การลอยโคม

การลอยโคม

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้ชม 6,661

[16.8784698, 98.8779052, การลอยโคม]

       ตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา ในวันเพ็ญเดือนสิบสองจะมีการลอยโคม เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยโคมจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ โคมลมหรือเรียกอีกอย่างว่า ว่าวควัน จะลอยในช่วงกลางวัน และโคมไฟที่ใช้ในตอนกลางคืน ในปัจจุบันเกิดความเชื่อใหม่ขึ้น คือ ลอยโคมเพื่อปล่อยทุกข์ปล่อยโศกหรือเรื่องร้ายไปกับโคม ไม่ใช่เพื่อนมัสการพระเกศแก้วจุฬามณีอีกต่อไป
       นอกจากนี้ การลอยโคมในปัจจุบันยังถูกใช้ในด้านธุรกิจวัฒนธรรมมากขึ้น ไม่ได้ใช้เฉพาะเพียงเทศกาลลอยกระทงเท่านั้น แต่ใช้เกือบทุกเทศกาล ทำให้ยากต่อการควบคุม จึงเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ธุรกิจการบิน ขยะ หรือไฟไหม้บ้านเรือนตามที่เป็นข่าว
       ปัญหานี้มิได้มีเฉพาะปัจจุบันเท่านั้น แต่ในอดีตก็เกิดปัญหาด้วยเช่นกัน ดังในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปีพ.ศ.2443 ที่ประกาศว่า การปล่อยโคมลอยได้สร้างความเสียหายจากเพลิงไหม้แก่บ้านเรือน จึงห้ามปล่อยโคมลอยโดยมิได้รับอนุญาต หากฝ่าฝืนจะถูกปรับเงินไม่เกิน 20 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน และถ้าโคมลอยที่ปล่อยถูกบ้านเรือนหรือข้าวของเครื่องใช้ก็ต้องใช้ตามราคานั้น
       ดั้งนั้น ก่อนลอยโคมตามความเชื่อเพื่อสืบสานประเพณีแล้ว เรายังต้องตระหนักถึงปัญหาที่จะตามมาให้มากขึ้น

 

 

คำสำคัญ : โคม

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/973799436043597

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). การลอยโคม. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2050&code_db=610004&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2050&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

แทงหยวกงานปราณีตศิลป์ ความงามบนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

แทงหยวกงานปราณีตศิลป์ ความงามบนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

การแทงหยวก ถือว่าเป็นงานปราณีตศิลป์ชนิดหนึ่งของไทยที่ในปัจจุบันหาช่างผีมือที่ทำงานศิลปะชิ้นนี้ได้น้อยมาก เนื่องจากต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก การตระเตรียมอุปกรณ์ แกะสลัก(แทงหยวก) ร้อยมาลัย แกะสลักผักผลไม้ ในการประดับให้เกิดความสวยงามต่าง ๆ รวมไปถึงงานตอกกระกระดาษที่ต้องทำในช่วงตลอดคืนก่อนการทำฌาปนกิจ หรือเผาผี ในช่วงบ่าย ๆ ของวันรุ่งขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 782

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

การล่องซุงไม้สัก ร่องรอยความเจริญของกิจการป่าไม้ในหัวเมืองทางภาคเหนือ ในอดีตก่อนการถมแม่น้ำและการสร้างเขือนภูมิพล แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางสำคัญในการล่องแพซุงจากเชียงใหม่ลำปางสู่กรุงเทพ ซึ่งมีแหล่งค้าไม้ที่สำคัญในระยะแถววัดสระเกศ ภายหลังจึงย้ายมาอยู่แถวบางโพ เมืองตาก ในอดีตมีห้างค้าไม้ถึงสามแห่ง คือ ห้างสัญชาติอังกฤษ 2 แห่ง คือ ห้างบอมเบย์เบอร์ และห้างบริติชบอร์เนียว (ห้างบอร์เนียวฯ) ซึ่งตั้งในย่านชุมชนหัวเดียด และห้างไม้คนจีนหนึ่งแห่ง คือ กิมเซ่งหลี ซึ่งภายหลังเป็นกลุ่มคหบดีคนสำคัญในภาคเหนือ คือตระกูล โสภโณดร

