กระทุงหมาบ้า

กระทุงหมาบ้า

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 2,110

[16.4258401, 99.2157273, กระทุงหมาบ้า]

กระทุงหมาบ้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Dregea volubilis (L.f.) Benth. ex Hook.f. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE - ASCLEPIADACEAE)
สมุนไพรกระทุงหมาบ้า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักฮ้วนหมู (เชียงใหม่), เครือเขาคลอน (อุบลราชธานี), ผักง่วนหมู ต้นง่วนหมู หัวเขาคอน (ร้อยเอ็ด), มวนหูกวาง (เพชรบุรี), เครือเขาหมู ผักฮ้วนหมู ฮ้วนหมู (ภาคเหนือ), กระทุงหมาบ้า คันชุนสุนัขบ้า (ภาคกลาง), เถาคัน (ภาคใต้), มุ้งหมู, ฮ้วน, ผักม้วน, ผักโง้น, ผักง้วน, ผักง้วนหมู เป็นต้น

ลักษณะของกระทุงหมาบ้า
         ต้นกระทุงหมาบ้า จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ยาวได้ถึง 10 เมตร เถาจะพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ลำต้นมีลักษณะเป็นเถากลม เปลือกเถาอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนเถาแก่เป็นสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลอ่อน ตามผิวกิ่งตะปุ่มตะป่ำและมีช่องอากาศ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี ชอบที่ชื้น ทนแล้งได้ดี มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียจนถึงจีนตอนใต้ ไต้หวัน ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบขึ้นตามบริเวณป่าดิบ ป่าราบ หรือบริเวณชายป่าทั่วทุกภาคของประเทศ
         ใบกระทุงหมาบ้า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือเกือบกลม ปลายใบแหลมหรือยาวรี โคนใบมนหรือเว้าหรือป้าน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7.5-15 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีสีเขียวอ่อนกว่า ก้านใบยาวประมาณ 4 เซนติเมตร
          ดอกกระทุงหมาบ้า ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุก โดยจะออกบริเวณซอกใบหรือระหว่างก้านใบ ลักษณะของดอกเป็นดอกที่มีขนาดเล็ก มีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีเขียวอ่อน บิดเวียนกัน ยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อ ส่วนปลายกลีบแยกออกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม เส้าเกสร 5 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
          ผลกระทุงหมาบ้า ผลมีลักษณะเป็นฝัก ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.6-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7.5-10 เซนติเมตร โคนฝักป่องแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลาย มีครีบตามยาว ผิวฝักมีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ ข้างในฝักมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่หรือรูปรีกว้าง โค้งเว้า มีขนาดยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ผิวเรียบเป็นมันวาว ขอบบางเป็นครีบ มีพู่ขนสีขาวเป็นมันเหมือนเส้นไหม

สรรพคุณของกระทุงหมาบ้า
1. ส่วนที่กินได้ของผักชนิดนี้มีรสขมอมหวานมัน มีสรรพคุณช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกายและช่วยเจริญอาหาร (ส่วนที่กินได้)
2. รากและเถามีสรรพคุณช่วยทำให้นอนหลับ (ราก, เถา)[1],[4]
3. เถาใช้เป็นยาแก้โรคตา (เถา)[1]
4. ใช้เป็นยาแก้หวัด ทำให้จาม (เถา)[1]บ้างใช้รากนำมาตัดเสียบเข้าไปในจมูกเพื่อทำให้เกิดการจาม (ราก)
5. รากใช้เป็นยาขับพิษร้อน กระทุ้งพิษ พิษฝี แก้ไข้พิษ พิษไข้หัว ไข้กาฬ ให้ซ่านออกมาจากภายใน ช่วยดับความร้อน แก้พิษน้ำดีกำเริบ (ราก)
6. เถามีรสเมาเบื่อเอียดติดขม มีสรรพคุณเป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ใช้กระทุ้งพิษไข้หัว ไข้กาฬ ดับพิษฝี แก้พิษดีกำเริบ ละเมอเพ้อกลุ้ม เซื่องซึม ปวดศีรษะ น้ำตาตกหนัก
     แสบร้อนหน้าตา (เถา)
7. รากมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ ถ้าใช้มากเกินไปจะมีสรรพคุณทำให้อาเจียน ส่วนลำต้นอ่อนก็มีสรรพคุณทำให้อาเจียนเช่นกัน (ราก, ลำต้นอ่อน)
8. เถาเป็นยาเย็น ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (เถา)
9. ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะพิการ (ราก)
10. ใบมีรสเมาเบื่อเอียนติดขม ใช้เป็นยาแก้แผลที่ถูกน้ำร้อนลวก แก้บวม แก้ฝี แก้ฝีภายใน แก้พิษต่าง ๆ การใช้ภายนอกให้นำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วใช้ทาบริเวณที่เป็น
       แผลหรือใช้พอกฝีและบริเวณที่อักเสบ (ใบ)
11. เถาใช้เป็นยาแก้พิษงูกัด (เถา)
12. ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะใช้เป็นยาลดไข้ ทำให้อาเจียน ใช้ในการรักษาอาการอาเจียนออกมาเป็นเลือดสด (Hematemesis), เจ็บคอ, อาการฝีหนองติดเชื้อ
      (Carbuncles), กลาก, โรคหอบหืดและเป็นยาแก้พิษสำหรับยาพิษ (เนื่องจากทำให้อาเจียนได้ แต่ใช้รากเท่านั้น)

