กำแพงเพชร : ยุคหิน

กำแพงเพชร : ยุคหิน

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้ชม 2,000

[16.3937891, 98.9529695, กำแพงเพชร : ยุคหิน]

         ชุมชนดั้งเดิมของกำแพงเพชร ชุมชนยุคหิน เขากะล่อน (แผนที่ทหารเรียกว่าเขาการ้อง) เป็นเขาลูกรัง เป็น แนวติดต่อกันสามลูก ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี ห่างจากลำน้ำปิงไปทางตะวันออก ราว 2 กิโลเมตร จากการสำรวจของนายปรีชา สระแก้ว นายช่างกรมทางหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขุดค้นพบ ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน อายุราว 10,000 ปี
         เขากะล่อน แหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ที่ค้นพบ เมื่อปี 2529 ที่บ้านหาดชะอม อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร เป็นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ จากการที่จังหวัดได้ให้สัมปทานเขากะล่อนให้ผู้รับเหมาสร้างทางหลวงแผ่นดินสายขาณุ-เก้าเลี้ยว เมื่อไถหน้าดินลงไป 1-2 เมตร ก็พบขวานหินโบราณจำนวนมาก
         เขากะล่อนเป็นเขาดินลูกรังต่อกันสามลูก เรียงตัวในทางทิศเหนือ-ใต้ อยู่ห่างจากลำน้ำปิงราว 2 กิโลเมตร จากการไถขุดบริเวณเชิงเขา ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ ขวานหินขัดขนาดต่าง ๆ รวมที่ยังทำไม่สำเร็จหลายร้อยอัน หัวธนูหิน กำไลหิน ที่ติดอยู่กับกระดูกท่อนแขน ได้ถูกรถแทรกเตอร์ดันขึ้นมา
         เขากะล่อน ตามแผนที่ทหารมีชื่อว่า เขาการ้อง ภูมิประเทศและทำเลเหมาะทำเป็นที่ตั้งบ้านเรือน คืออยู่บริเวณริมน้ำปิง เชิงเขากะล่อนน้ำจะท่วมไม่ถึง เขากะล่อนเคยได้รับการใส่ใจจากเจ้าหน้าที่อยู่พักหนึ่ง แต่ไม่นานก็ไม่มีคนสนใจ ปัจจุบันกับถูกทอดทิ้ง ไร้คนดูแล ถูกลักลอบขุดลูกรังมาขาย ชุมชนโบราณแหล่งโบราณคดีเขากะล่อน เป็นแหล่งมนุษย์ยุคหินยุคแรกของกำแพงเพชร คือราว 10,000 ปี ที่ผ่านมา นับว่าน่าสนใจเป็นอันมาก สมควรที่กรมศิลปากรได้ขุดค้นอย่างจริงจัง เพื่อได้ยืนยันอย่างเป็นทางการ ว่าเมืองกำแพงเพชรเก่าแก่ถึงขั้นยุคหิน เขากะล่อน จึงเป็นสถานที่สำคัญที่แสดงรากฐานความเป็นชุมชนโบราณ ที่ควรขุดค้นเพื่อหาความจริงแห่งความภูมิใจในความเป็นเมืองกำแพงเพชร เราอาจพบอะไรอีกมากมาย ในการขุดค้นอย่างใช้หลักวิชา โดยไม่ใช้รถขุดหรือแทรกเตอร์ ก่อนที่หลักฐานทุกอย่างจะถูกทำลายไป ด้วยมือของพวกเรา…

คำสำคัญ : กำแพงเพชร, เขากะล่อน

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กำแพงเพชร : ยุคหิน. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1290

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1290&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,187

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแม้ความสำคัญของการเป็นเมืองร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัยอาจลดลงไป แต่ก็ยังเป็นชุมชนสืบเนื่องต่อกัน ดังหลักฐานในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวไว้ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถได้ยกทัพไปตีเมืองเถิน ระหว่างที่เดินทางขึ้นมาได้นำทัพหลวงไปตั้งพักทัพที่ตำบลบ้านโคน ดังข้อความในประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3 กล่าวไว้ว่า “ศักราช 804 ปีจอจัตวาศก (พ.ศ.1985) แต่ทัพไปเอาเมืองศรีสพเถิน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลบ้านโคน” ข้อความนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่าเป็น ศักราช 818 ชวดศก (พ.ศ. 1999)