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 623

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

วัดในเขตอำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และในอำเภอเมืองตาก จะมีห้องสรงน้ำพระอยู่ในบริเวณวัดแทบทุกวัด ซึ่งมีไว้เพื่อใช้สรงน้ำพระในวันพญาวัน วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา โดยจะสรงน้ำพระในช่วงบ่าย ๆ หรือเย็น ๆ ก่อนสรงน้ำพระก็จะฟังเทศน์อนิสงค์ปีใหม่ และจากนั้นก็จะโอกาดน้ำขมิ้นส้มป่อย เมื่อโอกาดเสร็จก็จะอันเชิญพระพุทธรูป เข้าไปไว้ในห้องสรงน้ำพระเป็นอันดับแรกก่อน จากนั้นผู้คนต่างก็จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยที่เตรียมมานั้น ไปเทที่รางริน ซึ่งรางรินนั้นจะเชื่อมต่อกับห้องสรงน้ำพระ โดยทำเป็นช่องลอดให้พอดีกับรางริน สรงน้ำพระพุทธรูปเสร็จแล้วนั้น ก็จะนิมนต์พระสงฆ์ในวัดทั้งหมดเข้ามาในห้องสรงน้ำพระต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 807

เจลใส่ผมน้ำมันมะพร้าวออแกรนนิค

เจลใส่ผมน้ำมันมะพร้าวออแกรนนิค

สมัยโบราณ คนเฒ่าคนแก่ยังนิยมมวยผมจ๊อกน้อย ๆ ที่ท้ายทอยนุ่งซิ่นสมัยนิยมคือผ้าลายเลียนแบบผ้ามัสกาตี นิยมจับผมให้เข้ารูปด้วยน้ำมันมะพร้าว วันแรก ๆ ก็หอมน้ำมันมะพร้าวดี ผ่านไปสองสามวันกลิ่นออกจะเหม็นหืนไปสักหน่อย ผู้เขียนจึงได้ความรู้ใหม่ว่าคนโบราณช่างคิดสามารถนำไขจากมะพร้าวมาทำเป็นเจลใส่ผมจากธรรมชาติ ช่วยให้ผมเงาดำเสียด้วย ใครทำน้ำมันมะพร้าวใส่ผมเป็นบ้างครับ เดียวนี้คงเลิกนิยมทำกันแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 322

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

หลังสงกรานต์ 16 เม.ย (วันปากปี) คนตากที่มีเชื้อสายชาวล้านนาจะมีการบูชาข้าว + บูชาเคราะห์โดยเตรียมสะตวง ทำจากกาบกล้วย รองด้วยใบตองแบ่งเป็น 9 ช่อง ปักธงสีขาวทุกช่อง แต่ละช่อง รองด้วยใบขนุน ใส่ข้าวสุก กับข้าวชื่อมงคล กล้วยสุก ดอกมะลิสีขาว นำไปวางในวิหาร พร้อมเส้นฝ้ายวา และเสื้อของคนในครอบครัวเมื่อพระสวดมนต์เสร็จแล้ว จะนำเสื้อผ้าที่ผ่านพิธีมาทำการสะบัดเคราะห์หรือสิ่งชั่วร้ายออกไป จะนำสะตวงไปลอยน้ำ และนำฝ้ายวาไปเผา ถือเป็นการล้างสิ่งที่ไม่ดี และรับแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิต”

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 796

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

ในช่วงวันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรเรียบร้อยแล้วชาวบ้านมักจะนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำบุญที่วัด เรียกประเพณี “ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ในเมืองตากมีการสืบทอดประเพณีการถวายข้าวใหม่เช่นเดียวกับวัฒนธรรมภาคเหนือเช่นกัน แต่มีข้อแตกต่างกัน คือชาวเมืองตากนิยมนำข้าวเหนียวใหม่มาเผาเป็นข้าวหลาม เพื่อใช้ในการถวายพระก่อนงานเทศกาล 1 วัน อดีตชาวบ้านเกือบทุกหลังจะนิยมเผาข้าวหลามเพื่อนำไปถวายพระ เป็นกิจกรรมสร้างความรักสามัคคีในครอบครัว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 975

การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์

การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์

ตากตั้งอยู่จุดกึ่งกลางเส้นทางในลำน้ำปิงที่ใช้ขึ้นลงระหว่างกรุงเทพ และหัวเมืองทางเหนือจึงมีการขยายตัวนับเนื่องมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดชุมชนชาวจีนริมฝั่งแม่น้ำปิงตั้งรกรากเป็นตลาดบกการค้าริมแม่น้ำปิง จนกระทั่งการคมนาทางถนนและทางรถไฟเกิดการขยายตัวได้รับความนิยมในการขนส่งสินค้าและผู้คนอย่างมาก ลำน้ำปิงจึงลดบทบาทลงไปพร้อม ๆ กับความคึกคักของตลาดการค้าริมทางน้ำสู่การตั้งร้านค้าและเกิดเป็นชุมชนการค้าแห่งใหม่ทางด้านเหนือของตลาดการค้าเดิม (ตรอกบ้านจีน) ต่อมาเรียกพื้นที่ตลาดการค้าใหม่นี้ว่าตลาดใน ตลาดในจึงกลายเป็นชุมชนจีนใหม่ที่คึกคักมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา การเข้าของจีนใหม่นำไปสู่การพยายามรักษาจารีตแบบจีนโบราณไว้ด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 406

ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำหม้อ คือ ที่สำหรับวางหม้อน้ำดื่ม พร้อมที่แขวนกระบวย ตัวฮ้านมีลักษณะเป็นชั้นวางมีหลังคาทรงจั่วด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้มีแสงแดดส่องลงมาที่หม้อน้ำ หม้อน้ำเป็นหม้อดินเผาสีอิฐแดงระบายความร้อนได้ดีส่วนใหญ่จะมีตะไคร่สีเขียวเกาะบริเวณรอบ ๆ ตัวหม้อ ทำให้น้ำในหม้อมีความเย็นตลอดเวลา ด้านข้างมีที่แขวนกระบวยน้ำที่ทำมาจากกะลามะพร้าว ฮ้านน้ำหม้อส่วนใหญ่จะตั้งอยู่หน้าบ้าน เพื่อไว้บริการผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาเมื่อหิวน้ำก็จะแวะพักดื่มน้ำตามฮ้านน้ำหม้อที่ชาวบ้านแถวนั้นได้จัดตั้งไว้ และด้วยความเชื่อของชาวล้านนาที่ว่าการทำบุญด้วยน้ำเป็นอานิสงค์ที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ชีวิตคล่อง ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขต่าง ๆ

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,596

จิบอกไฟ

จิบอกไฟ

การตั้งธรรมหลวง หรือ การเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีที่อยู่คู่สังคมชาวพุทธมายาวนานในสังคมภาคเหนือนิยมจัดประเพณีในช่วงเดือนยี่(เหนือ) หรือในช่วงลอยกระทง ชุมชนลาวในเมืองตากในอดีตมีการสืบทอดประเพณีการตั้งธรรมหลวงในช่วงวันยี่เป็ง หนึ่งในกิจกรรมการละเล่นที่นิยมของกลุ่มชายชาวลาวในเมืองตากคือ การจิบอกไฟ หรือการจุดบอกไฟเมื่อใกล้ถึงช่วงเทศการกลุ่มผู้ชายมักช่วงกันตำดินประสิวและวัสดุประกอบบรรจุลงบนกระบอกไม้ไผ่หรือท่อพลาสติกเมื่อถึงวันงานต่างแห่จากบ้านมาที่วัดและจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชาในปัจจุบันแทบจะหาภาพแบบนั้นได้น้อยลงเนื่องจากความยุ่งยากในการทำบอกไฟและอันตรายหากผู้ทำไม่เชี่ยวชาญในระหว่างทำอาจจะระเบิดได้

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 870

ผามพิธี

ผามพิธี

หากเอ๋ยถึงผี คนทั่วไปมักนึกถึงสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาสัมผัส และแทนในรูปความน่ากลัว ความเชื่อในเรื่องผีเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดในสังคมอาคเนย์ แม้ในระยะหลังเรานับถือพุทธมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (ยุคแรกสมัยประวัติศาสตร์) แต่เราก็ยังคงมีความเชื่อในเรื่องผีที่ฝั่งลึกในจิตวิญญาณของเราอยู่ สะท้อนผ่านในรูปพิธีกรรม ความเชื่อ ผีจึงถูกผูกร้อยกับเราอย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนเหนือ ที่นับถือผีข้างมารดา ถือว่าเป็นเก๊า (หลัก) ของสายตระกูล คนเหนือนับถือผีบรรพบุรุษ สร้างหิ้งบูชาผีไว้ที่ด้านเหนือของเรือนเป็นหิ้งผีไว้สักการะยามทำงานบุญงานทาน ก่อนเข้าพรรษา หรือปีใหม่ไทย ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูด้วยการจัดเครื่องไหว้ผี ตามจารีตของคนในท้องถิ่น

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 686