พระครูวชิรปัญญกร

พระครูวชิรปัญญกร

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้ชม 776

[16.5680198, 99.4659328, พระครูวชิรปัญญกร]

ประวัติ
          พระครูวชิรปัญญกร นามเดิม นายอำนวย กรรณิกา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2494 ที่บ้านเลขที่ 132 หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรองนายทำ-นางน้อย กรรณิกา อาชีพรับจ้าง ด้านการศึกษา สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดพระบรมธาตุ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนวัดหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เข้าทำงานครั้งแรกที่การไฟฟ้าพระราม 6 แล้วลาออกมาทำงานบริษัท Universal Engineering Consuians, Co.Ltd. หลังจากนั้นได้เข้ารับการอุปสมบท เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ณ พัทธสีมาวัดคูยาง ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดบ่อสามแสน รองเจ้าคณะอำเภอเมืองกำแพงเพชร (ฝ่ายการศึกษา) 

ผลงาน
          พระครูวชิรปัญญกร หรือชาวบ้านเรียกกันว่า “พระครูอำนวย” ท่านได้สร้างชื่อเสียงให้แก่หมู่บ้านบ่อสามแสน โดยการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบ่อสามแสนให้มีความเจริญก้าวหน้าและมีการสร้างศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ ศาลาธรรมสังเวชเมรุ ฯลฯ นอกจากนี้ท่านได้เปิดศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์เข้าเรียนในวัด และเปิดให้เรียนฟรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการมาโดยตลอด การเปิดสอนเด็กปฐมวันในวัด เป็นการสร้างเสริมให้เด็กและผู้ปกครองได้ใกล้ชิดวัด พระภิกษุ สามเณร ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กได้มีโอกาสเข้าถึงวัดวันละ 2 ครั้ง อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กที่จะเข้าโรงเรียนต่อไป ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือเป็นการแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องไปประกอบอาชีพได้โดยไม่ต้องห่วงลูกหลาน และท่านได้ส่งเสริมการศึกษาแผนกธรรมะและบาลี พร้อมทั้งธรรมศึกษา โดยมีลูกศิษย์สอบผ่านทั้งธรรมะและบาลีเป็นจำนวนมาก

คำสำคัญ : พระครูวชิรปัญญกร

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2548). หนองปลิง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พระครูวชิรปัญญกร. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1432&code_db=610003&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1432&code_db=610003&code_type=01

Google search

Mic

บุญมี บานเย็น

บุญมี บานเย็น

สมุนไพรเป็นพืชสำคัญของชาวไทยอยู่คู่กับชาวไทยมานานหลายร้อยปี แต่ในปัจจุบันคนไทยกลับลืมเลือนไปสิ้น เราหาคนไทยที่เข้าใจเรื่องสมุนไพรไทยยากยิ่งนัก แต่ไม่น่าเชื่อมีคนไทยในกำแพงเพชรศึกษาสมุนไพรอย่างจริงจังอยู่ท่านหนึ่ง ท่านนั้นคือนายบุญมี บานเย็น (นายโบ๊ะ) เจ้าพ่อสมุนไพรกำแพงเพชร ที่รายการโทรทัศน์วัฒนธรรมยกย่อง
สวนสมุนไพรจังหวัดกำแพงเพชรตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเข้าไปชมแล้วชื่นชมนายโบ๊ะ หรือลุงโบ๊ะอย่างยิ่งที่รวบรวมสมุนไพรไทยไว้หลายร้อยชนิด จัดเป็นระบบ มีป้ายบอกชื่อสมุนไพรแต่ละชนิดอย่างชัดเจน

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,077

 พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการเดิมชื่อ (ฉาย อัมพเศวต) เจ้าเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447-2454 เดิมเป็นหลวงสรรค์บุรารักษ์ นายอำเภอสรรค์บุรี เมืองชัยนาทต่อมาได้เลื่อนเป็นพระวิเชียรปราการ ผู้ช่วยราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้เลื่อนเป็นพระยาวิเชียรปราการ พระยาวิเชียรปราการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ 7 ปีได้ทำประโยชน์แก่เมืองกำแพงเพชรมาก ความดีของพระยาวิเชียรปราการ เด่นชัดตอนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2449 ตามที่ปรากฏในหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้นำเสด็จฯ ชมโบราณสถานด้วยความสันทัดจัดเจน 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,964

นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์

นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์

นพ.พนมกร เขียนบทความรความรู้สุขภาพทางอินเทอร์เน็ต และตอบปัญหาสุขภาพ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางเว็บไซต์ เช่น พันธ์ุทิพย์ ไทยคลินิก เฟสบุ๊ค โดยใช้นามแฝงว่า "หมอหมู" เป็นผู้ให้ความสำคัญแก่เยาวชนและศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างย่ิง เป็นผู้ริเร่ิมจัดรวมกลุ่มชมรมศิลป์ในสวนให้เยาวชน นำผลงานศิลปะ การแสดงดนตรี มาแสดงออกซึ่งความรู้ความสามารถอยากหลากหลาย อีกทั้งยังเป็นนักอนุรักษ์ เป็นผู้ริเริ่มและร่วมเป็นกรรมการจัดพิธีบวชต้นโพธิ์ (เป็นต้นโพธิ์เก่าแก่ คู่เมืองกำแพงเพชร)