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,537

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

พวกฮ่อนี้เดิมทีเป็นจีนแท้ ทำการขบถขึ้นในเมืองจีน เรียกว่าพวกขบถ “ไต้เผง” จะช่วงชิงอำนาจกับพวก “เม่งจู” ในที่สุดพวกไต้เผงสู้พวกเม่งจูไม่ได้ ต้องแตกฉานซ่านเซ็นหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขา จีนขบถไต้เผงพวกหนึ่งมีกำลังหลายพันคน หัวหน้ากลุ่มชื่อ “จ่ออาจง” อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดน ญวน ทางเมืองตั้งเกี๋ยเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐ ฝ่ายพวกญวนเห็นว่าพวกขบถไต้เผงอพยพเข้ามในเขตของตน เกรงว่าจะเป็นอันตราต่อญวนในภายภาคหน้า จึงแต่งฑูตเข้าไปในประเทศจีน ขอกองทัพจากกษัตริย์เม่งจู มาสมทบกับกองทัพของญวน ช่วยกันขับไล่พวกขบถ พวกกบถก็แตกทัพลงมาในดินแดนของพวกแม้ว คือชายแดนจีนติดต่อกับดินแดนสิบสองจุไทย พวกขบถได้รวบรวมกันและตั้งมั่นอยู่ และได้เรียกชื่อใหม่ว่าเป็น “พวกฮ่อ”

 

 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,698

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

คำกล่าวถึงพะโป้ ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ดูแต่วัดพระธาตุที่ทอดทิ้งกันชำรุดทรุดโทรมมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย ใครล่ะทำนุบำรุง ใครล่ะปฏิสังขรณ์รื้อสร้างรวมเป็นองค์เดียว แล้วยกช่อฟ้าใบระกาใหม่? ใคร? นอกจากพญาตะก่ากับพะโป้ อย่าลืมว่านั่นเป็นกะเหรี่ยงสองพี่น้อง ไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่คนพื้นเพปากคลอง ...นี่เองพะโป้ผู้ยิ่งใหญ่ พะโป้ผู้มีคุณแก่ขาวกำแพงเพชรโดยทั่วไป และคลองสวนหมากโดยเฉพาะ พะโป้ผู้นำฉัตรทองแต่ตะโก้ง (เมืองย่างกุ้ง)มาประดิษฐาน ณ ยอดพระบรมธาตุเป็นสัญลักษณ์แห่งบวรพระพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,250

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง แถบสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพระพุทธศาสนา กำแพงเพชรมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมายและย่ิงใหญ่ที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย กำแพงเพรมีพระเครื่องนับพันพิมพ์ จนได้รับการยกย่องให้เป็นจังหวัดที่ีพระเครื่องมากที่สุด และทรงคุณค่ามากที่สุดจนเป็นคำขวัญประจำจังหวัดวรรณหนึ่งว่า "กรุพระเครื่อง" แถบสีเขียว หมายถึง เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เต็มไปด้วยป่าไม้ น้ำตก และพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ มีประชากรจากทุกสารทิศอพยพเข้ามาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ความหมายโดยรวม เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างย่ิงทางด้านพระพุทธศาสนา ประชาชนมีความกล้าหาญในการสงครามอย่างหาที่เปรียบมิได้ มีความอุดมสมบูรณ์ในการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทยมาโดยตลอด

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 2,720

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,193

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือพระพุทธเจ้าหลวงของปวงชนชาวไทย ได้เสด็จประพาสต้นหัวเมืองทางเหนือโดยมีจุดปลายปลายทางอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร ในการเสด็จประพาสต้นในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  ที่ได้ทอดพระเนตรและทรงให้บันทึกเรื่องราวเอาไว้เป็นบทพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ซึ่งมีเนื้อเรื่องบางตอนเกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์ ดังข้อความดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,230

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 931

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

นครชุม เป็นชื่อของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างกว่า ๓๐๐ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่มีชื่อเป็นที่รู้จัก ผู้คนทั่วไปคงเรียกบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎรบริเวณนี้ว่า “ปากคลองสวนหมาก” เพราะมีคลองสวนหมากไหลมาออกแม่น้ำปิง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ที่มารู้จักว่าชื่อแต่เพียงบ้านปากคลองสวนหมาก ไม่มีใครรู้จัก เมืองนครชุม ตำบลคลองสวนหมาก เป็นชุมชนที่สร้างตัวขึ้นมาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงจากเหย้าเรือนฝาขัดแตะไม่กี่หลังคาเรือน แต่มีที่ทำกินในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีแม่น้ำปิงไหลผ่านและมีคลองสวนหมากไหลมาจากป่าโป่งน้ำร้อนให้น้ำหล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,589

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,426