหญ่ เป็นเพียงชุมชนที่อยู่บน เส้นทางคมนาคมริมฝั่งแม่น้ำปิงที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างภาคเหนือกับที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นอกเขตแนวคูเมืองของเมืองไตรตรึงษ์ทางทิศตะวันออกตามล้าน้ำปิงมีโบราณสถานขนาดใหญ่แห่ง หนึ่งชาวบ้านเรียกว่า วัดวังพระธาตุ เจดีย์ประธานของวัดเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ แบบศิลปะสุโขทัยสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ยังเห็นรูปทรงทางสถาปัตยกรรมขององค์เจดีย์ได้ครบถ้วน เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมที่นับว่าใหญ่ที่สุดในบรรดาเจดีย์แบบเดียวกันทั้งในเขตเมืองกำแพงเพชรและเมืองสุโขทัย บริเวณที่ตั้งเมืองไตรตรึงษ์ซึ่งแต่เดิมเป็นป่าทึบไม่มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐาน มีเฉพาะบริเวณริมน้ำใกล้กับวัดพระ ธาตุเท่านั้นชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ดงแสนปม
           ในอดีตเคยพบว่าบริเวณที่มีคูน้ำและคันดินรูปสี่เหลี่ยม อยู่ที่บ้านปากอ่างตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองไตรตรึงษ์ มีแนวคันดินตัดออกจากแนวกำแพงเมืองไตรตรึงษ์ออกไป ประมาณ 1 กิโลเมตร ไปถึงบริเวณที่มีคูนำคันดินล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 200 เมตร ยาวประมาณ 300 เมตร เนินดินขนาดเล็กที่ปรากฏน่าจะเป็นป้อมมากกว่าที่อยู่อาศัย อาจจะเป็นป้อมหน้าด่านของเมืองไตรตรึงษ์ ไม่ปรากฏซากศาสนสถาน บนผิวดินพบเศษภาชนะดินเผา เคลือบแบบสุโขทัยและชนิดเผาแกร่งไม่มีเคลือบ เช่นเดียวกับที่พบบริเวณเมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร เมืองคู่ขนานกับเมืองไตรตรึงษ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง กำแพงเพชร อยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับบริเวณเมืองไตรตรึงษ์เป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำ และคันดิน ล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคันดินและคูน้ำถูกทำลายไปมากที่เหลือพอให้เห็นอยู่บ้างเฉพาะด้านทิศตะวันออกเท่านั้น ภายในเขตเมืองพบร่องรอย  ศาสนสถานสองแห่ง ลักษณะอิฐมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่พบทางฝั่งเมืองไตรตรึงษ์ ส่วนโบราณสถานอีกแห่งหนึ่ง พังลงแม่น้ำไปหมดแล้ว เมืองไตรตรึงษ์ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำปิง กับเมืองเทพนครที่ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง มีลักษณะคล้ายกับเมืองนครชุมและเมืองกำแพงเพชร เมืองไตรตรึงษ์มีลักษณะเป็นเมืองเก่า มีกำแพงคันดิน ล้อมรอบสามชั้นแบบเดียวกับเมืองสุโขทัย เมืองนครชุมและเมืองบางพาน อาจเป็นไปได้ว่าเมื่อเมืองไตรตรึงษ์หมด ความสำคัญแล้ว จึงได้มีการย้ายชุมชนไปอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำปิงคือ เมืองเทพนคร ซึ่งมีคูน้ำคันดินเพียงชั้นเดียว จนเป็นแบบแผนของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะหลัง

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เรืองศักดิ์ แสงทอง. (ม.ป.ป.). เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1316

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1316&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

กำแพงเพชร : ยุคหิน

กำแพงเพชร : ยุคหิน

ชุมชนดั้งเดิมของกำแพงเพชร ชุมชนยุคหิน เขากะล่อน (แผนที่ทหารเรียกว่าเขาการ้อง) เป็นเขาลูกรัง เป็น แนวติดต่อกันสามลูก ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี ห่างจากลำน้ำปิงไปทางตะวันออก ราว 2 กิโลเมตร จากการสำรวจของนายปรีชา สระแก้ว นายช่างกรมทางหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขุดค้นพบ ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน อายุราว 10,000 ปี

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,000

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,501

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,841

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,187

ตำนานสามล้อกำแพงเพชร

ตำนานสามล้อกำแพงเพชร

สามล้อถีบเมืองกำแพงเพชร มีมาก่อนพุทธศักราช 2490 มารุ่งเรืองสูงสุด ในปี 2500 รายได้ดีมาก สามารถเลี้ยงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามล้อท่านแรกที่รู้จัก คือลุงเอก บ้านอยู่หน้าโรงเรียนอนุกูลศึกษาทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว) ผู้เขียนเป็นเพื่อนรักกับลูกชายลุงเอก คือนาย อุ่น ไปมาหาสู่กันเป็นประจำไปนอนเล่นบ้านลุงเอกเสมอ ท่านใจดีมาก ๆ มีฐานะดีด้วย 

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,154

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,699

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

ข้อความในจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1 หน้าที่ 37-39 ในบรรทัดที่ 21-40 อธิบายโดยสรุปว่า พ่อขุนศรีนาวนาถม ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยและ เมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน หลังสิ้นพ่อขุนศรีนาวนาถมแล้ว พ่อขุนบางกลางหาว ได้เข้ามาครอบครอง ต่อมาถูกขอมขยายอำนาจยึดเมืองต่าง ๆ ได้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงต้องขอความช่วยเหลือไปยังพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนาถม พ่อขุนผาเมืองได้สั่งให้พ่อขุนบางกลางหาวไปนำทหารของพระองค์ที่เมืองบางยางมาสู้รบ พ่อขุนบางกลางหาวก็ยังไม่สามารถที่จะชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้ จนทำให้พ่อขุนผาเมืองต้องยกทัพออกมาช่วย จนในที่สุดได้เมืองบางขลัง ศรีสัชนาลัย  และเมืองสุโขทัยคืน ได้และพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 4,494

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 4,132

ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร

ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร

ในสมัยโบราณ การติดต่อระหว่างเมืองประเทศราช เมืองพระยามหานคร และเมืองต่างๆ ในพระบรมโพธิสมภาร มีการติดต่อและรายงานโดยการใช้ใบบอก มีประโยชน์ในการรายงาน เรื่องราชการ ใบบอกเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง อาจมีข้อเท็จจริงอยู่ในใบบอกประสมกันอยู่ แต่อาจเป็นต้นเค้าของหลักฐานในการสืบค้นให้ลึกลงไปในอดีตที่ยังไม่มีใครสนใจนัก ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองหลวงของราชธานี ส่วนประวัติศาสตร์ของหัวเมืองมิใคร่มีผู้ใดใส่ใจ ใบบอกจึงเป็นหลักฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ฉายภาพในอดีตของแต่ละเมืองอย่างชัดเจนในสมัยนั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 6,188

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 931