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2018 ผู้เช้าชม 1,259

พระวิเชียรธรรมนาท

พระวิเชียรธรรมนาท

พระวิเชียรธรรมนาท เจ้าอาวาสวัดหนองปลิง ท่านมีจิตตั้งมั่น ต้องต่อสู้กับนานาอุปสรรคกว่าที่จะประสบความสำเร็จในการสร้างวัดหนองปลิงให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ตั้งแต่ถูกหลอกขายที่ดินสร้างวัด ๒๑ ไร่ด้วยโฉนดปลอม จนต้องขอให้จังหวัดช่วยจึงออกโฉนดได้ ท่านยังถูกลอบยิง ๒ ครั้งและเป็นคดีความบ่อยๆ แต่ที่สุดทุกอย่างก็ผ่านไปได้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 1,329

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2426 ณ ตำบลจุ่งแห้ว ประเทศจีน เป็นบุตรของนายอึ้งอยู่จ้อง และนางซ้อย ได้เดินทางมาอยู่ประเทศไทยเมื่ออายุ 18 ปี เข้าทำงานอยู่กับนายล่ำซำ (ต้นตระกูลล่ำซำ) ผู้เป็นอาว์ และได้ถูกส่งมาเป็นผู้ควบคุมในการทำป่าไม้ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด ได้สัมปทานป่าไม้สัก ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุม ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นระยะเวลา 10 ปีเศษ ได้ลาออกมาจากบริษัทไปประกอบอาชีพส่วนตัว โดยการตั้งโรงสีไฟที่อำเภอคลองขลุงอยู่หลายปี จึงได้กลับเป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุมอีกครั้งหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2020 ผู้เช้าชม 2,022

เชิด นุ่มพรม

เชิด นุ่มพรม

นายเชิด นุ่มพรม บุคคลสำคัญทางด้านประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงพื้นบ้านของตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2476 อยู่บ้านเลขที่ 148 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เรียนจบชั้น ป.4 ที่โรงเรียนบ้านเมืองเก่า สมัยเมื่อยังเรียนหนังสืออยู่ ครูมักจะให้ร้องเพลงตามบทดอกสร้อย เพราะในนั้นหมู่บ้านที่อยู่มีหนุ่มสาวมาก ใครจะมาเล่นร้องรำทำเพลง ต้องตามหาตัวนายเชิดก่อน เพราะนายเชิดมีพี่สาวน้าสาวหลายคน นายเชิดเมื่อเด็กมักจะพาไปหาหมู่น้าๆ อาๆ เพื่อให้เขาได้รู้จักกัน

เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 540

ประสิทธิ์ วัฒนศิริ

ประสิทธิ์ วัฒนศิริ

นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๔๗ ในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ปากคลองลุน (บ้านโคนใต้) ซึ่งปัจจุบัน อยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดาชื่อนายพวง แซ่ลิ้ม มารดาชื่อ นางปุย ได้เรียนหนังสือจนอ่านออก เขียนได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม จากสำนักเรียนวัดปราสาท บ้านโคนใต้ จากนั้นในปี ๒๔๖๑ ได้เรียนจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จากโรงเรียนประชาบาล อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชรหลังจากนั้นท่านได้ย้ายตามบิดาไปอยู่ตำบลหูกวาง อ.บรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ในทางธรรมท่านสอบได้นักธรรมตรี หลังจากนั้นท่านได้อพยพกลับมาที่ตำบลคณฑีอีกครั้ง มาบุกเบิกบ้านโคนจนสำเร็จดังใจหมาย

เผยแพร่เมื่อ 30-07-2020 ผู้เช้าชม 1,786

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม)

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม)

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม) เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ. 2399 วันอังคารขึ้น หกค่ำ เดือนแปด ปีมะโรง ณ จวนเก่า จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรของพระกำแหงสงคราม(เหลี่ยม นุชนิยม) สืบสกุลโดยตรงมาจากพระยาเกียรติ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของพระเจ้านันทบุเรง(พระเจ้าหงสาวดี) ได้สามิภักดิ์ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พร้อมกับพระยารามและพระมหาเถรคันฉ่อง ในคราวประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแกลง ได้พึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา กาลล่วงมาจนถึงปู่ทวด คือพระยารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภียพิริยะพาหะ(นุช)

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 231

หลวงพ่อทำนอง

หลวงพ่อทำนอง

ร้อยเอกทำนอง โยธินธนสมบัติ เป็นบุตรนายผ่าน-นางทองสุข ปัสสา เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม พ.ศ. 2467 ที่จังหวัดชัยนาท เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 13 คน สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนวิชัยบำรุงราษฏร์ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท จากนั้นได้ประกอบอาชีพครู ต่อมาได้รับราชการทหาร และใน พ.ศ.2525 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุประจำอยู่ที่วัดศรีโยธินจนถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 834

พระยาราม

พระยาราม

พระยาราม นามเต็ม พระยารามรณรงค์ เดิมเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ครั้นเมื่อสมเด็จพระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์ ได้เรียกพระยารามไปไว้กรุงศรีอยุธยาและให้เลื่อนเป็นพระยาจันทบุรี สมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทรงไว้วางพระทัยพระยารามมาก กรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ต้องปรึกษาหารือพระยารามทุกครั้ง เช่น คราวที่ออกอุบายจะไปดีเมืองพิษณุโลก ซึ่งพระมหาธรรมราชาที่ 2 ครองอยู่ด้วยความแค้นพระทัยก็ปรึกษากับพระยารามเป็นความลับ แต่ทำไม่สำเร็จเพราะพระมหาธรรมราชาที่ 2 รู้ตัวก่อน โดยพระยาสีหราชเดโซบอกความลับให้ทราบ ดังนั้น พระยารามจึงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพระมหาธรรมราชาที่ 2 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระมหินทราธิราช

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 193