ประโยชน์ของกระทุงหมาบ้า
1. ใบ ดอก และฝักอ่อน นำมาต้มแล้วใช้เป็นอาหารได้ โดยจะมีรสขมเล็กน้อย ชาวเหนือและชาวอีสานจะนิยมรับประทานใบอ่อน ยอด และดอกสด โดยนำมาใช้ในการประกอบ
     อาหาร เช่น แกงกับปลาแห้ง หรือแกงกับผักชนิดอื่น ใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือใส่ส้มตำ ผักชนิดนี้ในหน้าแล้งจะมีรสอร่อยกว่าหน้าฝน เพราะหน้าแล้งจะมีรสขมออกหวาน
     ส่วนหน้าฝนจะมีรสขมมาก โดยคุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัมนั้น ผักชนิดนี้จะให้พลังงาน 56 แคลอรี, โปรตีน 5.2 กรัม, ไขมัน 2.3 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 6.9 กรัม, เถ้า
     1.7 กรัม, แคลเซียม 104 มิลลิเมตร, ฟอสฟอรัส 90 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.8 มิลลิกรัม, วิตามินเอ 266 หน่วยสากล, วิตามินบี 1 0.14 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.24 มิลลิกรัม,
     วิตามินบี 3 1.0 มิลลิกรัม, วิตามินซี 351 มิลลิกรัม
2. ผลใช้เป็นยารักษาโรคของสัตว์

คำสำคัญ : กระทุงหมาบ้า

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กระทุงหมาบ้า. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1618&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1618&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ก้นปิด

ก้นปิด

ต้นก้นปิดเป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือจับ มีหัวใต้ดิน ลำต้นแก่มักมีรอยแตกเป็นขีดตามยาว ใบก้นปิดเป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมฐานใบกลมและบังก้านใบ ขนาดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 8-17 ซม. ขอบใบเรียบ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ เป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกก้นปิดสีเหลืองส้ม ออกเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกสีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือลำต้น ช่อดอกทรงก้านร่ม ยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,426

ชำมะนาด

ชำมะนาด

ชำมะนาดเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว ใบชำมะนาดเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ดอกชำมะนาดสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดกันกลางดอกเป็นรูปลูกศร ผลชำมะนาดเมื่อแก่แห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,077

ใบระบาด

ใบระบาด

ใบระบาด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น มีความยาวได้ถึง 10 เมตร ตามเถามีขนนุ่มสีขาวขึ้นปกคลุม ทุกส่วนมียางสีขาว เถาอายุน้อยจะนุ่มและอวบน้ำ แต่พอแก่แล้วเถาจะแข็งเป็นไม้ ทอดยาวเหยียดไปได้ไกล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน ทาบกิ่ง และปักชำ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีอินทรียวัตถุมาก

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 3,606

สันพร้าหอม

สันพร้าหอม

สันพร้าหอม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง มีอายุได้หลายปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นได้ประมาณ 70-120 เวนติเมตร โคนต้นเรียบเป็นมัน เกลี้ยง ตามลำต้นเป็นร่อง แต่จะค่อนข้างเกลี้ยงเล็กน้อย รากแก้วใต้ดินแตกแขนงมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการปักชำกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนและชุ่มชื้น ความชื้นปานกลาง มีแสงแดดส่องปานกลาง พบขึ้นบริเวณตามหุบเขาหรือลำธาร และพบปลูกมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,535

กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,108

กระทืบยอบ

กระทืบยอบ

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก สูงไม่เกิน 30 ซม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ แก่นกลางใบประกอบยาว 7-17 ซม. มีขนสีน้ำตาล  มีใบย่อย 18-27 คู่  ใบย่อยคู่อื่น รูปแคบยาวขอบขนาน ช่อดอก มี 2-9 ดอก ก้านช่อดอกยาว 0.5-2 ซม.  ก้านดอกยาว 0.5-1.7 ซม. กลีบดอกสีขาว โคนกลีบสีเหลือง ผลรีกว้าง 2-3 มม. ยาว 3-4 มม. ผิวเรียบ มีเมล็ด 10-15 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 1,587

เคี่ยม

เคี่ยม

ต้นเคี่ยม จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 20-40 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นพุ่มทึบ รูปเจดีย์แบบต่ำ ๆ ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล เปลือกเรียบ มีรอยด่างสีเทาและสีเหลืองสลับกัน และมีต่อมระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีชันใสตามลำต้นและจะจับกันเป็นก้อนสีเหลืองเมื่อทิ้งไว้นานๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด (โดยเด็ดปีกออกก่อนการนำไปเพาะ) และวิธีการตอนกิ่ง

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 5,245

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงและจะแยกเป็นช่อๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-4 เมตร ลำต้นกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเข้ม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม เปลือกมีรูสีขาวและมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ประเทศปากีสถาน อินเดีย พม่า จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่เปิดและค่อนข้างชื้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,464

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,593

บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า จัดเป็นไม้ล้มลุก แผ่กิ่งที่โคนต้น แตกกิ่งก้านสาขานอนราบไปกับพื้นดิน ส่วนปลายยอดและช่อดอกชูขึ้น มีความสูงได้ประมาณ 40 เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวแกมขาว ไม่มียาง แต่มีขนยาวคล้ายสำลีขึ้นปกคลุมอย่างเห็นได้ชัด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ แพร่กระจายพันธุ์มาสู่เขตร้อนที่อบอุ่นกว่า ในประเทศไทยมักพบขึ้นเป็นวัชพืชในพื้นที่เปิดโล่งมีแดดส่องถึง ตามที่รกร้างริมทาง ตามที่สาธารณะทั่วไป เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ขอนแก่น พิษณุโลก นครราชสีมา สระบุรี กรุงเทพฯ เพชรบุรี กาญจนบุรี จันทบุรี และภาคใต้ทุกจังหวัด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 11,384